หมู่บ้านขมิ้นพรีเมียม ตำบลย่านยาว
กลุ่มเกษตรกรตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ผล :
ผล :
ผล :
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2 [5426] |
ตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตำบลย่านยาวเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอคีรีรัฐนิคม ลักษณะภูมิประเทศของตำบล เป็นที่ราบลุ่ม ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ลาดลงสู่แม่น้ำพุมดวง ซึ่งเป็นสายหลักของตำบล มีเทือกเขาหน้าราหูและเทือกเขาแดงราม บริเวณตอนกลางของตำบล มีเป็นอยู่ระหว่างความเป็นเมืองและความเป็นชนบท ลักษณะทางกายภาพของชุมชนเป็นพื้นที่ราบ สลับเขา มีแหล่งน้ำทางการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์ จึงประกอบอาชีพหลักคือ การเกษตร เช่น ทำสวนยาง และปาล์ม รวมถึงการปลูกขมิ้นชันเป็นพืชหลัก และพืชแซม จากนั้นจะขายขมิ้นให้กับพ่อค้าคนกลาง ในราคาต่ำ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเครื่องแกง แต่จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยคุณภาพขมิ้นชันในพื้นที่ตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของคณะผู้วิจัย พบว่าขมิ้นที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางยากลุ่มเคอร์คูมินอยด์ผ่านมาตรฐานข้อกำหนด เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตยาสมุนไพร แต่ทางชุมชนยังไม่มีกระบวนการผลิตที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสมุนไพร ซึ่งปัญหาสำคัญของการยกระดับสินค้าเกษตรไปสู่สินค้าเกษตรคุณภาพสูงไม่ได้ คือเกษตรกรที่อยู่ต้นน้ำไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตรงตามปลายน้ำต้องการได้ เนื่องจากขาดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อปลูกสมุนไพรดังนั้นโครงการนี้จึงได้นำความรู้ และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในการยกระดับการปลูกขมิ้นชันให้ตรงตามมาตรฐานของขมิ้นเกรดยา กล่าวคือเป็นขมิ้นชันที่ผ่านข้อกำหนดต่าง ๆ ของการเป็นวัตถุดิบสมุนไพร โดยอาศัยกิจกรรมในปีแรกของโครงการ ดังนี้ กิจการรมการประชุมร่วมกับกลุ่มเพื่อชี้แจงทางการดำเนินงาน การถ่ายทอดความรู้มาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสายพันธุ์ขมิ้น การปลูก และการดูแลรักษา โรค และการกำจัดโรค และกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการ การพัฒนาคุณภาพแปลงปลูกให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP)เพื่อช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนการปลูกขมิ้นแบบทั่วไปมาเป็นการปลูกขมิ้นเกรดยาคุณภาพสูง ทำให้เกษตรกรมีช่องทางในการขายขมิ้นให้กับกลุ่มผู้ซื้อกว้างขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งอุปกรณ์นี้มีฟังก์ชันที่ง่ายต่อการใช้งาน เกษตรกรจึงสามารถใช้เองได้ ราคาถูกกว่า ถึง 40เท่า ที่สำคัญอุปกรณ์ชนิดอื่นจะไม่มีฟังก์ชันจำเพาะสำหรับงานขมิ้น เพราะตัวประมวลผลของอุปกรณ์นี้ได้ใส่ข้อมูลวิจัยไว้ด้วย ทำให้อ้างอิงค่าการตรวจวัดจากเครื่องกับตลาดการซื้อขายได้ทันที โดยไม่ต้องพึ่งนักวิชาการจากข้อมูลวิจัยพบว่าขมิ้นมีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ให้ปริมาณสารสำคัญที่ต่างกัน จากการเก็บข้อมูลการปลูกขมิ้นทั่วประเทศร่วมกับศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง พบว่าเกษตรกรคู่แข่งไม่มีการคัดเลือกสายพันธุ์ขมิ้นก่อนปลูก และที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นขมิ้นสายพันธุ์ที่ให้สารสำคัญต่ำ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงผลิตขมิ้นคุณภาพสูงไม่ได้ และถึงแม้ว่าจะเลือกสายพันธุ์ขมิ้นได้ถูกต้อง แต่หากเก็บเกี่ยวผลผลิตผิดช่วงเวลาก็จะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณสารสำคัญสะสมในขมิ้น ข้อมูลจากอุปกรณ์นี้ ระบุว่าถ้าเก็บเกี่ยวขมิ้นที่อายุ 1ปี 8เดือน ขมิ้นจะมีคุณภาพสูงขึ้นถึง 63.6% (11.52% w/w; ผลผลิตต่อหลุมเท่ากับ 2160.26 g/หลุม) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเดิมที่อายุ 11เดือน (7.04 % w/w; ผลผลิตต่อหลุมเท่ากับ 1262.01 g/หลุม) และการเปลี่ยนช่วงเวลาเก็บเกี่ยวใหม่จะลดค่าแรงในการปลูกรอบใหม่ได้อีกด้วย ได้มีการใช้อุปกรณ์นี้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคีรีรัฐนิคม เนื้อเพาะปลูก 100ไร่ (กำลังการผลิต 250ตัน/ปี)ซึ่งโครงการนี้จะใช้วิธีการบูรณาการความรู้ และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของคณะผู้วิจัย ร่วมกับเกษตรกรในชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการสร้างนวัตกรชุมชน และชุมชนต้นแบบในการปลูกขมิ้นพรีเมียม ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างความความเข้มแข็งเพื่อสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยในช่วงต้นน้ำจะใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สายพันธุ์ขมิ้น การปลูก การดูแลควบคุมโรค วัชพืช และศัตรูพืช และเทคโนโลยีอุปกรณ์การตรวจวัดปริมาณสารออกฤทธิ์กลุ่มเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้ได้เองในแปลงปลูก เพื่อติดตามควบคุมปริมาณสารออกฤทธิ์ทางยา และระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมได้ในช่วงที่มีปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์สูงที่สุด เพื่อควบคุมการผลิตขมิ้นชัน การผลิตขมิ้นชันพรีเมียม : เป็นไปตามข้อกำหนดของการเป็นวัตถุดิบสมุนไพร เพื่อยกระดับการปลูกขมิ้นของเกษตรกรตำบลย่าน โดยทีมนักวิจัยได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยแก้ปัญหา โจทย์ของการการพัฒนาชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนวิทยาศาสตร์ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยคนในชุมชนมีหลักคิดเชิงวิทยาศาสตร์ มีทักษะการปลูกขมิ้นชันแบบพรีเมียม สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง “เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการบริหารจัดการตนเอง มีความสามารถในการบริหารห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนมีการสร้างระบบข้อมูลและแพลตฟอร์มความรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีเป้าหมายสุดท้าย (ultimate goal) คือ การสร้างโอกาสให้ชาวบ้าน สร้างความความเข้มแข็งเพื่อสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวสู่การสร้าง “นวัตกรชุมชน” ต่อไป โครงการหมู่บ้านขมิ้นพรีเมียมตำบลย่านยาว เพื่อผลิตขมิ้นพรีเมียม กำลังดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต การพัฒนาคุณภาพแปลงปลูกให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) รวมไปถึงการปลูก การดูแลรักษา โรคและแมลงศัตรูพืช และสายพันธุ์ขมิ้นที่เหมาะสม เกษตรกรได้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ขมิ้น มีทักษะในการปลูกขมิ้นพรีเมียม โดยการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา ตรวจวัดคุณภาพ และระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ขมิ้นพรีเมียม ที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสมุนไพร หรือเพื่อการบริโภค และสามารถเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปเป็นขมิ้นสไลด์ ขมิ้นผง ผงทอดปลา และน้ำมันขมิ้น ที่มีมาตรฐานอินทรีย์และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้นจากผลการดำเนินโครงการในรอบ 6 เดือนผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม เป็นดังนี้ เกษตรการสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ปลูกที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการจัดการแปลงปลูกเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) และเตรียมยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567หลังจากนั้นจะมีการถ่ายทอดการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา เพื่อตรวจวัดคุณภาพ และระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ขมิ้นพรีเมียม โดยให้เกษตรกรเก็บผลผลิตจากแปลงตนเอง มาดำเนินการตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ ณ แปลงปลูก ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกษตรกรทราบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของตนเอง และสามารถติดตามตรวจวัดได้ตลอดระยะเวลาการปลูก เพื่อให้ได้ขมิ้นพรีเมียม ตรงตามความต้องการของตลาด โดยในโครงการนี้มีผู้ประกอบการสนใจจึงได้ขอเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกำหนดคุณภาพขมิ้นขัน และรับซื้อขมิ้นของเกษตรกร เกษตรการสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ปลูกที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการจัดการแปลงปลูก การดูแลจัดการโรค กระบวนการผลิตขมิ้นพรีเมียม ขมิ้นชัน (Curcuma longaLinn.) เป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน มีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ และนำไปสกัดใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมกับอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมด้านความงาม นอกจากนี้ปัจจุบันกระแสความนิยมดูแล สุขภาพด้วยสมุนไพรเริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ขมิ้นชันมีโอกาสพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจได้และเป็นการ สร้างมูลค่าเพิ่มของตัวพืชเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้เป็นอาหาร เครื่องสำอาง และยารักษาโรค ทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้มีประกาศ ให้ขมิ้นชันบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (National list of essential medicines) เพื่อใช้เป็นยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารในการบรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ให้ขมิ้นต้องมีปริมาณสารสำคัญกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5โดยน้ำหนัก (%w/w) จึงมีคุณสมบัตินำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามขมิ้นประกอบด้วยสายพันธุ์กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่แสดงความแปรผันในสปีชีส์เดียวกัน (intraspecific variation) จึงทำให้เกิดความหลากหลายทางสายพันธุ์ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อองค์ประกอบ และปริมาณของสารออกฤทธิ์ทางยากลุ่มเคอร์คูมินอยด์ รวมถึงปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และช่วงเวลาเก็บเกี่ยว เป็นต้น ดังนั้นการที่จะยกระดับคุณภาพของขมิ้นชัน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการเป็นวัตถุดิบสมุนไพร ที่มีปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์สูง จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้เกษตรกรจำเป็นต้องส่งตัวอย่างขมิ้นชัน เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ สำหรับแสดงคุณภาพขมิ้นชันก่อนขายเป็นวัตถุดิบสมุนไพร ซึ่งยังคงเป็นข้อจำกัดต่อการยกระดับคุณภาพขมิ้นชัน เพื่อแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว โครงการนี้จึงต้องการนำอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์แบบพกพาที่พัฒนาขึ้น มาใช้ในการติดตามตรวจวัดปริมาณเคอร์คูมินอยด์ในแปลงปลูก เพื่อช่วยคัดเลือกสายพันธุ์ก่อนการปลูก ติดตามตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ ในช่วงการปลูก เพื่อระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ทำให้ได้ปริมาณสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์สูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากจะนำอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์แบบพกพาไปใช้งานจริงในพื้นที่ปลูก จำเป็นต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับกับทั้งเกษตรกรผู้ปลูก และผู้รับซื้อวัตถุดิบ
ดังนั้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และความสม่ำเสมอของอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์แบบพกพาที่พัฒนาขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการสอบเทียบอุปกรณ์ เพื่อให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับก่อนการนำไปใช้งานจริง สำหรับการยกระดับคุณภาพการปลูกขมิ้นชันตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ
วิธีการตรวจวัดปริมาณสารสำคัญในขมิ้นชัน จากการตรวจเอกสารเกี่ยวกับการตรวจวัดปริมาณสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์มีวิธีมาตรฐานบรรจุอยู่ในเภสัชตำรับของประเทศสหรัฐอเมริกา (United states pharmacopeia) โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (high-performance liquid chromatography; HPLC) ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารมาตรฐานถึง 3 ชนิด ที่มีราคา สูง และต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่วนวิธีมาตรฐาน ที่อยู่ในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai herbal pharmacopoeia) มีวิธีการวิเคราะห์ปริมาณสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ โดยใช้เทคนิคการตรวจวัดค่าการดูดกลืนแสง (UV-Visible spectrophotometry) ซึ่งผลวิเคราะห์จากทั้ง 2 วิธีนี้จะมีความถูกต้อง และความแม่นยำ แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือวิเคราะห์ทั้ง 2 ชนิดนั้น มีราคาแพง และการวิเคราะห์ประกอบด้วยหลายขั้นตอน จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวัด รวมทั้งใช้เวลานานในการวิเคราะห์ และมีค่าซ่อมบำรุงสูง ดังนั้นผู้วิจัยจึงประดิษฐ์อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา พร้อมแอปพลิเคชัน KaminCAL สำหรับประมวลและแสดงผลปริมาณสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ เนื่องจากขมิ้นจากแหล่งปลูกต่าง ๆ จะมีความแปรผันของปริมาณทั้งเคอร์คูมินสูงมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของขมิ้นชัน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบเทียบมาตรฐานของอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์แบบพกพาที่พัฒนาขึ้น ให้สอดคล้องกับตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย และเป็นอุปกรณ์ใช้ได้จริงในการตรวจสอบในภาคสนาม เกษตรกรจึงสามารถตรวจวัดได้ด้วยตัวเอง รวมทั้งให้ผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมคุณภาพสมุนไพรขมิ้นชัน สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบคุณภาพขมิ้นชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถส่งเสริมการผลิตขมิ้นชันที่มีคุณภาพสูงในตลาด โดยสามารถสร้างมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพได้อย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพยาสมุนไพร และสามารถควบคุมประสิทธิภาพในการรักษาได้อย่างมีมาตรฐาน อันจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกรและผู้บริโภค โดยอาศัยหลักการตรวจวัดตามข้อกำหนดของตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ซึ่งใช้เทคนิคการตรวจวัดค่าการดูดกลืนแสงของสารออกฤทธิ์กลุ่มเคอร์คูมินอยด์ของขมื้นชัน กระบวนการแปรรูปหลังการเก็บเกียว ขมิ้นชันมีการนำมาแปรรูปหรือนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่ง จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของขมิ้นชันให้สูงขึ้น แต่อาจมีกระบวนการผลิตที่ยุ่งยากแตกต่างกันไปตามแต่ละ ชนิด โดยการแปรรูปขมิ้นชันจากเหง้าสดในขั้นต้นนั้นจะมีอยู่ 3 แบบคือ การทำขมิ้นชันแห้ง แบ่งออกเป็นการทำแห้งขมิ้นชันทั้งหัว โดยต้มหรือนึ่งเหง้าสด นาน 1-2 ชั่วโมง ตากแดด 6-8 วัน หรือเป่าลมร้อน 65-70 องศาเซลเซียส ให้มีความชื้นคงเหลือเพียง 8-10 เปอร์เซ็นต์ ทำความสะอาดเหง้า ปอกเปลือกหรือขัดผิวภายนอกของเหง้า อัตราส่วนขมิ้นสด : ขมิ้น แห้ง เท่ากับ 4 : 1 การทำขมิ้นชันแห้งแบบชิ้น โดยหั่นหรือฝานขมิ้นชันด้วยมีดหรือเครื่องหั่น หนา ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เกลี่ยให้บางบนถาดหรือตะแกรง นำไปอบโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบอุโมงค์ ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง หรือนำไปตากแดด 3 วัน และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง อัตราการทำแห้ง ขมิ้นสด : ขมิ้นแห้ง เท่ากับ 8 : 1 จากนั้น เก็บบรรจุใส่ภาชนะที่ปิดสนิทหากต้องการเก็บไว้นาน ๆ ควรนำออกมาผึ่งในที่ร่มทุก ๆ 3-4 เดือน ถ้า เก็บไว้ถึง 2 ปี ปริมาณน้ำมันหอมระเหยจะลดลงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ การทำขมิ้นชันผง ทำได้โดยเอาขมิ้นชันแห้งมาบด แล้วร่อนเอาเฉพาะผง บรรจุถุงขาย หรือ นำไปแปรรูปต่อเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ครีมทาผิว ขัดผิว พอกหน้า สบู่ โลชั่น และลูกประคบ หรือนำไปบรรจุเป็นแคปซูลขายใช้ในทางการแพทย์บำบัดรักษาโรค หรือ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การสกัดน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสารส่วนใหญ่จะอยู่ที่รากและเหง้าของขมิ้นชัน ทำได้โดยใช้เหง้า และรากมาสกัดด้วยวิธีการกลั่นแบบไอน้ำ (steam distillation) น้ำมันหอมระเหยจะถูกสกัดออกมาพร้อมกับน้ำ จากนั้นแยกส่วนเอาเฉพาะน้ำมันหอมระเหย สามารถนำไปแปรรูปหรือนำไปเป็น ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ต่อได้อีก เช่น ยากันยุง สบู่และครีมบำรุงผิว หรือนำไปทำเป็นโลชั่นทาแก้ ผื่นคัน หรือทาแก้โรคเรื้อนของสัตว์เลี้ยงในบ้าน ปีที่2ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 1. การปลูก และติดตามการสะสมปริมาณสารสําคัญในแปลงปลูกด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดแบบพกพา 2. การสาธิต และให้คําปรึกษาในการใช้เทคโนโลยีการตรวจวัดปริมาณสารสําคัญในขมิ้นที่พัฒนาขึ้น แก่ กลุ่มเกษตรกร 3. การกําหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวขมิ้น ที่ให้ปริมาณสารสําคัญและผลผลิตสูง 4. การอบรมให้ความรู้ข้อกําหนด ขั้นตอน และกระบวนการแปรรูปขมิ้นชัน ในรูปแบบต่าง ๆ
แผนการดำเนินงาน
รายงานโดย นางนิชมลกานต์ ขุนเพชร วันที่รายงาน 04/04/2568 [5426] |
70000 | 30 |