2568 บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีและการใช้ AI เพื่อแก้ปัญหาธุรกิจ ปีงบประมาณ 2568   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [19001]

กิจกรรมที่ 6 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568    กิจกรรม ลงแขก ปลูกข้าว ดำนา ภายใต้โครงการการให้บริการคำปรึกษา และข้อมูลทางเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ศูนย์เรียนรู้ วิสาหกิจชุมชนพืชสวนทฤษฎีใหม่กินอยู่ปลอดภัยอย่างไทยเท่  โดยความร่วมมือกับ โรงเรียนเดิมบาง และโรงเรียนวัดปากนำั  จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้นำนักเรียน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน 
วัตถุประสงค์   เพื่อสร้างประสบการณ์ และทัศนคติที่ดี แก่ลูกหลาน ให้ดำรงไว้ถึงแหล่งปลูกข้าว  ที่เป็นชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี และการให้องค์ความรู้ในการปลูกข้าว ดำนาแก่เยาวชน โดยปราชญ์ชาวบ้าน
ผลที่ได้   นักเรียนและครูมีประสบการณ์ในการปลูกข้าว มีทัศนคติที่ดีต่อการทำนา การลงแขกปลูกข้าว ได้ แปลงนาทดลองเพื่อใช้ในการทดลอง เก็บข้อมมูลและวัด
เป็นสถานที่ฝึกหัดในการเกี่ยวข้าว ในระยะ เวลาอีก 120 วัน
 



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19001]
12000 55
2 [19000]

กิจกรรมที่ 5 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568      การลงพื้นที่ เพื่อทดสอบการสกัดเส้นใยจากปอเทือง กิจกรรมภายใต้ โครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ปีงบประมาณ 2568 รหัสโครงการ 61701442 งบประมาณที่ได้รับ 235,000 บาท
วัตถุประสงค์   เนื่องจากมีผู้ใช้บริการให้คำปรึกษาคลีนิกเทคโนโลยี สอบถามเรื่องการทำเส้นใยจากต้นปอเทือง ได้หรือไม่ หน่วยงาน จึงได้ เก็บปอเทียง มาทำการ ให้เป็นเส้นใย โดยใช้เครื่องตีใบสับปะรดสามารถเส้นใยได้
ผลที่ได้        สามารถทำเส้นใยจากปอเทืองได้ แต่ลักษณะเส้นใยที่ตีได้ จะไม่เรียบนุ่ม และจะพันกัน ติดกันเป็นกลุ่ม ทั้งนี้ยังต้องรอให้เส้นใยแห้งและนำมาทดสอบความเหนียวอีกครั้ง
 



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19000]
0 5
2 [18999]

กิจกรรมที่ 4 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568     การลงพื้นที่ประสานงาน การนำเสนอผลงาน แก่คณะกรรมการ ติดตามและประมาณผลโครงการที่ได้รับงบสนับสนุน ดำเนินงานในฐานะผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดูแลและประสานงาน ให้แก่อาจารย์และบุคลากร ที่ดำเนินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน ภาคใต้ คลินิกเทคโนโลยี
ด้วยแพลตฟอร์ม ส่งเสริมธุรกิจชุมชน ชื่อโครงการ “การพัฒนาวิสาหกิจแปรรูปผักกาดหัวเป็นอาหารปลอดภัย” โดยมี ดร.พิสิฐพงษ์ อินทรพงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการ รหัสโครงการ 65000864 งบประมาณที่ได้รับ 182,000 บาท ซึ่งการดำเนินงานใกล้เสร็จสิ้นแล้ว และได้รับการติดต่อจาก คณะทำงาน นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การติดตามและประเมินผลการดำเนิน โครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน.ฯ” และมีประสงค์ขออนุญาตเข้าตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00.– 15.00 น. จึงได้ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนเสนอผลการดำเนินงานในโครงการ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
วัตถุประสงค์    สนับสนุนนำเสนอผลการดำเนินงาน ต่อผู้ตรวจสอบและประเมินผล และประสานงาน ที่จำเป็น
                      การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการด้วยองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย
ผลที่ได้          ได้รับฟังความคิดเห็นและการชี้แนะจากคณะกรรมการ ที่นำไปปรับปรุงการดำเนินงานได้ และการวางแผนโครงการในปีถัดไป
  



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2568 [18999]
8000 20
2 [18998]

กิจกรรมที่ 3  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568   การลงพื้นที่เพื่อนำเสนอผลงาน ของคณะกรรมการ ติดตามและประมาณผลโครงการที่ได้รับงบสนับสนุน ดำเนินงานในฐานะผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน ในแพลตฟอร์มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ( SCI )ชื่อโครงการ “การพัฒนาองค์ความรู้ด้าน IOT และจัดเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลแก่เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าวและผลผลิตทางการเกษตรอื่น ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2567” งบประมาณที่ได้รับ 220,000 ซึ่งดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว ต่อมาได้รับการติดต่อจาก คณะทำงาน นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การติดตามและประเมินผลการดำเนิน
โครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน.ฯ” และมีประสงค์ขออนุญาตเข้าตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.00.– 15.00 น. จึงได้ดำเนินการ นัดหมายผู้ประกอบการ ครูและนักเรียนในพื้นที่ ที่ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในจังหวัดสุพรรณบุรี และลงพื้นที่เพื่อการนำเสนอผลการดำเนินงานในโครงการ ณ วิสาหกิจชุมชนพืชสวนทฤษฎีใหม่ กินอยู่ปลอดภัยอย่างไทยเท่ ดำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี
วัตถุประสงค์     การนำเสนอผลการดำเนินงาน ต่อผู้ตรวจสอบและประเมินผล
                       การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการด้วยองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย
ผลที่ได้          1. ได้ความคิดเห็นและการชี้แนะจากคณะกรรม ด้านระบบการปลูกพืชในโรงเรือน
                     2. กรรมการให้คำแนะนำแก่ คณะครูในการรับการสนับสนุน โรงเรือนเพื่อการเกษตรโรงเรียนวัดท่าเตียน และโรงเรียนเดิมบาง
                     3. คำแนะนำในการปลูกข้าวญี่ปุน ในประเทศไทย และ การทำบัญชีธุรกิจ อย่างง่าย
  



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2568 [18998]
8000 25
2 [18997]

กิจกรรมที่ 2 วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2568     เนื่องด้วย โครงการ “การพัฒนาองค์ความรู้ด้าน IOT และจัดเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลแก่เกษตรกร ผู้ปลูกข้าวและผลผลิตทางการเกษตรอื่น ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี” ปีงบประมาณ 2567 โดยได้จบโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน ประจำปี 2567 ไปแล้ว แต่มิได้ขอทุนสนับสนุนต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2568 แค่คลินิกเทคโนโลยี มจธ ยังให้การส่งเสริมดูแลเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ในชุมชน ต่อไป เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำนา ด้วยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป โดยได้ลงพื้นที่ เพื่อทำแผนในการพัฒนาแปลงนาตัวอย่าง ให้ที่มีระบบ IOT เข้าช่วย มีระบบดูแลการเจริญเติบโตของข้าวในแปลงนาและสิ่งแวดล้อด มาผ่าน Facebook
วัตถุประสงค์    ดำเนินการจัดเตรียมต้นกล้า และเตรียมแปลงปลูก และกำหนดจัดอบรมในเรื่อง การดำนา ปลูกข้าว ทำการ เพาะกล้า ข้าวญี่ปุ่น คาซิโงคาริ ให้แก่                                 นักเรียน และคุณครูโรงเรียน เดิมบางและ โรงเรียนวัดท่าเตียน จำนวนประมาณ 50 คน
 ผลที่ได้        1;แปลงนาข้าวสำหรับทดลองปลูกข้าวญี่ปุ่น 1 แปลง เพื่อใช้เป็นแปลงทดลอง ที่มีระบบ IOT เป็นเครื่องมือ ต้นกล้า สำหรับการดำนา
                    2.โครงการการอบรม เพื่อเสริมสร้าง ความรักแผ่นดินถิ่นเกิด และเรียนรู้การทำนาแบบดั่งเติม ที่สามารถใช้
เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย ในการเพิ่มผลผลิตได้
 



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 05/04/2568 [18997]
7000 7
2 [18996]

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการให้บริการข้อมูลและการให้คำปรึกษา คลินิกเทคโนโลยี  ไตรมาศ 2 ระหว่างเดือน มกราคม 2568 - 31 มีนาคม 2568


กิจกรรมที่1     วันที่ 31 มกราคม 2568     การข้อมูลแก่ คณะทำงาน ในการดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน.ฯ” ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และมีประสงค์ขออนุญาตเข้าตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ในแพลตฟอร์มโครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS)” ชื่อโครงการ“การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีและการแก้ปัญหาขยะจากขุยมะพร้าวและจากใยสับปะรดปีงบประมาณ 2567” ซึ่งดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว รหัสโครงการ 61701442 งบประมาณ ที่ได้รับ 233,750 ในวันที่ 31 มกราคม 2568 เวลา 9.30.– 12.00 น. นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ หัวหน้าโครงการ คณะกรรมการ และกรรมการจาก กปว. ทั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ดำเนินการนัดหมายผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา อำเภอหนองพันจันทร์ จังหวัดราชบุรี ในจังหวัดราชบุรี และลงพื้นที่ เพื่อการนำเสนอผลการดำเนินงานในโครงการ และได้ซักถาม ผู้รับการบริการในโครงการ
วัตถุประสงค์      การนำเสนอผลการดำเนินงาน ต่อผู้ตอบสอบและประเมินผล
                        การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการด้วยองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย
ผลที่ได้          ได้ความเห็นและคำแนะนำจากคณะกรรมการ เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาต่อยอดให้แก่ วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตเส้นใยสับปะรด เช่น เรื่องการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ในการผลิตและขายสินค้า เพื่อให้มีข้อมูลอ้างอิงได้ เรื่องการจดทะเบียน สิทธิบัตร หริอ อนุสิทธิบัตร



รายงานโดย ผศ.ดร.ทัศวัลย์  คัมภีระพันธุ์ วันที่รายงาน 04/04/2568 [18996]
10000 20