2568 การเพิ่มผลผลิตข้าวและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ชุมชนบ้านเมืองเตา ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (ปีที่ 2)   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [18906]

กิจกรรมที่ 5:ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิเคราะห์บัญชีต้นทุน-กำไร

          เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิเคราะห์บัญชีต้นทุน-กำไร เพื่อเป็นแนวทางในการตั้งราคาของผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยวิทยากรผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปภาพิต  ศรีสว่างวงศ์  สังกัดสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งสรุปต้นทุนของผลิตภัณฑ์ได้ ดังนี้

     1. คุกกี้ข้าวป็อปธัญพืช: ต้นทุนค่าวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายผลิตต่อคุกกี้ 1 ชิ้นอยู่ที่ 1.18 บาท และเมื่อรวมต้นทุนบรรจุภัณฑ์และฉลากตราสินค้าและรายละเอียด ทำให้ต้นทุนคุกกี้ข้าวป็อปธัญพืช 1 กล่อง (มี 10ชิ้น) อยู่ที่ 25.07 บาท

     2. ผงข้าวชงดื่ม: ต้นทุนค่าวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายผลิตต่อ 1 เสิร์ฟอยู่ที่ 1.10บาท และเมื่อรวมต้นทุนบรรจุภัณฑ์และฉลากตราสินค้าและรายละเอียด ทำให้ผงข้าวชงดื่ม 1 ถุงคราฟซิปล็อค (มี 6 ซองเล็ก) อยู่ที่ 17.94 บาท

               3. ชาข้าวคั่ว: ต้นทุนค่าวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายผลิตต่อ 1 เสิร์ฟอยู่ที่ 0.75บาท และเมื่อรวมต้นทุนบรรจุภัณฑ์และฉลากตราสินค้าและรายละเอียด ทำให้ชาข้าวคั่ว 1 ถุงคราฟซิปล็อค (มี 6 ซองเล็ก) อยู่ที่ 15.60 บาท



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 03/04/2568 [18906]
58000 50
2 [18905]

กิจกรรมที่ 4:ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการออกแบบตราสินค้า และเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

          เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการพัฒนาทักษะองค์ความรู้และเทคโนโลยีการออกแบบตราสินค้า และเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คุกกี้ข้าวป็อปธัญพืช ผงข้าวชงดื่ม และชาข้าวคั่ว โดยวิทยากรอาจารย์ ดร.สิริวิวัฒน์ ละตา  สังกัดภาควิชานิเทศศาสตร์  คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมกับการระดมความคิดของผู้เข้าอบรม ออกแบบ และตัดสินใจร่วมกัน ดังนี้

          ตราสินค้า: เป็นตราสินค้าแบบเดียวกันทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ออกแบบเพื่อเตรียมไว้สำหรับใช้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ในอนาคตด้วย โดยตราสินค้าลักษณะเป็นรูปวงกลมสีเขียวเข้ม มีเส้นวงกลมสีเหลืองทองล้อมรอบรูปรวมข้าวพร้อมกับชื่อยี่ห้อ “ข้าวเมืองเตา” และสโลแกน “คุณค่าข้าวไทย จากใจชุมชน” ซึ่งใช้ตัวอักษรสีเหลืองทอง และฉลากชื่อและรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ส่วนประกอบ ข้อมูลติดต่อสั่งซื้อ และตราสัญลักษณ์หน่วยงานที่สนับสนุน

          บรรจุภัณฑ์: บรรจุภัณฑ์คุกกี้ข้าวป็อปธัญพืช จะใช้เป็นซองพลาสติกหน้าใสหลังขุ่นบรรจุคุกกี้ทีละชิ้นปิดผนึกเพื่อความสะอาดและคงความกรอบของคุกกี้ และเลือกใช้กล่องกระดาษรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าบรรจุคุกกี้อีกครั้ง โดย 1 กล่องจะมี 10 ชิ้น ส่วนผงข้าวชงดื่มจะบรรจุใส่ซองพร้อมชงดื่ม 1 ซองเล็กปิดผนึกสำหรับ 1 เสิร์ฟ ประกอบด้วย ผงข้าวหอมมะลิ กข 105ข้าวกล้องหอมมะลิ และข้าวไรซ์เบอร์รี่อย่างละ 5 กรัม รวมบรรจุข้าว 15 กรัม ซึ่งจะมีถุงซิปล็อคสำหรับบรรจุซองเล็กอีกครั้ง 1 ถุงซิปล็อคจะมี 6 ซองเล็ก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ชาข้าวคั่ว จะบรรจุข้าวคั่วในซองเล็ก 15 กรัม และมีการบรรจุ 6 ซองเล็กปิดผนึกสำหรับ 1 เสิร์ฟใน 1 ถุงซิปล็อคเช่นเดียวกับผงข้าวชงดื่ม



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 03/04/2568 [18905]
37200 50
2 [18904]

       กิจกรรมที่ 3:ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวแปรรูปและผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

          เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวแปรรูป โดยวิทยากรคุณเกษร อรทัย นักโภชนาการ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยการระดมความคิดของผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นคนในชุมชนและเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมกันเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จากการเริ่มต้นด้วยวัตถุดิบหลักคือผลผลิตข้าวเมืองเตา ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ กข 105 ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ข้าวกล้องหมอมะลิ ข้าวฮางหอมมะลิ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทั้งนี้ จากการระดมความคิด สรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าวของชุมชนตำบลเมืองเตา ดังนี้

     1. คุกกี้ข้าวป็อปธัญพืช: ใช้วัตถุดิบหลักเป็นข้าวหอมมะลิ กข 105 และธัญพืช

     2. ผงข้าวชงดื่ม: ใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวหอมมะลิ กข 105ข้าวกล้องหอมมะลิ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นส่วนผสมในหนึ่งของผงชงดื่มต่อหนึ่งเสิร์ฟ

     3. ชาข้าวคั่ว: ใช้วัตถุดิบหลักเป็นข้าวหอมมะลิ กข 105คั่วเมล็ดจนหอม

นอกจากนี้ ในกิจกรรมนี้ วิทยากรและผู้เข้าอบรมยังได้ดำเนินการทดลองสูตรของทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ และได้ทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 03/04/2568 [18904]
52800 50
2 [18903]

กิจกรรมที่ 2:ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการแปรรูปข้าว ได้แก่ การแปรรูปข้าวบดผง การตากแห้ง หรือการอบแห้งข้าว

          เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานเพื่อพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีลักษณะวิธีในการแปรรูปข้าวแก่ผู้เข้าร่วมอบรมสำหรับไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยวิทยากรคุณเกษร อรทัย นักโภชนาการ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหัวข้อของการแปรรูปข้าวบดผง ด้วยเทคโนโลยีเครื่องบดสมุนไพรสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย เทคนิคการบดผงข้าวแบบหยาบและแบบละเอียด หัวข้อการแปรรูปข้าวด้วยการตากแห้ง ซึ่งเป็นการใช้โรงตากแห้งของชุมชน และหัวข้อการอบแห้งข้าว รวมถึงการคั่วข้าวให้ข้าวดิบมีกลิ่นหอมไปจนถึงการคั่วข้าวให้สุกแตกกลายเป็นข้าวป็อบในลักษณะคล้ายป็อบคอร์น ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทดลองแปรรูปข้าวเพื่อเตรียมเป็นวัตถุดิบสำหรับออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 03/04/2568 [18903]
51800 50
2 [18902]

กิจกรรมที่ 1:ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว

          เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานเพื่อพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยวิทยากรอาจารย์ธนิษฐ์นันท์ บุญศรีชนะ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับชนิดและประเภทของพันธุ์ข้าว ได้แก่ ข้าวหอมมะลิกข 105 ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ข้าวกล้องหมอมะลิ ข้าวฮางหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และอื่นๆ รวมถึงลักษณะของการนำไปบริโภค ไม่ว่าจะเป็น การหุงกิน การนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งการวิเคราะห์และคุณค่าทางอาหารจากข้าวแต่ละประเภท เพื่อนำไปต่อยอดในการออกแบบผลิตภัณฑ์



รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 03/04/2568 [18902]
34700 50