2568 โครงการบริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
2 [18724] |
วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.อีสาน นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง ผู้จัดการคลินิก เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน และผู้ประกอบการเข้ารับการตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในแพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service: TCS) ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ดร.นาฏสุดา ภูมจำนงค์ และคณะทำงาน จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานและนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมในการพัฒนาต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 20/03/2568 [18724] |
0 | 0 |
2 [18689] |
งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เข้าร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยพร้อมให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงาน กิจกรรม kick off บูรณาการการป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมาภายใต้โครงการป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศประจำปี 2568 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมา รวมถึงการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายอันเกิดจากมลพิษทางอากาศ และสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เกิดการบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วน ในวันที่ 13 มีนาคม 2568ณ ลานกิจกรรมหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลโคราช โดยได้รับเกียรติจาก นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และนายไกรสีห์ หล่อธราประเสริฐ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวรายงานโครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ งานคลินิกเทคโนโลยี ได้นำผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมและนวัตกรรมดิจิทัลผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) และผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย ดร.เมธ์วดี พยัฆประโคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทออีสาน รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 13/03/2568 [18689] |
0 | 18 |
2 [18681] |
ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำโดยนางสาวอรอุมา เป้าประจำเมือง และนางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน “ภายใต้โครงการสร้างเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ณ วัดหน้าพระธาตุ บ้านตะคุ หมู่ที่ 1 ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ผลงานที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการเกษตร
ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อการเกษตร คือ ตู้ควบคุมอัจฉริยะ “ระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตรด้วยระบบ IoT” เป็นผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม
รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 10/03/2568 [18681] |
860 | 16 |
2 [18643] |
งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงานเปิดตัวศูนย์ดูแลสุขภาพภูชีวกะ ในวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2568 ณ ศูนย์ดูแลสุขภาพเชิงฟื้นฟูและป้องกันภูชีวกะ ตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยงานคลินิกเทคโนโลยี ได้นำผลงานพร้อมข้อมูลเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาให้บริการ ดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ “เครื่องดื่มน้ำข้าวหอมมะลิสกัด”
2. ตู้ควบคุมอัจฉริยะ “ระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตรด้วยระบบ IoT”
3. ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ จากผ้าไหมอันปรม จังหวัดสุรินทร์ รองเท้าผ้าไท-ยวน จังหวัดนครราชสีมา รองเท้าผ้าฝ้ายย้อมสีคราม จังหวัดสกลนคร และรองเท้าผ้ามัดหมี่ จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการอาหาร คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ สาขาชีววิทยาประยุกต์ และเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี คือ นางสาวรัตนา ยี่จอหอ นักวิชาการศึกษา ในการให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจภายในงานดังกล่าว ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพ ในการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวนผู้สนใจ 17 คน
หมายเหตุ : รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 03/03/2568 [18643] |
0 | 17 |
2 [18642] |
งานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เข้าร่วมจัดแสดงผลงานพร้อมให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงาน FMT Business Matching พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม (Cluster) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ระหว่างวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ลานอาคารเรียนรวม 100 ปี สิงคเสลิต ชั้น 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ โดยได้รับเกียรติจาก นายประภาส ศรีจันทร์เวียง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และคณะ เข้าชมบูธนิทรรศการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา นำเสนอผลงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยพัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาธิณี กรสิงห์ และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านอาหารและมาตรฐานอาหารปลอดภัย คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์ ให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก่ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป ได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ทางคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ได้นำผลงานร่วมจัดแสดงเพื่อให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกมากมาย ดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยลำต้นกัญชาผสมกับเส้นใยขนแกะ ได้แก่ ตุ๊กตาล้มลุก กระเป๋า และปกผ้าห่อสมุดโน้ต เป็นผลงานของอาจารย์ ดร.นันทิยา ณ หนองคาย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม 2. ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษกก-ฟาง ได้แก่ กระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์ จากผ้าไหมอันปรม จังหวัดสุรินทร์ รองเท้าผ้าไท-ยวน จังหวัดนครราชสีมา รองเท้าผ้าฝ้ายย้อมสีคราม จังหวัดสกลนคร และรองเท้าผ้ามัดหมี่ จังหวัดสุรินทร์ เป็นผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย ดร.เมธ์วดี พยัฆประโคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม 3. ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าวหอมมะลิอินทรีย์ระยะเขียว ชนิดแคปซูล และเครื่องดื่มน้ำข้าวหอมมะลิสกัด สูตรบิวตี้ เสริมคลอลาเจนและไฟเบอร์ เป็นผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ สาขาชีววิทยาประยุกต์ 4. ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อการเกษตร คือ ตู้ควบคุมอัจฉริยะ “ระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตรด้วยระบบ IoT” เป็นผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาธิณี กรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี คือ นางสาวรัตนา ยี่จอหอ นักวิชาการศึกษา และ นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก่ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งมีจำนวนผู้สนใจรับบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 10 คน ผู้ให้บริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
1. นางสาวรัตนา ยี่จอหอ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ผลงานร่วมจัดแสดง จำนวน 4 ท่าน ดังนี้
1. เจ้าของผลงาน : อาจารย์ ดร.นันทิยา ณ หนองคายสังกัด : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
2. เจ้าของผลงาน : ผู้ช่วยศาสตราจารย ดร.เมธ์วดี พยัฆประโคน
3. เจ้าของผลงาน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์
1) ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ รายงานโดย นางสาวจันทร์สุดา เจ็กมะดัน วันที่รายงาน 03/03/2568 [18642] |
5060 | 10 |