2568 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [19034]
กิจกรรมที่ 12  เข้าร่วมการประชุมยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน OTOP เชียงใหม่ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่
       เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ประกอบการ เข้าร่วมการประชุมยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน OTOP เชียงใหม่ การประชุมจัด โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน
       โครงการที่เข้าร่วม: 1.ยกระดับมาตรฐานชาแดง(ชาอัสสัม) จากวิสาหกิจชุมชนตำบลป่าแป๋ 
                                   2.พัฒนาบรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพรน้ำผึ้งชันโรง จากสวนผึ้งสันกำแพง
                                   3.นวัตกรรมผ้าพันคอมีกลิ่นหอมด้วยไมโครเอ็นแคปซูเลชั่น จากพฤกษาอาภรณ์ 
                                   4.พัฒนาเครื่องแต่งกายพื้นเมือง จากธัญพรผ้าไทย
        ภายในงาน: มีการบรรยายพิเศษ "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป" แนวทางยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐานสากล Workshop แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ 3 กลุ่ม 1.อาหารและสมุนไพร 2.ผ้าและเครื่องแต่งกาย 3.ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19034]
0 20
2 [19023]
กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา การจัดเตรียมข้อมูลเอกสารเพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน 
(แนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปี พ.ศ. 2568
    ในวันที่ 21 ตุลาคม 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี และงานบริการวิชาการ ให้คำปรึกษาข้อมูลแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนป่าแป๋ ชาอัสสัม
เพื่อจัดเตรียมข้อมูลสมัครเข้าร่วมโครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชุม (แนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ในประเด็นพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
ที่สามารถพัฒนาได้ ดังนี้
- พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ
- พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ 
- พัฒนาและออกแบบระบบการผลิต 
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐาน 
- พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร 
- พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19023]
0 4
2 [19024]
กิจกรรมที่ 3 เข้าร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการนำทรัพยากรหรือวัตถุดิบในพื้นที่ของชุมชนมาออกแบบและสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชนที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านกระบวนการเรียนรู้ การบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย 
        เมื่อวันที่ 13 พฤษจิกายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดย อาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยบุคลากรเข้าร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการนำทรัพยากรหรือวัตถุดิบในพื้นที่ของชุมชนมาออกแบบและสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชนที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านกระบวนการเรียนรู้ การบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ระหว่าง กปว. ร่วมกับ สกร. ผ่านกลไกความร่วมมือในการยกระดับและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรในสังกัดสู่นักส่งเสริมการเรียนรู้มืออาชีพ


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19024]
0 30
2 [19025]
กิจกรรมที่ 4 บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่ คุณนิรชา จันทร์หอม ผลิตภัณฑ์ลูกชิดอบแห้ง ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting
        เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับ UBI ฝ่ายงานบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่ คุณนิรชา จันทร์หอม ผลิตภัณฑ์ลูกชิดอบแห้ง  ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการ และแนวคิดการพัฒนาธุรกิจ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผน การยกระดับเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างแบรนด์และกลยุทธ์ด้านการตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19025]
0 6
2 [19026]
กิจกรรมที่ 5 เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการและแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มรภ.เชียงใหม่ นำโดย อ.ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา บุคลากร และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการและแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า
ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 
    ได้รับเกียรติกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อํานวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.)
    นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าว ได้มีการแนะนําโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การอภิปราย เรื่อง การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการ และการบริหารจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้งานระบบบริหารโครงการ (OPMS)การบรรยาย เรื่อง การประเมินผลมูลค่าผลประโยชน์ของการยกระดับผลิตภัณฑ์ตามแนวทางคปูองวิทย์เพื่อโอทอป


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19026]
0 8
2 [19027]
กิจกรรมที่ 6 ร่วมจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการคลินิกเทคโนโลยี Building Community Enterprise : BCE โครงการนวัตกรรมการแปรรูปกระเทียมดำโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน ณ.ชุมชนบ้านสบสา ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
      เมื่อวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นางสาวสกุลรัตน์ คำเจริญ เจ้าหน้าที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการคลินิกเทคโนโลยี Building Community Enterprise : BCE จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการนวัตกรรมการแปรรูปกระเทียมดำโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน ณ.ชุมชนบ้านสบสา ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีผู้เข้าอบรม จำนวน 27 คน
      ได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี รองคณบดี วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้วิธีการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานในการแปรรูปกระเทียมดำของชุมชน ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากพลังงานไฟฟ้า ร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ นำผลงานการทดลองการทำกระเทียมดำจากพลังงานแสงอาทิตย์ กระเทียมแบบหัว และกระเทียมโทน ให้ผู้เข้าอบรมได้ชิมและเปรียบเทียบรสชาติ กับกระเทียมดำที่ได้มาตรฐานในตลาด เพื่อส่งต่อกิจกรรมให้ชุมชนได้ใช้เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานในการทดลองและพัฒนาการแปรรูปกระเทียมดำของชุมชนด้วยตัวเองทั้งนี้ได้มอบเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์และวัสดุอุปกรณ์ให้กับชุมชนให้ทดลองใช้
     โดยมีผู้รับผิดชอบดำเนินการทดลองใช้แปรรูป คือวิสาหกิจกลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรตำบลเมืองแปงกับกลุ่มผู้สูงอายุบ้านสบสา 
เพื่อจะนำผลการแปรรูปมาพัฒนากระบวนการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานต่อไป


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19027]
0 27
2 [19028]
กิจกรรมที่ 7 ร่วมต้อนรับและจัดนิทรรศการการดำเนินงานระหว่างคลินิกเทคโนโลยีและครูสกร. ในงาน ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกระทรวง อว.ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นอกสถานที่ครั้งที่ 1/2567  ณ จังหวัดเชียงใหม่
       เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกระทรวง อว.ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นอกสถานที่ครั้งที่ 1/2567  ณ จังหวัดเชียงใหม่
      โดยมีอาจารย์ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมต้อนรับภายในงานมีการจัดนิทรรศการการดำเนินงานระหว่างคลินิกเทคโนโลยี และครูสกร.สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จัดนิทรรศการยกระดับศักยภาพครู ด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ  ภายใต้หัวข้อ "สายธารวิถีปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่องเล่าจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สู่สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ Education Locality Development : CMRU" นำเสนอผลงานวิจัยการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยนวัตกรรม 3Rs1C ของทีมนักวิจัยคุณภาพ:  ผศ.ชไมมน ศรีสุรักษ์  ผศ.ดร.สิรินทร์นิชา ปัญจอริยะกุล และผศ.ดร.รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ 
      ผลงานเด่น: สร้างแบบฝึกหัดพัฒนาทักษะ 36 ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริม: การอ่านออก การเขียนได้ การคิดเลขเป็น ความคิดสร้างสรรค์ 
กระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่ครู สกร.ภาคเหนือ 17 แห่ง เพื่อพัฒนาทักษะ: การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  Professional Learning
Community (PLC) ผลลัพธ์ที่น่าภูมิใจ: ครู สกร. มีความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสอน เพิ่มโอกาสในการเลื่อนวิทยฐานะ วPA 
พร้อมพัฒนาการเรียนการสอนในอนาคต 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19028]
0 10
2 [19029]
กิจกรรมที่ 8 ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยกล้วย ณ กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านหล่ายทุ่ง ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 
     เมื่อวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 อาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยหัวหน้างานบริการวิชาการ ได้ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยกล้วย ณ กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านหล่ายทุ่ง ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 
     โครงการนี้ดำเนินงานโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้แนวคิด "การพัฒนายกระดับสิ่งทอพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม" มีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมให้แก่ผู้ประกอบการทอผ้าพื้นเมือง พร้อมเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์  โครงการมุ่งส่งเสริมกลุ่มทอผ้าให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน สร้างโอกาสและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนองค์ความรู้และแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงกับตลาดปัจจุบัน  การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่น ผ่านการผสมผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองอย่างยั่งยืน


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19029]
0 7
2 [19030]
กิจกรรมที่ 9 เพื่อปรึกษาแนวทางความร่วมมือด้านการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพสู่การสร้างมูลค่าทางการตลาดแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (BCG: Green Marketing) 
     วันที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลา 11.00 น. ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นางสาวสุวรีย์ ไชยวงศ์ ผู้อำนวยการ เข้าพบรองอธิการบดี อ.ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ณ ห้องประชุมเอื้องแววมยุรา ชั้น 2 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ เพื่อปรึกษาแนวทางความร่วมมือด้านการดำเนินงาน โครงการการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพสู่การสร้างมูลค่าทางการตลาดแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (BCG: Green Marketing) ร่วมกัน ตลอดจนเป็นการเรียนเชิญทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นที่ปรึกษาและคณะทำงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างชุมชนในพื้นที่สูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับธรรมชาติและยั่งยืนในระยะยาว 
     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green Economy) และสนับสนุนการสร้างอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สูง ในช่วงบ่าย ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพร้อมด้วยหัวหน้างานบริการวิชาการฯ ได้ร่วมประชุมจัดทำแผนการดำเนินโครงการการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพสู่การสร้างมูลค่าทางการตลาดแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (BCG: Green Marketing)" ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green Economy) และสนับสนุนการสร้างอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สูง 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19030]
0 15
2 [19031]
กิจกรรมที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมประชุมเครือข่ายบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทย ครั้งที่ 3/2567
      วันที่ 7 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 น. รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อาจารย์ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ เข้าร่วมต้อนรับและประชุมในช่วงพิธีเปิดการประชุมและสัมมนาวิชาการเพื่อความร่วมมือด้านการบริการวิชาการ ภายใต้เครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาไทย (คบอ.) ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุม Exhibition Hall อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STeP) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      งานประชุมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2567 โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริการวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยในโอกาสนี้ ทีมงานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้นำผลงานวิจัยและการบริการวิชาการเข้าร่วมจัดแสดงในงานครั้งนี้ด้วย เพื่อเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเครือข่ายที่เข้าร่วม


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19031]
0 6
2 [19022]
กิจกรรมที่ 1 บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่ คุณเนตรนภา เจียตระกูล ผลิตภัณฑ์น้ำพริกข่า ยายบัวจันทร์ 
ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting 
    วันที่ 21 ตุลาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่
คุณเนตรนภา เจียตระกูล ผลิตภัณฑ์น้ำพริกข่า ยายบัวจันทร์ ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรมZoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก 
ผศ.ดร.นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร  เป็นผู้ให้คำปรึกษา
ในประเด็นเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- วิธีการยืดอายุผลิตภัณฑ์
- การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์อาหาร
- กระบวนการจัดการวัตถุดิบก่อนการผลิต
- การจัดเก็บวัตถุดิบสำหรับการผลิต
- แนวทางการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://web.facebook.com/clinictech.cmru/posts/pfbid02vNSjMvX3fHDEGAXMSewk6gpNvNsRHzDkzN2wQ2sgibB6sKPqWU8q6YK3ENQweLKKl


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19022]
0 5
2 [19033]
สรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1
1. กิจกรรมที่ 1 บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่คุณเนตรนภา เจียตระกูล ผลิตภัณฑ์น้ำพริกข่า ยายบัวจันทร์ ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting
2. กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา ด้านการจัดเตรียมข้อมูลเอกสารเพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (แนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) 
3. กิจกรรมที่ 3 เข้าร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการนำทรัพยากรหรือวัตถุดิบในพื้นที่ของชุมชนมาออกแบบและสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชนที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านกระบวนการเรียนรู้ การบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย
4. กิจกรรมที่ 4 บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่คุณนิรชา จันทร์หอม ผลิตภัณฑ์ลูกชิดอบแห้ง  ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting
5. กิจกรรมที่ 5 เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการและแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
6. กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการคลินิกเทคโนโลยี Building Community Enterprise : BCE จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีโครงการนวัตกรรมการแปรรูปกระเทียมดำโดยใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน ณ.ชุมชนบ้านสบสา ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
7. กิจกรรมที่ 7 ร่วมต้อนรับและจัดนิทรรศการการดำเนินงานระหว่างคลินิกเทคโนโลยีและครูสกร. ในงาน ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกระทรวงอว.
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นอกสถานที่ครั้งที่ 1/2567  ณ จังหวัดเชียงใหม่
8. กิจกรรมที่ 8 ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี เพื่อติดตามการดำเนินงาน
ด้านกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยกล้วย ณ กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านหล่ายทุ่ง ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
9. กิจกรรมที่ 9 เพื่อปรึกษาแนวทางความร่วมมือด้านการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพสู่การสร้างมูลค่าทางการตลาดแบบเป็นมิตร
 กับสิ่งแวดล้อม (BCG: Green Marketing)
10. กิจกรรมที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมประชุมเครือข่ายบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทย ครั้งที่ 3/2567
11. กิจกรรมที่ 11 จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมือง เพื่อการเรียนรู้สู่ความยั่งยืนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ในพื้นที่ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
 
การใช้จ่ายงบประมาณโครงการฯ ไตรมาสที่ 1 รวมทั้งสิ้น 42,000 บาท
1) ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2567 เดือนละ 14,000 เป็นเงิน 42,000 บาท


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19033]
42000 0
2 [19051]
สรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2
1. กิจกรรมที่ 12  เข้าร่วมการประชุมยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน OTOP เชียงใหม่ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่
2. กิจกรรมที่ 13 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พัฒนาโรงเรียนปลอดฝุ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมพัฒนา
สถานศึกษาสู่ต้นแบบการบริหารจัดการโรงเรียนปลอดฝุ่น ที่ โรงเรียนบ้านสะลวงนอก
3. กิจกรรมที่ 14 เข้าร่วมจัดนิทรรศการ  โครงการ "ส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ณ แปลงเกษตรกรแปลงใหญ่  บ้านกาดฮาว ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม 
จังหวัดเชียงใหม่
4. กิจกรรมที่ 15 เข้าร่วมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภคในพื้นที่ชุมชนตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
5. กิจกรรมที่ 16 ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาและเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่อง ระบบบริหารจัดการฝุ่นควันขนาดเล็ก PM 2.5 
พร้อมติดตั้งเครื่องเติมอากาศ ห้องปลอดฝุ่นแรงดันบวกให้กับนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเชียงใหม่มัธยม ต.สบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
6. กิจกรรมที่ 17 ร่วมจัดอบรมและถ่ายทอดความรู้ เรื่องการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวกับ
ฝุ่นควันและติดตามผลการใช้งานเครื่องวัดฝุ่น ให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากร อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
7. กิจกรรมที่ 18 จัดอบรมหลักสูตร "Carbon Warrior" ความรู้เพื่อการจัดการคาร์บอนอย่างมืออาชีพ ให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
8. กิจกรรมที่ 19 การประชุมสร้างชุมชนเครือข่าย ขับเคลื่อน พัฒนา เรื่อง “แนวทางการพัฒนาเพื่อการก้าวสู่ชุมชนที่เป็นกลางทางคาร์บอน”
ร่วมบริการให้คำปรึกษาองค์ความรู้เพื่อการจัดการคาร์บอน by คลินิกเทคโนโลยี มรชม.
9. กิจกรรมที่ 20 เข้าร่วมจัดโครงการพัฒนาการผลิตและยกระดับคุณภาพเพื่อเป็นกาแฟคุณภาพพิเศษ กิจกรรม จัดเวทีคืนความรู้ให้ชุมชน บ้านแม่วอง 
อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
10. กิจกรรมที่ 21 เข้าร่วมกิจกรรม อบรมเสวนาและร่วมหารือแนวทางสร้างชุมชนนวัตกรรมและชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกับ สกร.จังหวัดเชียงใหม่ 
ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
11. กิจกรรมที่ 22 ร่วมดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนบ้านห้วยหมากเลี่ยม
 
การใช้จ่ายงบประมาณโครงการฯ ไตรมาสที่ 2 รวมทั้งสิ้น 42,000 บาท
1) ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนมกราคม – มีนาคม 2568 เดือนละ 14,000 เป็นเงิน 42,000 บาท


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19051]
42000 0
2 [19035]
กิจกรรมที่ 13 เข้าร่วมจัดนิทรรศการ  โครงการ "ส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ณ แปลงเกษตรกรแปลงใหญ่ บ้านกาดฮาว ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
     เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี ส่วนงานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้นำเสนอ 2 ผลงานเทคโนโลยีพร้อมใช้ถ่ายทอด: ระบบผลิตแก๊สชีวภาพร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ ,อุปกรณ์ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์โดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวน์" เข้าร่วมจัดนิทรรศการ  โครงการ "ส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ณ แปลงเกษตรกรแปลงใหญ่  บ้านกาดฮาว ตำบลสะลวง 
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19035]
0 30
2 [19036]
กิจกรรมที่ 14 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พัฒนาโรงเรียนปลอดฝุ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมพัฒนา
สถานศึกษาสู่ต้นแบบการบริหารจัดการโรงเรียนปลอดฝุ่น ที่ โรงเรียนบ้านสะลวงนอก
     เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกิจกรรมการพัฒนาโรงเรียนปลอดฝุ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ร่วมพัฒนาสถานศึกษาสู่ต้นแบบการบริหารจัดการโรงเรียนปลอดฝุ่น ที่ โรงเรียนบ้านสะลวงนอก ต.สะลวง อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ ถ่ายทอดความรู้ โดย 
ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาถ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับโครงการ BEYOND THE VILLAGE เป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ ในการจัด
การปัญหาฝุ่น และมอบเครื่องฟอกอากาศ DIY ให้กับทางโรงเรียน เพื่อที่จะได้จัดทำต้นแบบห้องปลอดฝุ่นให้กับนักเรียนต่อไป 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19036]
0 30
2 [19037]
กิจกรรมที่ 15 เข้าร่วมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภคในพื้นที่ชุมชนตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
        เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภคในพื้นที่ชุมชนตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี อาจารย์มาโนช พึ่งจะแย้ม เป็นวิทยากรในการ
บรรยายให้ความรู้ มีการบรรยายในหัวข้อ : หลักการและวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับใช้ในครัวเรือน และฝึกปฏิบัติการทำเครื่องกรองน้ำอย่างง่าย
เพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับใช้ในครัวเรือน เพื่อให้คนในชุมชนได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องไปซื้อเครื่องกรองน้ำราคาแพง เพื่อเป็นการลดรายจ่ายใน
ครัวเรือนและยังมีน้ำสะอาดไว้อุปโภคบริโภค


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19037]
0 30
2 [19038]
กิจกรรมที่ 16 ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาและเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่อง ระบบบริหารจัดการฝุ่นควันขนาดเล็ก PM 2.5 
พร้อมติดตั้งเครื่องเติมอากาศ ห้องปลอดฝุ่นแรงดันบวกให้กับนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเชียงใหม่มัธยม ต.สบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 
    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี ส่วนงานบริการวิชาการฯ ร่วมลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาและเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้
เรื่อง ระบบบริหารจัดการฝุ่นควันขนาดเล็ก PM 2.5 พร้อมติดตั้งเครื่องเติมอากาศ ห้องปลอดฝุ่นแรงดันบวกให้กับนักเรียนและบุคลากร
โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม ต.สบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันมีปัญหาหมอกควัน PM. 2.5 ที่มีความรุนแรงมากขึ้น
ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทางโรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันมลพิษทางอากาศเพื่อ
สุขภาพที่ดีของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเชียงใหม่มัธยม ทางโรงเรียนจึงมีความสนใจในการจัดทำห้องปลอดฝุ่นสำหรับนักเรียนและ
บุคลากรในโรงเรียนจึงขอความอนุเคราะห์วิทยากร อบรมให้ความรู้จากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการ ผู้เชี่ยวชาญ และ อาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการ
พร้อมด้วยบุคลากร  คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้คำปรึกษาดังกล่าว


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19038]
0 30
2 [19039]
กิจกรรมที่ 17 ร่วมจัดอบรมและถ่ายทอดความรู้ เรื่องการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวกับ
ฝุ่นควันและติดตามผลการใช้งานเครื่องวัดฝุ่น ให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากร อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
     วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี ส่วนงานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมจัดอบรมและ
ถ่ายทอดความรู้ เรื่องการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวกับฝุ่นควันและติดตามผลการใช้งาน
เครื่องวัดฝุ่น ให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากร อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการ และอาจารย์ชุติพันธุ์ แสงโสดา อาจารย์ประจำหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้เป็นวิทยากรบรรยาย  พร้อมด้วยบุคลากร  คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมถ่ายทอด
เทคโนโลยีและให้คำปรึกษาดังกล่าว


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19039]
0 30
2 [19040]
กิจกรรมที่ 18 จัดอบรมหลักสูตร "Carbon Warrior" ความรู้เพื่อการจัดการคาร์บอนอย่างมืออาชีพ ให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
        เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  จัดอบรมหลักสูตร Carbon Warrior 
เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการจัดการคาร์บอน เนื้อหาการอบรมประกอบด้วย : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจและสังคม กลไกการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย สังคมคาร์บอนต่ำ Workshop ภาคปฏิบัติ : การวัดรอยเท้าคาร์บอนส่วนบุคคล ,การจัดกิจกรรม
Carbon Neutral Event ,การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จากสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และ หน่วยวิจัย
เพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ (3E) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณณัฐวรรณ สืบนันตา ,คุณปนัดดา ริยะกาศ ,คุณชยากร เชิงดี ,คุณภัทรรัตน์ เวียงจันทร์ 
คุณกรกนก คำสอน ,คุณสมชาย กันนะ ณ อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19040]
0 30
2 [19047]
กิจกรรมที่ 19 การประชุมสร้างชุมชนเครือข่าย ขับเคลื่อน พัฒนา เรื่อง “แนวทางการพัฒนาเพื่อการก้าวสู่ชุมชนที่เป็นกลางทางคาร์บอน” ร่วมบริการให้คำปรึกษาองค์ความรู้เพื่อการจัดการคาร์บอน by คลินิกเทคโนโลยี มรชม.
      วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 งานคลินิกเทคโนโลยี ส่วนงานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดย
ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท พร้อมด้วย อ.ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากร ร่วมบริการให้คำปรึกษา
องค์ความรู้เพื่อการจัดการคาร์บอน ในการประชุมสร้างชุมชนเครือข่าย ขับเคลื่อน พัฒนาเพื่อการก้าวสู่ชุมชนที่เป็นกลางทางคาร์บอน
ณ อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริมโดยมี อ.ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เป็นประธานในการประชุมในการประชุมได้มีการเสวนาโดยมีประเด็นหลัก ได้แก่ การสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอน อาทิ
ผลกระทบของการปล่อยคาร์บอนต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน บทบาทของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
การกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อลดคาร์บอนในพื้นที่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง และชนบทให้เป็น Low Carbon 
Community แนวทางการบริหารจัดการขยะให้เกิดการลดและนำกลับมาใช้ใหม่ (Waste-to-Energy, Composting, Circular Economy) 
การใช้พลังงานหมุนเวียนและการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติที่เทศบาลและ อบต.สามารถดำเนินการได้
เป็นต้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้รับเกียรติจากนายกพร้อมทีมงาน สำนักงานเทศบาลตำบลขี้เหล็ก สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง ,
สำนักงานเทศบาลตำบลจอมแจ้ง พร้อมด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก และตำบลสะลวง เข้าร่วมการประชุม 
ในครั้งนี้ด้วย


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19047]
0 30
2 [19048]
กิจกรรมที่ 20 เข้าร่วมจัดโครงการพัฒนาการผลิตและยกระดับคุณภาพเพื่อเป็นกาแฟคุณภาพพิเศษ กิจกรรม จัดเวทีคืนความรู้ให้ชุมชน บ้านแม่วอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
           เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี ส่วนงานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการผลิต
และยกระดับคุณภาพเพื่อเป็นกาแฟคุณภาพพิเศษ กิจกรรม จัดเวทีคืนความรู้ให้ชุมชน บ้านแม่วอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ โดย อาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ 
รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่มาเข้าร่วมด้วย 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19048]
0 15
2 [19049]
กิจกรรมที่ 21 เข้าร่วมกิจกรรม อบรมเสวนาและร่วมหารือแนวทางสร้างชุมชนนวัตกรรมและชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกับ สกร.จังหวัดเชียงใหม่ 
ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
        เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 คลินิกเทคโนโลยี และงานบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมี อาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ
รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรม อบรมเสวนาและร่วมหารือแนวทางสร้างชุมชนนวัตกรรมและชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกับ
สกร.จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ต้องการให้มหาวิทยาลัยดำเนินงานเชิง พื้นที่บูรณาการร่วมกับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ในพื้นที่ ในการสร้างชุมชนนวัตกรรมและชุมชน
แห่งการ  เรียนรู้ตามภูมิสังคม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนสังคม ในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม 
ซึ่งคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ดำเนินงาน ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 
สังกัดศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในการสร้างชุมชนนวัตกรรม “ม่อนล้านโมเดล” และ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้”ณ ศูนย์ส่งเสริม
การเรียนรู้ระดับอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19049]
0 20
2 [19050]
กิจกรรมที่ 22 ร่วมดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนบ้านห้วยหมากเลี่ยม
        วันที่ 27 มีนาคม 2568 คลินิกเทคโนโลยี นำโดย ผศ.สุวลักษณ์ อ้วนสอาด รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ หน่วยงานภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอฝาง องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และชุมชนบ้านห้วยหมากเลี่ยม ได้ร่วมดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
        วัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ คือการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนองค์รวม ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและการถ่ายทอดองค์ความรู้ กิจกรรมสำคัญประกอบด้วยการอบรมหลักสูตรศิลปะการแสดงนาฏศิลป์เชิงพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนบ้านห้วยหมากเลี่ยมสามารถพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวบนฐานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
        และในโอกาสนี้ ได้ร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจทีมคณาจารย์หลักสูตรนาฏศิลป์ศึกษา นำโดย อาจารย์ ดร.สุนิสา สุกิน ที่จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรศิลปะการแสดงนาฏศิลป์เชิงภูมิสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วมบนวิถีดาราอั้งอย่างยั่งยืน ให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหมากเลี่ยม
โดยมีกิจกรรมการอบรมด้านการแสดง ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมของชุมชนบ้านห้วยหมากเลี่ยม การบริหารจัดการการแสดงเพื่อการต้อนรับ การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในการต้อนรับนักท่องเที่ยว การประยุกต์ บูรณาการและออกแบบ สร้างสรรค์การแสดงและการแต่งกายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้ดิจิทัลในการแสดงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19050]
0 20
2 [19032]
กิจกรรมที่ 11 จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมือง เพื่อการเรียนรู้สู่ความยั่งยืนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
      วันที่ 20 ธันวาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับงาน UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นเมือง เพื่อการเรียนรู้สู่ความยั่งยืนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 20 - 22 ธันวาคม 2567 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านใหม่พัฒนาสันติ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา อินภักดี อาจารย์พงศ์สถิตย์ มีดาหก อาจารย์พิเศษภาควิชาคหกรรมศาสตร์ และนายสาธิต  อินภักดี เป็นวิทยากรในครั้งนี้ มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 แห่ง คือโรงเรียน ตชด.บ้านใหม่พัฒนาสันติ และโรงเรียน ตชด.บางกอก เชฟ แชร์ริตี้ บ้านแม่ขอ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 60 คน


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2568 [19032]
0 60