2568 การบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [19003]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ จัดอบรมโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่นและอาหารฟังก์ชันด้วยการฉายรังสี ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เพื่อพัฒนาอาหารท้องถิ่นและอาหารฟังก์ชั่นด้วยการฉายรังสี โดยมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมจำนวน 21 กลุ่ม รวม 68 คน และบุคลากรและนักศึกษามากกว่า 40 คน รวม 108  คน

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568  ณ ห้อง 28207 ชั้น 2 อาคารเรียนวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการ (อาคาร 28) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  (เงินเดือน 15000  บาท)



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 05/04/2568 [19003]
24500 108
2 [18890]

ในวันที่  22  กุมภาพันธ์  2568  เวลา  09.30-10.00 คลินิกเทคโนโลยีติดตามและประเมินผลฯ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและบริการเทคโนโลยี  (TCS) ใน(รูปแบบออนไลน์) ผ่าน  zoom meeting (เงินเดือน 15000 บาท) นะครับ



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 03/04/2568 [18890]
17500 7
2 [18750]

คลินิกเทคโนโลยี  ได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (Pitching Online) ในระหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 - 10.30 น. ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพแม่บ้านเกษตรกร นางเพ็ญจิตร  แก้วใส  ทางกรรมการให้ข้อเสนอแนะ 1.ทบทวนการวางแผนทั้งการตลาดและการผลิตให้กับผู้ประกอบการ ทั้งการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค การสำรวจตลาดกลุ่มลูกค้า การจับคู่สี และให้ราคาขายที่ผู้บริโภคพร้อมจ่ายสูงขึ้น -การทดสอบตลาดแบบ MTOM - "แผนการพัฒนาผู้ประกอบการรายปีและระบุประเด็น ที่จะพัฒนาใน แต่ล่ะปีให้ชัดเจน"

2.ปรับเพิ่มการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อเตรียมขอรับรอง มผช. ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามรอบการเปิดรับของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด


 

 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 24/03/2568 [18750]
3500 6
2 [18685]

ในวันที่  5  กุมภาพันธ์  2568  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพแม่บ้านเกษตรกรตั้งอยู่ที่ 103 บ้านโนนกกข่า หมู่ 5 ตำบลโนนปอแดง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย มีประธานกลุ่มคือ นางเพ็ญจิตร แก้วใส อายุ 63 ปี เป็นวิสาหกิจชุมชน เริ่มดำเนินการในปี 2557 มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 24 คน ประกอบด้วย ช่างย้อม 5 คน ช่างมัดหมี่ 4 คน ช่างทอ 10 คน และช่างตัดเย็บ 5 คน

ทางคลินิกเทคโนโลยี ​ได้ผลักดันให้กลุ่ม​ส่ง​ใบ​สมัคร​คูปอง​วิทย์​โครงการ​พัฒนา​และ​ยก​ระดับ​สินค้า​หนึ่ง​ตําบล​หนึ่ง​ผลิตภัณฑ์​ด้วย​วิทยา​ศาสตร์ เทคโนโลยี​และ​นวัตกรรม​ปี​2558  มี​ประเด็น​การ​พัฒนา​และ​ความ​ต้องการ​ของผู้​ประกอบ​การ​คือ​1. พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ พัฒนาวัสดุหรือเส้นใยใหม่ๆ ที่มีความเหนียว แข็งแรงเพื่อใช้ในกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยใช้วัสดุ ฝ้ายในท้องถิ่น เช่นฝ้ายขาว ฝ้ายตุ่ย 2. พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต -พัฒนากระบวนการย้อมสีธรรมชาติให้สีมีความคงทน ไม่ซีดจาง -พัฒนาสีธรรมชาติให้มีหลากหลายเฉดสี และจับคู่สีให้มีความทันสมัย 3.พัฒนาระบบมาตรฐาน - ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐาน รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) 4.พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ - พัฒนาป้ายแท็ก,ป้ายลาเบลติดกับผลิตภัณฑ์สินค้า ให้เป็นที่จดจำ -ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเสริมการขาย 5. พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร - พัฒนาอุปกรณ์ที่ช่วยในการย้อมผ้า เช่น เตาย้อม -อยากให้มีเครื่องมือเครื่องจักร ที่ช่วยลดแรง หรือช่วยในการทอผ้า ผลิตได้จำนวนมากๆ 6. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ -พัฒนาสูตรมอร์แดนท์ที่เน้นธรรมชาติและมีคุณภาพ -พัฒนาด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น รองเท้าสำหรับบุรุษ รูปแบบรองเท้าแบบใหม่ที่ทันสมัย -พัฒนาผ้าที่ไม่เปียกน้ำ ไม่เปื้อนน้ำ

ทางทีมคณะที่ปรึกษาคลิกนิกเทคโนโลยีได้ มี​แนวคิด​ใน​การ​ออกแบบ​และ​พัฒนากระบวนการ ดังนี้ ปีแรก1) พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต โดยพัฒนากระบวนการย้อมสีธรรมชาติ ให้มีความคงทน พัฒนาเฉดสีธรรมชาติให้มีหลากหลายและจับคู่สีให้ทันสมัย 2) พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร พัฒนาอุปกรณ์ที่ช่วยในการย้อมผ้า เช่น เตาย้อม ปีที่สอง 1) พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ โดยพัฒนากระบวนการเตรียมเส้นใยจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้จากท้องถิ่น ได้แก่ ฝ้ายขาว ฝ้ายตุ่ย เป็นต้น 2) พัฒนาระบบมาตรฐาน ยื่นขอ มผช ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ 3) พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นป้ายแทคลาเบลติดกับสินค้าให้เป็นที่จดจำ ปีสาม 1) พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ พัฒนาด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น รองเท้าสำหรับบุรุษ รูปแบบรองเท้าแบบใหม่ที่ทันสมัย เพื่อ​ให้​ได้​ผลิตภัณฑ์ที่​หลาก​หลาย​เพิ่มฟังชันก์การใช้งาน เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เพื่อให้​ยอด​ขาย​มาก​ขึ้น​การ​พัฒนา​กระบวนการ​ผลิต​และเตรียมเข้าสู่​มาตรฐานผลิตภัณฑ์​ชุมชน​ผ้า​ทอ​มือ​ย้อม​สี​ธรรมชาติ​ให้​เป็น​มิตร​กับ​สิ่ง​แวดล้อม​เน้นการใช้สารจากธรรมชาติ ได้แก่ สีย้อมธรรมชาติ สารช่วยติดสีจากธรรมชาติ เพื่อให้​เกิด​การ​พัฒนา​ต่อย​อด​ใน​การ​ยกระดับ​สินค้า​หนึ่ง​ตําบลหนึ่ง​ผลิต​ภัณฑ์​ด้วย​วิทยา​ศาสตร์​เทคโนโลยี​และ​นวัตกรรม​ใน​พื้นที่​จังหวัด​เลย ก่อ​ให้​เกิด​การ​สร้าง​ราย​ได้​กับ​ชุม​ชน​สร้าง​ความ​มั่น​คง​มั่ง​คั่ง​ยั่งยืน



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 12/03/2568 [18685]
5000 24
1 [18420]

คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ให้คำปรึกษาจำนวน  4  เรื่อง 1.การออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิต ระบบมาตรฐาน บรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ทอมือย้อมสีธรรมชาติ วิสาหกิจชุมชนบ้านณัฐจิรา จังหวัดเลย

2.การ​พัฒนาระบบมาตรฐานและบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับ​ผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วสูตรหวานน้อย กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านน้อย จังหวัดเลย  3.การพัฒนามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสําเร็จรูป ชาย-หญิง กลุ่มทอผ้าไท เลยบ้านก้างปลา จังหวัดเลย

4.การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติเพื่อยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพแม่บ้านเกษตร จังหวัดเลย  ทางคลินิกเทคโนโลยีได้เขียนข้อเสนอการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป  ประจำปีงบประมาณ  2568 จำนวน 4 เรื่องตามทางทีมงานคลินิกให้คำปรึกษา



 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 04/01/2568 [18420]
20000 75