2568 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [19014]

ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568  คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีผู้มารับบริการทั้งสิ้น 536 คน ดังนี้

       1. กิจกรรมบริการให้คำปรึกษา จำนวน 366 คน (OTop ,BY2 , Cadmium,ตรวจวัดความอ่อน-แก่ ของทุเรียน)

       2. การบริการข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 170 คน (ประชุม GI ,จัดประชุมชี้แจง GI ,ดูงาน)

       3. หมวดเงินเดือน เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ตุลาคม 2567 - มีนาคม 2568 



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19014]
108000 0
2 [19012]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568

กิจกรรมที่ 7 ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

          วันที่ 28 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเคมี นำโดย อาจารย์ปรัชญา  วาทะสิทธิ์ ได้นำคณาจารย์และนักศึกษา จำนวน 20 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาความรู้ทางวิชาการด้านการทดสอบ ดิน นำ ธาตุอาหารในพืช ยาฆ่าแมลง และสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร การวิเคราะห์องค์ประกอบของอาหาร และฉลกโภชนาการ รวมไปถึงโรงงานต้นแบบการแปรรูปสมุนไพร โดยมี

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ    ตำแหน่ง ผู้จัดการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

          อาจารย์ขนิษฐา  รัตน์ประโคน      อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

          นางสาวกรรณิการ์  แสงภู่          เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

          นางสาวสุวนันท์  เนื่องแนวน้อย    เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์

          นายคฑาวุธ  สว่างดี                 เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

          ให้การต้อนรับ และบรรยายขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน การวิเคราะห์ และการบริการวิชาการแก่ผู้รับบริการในแต่ละจุด



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19012]
0 20
2 [19011]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568

กิจกรรมที่ 6 ดำเนินการจัดประชุมชี้แจงโครงการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด

          มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีโดยศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก รับดำเนินการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control) สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า และจัดให้มีการตรวจประเมินตามระบบควบคุมคุณภาพของผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้าที่ประสงค์ขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยในเขตพื้นที่การปลูกทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด ปลูกและผลิตในเขตพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดตราด ได้แก่ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ และอำเภอเขาสมิง เพื่อป้องกันการแอบอ้างนำทุเรียนพันธุ์อื่นมาแอบขายเป็นทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้อง นำทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดไปขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical indication, GI) ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

          ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก และเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้จัดประชุมชี้แจงโครงการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด เพื่อให้คณะอนุกรรมการดำเนินงานระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ผู้ผลิต และผู้ประกอบการขอใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สามารถดำเนินกิจกรรมจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดประจำปี 2568ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในเขตพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดตราด เพื่อ ในวันที่ 7มีนาคม 2568ณ ห้องประชุมบุษราคัม และทับทิมสยาม โรงแรมเอวาด้า อำเภอเมือง จังหวัดตราด

          มีผู้เข้ารับบริการ จำนวน 130 คน ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผู้แทนจังหวัดตราด เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ พาณิชย์จังหวัด กรมทรัพย์สินทางปัญญา และเกษตรกร

          บุคลากรจากมหาวิทยาลัยที่ร่วมจัดกิจกรรม ดังนี้

          1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ       ตำแหน่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพร  สวัสดิการ               ตำแหน่ง รองศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง  สุวรรณรัตน์    อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร

4. นางสาวสุวนันท์  เนื่องแนวน้อย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

5. นางสาวสิริวิมล  วรรณโคตร ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

6. นายคฑาวุธ  สว่างดี    ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ

7. นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักบริการวิชาการ

8. นายสหรัฐ  ศรีครินทร์  ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) สำนักบริการวิชาการ

9. นางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ สำนักบริการวิชาการ

          * บุคลากรดำเนินกิจกรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ,คลินิกเทคโนโลยี และ UBI สำนักบริการวิชาการ

           ** งบประมาณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19011]
0 130
2 [19010]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568

กิจกรรมที่ 5 การบริการวิชาการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ความอ่อน-แก่ ของทุเรียน

          ด้วยทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและนำรายได้เข้าสู่จังหวัดจันทบุรีปีละหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งการซื้อขายทุเรียนแต่ละฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา พบว่ามีการตัดทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) คละปนออกมาและนำเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในคุณภาพทุเรียนจังหวัดจันทบุรี ทั้งในและต่างประเทศ จังหวัดจันทบุรี ได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ โดยกำหนดให้เกษตรกรผู้ที่จะขาย และมือตัดที่จะตัดทุเรียนนั้น มีการตรวจก่อน เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ ออกสู่ตลาด ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตรวจก่อนตัด (ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนก่อนตัด) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานและชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจตรวจก่อนตัด เพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด ในฤดูกาลผลิต ปี พ.ศ. 2568

          เพื่อเป็นการอำนวยสะดวก และการบริการประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ ในช่วงระระเวลาการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก,คลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ, และคณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมด้านสถานที่ เครื่องมือ และบุคคลากร และงบประมาณ ด้านการวิเคราะห์หาความแก่อ่อนของทุเรียน ในช่วงประกาศการเก็บเกี่ยวตามประกาศของจังหวัด มหาวิทยาลัยจึงเปิดศูนย์รับวิเคราะห์ผลผลิตทางการเกษตร ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

มหาวิทยาลัยมีวิธีการดำเนินงานภายในโครงการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          จุดที่ 1 กรองทุเรียนก่อนลงทะเบียน คือ ถ้าผ่า เจาะ ป้ายยา ขั้วแห้ง  ไม่รับตรวจ  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวสุวนันท์  เนื่องแนวน้อย

          จุดที่ 2 จุดลงทะเบียนและลงรหัสที่ลูก โดยใช้ใบ GAP (ไม่หมดอายุ) และสำเนาบัตรประชาชนผู้ส่งตรวจ เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวสุวนันท์  เนื่องแนวน้อย

          จุดที่ 3 จุดผ่าลูก การผ่าให้ได้เนื้อกลางลูกมากที่สุด และใส่เนื้อในตะกร้าที่มีรหัสตรงกับลูก  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวนวลพรรณ ผลพูล ,นางผสม  เฟื่องภักดิ์ และเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของมหาวิทยาลัย วันละ 2 คน ผลัดเปลี่ยนเวรการผ่า 

          จุดที่ 4 การวัดค่าด้วยเครื่อง NIR  สแกน 6-12 ซ้ำ จนกว่าจะได้ค่าที่นิ่ง และไม่ error  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวกรรณิการ์  แสงภู่ ,นางสาวนิรดา  เขียวผ่อง และนางสาวธัญญดา  เบญธวารีเดชา เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

          จุดที่ 5 การรายงานผลผ่านระบบ เจ้าหน้าที่ประจำจุด นายคฑาวุธ  สว่างดี เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

          จุดที่ 6 รับใบรายงาน ต้องตรวจชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ในใบรายงานให้ตรงกับข้อมูลแปลงที่นำมาตรวจ  เจ้าหน้าที่ประจำจุด นางสาวสุวนันท์  เนื่องแนวน้อย และนางสาวสิริวิมล  วรรณโคตร

รายชื่ออาจารย์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม 2568 – 30 เมษายน 2568 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

1. รองศาสตราจารย์ ดร.วริศชนม์  นิลนนท์          คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ       ตำแหน่ง ผู้จัดการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพร  สวัสดิการ               ตำแหน่ง รองศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

4. รองศาสตราจารย์ ดร.ถาวร ฉิมเลี้ยง                หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง  สุวรรณรัตน์     หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิศา  ชัยกุล               หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ แสงสว่างโชติ      หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรวิทย์  รัศมี             อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกันยา  ประทุมยศ        อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ  สุขุมพินิจ     อาจารย์สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เลิศชัย จิตร์อารี          อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพร  สังข์สุวรรณ              อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลพร  พุทธมี                  อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงรัตน์  สวัสดิ์มงคล        อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารยา  แดงโรจน์             อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

16 อาจารย์ ดร.สรวีย์  ธัญญมาดา                      อาจารย์สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

17. อาจารย์ขนิษฐา  รัตน์ประโคน                      อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

18. อาจารย์นภาพรรณ  หนิมพานิช                   อาจารย์สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

        ระหว่างการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2568 – 2 เมษายน 2568  มีเกษตรกรเจ้าของสวน ,มือตัดอิสระ และเจ้าของล้ง นำทุเรียนมาตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเนื้อทุเรียนก่อนตัด จำนวน 98 คน จำนวนตัวอย่าง (ทุเรียน) 103 ตัวอย่าง สามารถสรุปการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน จุดบริการตรวจก่อนตัดมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปี 2568 ด้วยเทคนิค NIR (FT- NIR Spectroscopy) ดังรายละเอียดภาพด้านล่าง

** งบประมาณดำเนินงาน

    1. ค่าวัสดุ จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก

    2. ค่าใช้สอย ค่าอาหาร จาก งานคลินิกเทคโนโลยี



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19010]
5000 98
2 [19009]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568

กิจกรรมที่ 4 การตรวจวิเคราะห์ดิน Soil Analysis แคดเมี่ยม

มาตรการของทางการจีน: การกำหนดให้มีใบรับรองตรวจสาร BY2 โดยปัจจุบันทางจีนอนุมัติให้มีการนำเข้าทุเรียนจากไทยได้แล้ว แต่มีมาตรการบังคับใช้เพื่อลดความเสี่ยงของสารปนเปื้อนในอาหาร ทางการจีนได้ออกมาตรการควบคุมที่เข้มงวด ได้แก่ : การตรวจสาร Basic Yellow 2 และ Cadmium ทุกล็อต: ทุเรียนไทยที่ส่งออกไปจีนจะต้องผ่านการตรวจวิเคราะห์สาร BY2 และ Cadmium โดยแนบผลการตรวจที่แสดงว่าปลอดสารดังกล่าว **ที่มา https://www.amarc.co.th/by2-durian/

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีปรัชญา เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้เปิดรับวิเคราะห์ Cadmiumเพื่อออกใบรับรองผลในการนำผบไปแสดงว่าปลอดสาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดี ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ ตำแหน่ง เป็นผู้ดำเนินการการรับตัวอย่างและการวิเคราะห์ Cadmiumในดิน พร้อมออกผลรับรอง โดยใช้ห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นมา

ระหว่างวันที่ 20 – 23 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลจันทบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ไปตั้งบูทประชาสัมพันธ์ ให้คำปรึกษา และรับตัวอย่างดินของเกษตรกรมาวิเคราะห์ Cadmiumซึ้งเป็นการเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ ในงาน Fruit Innovation Fair (FiF) จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “มหานครผลไม้” ในภาคตะวันออกโดยมีพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์การในการดำเนินการตามมติ คณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดไว้

จากการจัดบริการ มีผู้เข้ารับบริการวิเคราะห์โลหะหนัก ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 – 3 เมษายน 2568 จำนวน 369 ราย และมีตัวอย่างดินวิเคราะห์ Cadmiumจำนวน 470 ตัวอย่าง

* บุคลากรดำเนินงานวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก   

          ** บุคลากรดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในงาน Fruit Innovation Fairคณะเทคโนโลยีการเกษตร ,สำนักบริการวิชาการ ,งานคลินิกเทคโนโลยี ,งานประชาสัมพันธ์

          *** งบประมาณดำเนินงาน Fruit Innovation Fair(มหาวิทยาลัย) การรับตัวอย่างช่วงปกติ (Classforecast และคลินิกเทคโนโลยี)



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19009]
5000 250
2 [19008]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568

กิจกรรมที่ 3 การคัดกรองเบื้องต้น เพื่อตรวจวิเคราะห์สาร BY2ของล้ง

          เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 ทางการจีนได้ออกมาตรการเข้มงวดเกี่ยวกับการนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทย โดยกำหนดให้ทุเรียนทุกล็อตที่ส่งออกไปจีนต้องแนบผลการตรวจวิเคราะห์สารย้อมสี Basic Yellow 2 (BY2) โดยผลการตรวจต้องไม่พบสารดังกล่าว (Not Detected) มาตรการนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

สาเหตุของมาตรการนี้เกิดจากการที่หน่วยงานกำกับดูแลตลาดของจีนตรวจพบการใช้ สาร BY2 ในทุเรียน ที่นำเข้าจากไทย สาร BY2 เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ใช้ในการย้อมผ้า กระดาษ หนัง และสีทาบ้าน ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2B และทางกระทรวงสาธารณสุขของจีนจัดให้สารนี้เป็นสารที่ไม่สามารถบริโภคได้ตั้งแต่ปี 2551

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ กรมวิชาการเกษตรของไทยได้ออกประกาศมาตรการควบคุมการปนเปื้อนสารห้ามใช้ในทุเรียนผลสดส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยกำหนดให้โรงคัดบรรจุที่ใช้สารห้ามใช้หรือมีสารห้ามใช้ไว้ในครอบครองจะถูกระงับการส่งออก และอาจนำไปสู่การยกเลิกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช **ที่มา https://www.amarc.co.th/by2-durian/

จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองที่มีทุเรียนจำนวนมาก และในเดือน มีนาคม - เมษายน ของทุปี จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะถูกส่งไปที่พ่อค้าคนกลาง หรือที่เราเรียกว่า ล้ง และตามประกาศของจังหวัดจันทบุรี ล้งจะเปิดการรับซื้อผลผลิตได้นั้น จะต้องไม่พบสาร BY2โดยมหาวิทยาลัย ได้หน่วยงานหนึ่งที่ตรวจสาร BY2ของล้ง เพื่อคัดกรองเบื้องต้น

ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี นำโดย

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ  ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

2. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

3. นายธนาวิล  วงศ์เจริญ  ตำแหน่ง นักวิชาการการเกษตร

ลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างหาสาร BY2ตามล้งต่างๆ ที่ประสงค์ขอรับการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้น สำหรับการเตรียมตัวเปิดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกทุเรียนไปจีน จำนวน 3 ล้ง ในพื้นที่ อ เมือง และอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19008]
0 3
2 [19006]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการจัด “กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” (กิจกรรมโอทอปสัญจร) ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จังหวัดตราด (ภายใต้การดำเนินงาน งานคลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ) 

          คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อจัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับ OTOP ด้วย วทน. (กิจกรรมโอทอปสัญจร) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาและนกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐาน ให้คำปรึกษา/ข้อแนะนำในเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการที่มีความต้องการแก้ไขปัญหาด้านการผลิต นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (Pitching)ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ทั้ง 6 ประเด็นการพัฒนา วันที่ 27 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมทับทิมสยาม โรงแรมเอวาด้า อำเภอเมือง จังหวัดตราด มีผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปี 2568 จำนวน 17 กลุ่ม จาก 3 มหาวิทยาลัย ที่เข้า Pitchingดังนี้

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 15 กลุ่ม ประกอบด้วย

วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านตาหนึก      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ      

วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าระแนะ         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ      

กะปิเกาะช้างบ้านลุงแดง / วิสาหกิจชุมชนของดีเกาะช้างบ้านลุงแดง   ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพร สังข์สุวรรณ

วิสาหกิจชุมชนอาหารโบราณบ้านน้ำเชี่ยว             ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพร สังข์สุวรรณ

วิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์บ้านน้ำเชี่ยว                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์

หอมทะเลตราด                                         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์

นิเวศพิพิธภัณฑ์บ้านช้างทูน                            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพบ้านเจ๊กแบ้           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี

วิสาหกิจชุมชน ก.ไก่ ตังเมกรอบ                      ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลพร พุทธมี

วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพร สวัสดิการ

วิสาหกิจชุมชนฟื้นฟูอาชีพบ้านยายม่อม               ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพร สวัสดิการ

กลุ่มชุมชนหนองบัว                                     อ.ขนิษฐา รัตน์ประโคน

วิสาหกิจชุมชนหอยนางรมท่าโสม                      อ.ขนิษฐา รัตน์ประโคน

วิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยแร้ง                            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณภัค แสงจันทร์

วิสาหกิจชุมชนหนองบอนกาแฟดี                      อ.พนม จงกล    

2. มหาวิทยาลัยบูรพา  จำนวน 1 กลุ่ม

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก จำนวน 1 กลุ่ม

          มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้

(1) เจ้าหน้าที่ สป.อว. (ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กปว.)        จำนวน 6 คน    

(2) คณะกรรมการยกระดับ OTOP                             จำนวน 3 คน

(3) คณะที่ปรึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เป็นหน่วยรับดำเนินการ      จำนวน 11 คน

(4) ผู้บริการ อาจารย์                                            จำนวน 3 คน    

(5) เจ้าหน้าที่ของหน่วยรับดำเนินการ                          จำนวน 10 คน

(6) ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน/โอทอป ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดตราด      จำนวน 34 คน

รวมจำนวนทั้งหมด 67 คน

ภายหลังจากการจัดกิจกรรม สป.อว.ได้พิจารณาข้อเสนอโครงการฯ ดังกล่าว เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ จำนวน 7 โครงการ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในปีงบประมาณ 2568 ต่อไป

จัดโดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19006]
0 15
2 [19007]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 เดือนมกราคม 2568 - มีนาคม 2568

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จังหวัดตราด ครั้งที่ 1/2568

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมยุทธนาวีเกาะช้าง ศาลากลางจังหวัดตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดือนรุ่ง เบญจมาศ ตำแหน่งผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนายคฑาวุธ สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จังหวัดตราด ครั้งที่ 1/2568 เพื่อพิจารณาการตรวจประเมินตามระบบควบคุมคุณภาพ สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด เป็นไปตามขั้นตอนตามที่กรมฯ กำหนด   โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 โดยให้มีผลตั้งแต่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน 5 กุมภาพันธ์ 2568 แต่ยังไม่มีระบบควบคุมภายใน (Internal Control) เพื่อให้สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้าทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด มีคุณภาพ และเป็นไปตามข้อกำหนดที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมฯ โดยผู้ผลิต และผู้ประกอบการค้าที่ผ่านการตรวจประเมินตามระบบควบคุมคุณภาพ จะได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI ไทย และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เป็นที่ปรึกษาการจัดทำระบบควบคุมภายใน (Internal Control) ได้จัดทำ ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” ในปี 2568 ของ 5 อำเภอบริเวณเทือกเขาบรรทัด พื้นที่จังหวัดตราด มีผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ 

1.นายณัฐพงษ์  สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด    ประธานในที่ประชุม

2. นายพีระ  เอี่ยมสุนทร  รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด 

3. เกษตรจังหวัดตราด

4. เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตราด

5. ประชาสัมพันธ์จังหวัดตราด

6. พัฒนาการจังหวัดตราด

7. ท้องถิ่นจังหวัดตราด

8. วัฒนกรรมจังหวัดตราด

9. ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตราด

10. ศึกษาธิการจังหวัดตราด

11. อุตสาหกรรมจังหวัดตราด

12.ประธ่านหอการค้าจังหวัดตราด

13. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ)

14. หน่วยงานอื่นๆ



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 05/04/2568 [19007]
2000 20