2567 การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมัลเบอร์รี่ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [16703]

กิจกรรมที่ 4การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

          เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

          1. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

          การประเมินคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกระบวนการผลิตตามหลักการ GMPผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ร่วมกับตัวแทนวิสาหกิจชุมชนฯ ได้ทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น (บางรายการ) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการพัฒนา 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice) และผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice)ที่เติมสารกันเสีย ค่าคุณภาพที่ดำเนินการประเมินเบื้องต้น ได้แก่ ลักษณะปรากฏ ค่าสี ปริมาณของแข็งทั้งหมด (obrix)ปริมาณกรดทั้งหมด (g/100g) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) แสดงดังตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2คุณภาพด้านเคมีกายภาพของผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส และผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สที่

             เติมสารกันเสีย

  

คุณภาพ

ไม่เติมสารกันเสีย

เติมสารกันเสีย

ลักษณะปรากฏ

ของเหลว ไม่มีตะกอน มีสีม่วงแดง ไม่มีกลิ่น และไม่มีสิ่งแปลกปลอม

ของเหลว ไม่มีตะกอน มีสีม่วงแดง ไม่มีกลิ่น และไม่มีสิ่งแปลกปลอม

สี

L* 20.12 ± 0.12

a* 2.80 ± 0.26

b* 2.02 ± 0.22

L* 19.54 ± 0.22

a* 2.82± 0.33

b* 2.04± 0.60

ปริมาณของแข็งทั้งหมด (obrix)

13.20 ± 0.00

13.00 ± 0.00

ปริมาณกรดทั้งหมด (g/100g)

0.40 ± 0.46

0.41 ± 0.20

ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

2.92 ± 0.01

3.01 ± 0.01

          ผลการประเมินคุณภาพด้านจุลินทรีย์ อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค แสดงดังตารางที่ 3

 

ตารางที่ 3คุณภาพด้านจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส และผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สที่เติม

             สารกันเสีย

 

คุณภาพ

ไม่เติมสารกันเสีย

เติมสารกันเสีย

Bacillus cereus(CFU/mL)

< 1

< 1

Clostridium perfringens (CFU/mL)

< 1

< 1

Coliform Bacteria (CFU/mL)

< 0.3

< 0.3

Escherichia coli (in 100 mL)

Not Detected

Not Detected

Salmonellaspp. (in 25 mL)

Not Detected

Not Detected

Staphylococcus aureus (CFU/mL)

< 1

< 1

Yeast and Molds (CFU/mL)

< 1

< 1

 

          ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส โดยใช้วิธีการทดสอบความชอบด้วยวิธี 9-point hedonic scale กับผู้ทดสอบที่ไม่ได้รับการฝึกฝน (untrained panels) จำนวน 30 คน (รวมตัวแทนของวิสาหกิจชุมชนฯ) กับผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ (ไม่เติมสารกันเสีย และเติมสารกันเสีย) สอบถามในคุณลักษณะ คือ สี กลิ่น รสชาติ และความชอบรวม พบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบเฉลี่ยของน้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ไม่แตกต่างกัน โดยมีคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะมากกว่า 7.21(จากคะแนนเต็ม 9.00) นั่นคือ ชอบปานกลางถึงชอบมาก แสดงดังตารางที่ 4

 

ตารางที่ 4คะแนนความชอบแฉลี่ยของผู้ทดสอบต่อผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส และผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่

             อัดแก๊สที่เติมสารกันเสีย

 

 

คุณภาพ

ไม่เติมสารกันเสีย

เติมสารกันเสีย

สีns

7.16±0.62

7.11±1.10

กลิ่นns

7.04±0.40

7.02±0.62

ราชาติns

7.02±0.91

7.01±0.52

ความชอบรวมns

7.23±1.01

7.21±0.38

 

หมายเหตุ   ns  ค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่อยู่ในแนวเดียวกันแสดงความไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p>0.05)

 

          ดังนั้นการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส และผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สที่เติมสารกันเสีย สามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ โดยที่ค่าคุณภาพไม่แตกต่างกัน หรือแตกต่างกันในบางคุณลักษณะเล็กน้อย

 

          ผลการประเมินข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ (ฉลากโภชนาการ) อยู่ระหว่างรอผลการทดสอบ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 08/05/2567 [16703]
33000 2
3 [16702]

กิจกรรมที่ 3การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives) 

 

          เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

          1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส (carbonated fruit juice)

          2. การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)  

          3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

สำหรับกิจกรรมการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives) ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ  ทำการทดลองโดยใช้วัตถุเจือปนอาหาร 2 ชนิด คือ กรดซิตริก (citric acid)หรือ กรดมะนาว; INS: 330 ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารควบคุมความเป็นกรด สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น สารคงสภาพของสี สารช่วยจับอนุมูลโลหะ และสารกลุ่มเบนโซเอต (benzoates) ได้แก่ INS: 210 benzoic acid (กรดเบนโซอิก), INS: 211 sodium benzoate (โซเดียมเบนโซเอต),INS: 212 potassium benzoate(โพแทสเซียมเบนโซเอต)และINS: 213 calcium benzoate (แคลเซียมเบนโซเอต) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารกันเสีย ศึกษาปริมาณการเติมอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ซึ่งอนุญาตให้ใช้สารกันเสียปริมาณสูงสุดไม่เกิน 200 มก./กก.ทำการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก แล้วนำผลการทดลองที่ได้ถ่ายทอด สูตร กระบวนการผลิต ประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ และศึกษาความเป็นไปได้หากทำการผลิตจริง แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนแปรรูปน้ำมัลเบอร์รี่ ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนแปรรูปน้ำมัลเบอร์รี่ ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

          ผลที่ได้จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทดลองผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice) แล้วทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น พบว่า วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถผลิตและพิจารณาปรับเปลี่ยนสัดส่วนของส่วนผสมในสูตรผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามขั้นตอนในกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

 

 

 



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 08/05/2567 [16702]
24900 4
3 [16701]

กิจกรรมที่ 2กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส (carbonated fruit juice) และการผลิตเชิงพาณิชย์

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่นำไปใช้

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมัลเบอร์รี่ด้วยความร้อน (การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มด้วยการพาสเจอไรด์เซชัน)

2. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส (carbonated fruit juice)

3. การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)  

4. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

          กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊สและการผลิตเชิงพาณิชย์ ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ดำเนินการโดยขยายสเกลการผลิต โดยใช้ถังอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดบรรจุ 5 ลิตร ใช้สูตร กระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์แบบเดิม โดยจัดเป็นกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice)เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนฯ ทดลองผลิต แล้วนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปประเมินคุณภาพเปรียบเทียบเทียบกับการผลิตในระดับห้องปฏิบัติการ

          ผลการวัดค่าคุณภาพมีรายละเอียด ดังนี้

                     - การประเมินคุณภาพทางกายภาพ คือ ลักษณะปรากฏ ค่าสี พบว่า ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฏที่ดี ไม่มีตะกอน มีสีม่วงแดง ผลการประเมินค่าสีด้วยเครื่องวัดค่าสีพบว่า ผลิตภัณฑ์มีสีโทนม่วงแดง โดยมีค่าความสว่าง (L*) ระหว่าง 19.50 - 20.60ค่าความเป็นสีแดง (a*) ระหว่าง 2.82 - 3.85ค่าความเป็นสีน้ำเงิน (b*) ระหว่าง 1.94 - 2.03 ตามลำดับ 

                     - การประเมินคุณภาพทางเคมี คือ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 3.00 - 3.31ปริมาณของแข็งทั้งหมด (total soluble solid, TSS) 13.20 - 13.70 องศาบริกซ์ (obrix) ปริมาณกรดทั้งหมด 0.40 -0.43 ตามลำดับ 

                     - การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส โดยใช้วิธีการทดสอบความชอบด้วยวิธี 9-point hedonic scale กับผู้ทดสอบที่ไม่ได้รับการฝึกฝน (untrained panels) จำนวน 30 คน (รวมตัวแทนของวิสาหกิจชุมชนฯ) กับผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice)สอบถามในคุณลักษณะ คือ สี กลิ่น รสชาติ และความชอบรวม พบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบเฉลี่ยของน้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส โดยมีคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะมากกว่า 7.20(จากคะแนนเต็ม 9.00) นั่นคือ ชอบปานกลางถึงชอบมาก

          ผลการประเมินค่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สในระดับขยายสเกลเปรียบเทียบกับการผลิตในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า ค่าคุณภาพทางด้านกายภาพและด้านเคมีมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่ ค่าคุณภาพจากการผลิตในระดับขยายสเกลมีช่วงกว้างของค่าคุณภาพที่วัดได้แคบกว่า นั่นแสดงให้เห็นว่า สามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้ค่อนข้างดี สำหรับผลการประเมินทางประสาทสัมผัสพบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบเฉลี่ยในด้านความชอบรวมต่อผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สที่ผลิตในระดับขยายสเกลมากกว่าการผลิตในระดับห้องปฏิบัติการ โดยมีคะแนนเฉลี่ยของคุณลักษณะอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน คะแนนความชอบเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 7.02 - 7.16 (จากคะแนนเต็ม 9.00) นั่นคือ ชอบปานกลางถึงชอบมาก จากผลการประเมินคุณภาพโดยรวมแสดงให้เห็นว่า การใช้การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แบบถังบรรจุ 5 ลิตร สามารถควบคุมสภาวะในกระบวนการผลิตน้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สที่ผลิตในระดับขยายสเกลได้ดี ส่งผลให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ค่อนข้างคงที่ ดังนั้นการใช้สูตรและกระบวนการผลิตนี้จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สได้จริง และวิสาหกิจชุมชนฯ สามารถนำไปใช้ผลิตเองได้

          ผลที่ได้จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทดลองผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice) แล้วทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น พบว่า วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถผลิตและพิจารณาปรับเปลี่ยนสัดส่วนของส่วนผสมในสูตรผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามขั้นตอนในกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 08/05/2567 [16701]
65000 7
3 [16700]

กิจกรรมที่ 1กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส (carbonated fruit juice)

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่นำไปใช้

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมัลเบอร์รี่ด้วยความร้อน (การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มด้วยการพาสเจอไรด์เซชัน)

2. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส (carbonated fruit juice)

3. การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)  

4. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

          กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส (carbonated fruit juice) แบ่งกิจกรรมเป็น 2 ส่วน คือ

          1. การผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น (mulberry concentrate)

          2. การผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice)

 

          1. การผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น(mulberry concentrate)

          เนื่องจากกิจกรรมในโครงการเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากปีงบประมาณที่ผ่านมา คือ การนำน้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้นมาพัฒนาต่อเพื่อเป็นเครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส (carbonated fruit juice) ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การผลิตน้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น”ต่อเนื่องกับกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มน้ำผลไม้อัดแก๊ส”แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนแปรรูปน้ำมัลเบอร์รี่ ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนแปรรูปน้ำมัลเบอร์รี่ ตำบลวังตะคร้อ อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

          สูตรที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น (mulberry concentrate) ซึ่งประกอบด้วย น้ำเชื่อม syrupร้อยละ 56.00น้ำมัลเบอร์รี่ mulberryjuice ร้อยละ 41.33 กรดซิตริก citric acid ร้อยละ 1.67 เพกติน pectin ร้อยละ 0.67 เกลือ salt ร้อยละ 0.33

          กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น มีขั้นตอนการผลิตดังนี้ นำน้ำเชื่อมไปให้ความร้อน (ประมาณ 60-65 องศาเซลเซียส) เติมส่วนผสมได้แก่ เพกติน น้ำมัลเบอร์รี่ เกลือ และกรดซิตริก ให้ความร้อนต่อจนส่วนผสมทั้งหมดมีอุณหภูมิประมาณ 82-85องศาเซลเซียส จับเวลา 2-3 นาที บรรจุใส่ขวดแก้วที่ฆ่าเชื้อแล้ว ปิดฝาขวด ตั้งไว้ให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง แล้วเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

          ผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้นประกอบด้วย ลักษณะปรากฏ ค่าสี ปริมาณของแข็งทั้งหมด (obrix)ปริมาณกรดทั้งหมด (g/100g) และความเป็นกรด-ด่าง (pH)และคุณภาพด้านจุลินทรีย์ แสดงดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1คุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้นที่ผลิตในระดับขยายสเกล

 

รายการทดสอบ

ผลการทดสอบ

หน่วย

ลักษณะปรากฏ

ของเหลวสีม่วงแดงของมัลเบอร์รี่ (หม่อน) ไม่ตกตะกอน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีสิ่งแปลกปลอม

-

ค่าสี

L* 18.50 ± 0.05

a* 0.78 ± 0.31

b* 1.30 ± 0.08

-

ปริมาณของแข็งทั้งหมด

48.0 ± 0.00

obrix

ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

2.60 ± 0.01

-

ปริมาณกรดทั้งหมด

(Total acidity as citric acid)

1.74 ± 0.02

g/100g

Bacillus cereus

< 1

CFU/mL

Clostridium perfringens

< 1

CFU/mL

Coliform Bacteria

< 0.3

CFU/mL

Escherichia coli

Not Detected

in 100 mL

Salmonellaspp.

Not Detected

in 25 mL

Staphylococcus aureus

< 1

CFU/mL

Yeast and Molds

< 1

CFU/mL

 

ผลที่ได้จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทดลองผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น (mulberry concentrate) โดยใช้สูตรและกระบวนการผลิตในระดับขยายสเกล แล้วทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น พบว่า วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถผลิตและพิจารณาปรับเปลี่ยนสัดส่วนของส่วนผสมในสูตรผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามขั้นตอนในกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถดำเนินการได้เอง และดำเนินการในกิจกรรมต่อไปได้ตามลำดับ

 

          2. การผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส(carbonated mulberryjuice)

                     2.1 ศึกษาปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

                     ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 2 แบบ คือ แบบอัดด้วยมือกด และแบบถัง ผันแปรแรงดัน 20 30 และ 40psi โดยใช้อัตราส่วนการเจือจางของน้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น : น้ำสะอาด 1 : 3 พบว่า การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยมือกดไม่สามารถความคุมปริมาณแรงดันที่ใช้ได้ ในขณะแบบที่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แบบถัง ผันแปรแรงดัน 20 30 และ 40 psi นั้น พบว่า น้ำมัลเบอร์รี่ที่ใช้แรงอัด 20 psi มีแรงดันแก๊สน้อยเกินไป และมีผลให้ผลิตภัณฑ์ไม่ซ่า ในขณะที่เมื่อใช้แรงอัด 30 psi มีผลให้ผลิตภัณฑ์ซ่าในระดับปานกลาง แต่เกิดฟองน้อย-ปานกลาง ในขณะที่น้ำมัลเบอร์รี่ที่ใช้แรงอัด 40 psi ผลิตภัณฑ์จะซ่าเพิ่มขึ้น แต่มีผลให้เกิดฟองมากขึ้นด้วย ทำให้การบรรจุใส่ขวดแก้วทำได้ค่อยข้างยาก

                     ดังนั้นการเลือกใช้การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แบบถังจะมีความเหมาะสมมากกว่า และปริมาณของแรงดันที่เหมาะสมคือ 30 psi

                     2.2ชนิดและลักษณะของบรรจุภัณฑ์

                     ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการร่วมกับตัวแทนวิสาหกิจชุมชนฯ คัดเลือกบรรจุภัณฑ์แบบขวดแก้ว (น้ำผลไม้ค๊อกเทล) ฝาจีบ ปริมาตร 270 มิลลิลิตร (ml.) นำผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทั้ง 2 แบบ ไปวัดค่าคุณภาพ ผลการวัดค่าคุณภาพมีรายละเอียด ดังนี้

                     - การประเมินคุณภาพทางกายภาพ คือ ลักษณะปรากฏ ค่าสี พบว่า ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฏที่ดี ไม่มีตะกอน ไม่ขุ่น มีสีม่วงแดง ผลการประเมินค่าสีด้วยเครื่องวัดค่าสีพบว่า ผลิตภัณฑ์มีสีโทนแดง โดยมีค่าความสว่าง (L*) ระหว่าง 19.49 - 20.56ค่าความเป็นสีแดง (a*) ระหว่าง 2.63 - 4.13ค่าความเป็นสีน้ำเงิน (b*) ระหว่าง 2.03 - 2.84 

                     - การประเมินคุณภาพทางเคมี คือ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 3.04 - 3.31ปริมาณของแข็งทั้งหมด (total soluble solid, TSS) 13.40 - 14.70 องศาบริกซ์ (obrix) ปริมาณกรดทั้งหมด 0.26 -0.43

                     - การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส โดยใช้วิธีการทดสอบความชอบด้วยวิธี 9-point hedonic scale กับผู้ทดสอบที่ไม่ได้รับการฝึกฝน (untrained panels) จำนวน 30 คน (รวมตัวแทนของวิสาหกิจชุมชนฯ) กับผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ (ซึ่งอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกัน 2 แบบ) สอบถามในคุณลักษณะ คือ สี กลิ่น รสชาติ และความชอบรวม พบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบเฉลี่ยของน้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แบบถังในทุกคุณลักษณะมากกว่าน้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แบบอัดด้วยมือกด โดยมีคะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกคุณลักษณะมากกว่า 7.10(จากคะแนนเต็ม 9.00) นั่นคือ ชอบปานกลางถึงชอบมาก

                     จากผลการดำเนินงานทำให้ได้สูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊สในระดับห้องปฏิบัติการ คือ เจือจางของน้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น : น้ำสะอาด อัตราส่วน 1 : 3บรรจุภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์แบบขวดแก้วใส ฝาจีบ ปริมาตร 270 มิลลิลิตร และใช้การอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แบบถังที่ปริมาณของแรงดัน 30 psi

          ผลที่ได้จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทดลองผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัลเบอร์รี่อัดแก๊ส (carbonated mulberryjuice) แล้วทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น พบว่า วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถผลิตและพิจารณาปรับเปลี่ยนสัดส่วนของส่วนผสมในสูตรผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามขั้นตอนในกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 08/05/2567 [16700]
12500 5