บทบาทของสถาบันการศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย  30

คำสำคัญ : ระเบียงเศรษฐกิจ  scipark    

รศ. ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย

อุทยานวิทยาศาสตร์ ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อนำเอา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งการทำงานนี้ ต้องการความร่วมมือจากเครือข่ายภาคเอกชน รัฐบาล ชุมชน และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

ในการดำเนินงานนี้ มหาวิทยาลัยสามารถมีส่วนร่วมได้ในพัฒนากำลังคน โดยบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยคือการพัฒนาแรงงานที่มีความรู้และทักษะที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) การวางแผน: การวางแผนที่ชัดเจนเพื่อกำหนดกิจกรรมที่จะทำในระยะยาว และกำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง
2) การติดตาม: ติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณโดยให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่ได้
3) การประเมินผล: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละภูมิภาค โดยมีสำนักงานในอุทยานฯ เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน
 
จะต้องมีการค้นหาเทคโนโลยีเป้าหมายในแต่ละภูมิภาค โดยมีอุทยานเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการในภูมิภาคนั้น ๆ
 

ภาพแสดงอุตสาหกรรมเป้าหมายประจำระเบียงเศรษฐกิจพิเศษประจำภูมิภาค

ภาพแสดงเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ประจำระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาค

 
การพัฒนาระดับแผนการพัฒนาชาติมีการแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ซึ่งเริ่มต้นจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และลงมาเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และวาระแห่งชาติ BCG จากนั้นจึงเป็นการวางแผนการพัฒนาภูมิภาค แผนกลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาจังหวัด โดยแผนพัฒนาทั้ง 3 ระดับนี้ จะต้องสอดคล้องกับการดำเนินการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคด้วย ทั้งนี้ การสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและส่วนราชการต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้โครงการพัฒนาเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเช่นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จำนวนนักท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน และความสุขของประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ
 
ภาพแสดงระดับของแผนพัฒนาชาติ ซึ่ง มี 3 ระดับ 
 
ในระยะเวลาอีกสองเดือน คาดว่าแผนแม่บท NEC ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบาย BCG จะเสร็จสิ้น ทางเครือข่ายภาคเหนือได้มีการทำวิจัยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือโดยการทำ focus group ซึ่งมีการทำงานร่วมกับหลายฝ่าย ทั้งกระทรวงพาณิชย์ DITP เป็นต้น และยังมีความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจาก 4 ภาคส่วนตามทฤษฎี quadratic helix โดยมีเป้าหมายของแผนในสี่หัวข้อ ได้แก้
1. GPP
2. จำนวนนักท่องเที่ยว
3.การค้าและการลงทุน (เน้น local invester)
4.ความสุขประชาชน (ความมั่นคง สุขภาพอนามัย และความเป็นอยุ่ที่ดี)

และได้วางแผนการหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางภายในปีที่ 5 โดยมีรายได้ต่อหัวเกิน 30000 บาท

ทั้งนี้ ตามมติครม.กำหนด 4 อุตสาหกรรมเป้าหมายของภาคเหนือ ได้แก่ Creative Industries, Tourism and Wellness tourism แindustries, Agriculture and Food industries, digital industries และสามารถแยกออกเป็นโครงการ flagship ของแต่ละจังหวัด ได้ดังนี้

1 เชียงใหม่ เมืองแห่งสุขภาพและสุขภาวะ

2 เชียงราย ประตูสู่ความร่วมมือและอารยธรรมลุ่มน้ำโขง

3 ลำพูน เขตอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพภาคเหนือ

4 ลำปาง นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวและลอจิสติกส์

โดยแต่ละ flagship จะกำหนดค่าเป้าหมาย กิจกรรม และเงินงบประมาณครบถ้วน และมูลค่าโครงการภายใต้แผน NEC รวมทั้งสิ้น 251,931 ล้านบาท

ภาพแสดงคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อความร่วมมือในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ


เขียนโดย : ดร. มุทธมาศ  วงศ์วานิช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : muttamas.w@mhesi.go.th