รายละเอียดโครงการ |
ชื่อโครงการ : | การพัฒนาชาดอกแคผสมสมุนไพรและบรรจุภัณฑ์
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา |
ปีงบประมาณ : | 2560 |
สถานะโครงการ :
โครงการที่ได้รับอนุมัติ
|
ประเภทกิจกรรม : | วิจัยและพัฒนาต่อยอด |
วัตถุประสงค์ : (โดยย่อ) | |
E-mail : |
L_wijitra@hotmail.com |
กลุ่มเป้าหมาย |
1. กลุมแม่บ้าน / เกษตรกร จำนวน 30 คน
|
จำนวนครั้ง : | 1 (ของการดำเนินการ) |
เริ่มดำเนินโครงการ : |
1 กุมภาพันธ์ 2560 [01/02/2560] |
สิ้นสุดโครงการ : |
30 กันยายน 2560 [30/09/2560] |
คลัสเตอร์ : | อาหาร |
KPI : | |
พื้นที่ดำเนินการ : | พระนครศรีอยุธยา |
รายชื่อผู้สนใจที่ลงทะเบียนออนไลน์ |
|
|
แผนการดำเนินงาน |
กิจกรรม |
ม.ค. |
ก.พ. |
มี.ค. |
เม.ย. |
พ.ค. |
มิ.ย. |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
1. | การสสำรวจและคัดเลือกสมุนไพรพื้นบ้านที่จะนำมาผสม
กับชาดอกแค [1/2/2560- 28/2/2560] |
|  | | | |
2. | การพัฒนาชาดอกแคผสมสมุนไพร [1/3/2560- 31/5/2560] |
|  | | | |
3. | การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร [1/5/2560- 31/7/2560] |
|  | | | |
4. | การศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสม
สมุนไพร [1/7/2560- 30/9/2560] |
|  | | | |
5. | การถ่ายทอดเทคโนโลยี [1/7/2560- 31/7/2560] |
|  | | | |
6. | การติดตามผลและการทำรายงานของโครงการ [1/8/2560- 30/9/2560] |
|  | | | |
| | |
| |
|
รายงานความก้าหน้า ครั้งที่ 1 |
รายงานความก้าหน้า ครั้งที่ 2 |
รายงานความก้าหน้า ครั้งที่ 3 | วันที่รายงาน 27/6/2560 | กลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มสตรีบ้านแค ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการดำเนินงาน 1. จากการสำรวจและคัดเลือกสมุนไพรพื้นบ้านที่จะนำมาผสมกับชาดอกแค ได้สมุนไพรที่จะนำมาศึกษาต่อจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้ ขิง ใบเตย กระเจี๊ยบ และมะตูม
2. จากการพัฒนาชาดอกแคผสมสมุนไพร โดยใช้ดอกแคขาวและดอกแดงมาทำแห้งเป็นชาดอกแค และนำมาผสมกับสมุนไพรแห้งจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้ ขิง ใบเตย กระเจี๊ยบ และมะตูม ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน บรรจุในซองชา และทดสอบพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ชาและการยอมรับต่อผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (questionnaires) พบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับชาดอกแคผสมสมุนไพร และนำชาดอกแคผสมสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดมาศึกษาอายุการเก็บรักษา
3. ทำการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร ออกแบบโดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และกำลังดำเนินการปรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้บรรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้นาน และตรงตามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค
4. กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร ปัญหา/อุปสรรค - | รายชื่อผู้เข้ารับบริการ : | |
|
รายงานความก้าหน้า ครั้งที่ 4 | วันที่รายงาน 20/9/2560 | กลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลบ้านแค ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามแผน โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.ผลการสำรวจและคัดเลือกสมุนไพรพื้นบ้านที่จะนำมาผสมกับชาดอกแค
ผลที่ได้จากการพัฒนาชาดอกแคผสมสมุนไพร โดยใช้ดอกแคขาวและดอกแดงมาทำแห้งเป็นชาดอกแค และนำมาผสมกับสมุนไพรแห้งจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้ ขิง ใบเตย กระเจี๊ยบและมะตูม ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน บรรจุในซองชา จากนั้นทดสอบพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ชาและการยอมรับต่อผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (questionnaires) จำนวน 100 ชุด
2.ผลการพัฒนาชาดอกแคผสมสมุนไพร
ผลการพัฒนาชาดอกแคผสมสมุนไพร โดยใช้ดอกแคขาวและดอกแดงมาทำแห้งเป็นชาดอกแค และนำมาผสมกับสมุนไพรแห้งจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้ ขิง ใบเตย กระเจี๊ยบและมะตูม ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน คือ อัตราส่วนดอกแคต่อสมุนไพรต่างๆ 100:0, 75:25, 50:50 และ 25:75 นำวัตถุดิบที่จะทำชาดอกแคผสมสมุนไพรมาอบแห้งด้วยเตาอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการอบแห้งที่แตกต่างกัน พบว่าดอกแคและสมุนไพรอบแห้ง มีปริมาณความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 3.45-10.08 และผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์โดยการทดสอบทางประสาทสัมผัส
3.ผลการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร
ผลที่ได้จากการนำผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากผู้บริโภค มาพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และฉลาก ร่วมกับกลุ่มสตรีบ้านแค โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (questionnaires) และทำแบบสอบถามผู้บริโภคทั่วไปเกี่ยวกับความชอบต่อบรรจุภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร จำนวน 100 คน ผลการใช้แบบสอบถามในกลุ่มสตรีบ้านแค และผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 100 คน พบว่าผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพรควรใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นถุงอลูมิเนียมฟอยล์ หรือถุงซิปก้นตั้ง เนื่องจากเห็นผลิตภัณฑ์ภายใน เพื่อเป็นการโชว์ผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก และราคาต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ต่ำกว่ากล่องกระดาษแข็ง สามารถวางขายได้หลากหลายสถานที่ และสามารถขายในราคาที่ไม่สูงมากนัก
4.ผลการศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร
จากการทดลองพบว่า ปริมาณความชื้นและค่า Aw ของชาดอกแคผสมสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ที่บรรจุในถุงอลูมิเนียมฟอยล์ เป็นเวลา 90 วัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาในการเก็บรักษานานขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพร 5 ชนิด ปริมาณความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 5.19-19.78 และมีค่า Aw อยู่ในช่วง 0.42-0.63 เมื่อนำผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพรมาวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ พบว่า ค่าสี L*(ค่าความสว่าง) ของชาดอกแคผสมใบเตย มะตูม กระเจี๊ยบแดง และตะไคร้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนชาดอกแคผสมขิงค่า L* มีแนวโน้มลดลง เมื่อเวลาในการเก็บรักษานานขึ้น ส่วนค่า a* (ค่าสีแดง) และ b* (ค่าสีเหลือง) ของชาดอกแคผสมสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาในการเก็บรักษานานขึ้น เมื่อนำผลิตภัณฑ์ชาดอกแคผสมสมุนไพรมาวิเคราะห์ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด พบว่าปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดมีปริมาณ 2.95×103 2.40×105 CFU/ g ซึ่งไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.480/ 2547) ที่กำหนดให้จำนวนจินทรีย์ทั้งหมดไม่เกิน 5×105 CFU/ g
5.ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ผลการอบรมเชิงปฏิบัติการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้เป็นไปตามแผนการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 2 วัน เมื่อวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2560 ให้แก่กลุ่มสตรีบ้านแคและผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 37 คน
ปัญหา/อุปสรรค - | รายชื่อผู้เข้ารับบริการ : 2017920211311.xls | |
|
|