จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช หมายถึง จุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช สามารถทำลายและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโรคพืชได้ โดยวิธีการแข่งขันใช้อาหารเพื่อการเจริญได้ดีกว่าเชื้อโรคพืช หรือการเข้าทำลายเซลล์ของเชื้อโรคพืชโดยตรง และหรือการสร้างสารปฏิชีวนะยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืช
คุณสมบัติของสารเร่ง พด.3
1. ป้องกันและควบคุมการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชหลาชนิด ได้แก่
- โรครากและโคนเน่าของไม้ผลและไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน ส้ม ยางพารา
- โรคเน่าคอดินและลำต้นเน้าของพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด ข้าวโพด พืชเส้นใยและพืชตระกูลถั่ว
- โรคเน่าและเหี่ยวของพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ เช่น พริก มะเขือเทศ แตง กะหล่ำปลี มะลิ
2. ช่วยแปรสภาพแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
3. เจริญได้ดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงและมีความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
วิธีการขยายเชื้อ พด.3
1. วัสดุสำหรับการขยายเชื้อ
- ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
- รำข้าว 1 กิโลกรัม
- สารเร่ง พด.3 1 ถุง (25 กรัม)
2. วิธีทำ
- ผสมสารเร่ง พด.3 และรำข้าวในน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
- รดสารละลาย พด.3 ลงในกองปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากันและปรับความชื้นให้ได้ 60 เปอร์เซ็นต์
- ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 เซนติเมตร กองปุ๋ยหมักให้อยู่ในที่ร่มเป็นเวลา 7 วัน
3. การดูแลรักษาการขยายเชื้อ พด.3
- ความชื้น ควบคุมความชื้นของกองปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยหมักเพื่อรักษาความชื้น
- การเก็บรักษาเชื้อ พด.3 หลังจากขยายเชื้อเป็นเวลา 7 วัน เชื้อ พด.3 ในกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นโดยสังเกตได้จากกลุ่มของสปอร์และเส้นใยที่มีลักษณะสีเขียวเจริญอยู่ในกองปุ๋ยหมักเป็นจำนวนมาก คลุกเคล้าให้เข้ากัน และนำไปเก็บในที่ร่ม
4. อัตราและวิธีการใช้เชื้อ พด.3
1.
พื้นที่เกษตร :พืชไร่ พืชผักหรือไม้ดอกไม้ประดับ
อัตราเชื้อ พด.3 :100 กิโลกรัมต่อไร่
วิธีการใช้ :ใส่ระหว่างแถวก่อนหรือหลังปลุกพืช
2.
พื้นที่เกษตร :ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
อัตราเชื้อ พด.3 :3 กิโลกรัมต่อต้น
วิธีการใช้ : - เตรียมหลุมปลูก : ใส่โดยคลุกเคล้ากับดินแล้วใส่ไว้ในหลุม
- ต้นพืชที่เจริญแล้ว : หว่านให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม
3.
พื้นที่เกษตร :แปลงเพาะกล้า
อัตราเชื้อ พด.3 :1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร
วิธีการใช้ :โรยให้ทั่วแปลงเพาะกล้า
ประโยขน์ของเขื้อ พด.3
1. ทำลายและยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
2. ลดและควบคุมปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
3. ทำให้ดินมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น
4. ทำให้รากพืชแข็งแรงและพืชเจริญเติบโตได้ดี
ที่มา : สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates