คำอธิบาย :
ในปัจจุบันการนำกาบมะพร้าวมาใช้ในการเพาะปลูกต้นไม้ดอกไม้ประดับ กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเพราะ กาบมะพร้าวแห้งมีคุณสมบัติ สามารถกักเก็บความชื้นได้ดี ดังนั้น จึงมีการนำกาบมะพร้าว มาแปรรูปเพื่อใช้สำหรับการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ดอกไม้ประดับ จากข้อมูลการสำรวจตลาดไม้ดอกไม้ประดับ พบว่า กาบมะพร้าวที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ กาบมะพร้าวหั่น ขนาด 8 เซนติเมตร กาบมะพร้าวหั่น ขนาด 2-4 เซนติเมตร และขุยกาบมะพร้าว
จากการศึกษาการจัดจำหน่ายกาบมะพร้าวที่ยังไม่ผ่านการหั่นขนาด ราคาประมาณ กิโลกรัมละ 2 บาท หากมีการแปรรูปโดยการหั่นให้มีขนาดที่เหมาะสมและนำมาบรรจุในถุงพลาสติก ราคาต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นมาเป็นกิโลกรัมละ 10 บาท การเพิ่มมูลค่าให้แก่กาบมะพร้าวโดยการนำมาหั่นให้มีขนาดเหมาะสมในการใช้งาน ผู้ดำเนินโครงการออกแบบและพัฒนาเครื่องหั่นกาบมะพร้าวให้สามารถหั่นได้หลายขนาดในเครื่องเดียว ทั้งขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ สามารถแปรรูปกาบมะพร้าวให้มีขนาดความกว้าง 2 4 6 และ 8 ได้ เฉลี่ย 120 กิโลกรัมต่อชั่วโมงหรือ โดยใช้ใบตัดที่ใช้หลักการตัดเฉือนของคมตัดเฉือนกาบมะพร้าว ให้ขาดออกจากกัน การป้อนกาบมะพร้าวเข้าเครื่องจะมีระบบสานพานลำเลียงเข้าไปในชุดบีบหรือรีดให้กาบมะพร้าวแบนก่อนการหั่นขาด การปรับเปลี่ยนใบตัดสามารถเปลี่ยนคมตัด ซึ่งสามารถถอดและประกอบให้มีระยะการตัดได้ตามต้องการ
ผู้ดำเนินโครงการได้รับความต้องการของชุมชนตำบลบ้านหัน ซึ่งเป็นชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อใช้ในชุมชนและจัดจำหน่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ส่งขายในตลาดชุมชน มีความต้องการพัฒนาให้กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องด้วยแหล่งจำหน่ายปุ๋ยหรือกลุ่มปลูกไม้ดอกไม้ประดับมีต้องการกาบมะพร้าวแปรรูปมาจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นแต่ขาดผู้ผลิตในพื้นที่ หัวหน้ากลุ่มชุมชนได้สำรวจแหล่งวัตถุดิบในพื้นที่พบว่ามีอยู่จำนวนมาก จึงมีความต้องการเครื่องมือช่วยในการแปรรูปกาบมะพร้าวเพื่อพัฒนาชุมชนให้มีอาชีพหรือรายได้เพิ่มมากขึ้น ผู้ดำเนินโครงการได้มีสิ่งประดิษฐ์เครื่องหั่นกาบมะพร้าวที่พร้อมจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปกาบมะพร้าว สามารถสร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชนหรือเพิ่มรายได้ของชุมชนให้มากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มชุมชนผลิตปุ๋ยเม็ดมีอาชีพและรายได้เพิ่มมากขึ้น มากกว่า 30 % อีกทั้งเป็นการนำวัสดุเหลอทิ้งจากชุมชนมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นด้วย
การทำงานของเครื่อง
ติดต่อสอบถาม
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล นครราชสีมา
744 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ 087-2542498 โทรสาร 044 272098

เพิ่มโดย : นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ [14/10/2554] แก้ไขโดย : นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ[ 14/10/2554]ข้อมูลการรับริการจากระบบ Call Center
Xยังไม่มีข้อมูลผู้รับบริการ แนะนำเทคโนโลยีเพิ่มเติม...X
คำค้นเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด...
X
วีดีโอเทคโนโลยี
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์