น้ำส้มควันไม้เป็นของเหลวซึ่งได้จากกระบวนการสลายตัวของไม้ด้วยความร้อนอย่างเดียว หรือการเผาไหม้ไม้ฟืนในสภาพอับอากาศหรือไพโรไลซิส ของเหลวดังกล่าวจะใสสีเหลืองปนน้ำตาล ซึ่งเกิดจากการดักเก็บควันที่ถูกควบแน่น น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำมาใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้ถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้น ควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันอุณหภูมิต่ำและสูง ดังนั้นจึงมีน้ำมันดิน(Tar) และสารระเหยง่าย(Volatile matter) ปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้ เพราะจะไม่ไปปิดปากใบของพืช และการเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้น หากเทลงพื้นดินจะทำให้ดินแข็งเป็นดาน รากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บน้ำส้มควันไม้แล้วต้องทิ้งช่วง และมีการทำให้น้ำส้มไม้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย 1 เดือน แล้วต้องเก็บไว้ในที่เย็น ร่ม หรือภาชนะทึบแสงและไม่มีสิ่งรบกวน
น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆมากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติดี เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้มีการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง
ดังนั้น คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และสามารถทำผลิตภัณฑ์ประเภทประเภทต่างๆ จากน้ำส้มควันไม้ได้
2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนมีอาชีพเสริมและมีรายได้เสริม
คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำผลิตภัณฑ์ประเภทประเภทต่างๆ จากน้ำส้มควันไม้ได้ อันได้แก่
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2021 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates