การพัฒนาลายผ้าทอมือนั้น มีที่มาลายมาจากลายบั้งไฟโบราณอีสาน และการคิดค้นลายขึ้นใหม่แต่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นลายอีสานอย่างครบถ้วน เช่น ลายกาบแก้วกลิ่นขจร ลายยาบ ลายกกาบแก้วบัวไข ลายกาบแก้กลิ่นขจร ลายกาบแก้วเครือคำ เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาลวดลายของผ้าทอมือนี้จะกระทำผ่านการออกแบบบนกระดาษที่ตัดเป็นต้นแบบของลาย แล้วต่อลายจนครบผืนบนกระดาษสีให้เห็นรูปแบบผลิตภัณฑ์เบื้องต้นก่อน เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการมัดหมี่ อันจะช่วยลดความเสียหายอันเกิดจากการนับลำหมี่ที่คลาดเคลื่อน ซึ่งจะทำให้ลายผิดเพี้ยนไม่สวยงามได้ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยกรรมวิธีฟอกย้อมจากสีธรรมชาติ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลสุขภาวะของคนในชุมชนด้วย ซึ่งกระบวนการฟอกย้อมสีธรรมชาตินั้นเป็นการใช้เทคโนโลยีที่เกิดจากการสกัดสารให้สีจากพืชและวัตถุธรรมชาติให้ได้สีที่เข้มข้นที่เหมาะกับการใช้งาน มีการใช้สารเร่งการติดสี (มอร์แดน) เพื่อลดข้อจำกัดของเส้นใยธรรมชาติที่อาจติดสียากให้สามารถติดสีได้ง่ายขึ้น และเทคโนโลยีที่ช่วยให้ลดการตกสีของผ้าที่ย้อม อันเป็นการยืดอายุของสีเมือนำผ้าไปใช้งานในโอกาสต่าง ๆ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2021 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates