ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ซึ่งเป็นลักษณะการทำแผ่นยางตากแห้ง เป็นการทำการผลิตในระดับครัวเรือน เกษตรกรไม่มีความรู้ในการจัดการน้ำเสียที่เกิดขึ้น บางรายระบายน้ำเสียลงริมคลองกลายเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียไหลไปยังที่ดินใกล้เคียง เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน เกษตรกรชาวสวนยางไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การระบายน้ำเสียทิ้งโดยไม่มีการจัดการที่ดี นอกจากจะก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน เช่น การปนเปื้อนของน้ำเสียบนพื้นดิน การปนเปื้อนของน้ำเสียในแหล่งน้ำ เป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนในชุมชน และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แล้ว การย่อยสลายของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ยังก่อให้เกิดก๊าซมลพิษต่างๆ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ การนำน้ำเสียจากการทำยางแผ่นเข้าสู่กระบวนการหมักเป็นก๊าซชีวภาพใช้เป็นก๊าซหุงต้มในครัวเรือน จากผลงานวิจัย เรื่อง การบำบัดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ สามารถคิดค้นรูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังหมักก๊าซชีวภาพ และวิธีการเดินระบบ รวมทั้งวิธีการส่งจ่ายก๊าซชีวภาพไปใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งเหมาะสมสำหรับจัดการน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นในระดับครัวเรือน ใช้ระบบถังหมักก๊าซชีวภาพในการจัดการปัญหาน้ำเสียและของเสียในครัวเรือนที่เกิดขึ้นในชุมชน การจัดการปัญหาน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่น และของเสียอื่นๆ ในครัวเรือน เป็นจุดถ่ายทอดความรู้และขยายผลสู่เกษตรกรผู้ผลิตยางแผ่นและการจัดการของเสียในครัวเรือนในชุมชนอื่นๆ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้ก๊าซหุงต้มและ/หรือค่าเชื้อเพลิงในครัวเรือน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates