ชื่อเทคโนโลยี : ชุดเครื่องจักรสำหรับกระบวนการผลิตชีวมวลอัดแท่ง อ่าน : 1,408 ชื่อเจ้าของ : ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อีเมล์ : -ชื่อหน่วยงาน :
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 053-943612
เว็ปไซต์ http://clinictech.in.cmu.ac.th
- Currently 2.8/5 Stars.
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
Rated 2.8/5 stars (175 votes cast)
คำอธิบาย :
ชุดเครื่องจักรสำหรับกระบวนการผลิตชีวมวลอัดแท่ง
จากราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการตื่นตัวในการลดก๊าซเรือนกระจกของโลก ได้ทำให้ชีวมวลมีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่จะแข่งขันกับเชื้อเพลิงฟอสซิล และประกอบกับประเทศไทยมีแหล่งชีวมวลอย่างเหลือเฟือโดยเฉพาะจากสิ่งเหลือทิ้ง ทั้งจากภาคอุตสาหกรรม เกษตร และอาคารบ้านอยู่อาศัย ชีวมวลเหล่านี้เป็นทั้งตัวก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งพลังงาน
ชีวมวล คือ วัสดุเหลือใช้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อันได้แก่ แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย เศษไม้ มูลสัตว์ รวมถึงขี้เลื่อย กะลาปาล์ม ประโยชน์อย่างหนึ่งของชีวมวล คือ การนำมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานที่เรียกว่า พลังงานชีวมวล หรือ Biomass-energy ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการใช้เชื้อเพลิงสำหรับเผาไหม้แทนน้ำมันเตา เช่น นำเอาแกลบมาเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเพื่อขายเข้าระบบหรือใช้ภายในโรงงาน จึงทำให้พลังงานชีวมวลมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงแท่งชีวมวล
กระบวนการผลิตชีวมวลอัดแท่งโดยทั่วไปแล้วนอกจากเครื่องอัดแท่งชีวมวล ก็ต้องมีเครื่องจักรอื่นประกอบอยู่ในขบวนการผลิตด้วย ได้แก่ เครื่องบดหยาบ เครื่องอบ และเครื่องบดละเอียด โดยทำหน้าเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ เป็นขบวนการเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการปลูกต้นปาล์มน้ำมัน เมื่อครบอายุต้องมีการทำลายต้นปาล์มทิ้ง เราสามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง โดยเริ่มจากการตัดต้นปาล์มแล้วนำมาผ่านเครื่องบดหยาบเพื่อให้มีขนาดเล็กลงใกล้เคียงกัน แต่ยังคงมีความชื้นที่สูงอยู่จึงจำเป็นต้องทำการอบเพื่อให้มีความชื้นลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก่อนนำไปเข้าเครื่องบดละเอียดเพื่อให้มีขนาดเหมาะที่จะทำการอัดเป็นแท่งด้วยเครื่องอัดแท่งชีวมวล
พัฒนาโดย : ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ : 053-944047 โทรสาร : 053-944666
ร่วมกับ : บริษัท ฟาร์มา แอนด์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด
เลขที่ 33/33 หมู่ 7 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10270
โทร. 0 2758 1492 - 9 โทรสาร 0 2758 1501 E-mail : siamfuel@gmail.com
พัฒนา ภายใต้ โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2552
เพิ่มโดย : น.ส.พรรณิศา สัตยารัฐ [9/10/2556] แก้ไขโดย : [ ]ข้อมูลการรับริการจากระบบ Call Center
Xยังไม่มีข้อมูลผู้รับบริการ แนะนำเทคโนโลยีเพิ่มเติม...X
คำค้นเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด...
X
วีดีโอเทคโนโลยี
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์