ลำไยเป็นพืชที่ทำรายได้หลักให้กับเกษตรกร ในจังหวัดลำพูน แต่ในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมาได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ จ.ลำพูน ในพื้นที่ปลูกลำไย ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน เป็นพื้นที่หนึ่งที่เกิดภาวะอุทกภัย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อลำไยที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งภาวะน้ำท่วมทำให้รากพืชขาดอากาศ ไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะมีผลกระทบกับต้นลำไยหลังน้ำลด ทำให้ลำไยมีอาการทรุดโทรม ซึ่งหากมีการจัดการไม่เหมาะสมแล้ว จะส่งผลถึงความสามารถในการให้ผลผลิตในฤดูการผลิตปีต่อๆไป ในระยะยาวได้ นอกจากนี้ การผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ดังกล่าวที่ให้ผลผลิตในช่วงที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม ยังมีปัญหาในด้านการเข้าไปเก็บเกี่ยว และทำให้ต้นทำไยทรุดโทรมได้ง่ายกว่าปกติ หากมีการหาแนวทางในการจัดการการผลิตลำไนนอกฤดูเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จะเป็นแนวทางให้เกษตรกรมีรายได้และมีการผลิตลำไนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นแนวทางการฟื้นฟูสวนลำไยหลังน้ำลด โดยการจัดการควบคุมขนาดของทรงพุ่ม (ตัดแต่งกิ่ง) การจัดการธาตุอาหารพืช การวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ย เป็นต้น และการหาแนวทางในการวางแผนการผลิตลำไยนอกฤดูเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมในระยะเก็บเกี่ยว การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมีส่วนร่วมเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่อาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างนักวิชาการกับชุมชน จึงเป็นองค์ความรู้ที่บูรณาการมาจากหลายสาขาเน้นความสมดุลระหว่างการเรียนรู้แบบเป็นทางการกับความริเริ่มสร้างสรรค์ของเกษตรกรเปิดโอกาสให้เกษตรกรคือ ผู้แสดงนำ เน้นหลักการวิธีการและค้นหาทางเลือกของเทคโนโลยีโดยใช้การตัดสินใจร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับนักวิชาการเน้นการสื่อสารแบบสองทางโดยอาศัยการสนทนา การเจรจาต่อรองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ความสำคัญกับตัวเกษตรกรเป็นที่ตั้งเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นได้ศึกษาเรียนรู้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2021 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates