โปรตีนที่สัตว์เคี้ยวเอื้องได้รับ มาจาก 3 แหล่งด้วยกัน คือได้จากส่วนเซลผนังระบบทางเดินอาหารที่ตายหลุด ซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อย จากโปรตีนในอาหารที่ไหลผ่านกระเพาะหมัก และจากจุลินทรีย์โปรตีน ดังนั้นจุลินทรีย์โปรตีนจึงถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนหลักที่มีผลต่อสภาพการเจริญเติบโตของโค โดยเฉพาะโคเนื้อที่เน้นการให้อาหารหยาบเป็นหลักเพื่อลดต้นทุนการผลิต การศึกษาปริมาณจุลินทรีย์โปรตีนที่ได้จากรูเมนจึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการให้อาหาร
การประเมินปริมาณธาตุไนโตรเจนจากจุลินทรีย์ในรูเมนโดยใช้สารอนุพันธ์เพียวรีนในปัสสาวะถือว่าเป็นวิธีการที่กำลังมีการเผยแพร่ให้นำมาใช้ เพราะไม่ต้องทำการผ่าตัดสัตว์หรือทำการสุ่มเอาของเหลวจากส่วนกระเพาะและลำใส้เล็กมาวิเคราะห์ เพียงแค่นำปัสสาวะมาวิเคราะห์เพื่อทำการประเมินหาสารเพียวรีนที่ถูกดูดซึมก็เพียงพอ
ในงานศึกษา โดยการเก็บปัสสาวะทั้งหมดซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากต่อการนำมาใช้กับสัตว์ที่เลี้ยงในแปลงหญ้าหรือสัตว์ที่ปล่อยเลี้ยง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาทั้งในแกะและโคนั้นพบว่าอัตราส่วนของสารอนุพันธ์เพียวรีนต่อสารครีเอตินีนต่อน้ำหนักตัว ซึ่งเรียกว่า PDC index มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณสารอนุพันธ์เพียวรีนที่ขับออกมาในแต่ละวันดังนั้นการใช้ PDC index จากส่วนของปัสสาวะที่สุ่มมาแบบ spot sampling ก็สามารถนำมาใช้ประเมินถึงปริมาณของจุลินทรีย์โปรตีนได้เช่นกัน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates