หมู่บ้านบนนา เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากถึงร้อยละ 80 ส่วนพืชผลเกษตรชนิดอื่นๆ จะประกอบด้วย ข้าว กาแฟ ยางพารา มันฝรั่ง ฯลฯ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว เกษตรกรจะนำฝักข้าวโพดมาเข้าเครื่องโม่กะเทาะเมล็ด ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ จึงได้เข้าไปช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ง่ายต่อการถ่ายทอดและนำไปปฏิบัติได้ ได้แก่
1.การปั้นเตาชีวมวลสำหรับใช้ในครัวเรือนโดยใช้ซังข้าวโพดเป็นเชื้อเพลิง
2.การเพาะเห็ดโคนน้อย โดยใช้ต้นและเปลือกฝักข้าวโพดมาเป็นวัสดุเพาะ
3.การทำอาหารหมักแบบผสมครบส่วน (TMR) โดยใช้เปลือกฝักข้าวโพดมาหมักเป็นอาหารเลี้ยงโคพันธุ์ดี
4.การอัดฟ่อนเปลือกฝักข้าวโพดโดยใช้เครื่องอัดฟางข้าว เพื่อเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหรือจำหน่าย
5.การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ โดยใช้ซังและเปลือกฝักข้าวโพด
6.การทำถ่านอัดแท่ง โดยใช้เตาเผาผลิตถ่าน 200 ลิตร และใช้เครื่องอัดโดยใช้แรงงานคน
7.การผลิตก๊าซชีวภาพแบบพลาสติกพีวีซี โดยการนำมูลสัตว์มาหมักผลิตเป็นก๊าซชีวภาพสำหรับใช้หุงต้มในครัวเรือน
8.การเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมือง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates