โครงการอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ อสวท. เกิดขึ้นจากนโยบายของท่านปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ที่มีความต้องการให้ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยแพร่สู่ชุมชน โครงการนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้ดำเนินการในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ เยาวชน ครู/อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ชุมชน โดยมีคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายในพื้นที่ เป็นผู้ประสานการดำเนินงาน โครงการ อสวท. ได้เริ่มต้น เมื่อเดือน เมษายน 2547
อาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Technology Volunteers) หรือ อสวท. คือ บุคคลซึ่งอาสามาทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำความรู้ด้าน ว. และ ท. ที่ประชาชนในท้องถิ่นต้องการ ไปกระจายเผยแพร่สู่ชุมชนเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ประจำวัน เช่น การประกอบอาชีพทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน รวมทั้งเป็นคนกลางในการนำความต้องการของชุมชนมาสู่คลินิกเทคโนโลยี โดยจุดมุ่งหมายของการดำเนินงาน อสวท. คือเพื่อสร้างบุคลากร อสวท. ให้ครอบคลุมพื้นที่ระดับ ตำบลทั่วประเทศ โดยรับสมัครบุคคลที่มีความสนใจแสวงหาความรู้ทาง ว. และ ท. ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน เช่น ข่าวสารวิทยาศาสตร์ ผลงานวิจัยและพัฒนา ประดิษฐกรรม เครื่องมืออุปกรณ์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับงานอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ฯลฯ ทั้งนี้ อสวท.จะเป็นผู้ที่มีความสามารถอธิบาย เผยแพร่ และถ่ายทอดความรู้เบื้องต้นให้แก่ชุมชนท้องถิ่นของตนเองและชุมชนใกล้เคียงทั้งนี้ อสวท.ไม่จำเป็นต้องเป็น ผู้จบการศึกษาระดับสูง เพียงแต่มีความเต็มใจทำหน้าที่โดยไม่มีค่าตอบแทน
วัตถุประสงค์
เพื่อสรรหาสมาชิก อสวท. เป็นตัวแทนระดับชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำพูน นำความรู้ด้าน วทน. ไปเผยแพร่สู่ชุมชน และเป็นสื่อกลางนำปัญหา/ความต้องการด้าน วทน. ของชุมชนมาสู่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
1. สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมเป็นเครือข่าย อสวท.
1.1 เป็นคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายที่มีการดำเนินงานร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ไม่น้อยกว่า 1 ปี
1.2 เป็นสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ดำเนินการ
1.3 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ดำเนินการยังไม่มีเครือข่าย อสวท.
1.4 มีการให้บริการทางวิชาการด้าน วทน. แก่ชมุชน
1.5 มีขีดความสามารถทางด้าน วทน. และมีความพร้อมในการให้บริการ/การแก้ไขปัญหา หรือ ตอบสนองความต้องการทางด้าน วทน. ของชุมชน หรือผู้เข้ามาติดต่อขอรับบริการ
1.6 มีความสามารถในการประสาน/สร้างความร่วมมือของคนในชุมชน และ/หรือหน่วยงานในพื้นที่
2. สมาชิก อสวท.
1. เป็นปราชญ์ชาวบ้าน/เกษตรกร/กลุ่มแม่บ้าน/ผู้แทนวิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม/ผู้แทนหน่วยงานส่วนท้องถิ่น (อบจ.,อบต.)/นักวิชาการ/นักศึกษา
2. มีความสนใจติดตามข่าวสารด้าน วทน. มีความกระตือรือร้น เสียสละในการดำเนินงานด้าน วทน. ร่วมกับชุมชน สถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่าย อสวท. และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
รายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการ
1. ร่วมเสนอความต้องการ การผลิตผักปลอดภัยแบบไร้ดิน 11/10/2555
2. ต้อนรับคณะผู้ตรวจราชการประจำกระทรวง ในการตรวจประเมินโครงการ อสวท. ประจำปี 2555 24/4/2555
3. ร่วมผลักดันโครงการผลิตผักปลอดภัยแบบไร้ดิน(Hydroponic) จนได้รับงบประมาณจากโครงการคลินิกเทคโนโลยี ปีงบประมาณ 2555 1/5/2555
4. ต้อนรับคณะประเมินคลินิกปี 55 การปลูกผักไร้ดินเชิงการค้าในชุมชน 20/3/2556
5. วิทยากรบรรยายให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านแม่ข่าย หมู่บ้านการปลูกพืชไร้ดินต้นทุนต่ำเชิงการค้าในชุมชน ร่วมกับ อ.ชิติ และ อ.สันติ 21/5/2556
6. ในวันที่ 26 ส.ค. 56 เป็นวิทยากรในการเสวนา การนำ วทน. ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายในงานการประชุมเครือข่ายความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ประจำปี 2556 ณ รร.ริชมอนด์ กทม. 26/8/2556
7. เข้าร่วมประกวดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับจังหวัด โดยนำกระบวนการปลูกผักไร้ดินไปแสดง ซึ่งผ่านการคัดเลือกในระดับอำเภอแม่เมาะ ผลปรากฏว่าได้อันดับ 2 ของจังหวัด 28/8/2556
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2566 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2023 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates