หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สถานะหมู่บ้าน :
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2565 | 250,000|194,900|40,600|154,300 | 2022315121421.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4729] วันที่รายงาน [5/4/2565] | |||
วันที่ 13 ธันวาคม 2565 อาจารย์ ดร.อมร โอวาทวรกิจ หัวหน้ากลุ่มงานกาแฟ สถาบันชาและกาแฟ คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พร้อมคณะทำงาน ร่วมกับ หน่วยงานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงรายเกษตรที่สูง ได้ลงพื้นที่ ชุมชนบ้านร่มฟ้าผาหม่น หมู่ที่ 15 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังวัดเชียงราย เพื่อสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการ ร่วมพูดคุยและชี้แจงกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟอินทรีย์รักษาป่าดอยผาหม่น เกี่ยวกับการดำเนินโครงการหมู่บ้านผลิตกาแฟอะราบิกาที่มีคุณภาพและปลอดภัย
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4774] วันที่รายงาน [1/7/2565] | |||
ในวันที่ 3-4 มิถุนายน 2565 อาจารย์ ดร.อมร โอวาทวรกิจ หัวหน้ากลุ่มงานกาแฟ สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้นำทีมคณะทำงานลงพื้นที่จัดกิจกรรม ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มกาแฟอินทรีย์รักษาป่าดอยผาหม่นบ้านร่มฟ้าผาหม่น หมู่ที่ 15 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายโดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (เกษตรที่สูง) องค์การบริหารส่วนตำบลปอ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้งดำเนินการประชุมชี้แจงแผนการดำเนินโครงการร่วมกับชุมชนโดยมีกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เข้าร่วม จำนวน 50 คน โดยกิจกรรมมีดังนี้
นายอนุรักษ์ พากเพียร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (เกษตรที่สูง) ได้กล่าวต้อนรับ แนะนำลักษณะสภาพของพื้นที่ ภูมิประเทศ และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยได้แจ้งแผนกิจกรรมของทาหน่วยงาน ที่จะทำงานร่วมกันภายใต้โครงการดังกล่าว อาจารย์ ดร.อมร โอวาทวรกิจ หัวหน้ากลุ่มงานกาแฟ สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง กล่าวที่มาของโครงการแนะนำทีมวิจัย และชี้เเจงแผนการจัดกิจกรรมภายใต้ “โครงการหมู่บ้านผลิตกาแฟอะราบิกาที่มีคุณภาพและปลอดภัย” ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยได้นำทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูล สำรวจแปลงปลูกกาแฟในชุมชน อีกทั้งยังมีกิจกรรมอบรมการเตรียมความพร้อมเพื่อรับรองเกษตรอินทรีย์แบบ มีส่วนร่วม PGS โดยได้เชิญวิทยากรบรรยายได้แก่ อาจารย์ ดร.ทัศนีย์ ธรรมติน หัวหน้าสำนักงาน สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งกิจกรรมเป็นการสร้างความเข้าใจของหลักการทำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ โดยได้สำรวจความพร้อมของกลุ่มเกษตรกร ที่จะเริ่มจัดเตรียมแปลงของตน เพื่อที่จะวางแผนในการทำงาน และดำเนินงานได้อย่างมีเป้าหมาย โดยหัวข้อการอบรมมีดังนี้ 1. การสร้างความเข้าใจในหลักการเบื้องต้นของ GAP การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 2. การสร้างความเข้าใจในหลักการเบื้องต้นของ PGS การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบ PGS 3. การจัดทำแผนการผลิตฟาร์ม และการจดบันทึก 4. ความรู้เกี่ยวกับการวางผังการจัดสรรพื้นที่แปลงปลูกให้มีคุณภาพ และเกิดประโยชน์มากที่สุด สามารถเป็นแนวทางให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นำไปเป็นแนวคิด นำไปปฏิบัติใช้ในแปลงของตนเองต่อไปได้
ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานตามตัวชี้วัด/เป้าหมายของโครงการ
1. เกษตรกรมีความสนใจในการจัดเตรียมพื้นที่แปลงปลูกของตน เพื่อที่จะวางแผนในการเตรียมความเข้าสู่ระบบ GAP และ เตรียมความพร้อมเพื่อรับรองเกษตรอินทรีย์แบบ มีส่วนร่วม PGS
1. ในชุมชนมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องกาแฟ แต่ไม่ได้เข้ามาติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 2. เกษตรกรขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการแปลงปลูกของตน ในเรื่องโรคและศัตรูพืชในแปลงกาแฟ ทำให้ได้ผลผลิตกาแฟที่ยังไม่มีคุณภาพ 3. ปัญหาเรื่องการแปรรูปกาแฟของกลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความแน่นอน 4. ปัญหาในเรื่องรายได้จากการขายผลกาแฟเชอรี่ของเกษตรกร
| ค่าใช้จ่าย : 40,600 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates