หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
สถานะหมู่บ้าน :
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2565 | 300,000|177,300|21,600|155,700 | 2022315121431.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4725] วันที่รายงาน [4/4/2565] | |||
ข้าพเจ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฑีฆา โยธาภักดี ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากคลินิกเทคโนโลยี การส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในโครงการหมู่บ้านจิ้งหรีด GAP วังหงส์ หมู่ 4 ต.วังหงส์ อ.เมือง จ.แพร่ แล้วนั้น ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ข้าพเจ้าพร้อมด้วย คุณจุฬาลักษณ์ เครื่องดี จึงขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน ในการนี้ข้าพเจ้าจะเดินทางโดยพาหนะ รถยนต์ส่วนตัว หมายเลขทะเบียน กท 8298 ลำปาง ในวันที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 8.00-16.00 น. เดินทางจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ถึง ศาลาประชุมเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 4 ต.วังหงส์ อ.เมือง จ.แพร่
โดยมีกำหนดการ กำหนดการ โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด หลักสูตร “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด” วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ ศาลาประชุมเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 4 ต.วังหงส์ อ.เมือง จ.แพร่ ......................................................................................................................................................... วันที่ 3 เมษายน 2565 เวลา 8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการฝึกอบรม เวลา 9.00 - 12.00 น. การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดแบบทั่วไป โดย ผศ.ดร. ฑีฆา โยธาภักดี, คุณจุฬาลักษณ์ เครื่องดี เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 - 16.00น. การอธิบายวัสดุอุปกรณ์และอาหาร ในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด โดย ผศ.ดร. ฑีฆา โยธาภักดี, คุณจุฬาลักษณ์ เครื่องดี
หมายเหตุ : อาหารว่างและเครื่องดื่ม รับประทานระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งช่วงเช้า และ บ่าย | ค่าใช้จ่าย : 6,150 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4765] วันที่รายงาน [19/6/2565] | |||
การดำเนินกิจกรรมที่ 2 การพัฒนาฟาร์มการผลิตจิ้งหรีดให้ได้มาตรฐาน GAP ข้าพเจ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฑีฆา โยธาภักดีพร้อมด้วย ดร. พัชรณัฐ ดาวดึงส์ ดร. เกศินี วีรศิลป์ และดร. น้ำฝน รักประยูร จึงขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงานในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565 พร้อมทั้งชาวบ้านตำบลวังหงส์จำนวน 16 คน เพื่อไปดูการพัฒนาฟาร์มการผลิตจิ้งหรีดให้ได้มาตรฐาน GAP ในเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 2 แห่ง ในตำบลแม่ยางตาล และตำบลน้ำเลา อ.ร้องกวาง จ.แพร่
สถานที่ 2 คือ นายจิรพัฒน์ แจ่มรัตนโสภิณ ต.น้ำเลา อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ซึ่งเป็นการเรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP 2. การทำลังเลี้ยง ในปีแรกตกลงกันว่าจะทำเป็นกรงแบบฟิวเจอร์บอร์ดติดกับโครงไม้ ตามแบบฟาร์มที่ 1 เนื่องจากชาวบ้านยังไม่เคยเลี้ยง เลยอยากทดลองเลี้ยงกันก่อน 3. พันธุ์ที่อยากเลี้ยงมี 2 พันธุ์คือ สะดิ้งและทองดำทองแดง 4. การเลี้ยงจำนวน 2 ลัง/คนๆ ลังละสายพันธุ์ เพื่อทดลองการเลี้ยง และเป็นการกันความเสี่ยงของตลาดผลผลิตจิ้งหรีดในอนาคตด้วย เผื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่หลากหลาย 5. ได้ทำการจัดตั้งกลุ่มสำหรับผู้ที่สนใจการเลี้ยง 10 คนและอาจารย์ที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อการช่วยให้คำปรึกษา และการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
6. ผู้ที่สนใจแต่ยังมีความลังเลที่จะทำหรือไม่จำนวน 8 คน ที่ขอดูเพื่อนๆ ทำไปก่อน อาจจะมีการเข้าร่วมในปีที่ 2 ให้เพื่อนในกลุ่มนำร่องไปก่อน จำนวนที่เหลือ เราก่อจะให้เขามาเรียนรู้ทุกครั้งที่เราเข้าพื้นที่ไปให้ความรู้ 1. การเตรียมพันธุ์ 2. การเตรียมลังสำหรับเลี้ยง 3. การบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเป็นระบบในการจัดการในอนาคตสำหรับการเตรียมความพร้อมเป็นหมู่บ้านจิ้งหรีด GAP | ค่าใช้จ่าย : 15,450 จำนวนผู้รับบริการ : 18 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates