หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถานะหมู่บ้าน :
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2564 | 300,000|171,900|171,900|ใช้หมด | 20218301511551.pdf | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4361] วันที่รายงาน [5/7/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ และเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่ ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา การนำร่องถ่ายทอดองค์ความรู้ที่บูรณาการสู่การทำปฏิทินจัดการศัตรูพืชในนาข้าวและนาข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร จะดำเนินการร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกข้าวอันดับต้นของจังหวัดสงขลา ข้อได้เปรียบของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอระโนด คือ สามารถปลูกข้าวได้ 2 ครั้งต่อปี ทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง มีเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกข้าวสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ ชุมชนมีความเข้มแข็ง และหน่วยงานในพื้นที่มีความพร้อมให้ความร่วมมือ แม้ว่าอำเภอระโนด จะมีข้อแตกต่างด้านฤดูกาลปลูกจากการปลูกข้าวในภาคกลาง คือ ช่วงเวลาการทำนาปีและนาปรังของภาคกลางและภาคอีสาน จะเป็นช่วงระยะเวลาที่สลับกับการทำนาของ อำเภอระโนด (ตารางที่ 1) เนื่องจากฤดูกาลที่แตกต่างกัน และการใช้น้ำทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอระโนด ที่ต้องคำนึงถึงการหนุนของน้ำทะเลที่เข้าสู่ระบบการส่งน้ำหรือน้ำทะเลเข้าสู่ระบบน้ำทางการเกษตรทำให้ไม่สามารถใช้น้ำทางการเกษตรได้ การเปลี่ยนแปลงของช่วงการทำนาที่ต่างกับพื้นที่อื่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การระบาดของโรคแมลงแตกต่างกัน ตารางที่ 1 ช่วงเวลาการทำนา (นาปี-นาปรัง) ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ตอนล่าง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
หมายเหตุ:
ผลการดำเนินกิจกรรม ไตรมาส 3 ดังนี้ เนื่องจากการดำเนินงานในช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2564 เป็นช่วงที่เกิดการกลับมาระบาด ระลอกที่ 3 ของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ไม่สามารถรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการจัดกิจกรรมการดำเนินงานในโครงการ คณะผู้วิจัยจึงได้ประชุมระดมความคิดเพื่อให้การดำเนินงานสามารถบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการประชุมในช่วงเดือนพฤษภาคมร่วมกับกลุ่มแกนนำเกษตรกรสรุปว่าจะเลื่อนระยะเวลาการดำเนินงานให้ช้าลงเพื่อให้สถานการณ์การระบาดของโรคลดลง โดยเริ่มการทำงานเป็นช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งสอดคล้องกับฤดูกาล การทำนาปรังของเกษตรกร และปรับรูปแบบการดำเนินงานในโครงการทำการจัดกิจกรรมในลักษณะของการทำงานกลุ่มย่อยและพบประเกษตรกรเป็นราย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าของการดำเนินงาน แต่ในช่วงเดือนมิถุนายน สถานการณ์การระบาดไม่เพียงไม่ลดลงกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคณะผู้วิจัยได้หารือเพิ่มเติมกับกลุ่มแกนนำเกษตรกร ปรับรูปแบบการทำงานอีกครั้งเพื่อให้ทันท่วงทีกับฤดูกาลปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกรในช่วงยุคของการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับสถานการณ์การระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 และการดำเนินงานสามารถบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้การจำแนกชนิดของแมลงศัตรูพืช โรคพืช และศัตรูธรรมชาติในนาข้าว จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจำแนกชนิดของศัตรูพืชจากอาการเข้าทำลายของศัตรูพืชทั้งโรคและแมลง ทำการประชุมชี้แจงและอธิบายลักษณะการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชและโรคพืชร่วมกับกลุ่มแกนนำเกษตรกร วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 (ภาพที่ 1) และจะดำเนินการในแปลงปลูกฤดูกาลผลิตนาปรัง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พร้อมทั้งจัดการประชุมทั้งในรูปแบบการลงพื้นที่จริงและออนไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเกษตรกรได้ทุกคน
ภาพที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้การจำแนกชนิดของแมลงศัตรูพืช โรคพืช และศัตรูธรรมชาติในนาข้าว
กิจกรรมที่ 2 การผลิตมวนเพชฌฆาต (แมลงตัวห้ำ) เพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูในนาข้าว การผลิตมวนเพชฌฆาตเพื่อนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร โดยทำการผลิตในห้องปฏิบัติการเลี้ยงแมลง (กีฏวิทยา) ภายใต้การควบคุมกระบวนการผลิตของหน่วยผลิตมวนเพชฌฆาต Sycanus collaris และแมลงตัวห้ำ-ตัวเบียน คณะทรัพยากรธรรมชาติ (ภาพที่ 2) เพื่อให้แมลงศัตรูธรรมชาติที่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์มีความแข็งแรงและสามารถปรับตัวในสภาพแวดล้อมได้ดี
ภาพที่ 2 การผลิตมวนเพชฌฆาต Sycanus collarisเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูในนาข้าว ในสภาพห้องปฏิบัติการ
กิจกรรมที่ 3 การติดตามและดำเนินงานร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ การประชุมกลุ่มย่อย (focus group) บริเวณนาข้าว ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และสร้างระบวนการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการจำแนกศัตรูพืชและอาการเข้าทำลายของศัตรูพืช จากโรคและแมลงศัตรูข้าวมีความใกล้เคียงกันและง่ายต่อการเข้าใจผิดของเกษตรกร การลงพื้นที่ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมเป็นช่วงปลายฤดูกาลปลูกข้าวนาปีของเกษตรกร (ฤดูกาลก่อนการลงพื้นที่เพื่อดำเนินการในโครงการ) พบว่านาข้าวของเกษตรกรมีการระบาดของแมลงสิง (rice bug, stink bug) Leptocorica acuta (Thunberg) ส่งผลให้ผลผลิตข้าวของเกษตรกรเสียหายมากกว่า ร้อยละ 90 และ เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้ (ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 แปลงนาข้าวที่ถูกแมลงสิงลงทำลายมากกว่าร้อยละ 90 การสุ่มตัวอย่างแมลงโดยใช้สวิงโฉบและการนำตัวอย่างรวงข้าวตรวจนับความเสียหายในสภาพห้องปฏิบัติการ
| ค่าใช้จ่าย : 97,050 จำนวนผู้รับบริการ : 7 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4599] วันที่รายงาน [30/9/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามประเมินผลการดำเนินงานในแปลงเกษตรกร ด้วยการใช้ปฏิทินการจัดการศัตรูข้าวโดยชีววิธี ร่วมกับนวัตกรรมการฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์โดยใช้โดรนทางการเกษตร โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรซึ่งดำเนินการโดยโครงการสนับสนุนชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูข้าว และเกษตรกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจ้างโดรนทางการเกษตร | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 51 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=4600] วันที่รายงาน [30/9/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามประเมินผลการดำเนินงานในแปลงเกษตรกร ด้วยการใช้ปฏิทินการจัดการศัตรูข้าวโดยชีววิธี ร่วมกับนวัตกรรมการฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์โดยใช้โดรนทางการเกษตร โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรซึ่งดำเนินการโดยโครงการสนับสนุนชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูข้าว และเกษตรกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจ้างโดรนทางการเกษตร
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 51 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4698] วันที่รายงาน [31/12/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ค่าใช้จ่าย : 74,850 จำนวนผู้รับบริการ : 51 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=4701] วันที่รายงาน [31/12/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates