หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สถานะหมู่บ้าน :
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2564 | 300,000|203,200|203,200|ใช้หมด | 2021511942451.pdf | 202112301618551.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4566] วันที่รายงาน [30/9/2564] | |||
กิจกรรมที่1 การปลูกขิงปลอดภัยโดยใช้มูลไก่และจุลินทรีย์ในการสังเคราะห์แสงโดยมี อาจารย์ ดร. ไพบูลย์ หมุ่ยมาศ พร้อมคณะ และนายประสิทธิ์ อมรศิริวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญในการปลูกขิงในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำไปปรับปรุงและแก้ปัญหาในกระบวนการปลูกและดูแลขิงอย่างปลอดภัยครบวงจร โดยโครงการดังกล่าวเป็นแพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science Community Incubator : SCI) คือ การนำองค์ความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ไปพัฒนาหมู่บ้านซึ่งต้องพัฒนาให้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่มีการใช้ วทน. ไปเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างชุมชนที่มี กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยี การล้าง การอบแห้ง การแปรรูปจากขิงอ่อนและขิงแก่ เพื่อสร้างมูลค่า
กิจกรรมที่ 3 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากขิงอ่อน และ ขิงแก่ เพื่อจำหน่าย
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขิงประกอบด้วย 1.ขิงอ่อนและขิงแก่อบน้ำผึ้ง 2.แยมขิง 3.ขิงฝอยอบแห้ง
| ค่าใช้จ่าย : 106,300 จำนวนผู้รับบริการ : 53 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4669] วันที่รายงาน [30/12/2564] | |||
กิจกรรมที่1การปลูกขิงปลอดภัยโดยใช้มูลไก่และจุลินทรีย์ในการสังเคราะห์แสง การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดประกอบด้วย การปลูกขิงปลอดภัยโดยใช้มูลไก่และจุลินทรีย์ในการสังเคราะห์ โดยอาจารย์ ดร.ไพบูลย์ หมุ่ยมาศ อาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ และนายประสิทธิ์ อมรสิริวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญที่ปลูกขิงมากที่สุดในบ้านผาแดงที่ใช้ภูมิปัญญาควบคู่กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จากการติดตามผล กระบวนการปลูกขิงพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการนำแนวทางการปลูกขิงปลอดภัยไปเป็นแนวปฏิบัติจำนวน 23 ครัวเรือนและอีก 29 ครัวเรือนเข้าร่วมกลุ่มการแปรรูป โดยกระบวนการปลูกมีการติดตามผลของผู้เข้าร่วมโครงการพบว่า 23 รายใช้ปุ๋ยมูลไก่ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงพบว่า จากการเก็บข้อมูลก่อนจะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือน ธันวาคม ของแต่ละปีพบว่ามีน้ำหนักของขิงใกล้เคียงกันเมื่อเทียบการปลูกแบบดั้งเดิมซึ่งใช้สารเคมีควบคู่ และแบบขิงปลอดภัยครบวงจรใช้ปุ๋ยจากมูลไก่และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยี การล้าง การอบแห้ง การแปรรูปจากขิงอ่อนและขิงแก่ เพื่อสร้างมูลค่า เทคโนโลยีการล้างช่วยชะล้าง เป็นเทคโนโลยีการล้างผักและผลไม้และผลิตผลทางการเกษตรด้วยน้ำโอโซน การปรับใช้โอโซนกับวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อควบคุมการเน่าเสีย และทำลายเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง และมีความปลอดภัยในการบริโภค ปัจจุบันมีการปรับใช้โอโซนในกระบวนการอาหาร และทางเกษตรกรรม อีกทั้งยังยอมรับว่าโอโซนเป็นสารที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยกับอาหาร (generally recognized as safe : GRAS)
เทคโนโลยีการทำขิงอบแห้ง เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กระบวนการดึงความชื้นออกจากวัตถุดิบที่นำมาอบแห้ง โดยส่วนใหญ่ใช้การถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุดิบที่ชื้นเพื่อไล่ความชื้นออกโดยการระเหยอาศัยความร้อนที่ได้รับเป็นความร้อนแฝงของการระเหยโดยปกติจะใช้ความชื้นเป็นตัวบ่งบอกปริมาณของน้ำที่อยู่ในวัสดุ เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ลมสำหรับอบแห้งขิง อาศัยหลักการของปรากฏการณ์เรือนกระจก
กิจกรรมที่ 3การแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากขิงอ่อน และ ขิงแก่ เพื่อจำหน่าย การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขิงประกอบด้วย 1.ขิงอ่อนและขิงแก่อบน้ำผึ้ง 2.แยมขิง 3.ขิงฝอยอบแห้ง กลุ่มแปรรูปจำนวน 29 ครัวเรือนซึ่งกลุ่มขิงปลอดภัยแบบครบวงจรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก บุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางร่วมกับเกษตรอำเภองาว ร่วมกับหอการค้าจังหวัดลำปาง นำไปจำหน่ายตามโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว นิทรรศการในจังหวัดลำปาง และจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิเช่น Shopee , เฟสบุค และในงานของจังหวัดลำปาง
| ค่าใช้จ่าย : 96,900 จำนวนผู้รับบริการ : 53 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates