หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2563 | 350,000|230,000|230,000|ใช้หมด | 20204151716591.pdf | 202010261214591.pdf | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3699] วันที่รายงาน [30/3/2563] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการพัฒนาหมู่บ้านปลูกผักปลอดภัยด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มคิท นายวิชัย นระมาตย์ อาจารย์ หัวหน้าโครงการ ไตรมาสที่ 1 กิจกรรม ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับเกษตรกร ผู้นำชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลการปลูกผัก ข้อมูลเพื่อการออกแบบการปลูกผักในโรงเรือนด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรจำนวน 50 ราย
ภาพที่ 1 กิจกรรมการลงพื้นที่
ภาพที่ 2 กิจกรรมการลงพื้นที่
ภาพที่ 3 กิจกรรมการลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่ประชุมร่วมกับเกษตรกร ผู้นำชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลการปลูกผัก ข้อมูลเพื่อการออกแบบการปลูกผักในโรงเรือนด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรจำนวน 50 ราย และได้กำหนดตัวแทนเกษตรกร ผู้ที่เป็นต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มคิท จำนวน 1 ราย คือ นางสมพิศ ขวัญปลอด เกษตรกร 249 หมู่ 4ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี และเป็นผู้ได้รับการรับรองมารตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ.9000 เล่ม 1-2552 กระทรวงเกษตและสหกรณ์
ภาพที่ 4 ใบรับรับรองมารตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ.9000
กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการปลูกผักในโรงเรือน ในหัวข้อ การปลูกพืชโดยอาศัยดิน การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินปลูก หรือ ซับสเตรท คัลเจอร์ (Substrate culture)การเตรียมดินและปุ๋ย แก่เกษตรกรจำนวน 50 ราย
อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
| ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 25 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3790] วันที่รายงาน [3/7/2563] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 2 การลงพื้นถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการปลูกผักในโรงเรือน ในหัวข้อ การปลูกพืชโดยอาศัยดิน การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินปลูก หรือ ซับสเตรท คัลเจอร์ การเตรียมดิน ปุ๋ย และการปลูกผักอินทีรีย์ ให้กับเกษตรกรในกลุ่มในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด -19 ทางคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้ที่สนใจ อีกทั้งยังเปิดช่องทางในการติดต่อ การประชุมพูดคุยกันในช่องทาง Line และ
1.การวางระบบให้น้ำในโรงเรือนที่มีความเหมาะสมในโรงเรือน การลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน 2.วิธีการปลูกพืชมี 2 แบบ คือ รูปแบบการปลูกโดยใช้ดินในการปลูก และรูปแบบการปลูกโดยไม่ใช้ดิน ซับสเตรท คัลเจอร์ (Substrate culture) 1.การปลูกพืชโดยอาศัยดิน เป็นการปลูกพืชที่ต้องอาศัยความเหมาะสมของสภาพอากาศ เช่น แสงแดด อุณหภูมิ น้ำ ธาตุอาหารที่มาจากดินน้ำและอากาศ (ออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนไดอ๊อกไซด์) ซึ่งพืชจะนำธาตุอาหารไปใช้ได้จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับความเป็น กรด-ด่าง (PH) ของดิน 2.การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินปลูก หรือ ซับสเตรท คัลเจอร์ (Substrate culture) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก แต่ได้มีการปลูกพืชในวัสดุปลูกชนิดต่างๆซึ่งอาจจะเป็นวัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ทราย หิน กรวด ฟางข้าว ขี้เลื่อย แกลบ ขี้เถ่า กาบมะพร้าว เป็นต้น
3.การเตรียมปุ๋ยและการทำปุ๋ยอินทีรย์ การเตรียมปุ๋ยและการทำปุ๋ยอินทีรย์ ได้รับความการถ่ายทอดจาก นายไพศาล ไชยเยศร์ เกษตรอำเภอศรีประจันต์ และเกษตรที่มีความรู้และชำนาญการจาก นางสมพิศ ขัวญปลอด (พี่สมพิษ) เกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ นายพงษ์พิษณุ แสงทองสว่างโชติ (พี่แจ่ม) ประธานกลุ่ม -ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน -การทำวิธีทำฮอร์โมนนมสด ฮอร์โมนไข่ สำหรับพืช - เกษตร อินทรีย์ กิจกรรมที่ 3 จัดเตรียมองค์ความรู้เทคโนโลยีระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ในหัวข้อเทคโนโลยีระบบโรงเรือน เทคโนโลยีการให้น้ำ เทคโนโลยีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศ เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน แก่เกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการจัดเตรียมอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร และสำหรับในการถ่ายทอดองค์ความรู้
กิจกรรมที่ 4 สร้างต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ต้นแบบระบบสมาร์ทฟาร์มคิทในโรงเรือนของเกษตรกร คือ นางสมพิศ ขัวญปลอด เกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่ตั้งแปลง เลขที่ 249 หมู่ 4 ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี หลังจากที่ได้ทำการสร้างต้นแบบเสร็จคณะผู้วิจัยได้มีการสาธิตและนำวิธีการใช้งานระบให้กับเกษตรกรต้นแบบได้ใช้งาน พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นศูนย์การเรียนรู้ การทำเกษตรอินทีรย์ที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้
| ค่าใช้จ่าย : 151,850 จำนวนผู้รับบริการ : 35 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3917] วันที่รายงาน [23/9/2563] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 5 อบรมถ่ายทอดความรู้ระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ แก่เกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีโดยมีหัวข้อเทคโนโลยีดังนี้ 1.เทคโนโลยีระบบโรงเรือน 2.เทคโนโลยีการให้น้ำ 3.เทคโนโลยีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศ 5.เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน
ภาพที่ 6กิจกรรมการร่วมเปิดโครงการ
ภาพที่ 7กิจกรรมการทำปุ๋ยอินทรีย์ ฮอล์โมนไข่ ในกิจกรรมการทำฮอล์โมนไข่ ได้มีเจ้าหน้าที่จากพัฒนาชุมชนอำเภอศรีประจันต์เข้ามาร่วมในการให้ความรู้กับกลุ่มเกษตกรผู้ปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ โดยสูตรในการทำฮอล์โมนไข่ และขั้นตอนการเตรียมส่วนผสม มีดังนี้ ไข่ไก่ 5 กิโลกรัม กากน้ำตาล 5 ลิตร ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก ยาคูลท์ หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด หลังจากเตรียมส่วนผสมในการทำฮอล์โมนไข่ เป็นที่เรียบร้อย ก็นำไข่ไก่ 5 กิโลกรัม ไปปั่นให้ละเอียดแล้วนำมาใส่ในถังเติมกากน้ำตาล 5 ลิตร ผสมลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก ตามด้วย ยาคูลท์ หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด เสร็จแล้วคนให้เข้ากัน หมักไว้ 14 วัน ทำการคนส่วนผสมที่ใส่ลงไปทุกวัน เช้า – เย็น เมื่อหมักจนครบ 14 วัน สามารถน้ำมาให้ได้เลยโดยมีอัตราส่วนที่ใช้ คือ ฮอล์โมนไข่ 20 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งข้อดีของฮอล์โมนไข่จะช่วยในการเร่งการเจริญเติบโต การออกดอก และผลผลิต อบรมถ่ายทอดความรู้ระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ แก่เกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการดำเนินงาน อบรมถ่ายทอดความรู้ระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ แก่เกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีดังนี้ 1.เทคโนโลยีระบบโรงเรือน เทคโนโลยีการให้น้ำ 2.เทคโนโลยีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศ 3.เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน
ภาพ การอบรมถ่ายทอดความรู้ระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์
ผลจากการอบรมถ่ายทอดความรู้ระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ แก่เกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งให้ความรู้เทคโนโลยีระบบโรงเรือน เทคโนโลยีการให้น้ำ เทคโนโลยีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศ และเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดินผลการประเมินโครงการจากเกษตรกรจำนวน 50 ราย ด้านข้อมูลวัดความพึงพอใจข้อมูลเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรพบว่า มี่ค่าเฉลี่ยอยู่ 4.38และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63อยู่ในระดับดีมา กิจกรรมที่ 6ประเมินผลโครงการ ถอดบทเรียนใน คืนข้อมูลสู่ชุมชน และให้คำปรึกษาในการใช้เทคโนโลยี ผลการดำเนินงาน -ประเมินผลโครงการ ตารางที่ 3.1การประเมินการใช้ระบบจากเกษตรกรต้นแบบ
-ถอดบทเรียนใน ตารางที่ 3.2 การถอดบทเรียน
-เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำการใช้งานระบบสมาร์ทฟาร์มคิด และวันที่ 15 กันยายน 2563 คณะผู้วิจัยได้คืนข้อมูลและให้คำปรึกษาการทำงานของระบบสมาร์ทฟาร์มคิทแก่เกษตรกร ซึ่งพบว่าเกษตรกรสามารถใช้งานและแก้ไขปัญหาได้เมื่อระบบเกิดการขัดข้องและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับกาถ่ายทอดมาประยุกต์ใช้งานได้และมาความเข้าใจในเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมากขึ้น | ค่าใช้จ่าย : 73,150 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4191] วันที่รายงาน [22/10/2563] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลใบสมัคร แบบประเิมนและการนำไปใช้ประโยชน์ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=4199] วันที่รายงาน [24/10/2563] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานฉบับสมบูรณ์ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2564 | 450,000|173,500|151,350|22,150 | 202153141551.pdf | 202112301017151.pdf | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4295] วันที่รายงาน [2/7/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ทีมคณะผู้วิจัยประกอบด้วย อาจารย์วิชัย นระมาตย์ อาจารย์สุวินัย โสดาจันทร์ และอาจารย์ประชุม อุทาพรม ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับเกษตรกร ผู้นำชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลการปลูกผัก ข้อมูลเพื่อการออกแบบการปลูกผักในโรงเรือนด้วยระบบสมาร์ทฟาร์มคิท ที่ใช้ในการอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรจำนวน 20 ราย ซึ่งปฏิบัติตามคำสั่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ให้จัดกิจกรรมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ไม่เกิน 20 คน การประชุมครั้งนอกจากจะรวบรวมข้อมูลแล้วยังทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะดำเนินการในปี 2564 | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4296] วันที่รายงาน [2/7/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ทีมผู้วิจัยประกอบด้วย อาจารย์วิชัย นระมาตย์ อาจารย์สุวินัย โสดาจันทร์ อาจารย์ประชุม อุทาพรม และอาจารย์วศกร ไตรพัฒน์ ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี การเลือกใช้อุปกรณ์ควบคมที่เหมาะสม ในการติดตั้งระบบสมาร์ทฟาร์มคิด ให้กับวิทยากรชุม ได้เข้าใจในการทำงานของอุปกรณ์ และความเหมาะสมของอุปกรณ์ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 10 ราย เนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ในจังหวัดสุพรรณบุรีมีเพิ่มจำนวนมากขึ้น และคณะผู้วิจัยก็ได้ดำเนินตามคำสังของจังหวัดสุพรรณบุรี | ค่าใช้จ่าย : 15,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=4525] วันที่รายงาน [28/9/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การติดตั้งระบบสมาร์ทฟาร์มคิด เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2564 คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การติดตั้งระบบสมาร์ทฟาร์มคิด ที่ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ แก่เกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี แก่เกษตรกร | ค่าใช้จ่าย : 86,350 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4526] วันที่รายงาน [28/9/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการแปลงปลูกให้ได้มาตรฐาน GAP เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 คณะผู้วิจัยลงพื้นที่ให้ความรู้เทคโนโลยีการจัดการแปลงปลูกให้ได้มาตรฐาน GAP | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=4664] วันที่รายงาน [29/12/2564] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรม การฝึกอบรมประยุกต์ใช้ IOT ในการปลูกผักปลอดภัยและอินทรีย์ และกิจกรรมข้อมูลสู่ชุมชน และให้คำปรึกษาในการใช้เทคโนโลยี | ค่าใช้จ่าย : 25,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates