หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2563 | 316,030|250,000|250,000|ใช้หมด | 20204101012571.pdf | 20201029103721.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3845] วันที่รายงาน [5/7/2563] | |||
ลงพื้นที่ สำรวจความต้องการของกลุ่มทอพื้นเมองไท-พวน เมื่อช่วงเดือนพฤจิกายน 2562 ชุมชนบ้านโพธิ์ตาก ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เป็นกลุ่มวัฒนธรรมไทพวน ที่มีวิถีชีวิตดั่งเดิม ใช้ภาษาไทพวน และมีฐานทรัพยากรไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรทางด้านวัตถุดิบ ที่อยู่ในชุมชน พืชพรรณนานาชนิด ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ชุมชนบ้านโพธิ์ตากมีแหล่งการทอผ้าฝ้ายด้วยเทคนิคการมัดหมี่ แต่ในปัจจุบันทางกลุ่มใช้สีเคมีในการย้อมสี ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การสำรวจในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นในเรื่องอัตลกษณ์ และสีย้อมธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาการผ้าฝ้ายมัดหมี่ของชนเผ่าไทพวน และย้อมฝ้ายด้วยธรรมชาติ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของชุมชนด้านการออกแบบลวดลายที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมไทพวน รวมถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ประเภทของที่ระลึกให้เป็นสินค้าชุมชนออกจำหน่ายสู่ตลาดจริง เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือจากการย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนในแบบวิถีไทพวนได้ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3847] วันที่รายงาน [5/7/2563] | |||
อบรมให้ความรู้ด้านการออกแบบลวดลายผ้าพื้นเมืองอัตลักษณ์ไทพวนและกิจกรรมถ่ายทอดกระบวนการทอให้เกิดความหลากหลาย นอกจากการมัดหมี่ทอผสมเทคนิคทอลายตารางให้เกิดลายโครงสร้างผ้า 1.1 กิจกรรมการหาอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมไทพวน วันที่ 20มิถุนายน 2563 จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 20 คน บ้านโพธิ์ตาก (กลุ่มไท-พวน) อาชีพ ทำนา,สวนยางพารา, สวนปาล์ม, สวนอ้อย, พืชไร่อื่นๆ สถานที่ในชุมชน หนองจานาง (หนองย่านาง), หนองไหล, น้ำทอน, วัด ลายผ้าดั้งเดิม ลายหมี่น้อย,ลายกาบหมาก,ลายขอ, ลายองค์ภา, ลายต้นสน, ลายกาบหมาก,ลายขอ(ครึ่งตัว), ลายขาเปีย, ลายตุ้ม, ลายขาวโพด วัฒนธรรม/ประเพณี
สีที่เป็นอัตลักษณ์ สีคราม/สรกรมท่า ,สีส้มอิฐ(สีของจังหวัดหนองคาย) , เหลือง การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการเขียนลายผ้าลงบนกระดาษกราฟ (กระดาษตาราง) เพื่อง่ายต่อการรวบรวม แม่ลายที่มีและสามารถถอดลายหรือวางลายบนผ้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ทอผ้าสามารถนำลายที่มีอยู่ไปมัดลายบนหมี่ได้่เลย ใช้งบประมาณไป 30000 บาท
ลวดลายผ้าที่ร่วมกันออกบแบบและเป็นลายประจำกลุ่มทอผ้าไท-พวน
| ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3848] วันที่รายงาน [5/7/2563] | |||
การอบรมเรื่องการใช้สีในการออกแบบลายการย้อมฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากพืชในชุมชน วันที่ 29-30 มิถุนายน 2563 พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มทอผ้าบ้านโพธิ์ตาก ต.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เนื่องจากกลุ่มมีแนวคิดในการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ใช้วัตถุดิบในการสกัดสีที่มีใช้ชุมชน ซึ่งทีมที่ปรึกษาได้ ปรึกษาหารือกันรวมความคิดรวมกันเพื่อหาวัตถุดิบในชุมชน ซึ่งสีที่จะต้องสกัดออกมานั้น ได้แก่ สีที่ได้จากใบมะม่วงป่า, สีที่ได้จากสีเสียด, สีที่ได้จากเปลือกอะร่าง, สีจากใบยูคาริปตัส+โคลน, สีจากเปลือกมะพร้าวแก่, สีจากการหมักเปลือกมังคุด, สีจากเปลือกมะพูด(ซื้อ) ,สีจากแก่นเข(ซื้อ), สีจากครั่ง(ซื้อ) ในการดำเนินการได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสกัดและสีด้วยสีธรรมชาติ นางสุชญา โครตวงษ์ ในการถ่ายทอดการสกัดสีจากพืช การถ่ายทอดการฟอกฝ้าย การถ่ายทอดการย้อมฝ้าย ซึ่งได้ทั้งหมด สี สีโทนชมพูจากเปลือกสีเสียด สีโทนเทาอ่อนถึงเข้มถึงดำจากการย้อมยูคาริปตัสและจุ่มโคลน สีโทนเขียวอ่อนจากใบมะม่วงป่า สีโทนน้ำตาลจากเปลือกอะร่าง สีโทนแดงจากครั่ง สีโทนเหลืองจากเปลือกมะพูดและแก่นเข ซึ่งสีย้อมที่ได้นั้นเป็นที่พอใจอย่างมาก
| ค่าใช้จ่าย : 55,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4178] วันที่รายงาน [5/10/2563] | |||
การถ่ายทอดกระบวนการทอให้เกิดความหลากหลาย นอกจากการมัดหมี่ทอผสมเทคนิคทอลายตารางให้เกิดลายโครงสร้างผ้า - ถ่ายทอดความรู้เรื่องการกระบวนการทอให้เกิดความหลากหลาย นอกจากการมัดหมี่ทอผสมเทคนิคทอลายตาราง เพื่อให้ได้เทคนิคในการทอเพิ่มมากขึ้น รูปแบบการทอเป็นแบบ - ทอมัดหมี่ - ทอลายตาราง (มัดหมี่) - ทอตารางผสมทอมัดหมี่ | ค่าใช้จ่าย : 65,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=4179] วันที่รายงาน [5/10/2563] | |||
ผลิตภัณฑ์สินค้าของกลุ่มไทพวน บ้านโพธิ์ตาก | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=4180] วันที่รายงาน [5/10/2563] | |||
อัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์ของกลุ่มไทพวน บ้านโพธิ์ตาก คือ - ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน (พันสี) - ลายใบโพธิ์ (ได้จากประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน จากผู้เฒ่าผู้แก่) - ลายพญานาค (ลวดลายที่สื่อถึงความเชื่อลุ่มแม่น้ำโขง ของจังหวัดหนองคาย) - ลายรวงข้าว (สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์) | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=4184] วันที่รายงาน [21/10/2563] | |||
การถ่ายทอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของวัฒนธรรมไทพวน วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2563 พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มทอผ้าบ้านโพธิ์ตาก ต.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย กิจกรรมการออกแบบสินค้าที่ระลึกให้กับกลุ่มลูกค้า โดยผลิตภัณฑ์ แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ คุณค่าทางวัฒนธรรม วิถีดั่งเดิมที่ทางกลุ่มไทพวนได้อนุรักษ์และสืบสาน โดยใช้ผ้าทอมือจากลุ่มทอผ้านำมาแปรรูป ซึ่งจำหน่ายให้กับลูกค้าระดับกลาง วัยทำงาน ถึงวัยเกษียณ ข้าราชการ พนักงานภาครัฐและเอกชน เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมผ้าไทย นุ่งผ้าชิ่น และมีความชอบงานหัตถกรรม และผู้ที่ชื่นชอบในวิถีความเป็นวัฒนธรรมพื้นเมืองและกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างแนวความคิดในการออกแบบ (Design Concept) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ โดยการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบสินค้าของที่ระลึก การพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นการสร้างคุณประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำแนวความคิดการออกแบบให้ตรงตาม Lift Style ของกลุ่มผู้บริโภคสมัยใหม่ เป็นในลักษณะแบบร่วมสมัย นำสีของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติมาออกแบบผสมผสานจนเกิดความสมดุล และความลงตัว การกำหนดรูปแบบของสินค้าสำหรับกลุ่มชุมชนเมือง กลุ่มวัยทำงาน ที่ชื่นชอบวัสดุธรรมชาติ โดยยึดหลักของโทนสีมาใช้และโทนสีอบอุ่นและเอิร์ทโทน ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ เน้นถึงความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ในขณะเดียวกันก็ยังคงความอ่อนช้อยและรายละเอียดที่สวยงาม และยังคงความเป็นพื้นถิ่น
ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มไทพวน บ้านโพธิ์ตาก จังหวัดมหาสารคาม ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่ใช้ผ้าทอมือลายตาราง (ผ้าขาวม้า ย้อมสีธรรมชาติมีวัสดุที่ได้จากท้องถิ่นในชุมชน ได้นำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์กลุ่มคนเมือง แผนธุรกิจ ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองไทพวน บ้านโพธิ์ตาก Key Partners
Key Activities - ย้อมสีธรรมชาติ - ผ้าทอ/ของที่ระลึก - ส่งเสริมการปลูกฝ้ายในชุมขน Key Resources
ผลิตภัณฑ์ แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ คุณค่าทางวัฒนธรรม วิถีแบบดั่งเดิมที่ทางกลุ่มไทพวน/กลุ่มทอผ้า ได้อนุรักษ์ สืบสานให้กับรุ่นต่อรุ่น Customer Relationships การติดต่อกับลูกค้า โดยทางออฟไลน์ และทางออนไลน์ - ติดต่อโดยตรงของกลุ่มฯ - @line Channels กลุ่มฯมีช่องทางการขาย โดยสามารถสั่งออเดอร์ได้โดยทางออฟไลน์ และทางออนไลน์ - ติดต่อโดยตรงของกลุ่มฯ - เพลท Facebook - @line Customers Segments กลุ่มลูกค้าระดับกลาง - กลุ่มวัยทำงาน ถึง วัยเกษียณ ข้าราชการ/พนักงานของภาครัฐและเอกชน เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมผ้าไทย นุ่งผ้าซิ่น และมีความชื่นชอบงานหัตกรรม - กลุ่มผู้บริโภคที่มีความชื่นชอบ ในวิถีความเป็นวัฒนธรรมพื้นเมือง และกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม Costs
Revenue and Streams
ผู้ประกอบการมีการสร้างหน้าเพลทเฟสบุ๊ค เพื่อเป็นการประสัมพันธ์ | ค่าใช้จ่าย : 100,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=4185] วันที่รายงาน [21/10/2563] | |||
จากผลการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มไทพวน บ้านโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ซึ่งในปีนี้เน้นที่การพัฒนาบุคลากรและการถ่ายทอด เทคโนโลยี โดยใช้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการวิจัย ทดลอง การเรียนรู้ผ่าน กระบวนการลองผิดลองถูก และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. จากการความต้องการและปัญหาของกลุ่มทอผ้า ในด้านการพัฒนาคุณภาพ การตลาดและการจัดจำหน่าย ตลอดจนการสร้างวิทยากรของชุมชนให้สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีของชุมชนที่มีอยู่และการเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ครบวงจร จนถือได้ว่าเป็นชุมชนหรือกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง สามารถสร้างผลผลิตจนเป็นที่อมรับของสังคมในวงกว้างและสร้างรายได้ ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน 2. โครงการนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ทักษะการมัดลายผ้ามัดหมี่กลุ่มค่อยข้างมัดลายได้ชัด มีความสวยงามจากการศึกษาพบว่าแม้กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองไทพวนบ้านโพธิ์ เนื่องจากกลุ่มฯ เคยย้อมเส้นฝ้ายด้วยสารเคมี เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้การย้อมสีด้วยวัสดุธรรมชาติ ซึ่งใด้ผู้เชี่ยวชาญในการสกัดสี และการย้อมสีมาให้ความรู้ และกลุ่มสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเข้าในง่าย และได้ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติที่มีความ สวยงาม เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค แต่การผลิตสินค้าผ้ายังขาดการข้อมูลที่จําเป็นในการสื่อสารการตลาดกับผู้บริโภค จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลสีของผ้าฝ้ายทอ มือย้อมสีธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ 2 ประการ คือ 1) ผู้บริโภคจะได้ทราบว่ามีผ้าไหมสีใด และสามารถเลือกสีที่ต้องการได้ 2) เป็นการรวบรวมข้อมูลตัวอย่างเส้นใยไหมย้อมสีและรหัสอ้างอิง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการผลิตสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต การรวบรวมรายการสีย้อมธรรมชาติ 2. จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มทอผ้าด้าน การออกแบบลาย การสกัดสีจากวัสดุธรรมชาติ การย้อมสีเส้นฝ้าย และการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก กลุ่มค่อยข้างสนใจและสามารถทำได้ดีตามแผนงานที่ได้วางแผนไว้ในระยะแรก 3. กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองไทพวน ที่เข้ารับการอบรมมาช่วงเวลาหนึ่ง พบว่าสามารถเพิ่มกำลังผลิต มีความต้องการพัฒนาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ท้าให้สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเพิ่มมากขึ้น 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ออกแบบลาย ผู้มัดลายผ้า ผู้ย้อมเส้นฝ้าย ผู้ทอผ้า การพัฒนารูปแบบการ ผลิต การจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาผลผลิต เกิดมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ผู้สนใจจำนวน 25 คน พบว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็พบปัญหาว่าการจะนำไปพัฒนาเป็นอาชีพนั้น ต้องใช้งบประมาณ และปัจจัยเสริมอื่นๆ ทั้งทักษะความช้านาญที่ต้องฝึกฝน การมีเครือข่ายที่คอยช่วยเหลือในเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็น ตลอดจนการตลาด และการจ้าหน่ายต้องได้รับการพัฒนา ดังนั้นจึงมีเพียงบางของผู้เข้ารับการอบรมสามารถรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพได้ จึงต้องได้รับการพัฒนาต่อไป | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2564 | 300,000|201,500|70,000|131,500 | 20211014114481.pdf | 20221261144301.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4388] วันที่รายงาน [5/7/2564] | |||
กิจกรรมการแปรรูปสินค้าชุมชนให้เป็นของที่ระลึก โดยใช้ฝ้ายทอมืองานผ้า ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่ใช้ผ้าทอมือลายตาราง (ผ้าขาวม้า ย้อมสีธรรมชาติมีวัสดุที่ได้จากท้องถิ่นในชุมชน ได้นำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์กลุ่มคนเมือง กรอบแนวคิดในการออกแบบ ของที่ระลึกของชุมชน โดยเน้นผู้บริโภคกลุ่มคนเมือง และนักท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบัน คำนึงถึงความยังยื่นของการใช้วัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้วัสดุธรรมชาติ ตามแนวคิด Eco design และ Sustainable fashionเป็นวิถีของคนเมืองที่ต่างที่มาและอยู่ร่วมกัน จนเกิดความหลากหลาย การผสมผสานกันอย่างลงตัว การสร้างความสมดุลที่แตกต่าง โดยใช้รูปแบบที่เรียบง่าย จากที่วุ่นวาย กลายเป็นความสงบ
| ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4391] วันที่รายงาน [5/7/2564] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=4392] วันที่รายงาน [5/7/2564] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4603] วันที่รายงาน [1/10/2564] | |||
การสร้างตราสินค้า บรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย และการสร้างแบรนด์ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมเพื่อเพิ่มรายได้จากการผลิตผ้าพื้นเมือง งานหัตถกรรมชุมชน โดยมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้น และมีจำนวนผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพิ่มศักยภาพสำหรับผู้ที่ทอผ้าไม่เป็นแต่สามารถผลิตเส้นด้ายฝ้าย หรือกลุ่มแปรรูปสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในชุมชน
ซึ่งชุมชนมีศักยภาพที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ผ้าทอได้ โครงการฯ ต้องเอาเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทพวนเพื่อให้เป็นการสร้างมูลค่าจากวัฒนธรรม สร้างรายได้กับกลุ่ม การต่อยอด การขาย และดำเนินการสร้างแบรนด์ | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates