หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2563 | 300,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20204221218211.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3899] วันที่รายงาน [2/9/2563] | |||
กิจกรรม จัดการความรู้การปลูกสับปะรดอินทรีย์
ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่สนใจจำนวน 10คน โดยมีการรวบรวมข้อมูลการปลูกสับปะรดสายพันธุ์ MD2 ตั้งแต่หน่อพันธุ์ การจัดการดิน การให้น้ำให้ปุ๋ย การดูแล การจำหน่าย และการแปรรูป เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ และถอดเป็นองค์ความรู้สู่แนวปฏิบัติการปลูกสับปะรดอินทรีย์ในแปลงศึกษาทดลอง | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3900] วันที่รายงาน [2/9/2563] | |||
กิจกรรม จัดการความรู้การขยาย/คัดแยกหน่อพันธุ์ปลอดโรค ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการขยายหน่อพันธุ์สับปะรด MD2 ของเกษตรกร ที่ปลูก MD2 ในพื้นที่ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี แล้วนำมาจัดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุดที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะทำให้ได้หน่อปริมาณมากและปลอดโรคก็จริงแต่ เกษตรกรไม่สามารถทำได้เองเนื่องจากการลงทุนสูงทางห้องปฏิบัติการ และต้องใช้เวลาอนุบาลหน่อพันธุ์ค่อนข้างนานกว่าต้นจะแข็งแรง ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้ของการจัดการหน่อพันธุ์ปลอดโรคในพื้นที่คือ การขยายโดยใช้จุก และใช้หน่อจากต้นที่สมบูรณ์ ไม่แสดงอาการเป็นโรค แล้วนำมาคัดแยกขนาดโดยการชั่งน้ำหนัก
| ค่าใช้จ่าย : 25,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3997] วันที่รายงาน [29/9/2563] | |||
กิจกรรม การวิเคราะห์ pH และ ธาตุอาหารในดิน ด้วยชุดทดสอบ อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการทดสอบธาตุอาหารในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้และชุดทดสอบที่จัดให้ไปใช้ประโยชน์ในการ จัดการดินในแปลงปลูกสับปะรดของเกษตรกร ผลลัพธ์ : - ได้ทราบความอุดมสมบูรณ์ของแปลงปลูกสับปะรดของตนเอง - เป็นแนวทางในการวางแผนการให้ปุ๋ย/วัสดุบำรุงดิน - จัดการปรับปรุงคุณภาพของดินได้ทันท่วงที
ผลกระทบ : - ลดรายจ่ายค่าตรวจวิเคราะห์ดินในระดับห้องปฏิบัติการ - ช่วยลดรายจ่ายจากการให้ปุ๋ยเกินความจำเป็น - เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต /เพิ่มรายได้ | ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4002] วันที่รายงาน [29/9/2563] | |||
กิจกรรม การประยุกต์พด.7 หรือจุลินทรีย์การค้ามาพัฒนาเป็นเอนไซม์ป้องกันโรคเหี่ยว
•เป็นการทำหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพสูตรพัฒนาที่เพิ่มประสิทธิภาพโดยมี “เอนไซม์” ที่เกิดจากการหมักด้วยจุลินทรีย์ พด.7 หรือจุลินทรีย์การค้า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านั้นจะถูกเหนี่ยวนำ/พัฒนาการเจริญเติบโตด้วยกากถั่วเหลืองชนิดปราศจากน้ำมัน
•เอนไซม์ดังกล่าวมีฤทธิ์ทางชีวภาพ สามารถนำไปใช้ไล่เพลี้ยในไร่สับปะรดทดแทนสารกำจัดศัตรูพืชได้ดีในระดับหนึ่ง ช่วยประหยัดต้นทุน ปลอดภัยต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรม เกษตรกรนำไปขยายผลผลิตน้ำหมักและใช้งาน สามารถลดประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้สารเคมีได้ถึง 2,500 บาท/ไร่
| ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=4013] วันที่รายงาน [29/9/2563] | |||
กิจกรรม การจัดทำแปลงต้นแบบการปลูกสับปะรดอินทรียืพันธุ์ MD2 ทำการถอดบทเรียนการปลูกสับปะรดแบบอินทรีย์ของสมาชิกในกลุ่ม แล้วนำมาถ่ายถอดให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยการทำแปลงต้นแบบด้านการจัดการการปลูกสับปะรดอินทรีย์พันธู์ MD2 เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรูักับเกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการปลูกสับปะรดแบบอินทรีย์ โดยมีวิทยากรชุมชน คือ นายเดชไชยพัฒน์ เป็นผู้ที่จะให้ความรู้กับผู้ที่สนใจในการเยี่ยมชม | ค่าใช้จ่าย : 35,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=4014] วันที่รายงาน [29/9/2563] | |||
กิจกรรม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ซอสสับปะรด จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปสับปะรด เป็นผลิตภัณฑ์ซอสสับปะรด โดยกิจกรรมนี้เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจ นำผลผลิตสับปะรดที่ตกเกรด หรือช่วงที่ล้นตลาดมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
|