หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2562 | 300,000|257,000|257,000|ใช้หมด | 20192211440151.pdf | 20191017102471.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3593] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
รายงานความก้าวหน้าไตรมาส1 และไตรมาส2
นักวิจัยได้ลงพื้นที่เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2561 เพื่อชี้แจงโครงการ“หมู่บ้านสมุนไพรน้ำดอกไม้ ” ให้แก่ตัวแทนสมาชิกที่เป็นแกนนำของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ประมาณ 7 กลุ่ม ในปีงบประมาณ 2562 มีแผนกิจกรรมในการดำเนินงานต่อเนื่อง คือ 1. พัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะม่วงน้ำดอกไม้ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์ของท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะใช้ ใบ ยอด และดอกของมะม่วงน้ำดอกไม้ที่สดใหม่เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ได้แก่ ชาสมุนไพรมะม่วงน้ำดอกไม้และเครื่องสำอางสมุนไพรจากมะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นต้น โดยมีผลงานวิจัยที่ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของมะม่วงน้ำดอกไม้ ส่วนใบ ยอด และดอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกัน และรักษาโรคได้ 2. อบรมการสร้างกระบวนการมองหา “ทุนจากภายใน” ของชุมชนและท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วเพื่อนำมาต่อยอดสร้างสรรค์ สร้างมูลค่า เพิ่มด้วยการสร้าง “อัตลักษณ์” ที่สำคัญในการสะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนและท้องถิ่นอันเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยอบรมให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากมะม่วงน้ำดอกไม้บนฐานอัตลักษณ์ของพื้นถิ่น ที่จะใช้ใบ ยอด และดอกของมะม่วงน้ำดอกไม้ที่สดใหม่เก็บมาจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของสวนมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทราที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) นอกจากนี้ยังช่วยสิ่งแวดล้อมโดยลดสภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการเผา ( สามารถใช้เป็นจุดขายทำตลาดในผู้บริโภคกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ) 3. อบรมสร้างองค์ความรู้ ได้แก่ การใช้สมุนไพรรับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรค เพื่อลดอันตรายจากสารตกค้างและความเป็นพิษของยาแผนปัจจุบัน รวมทั้งการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาสกัดสารสำคัญไปใส่ในเครื่องสำอางเพื่อชะลอการเสื่อมสภาพของผิวก่อนวัยอันควร ลดสารเคมีนำเข้าจากต่างประเทศ และอบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตการผลิตชาสมุนไพรแบบพื้นฐาน 4. ศึกษาดูงานเพื่อช่วยเพิ่มพูน ความรู้ทักษะและประสบการณ์ ทีมวิจัยได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ ชาสมุนไพรมะม่วงน้ำดอกไม้ และเครื่องสำอางสมุนไพรจากมะม่วงน้ำดอกไม้ (สบู่รูปมะม่วงน้ำดอกไม้ สบู่รูปไอติมมะม่วงน้ำดอกไม้ สบู่มะม่วงน้ำดอกไม้ผสมน้ำผึ้ง เจลอาบน้ำมะม่วงน้ำดอกไม้ แฮนด์ครีมมะม่วงน้ำดอกไม้ เซรั่มบำรุงผิวหน้ามะม่วงน้ำดอกไม้ ครีมสปามะม่วงน้ำดอกไม้ ยาสระผมมะม่วงน้ำดอกไม้ ครีมนวดผมมะม่วงน้ำดอกไม้ เซรั่มบำรุงผมน้ำดอกไม้ เป็นต้น) และได้นำไปให้สมาชิก ได้ทดลองชิม ทดลองใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จากมะม่วงน้ำดอกไม้ และจัดกิจกรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะม่วงน้ำดอกไม้” ให้แก่ตัวแทนสมาชิกที่เป็นแกนนำของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2561 – เมษายน2562
จากการจัดกิจกรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจากมะม่วงน้ำดอกไม้” โดยภาพรวมสรุปได้ว่า สมาชิกกลุ่มมีความพึงพอใจและต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่จากมะม่วงน้ำดอกไม้ ที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว ต้นทุนต่ำ กระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาในการแปรรูปน้อย มีอัตลักษณ์ และสามารถขายได้ | ค่าใช้จ่าย : 151,550 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : 1. การจัดกิจกรรมในช่วงที่มะม่วงออกผลมาก สมาชิกอาจไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรม อาจทำให้การดำเนินงานตามแผนงานของโครงการล่าช้า 2. สมาชิกที่สมัครเป็นประธานของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ที่มีอายุน้อย จะมีงานประจำยังไม่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงงานประจำที่ทำเป็นอาชีพหลัก ทำให้มีเวลาเข้าร่วมโครงการไม่เต็มที่ 3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ มีงานประจำอื่น เช่น เข้าสวน พนักงานบริษัท เป็นต้น ทำให้สมาชิกมีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่จะมาเข้าร่วมโครงการ ดังนั้นการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการจึงต้องหาเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่าง เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน แนวทางแก้ไข : 1. นักวิจัยปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มะม่วงออกผลมาก และเลือกใช้วัตถุดิบ จากสวนที่ได้มาตรฐานGAP 2. เปลี่ยนแปลงประธานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และพื้นที่ดำเนินการจากหมู่ที่ 1 ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง เป็น หมู่3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่ง หมู่3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า มีความเหมาะสมเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เพราะมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้านที่เข้มแข็ง อย่างเช่น สมาชิกในกลุ่มเป็นเจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้รายใหญ่ ทำให้มีวัตถุดิบที่สดใหม่จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก อีกทั้งยังจะเห็นความพร้อมได้จากการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เช่น วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงแปดริ้ว และชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งมีหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า องค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ฯลฯ ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ 3. นักวิจัยวางแผนการจัดกิจกรรมตามเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่างเช่นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3596] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
ปัญหาอุปสรรค : 1. การจัดกิจกรรมในช่วงที่มะม่วงออกผลมาก สมาชิกอาจไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรม อาจทำให้การดำเนินงานตามแผนงานของโครงการล่าช้า 2. สมาชิกที่สมัครเป็นประธานของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ที่มีอายุน้อย จะมีงานประจำยังไม่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงงานประจำที่ทำเป็นอาชีพหลัก ทำให้มีเวลาเข้าร่วมโครงการไม่เต็มที่ 3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ มีงานประจำอื่น เช่น เข้าสวน พนักงานบริษัท เป็นต้น ทำให้สมาชิกมีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่จะมาเข้าร่วมโครงการ ดังนั้นการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการจึงต้องหาเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่าง เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน แนวทางแก้ไข : 1. นักวิจัยปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มะม่วงออกผลมาก และเลือกใช้วัตถุดิบ จากสวนที่ได้มาตรฐานGAP 2. เปลี่ยนแปลงประธานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และพื้นที่ดำเนินการจากหมู่ที่ 1 ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง เป็น “หมู่3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า” จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่ง หมู่3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า มีความเหมาะสมเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เพราะมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้านที่เข้มแข็ง อย่างเช่น สมาชิกในกลุ่มเป็นเจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้รายใหญ่ ทำให้มีวัตถุดิบที่สดใหม่จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก อีกทั้งยังจะเห็นความพร้อมได้จากการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เช่น วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงแปดริ้ว และชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งมีหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า องค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ฯลฯ ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ 3. นักวิจัยวางแผนการจัดกิจกรรมตามเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่างเช่นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3602] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
... | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=3637] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
รายงานความก้าวหน้าไตรมาส3 และไตรมาส4 ผลการดำเนินโครงการหมู่บ้านสมุนไพรน้ำดอกไม้รายไตรมาส 3 และไตรมาส 4 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ทีมวิจัยได้มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มจำนวน 2 เรื่อง ณ ห้องเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์จังหวัดฉะเชิงเทรามีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 50 คน เรื่องที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้แก่ 1. อบรมการสร้างกระบวนการมองหา “ทุนจากภายใน” ของชุมชนและท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วเพื่อนำมาต่อยอดสร้างสรรค์ สร้างมูลค่า เพิ่มด้วยการสร้าง “อัตลักษณ์” ที่สำคัญในการสะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนและท้องถิ่นอันเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยอบรมให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากมะม่วงน้ำดอกไม้บนฐานอัตลักษณ์ของพื้นถิ่น ที่จะใช้ใบ ยอด และดอกของมะม่วงน้ำดอกไม้ที่สดใหม่เก็บมาจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของสวนมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทราที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) นอกจากนี้ยังช่วยสิ่งแวดล้อมโดยลดสภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการเผา ( สามารถใช้เป็นจุดขายทำตลาดในผู้บริโภคกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ) 2. อบรมสร้างองค์ความรู้ ได้แก่ การใช้สมุนไพรรับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรค เพื่อลดอันตรายจากสารตกค้างและความเป็นพิษของยาแผนปัจจุบัน รวมทั้งการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาสกัดสารสำคัญไปใส่ในเครื่องสำอางเพื่อชะลอการเสื่อมสภาพของผิวก่อนวัยอันควร ลดสารเคมีนำเข้าจากต่างประเทศ และอบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตการผลิตชาสมุนไพรแบบพื้นฐาน
และจากการที่ทีมผู้รับผิดชอบโครงการได้นำผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรจากมะม่วงน้ำดอกไม้ และสบู่แฮนด์เมดรูปมะม่วงน้ำดอกไม้ ไปทดลองตลาดในงาน "ตลาดนัดวิถีวิทย์ TechnoMart 2019 " ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อาคารชาเลนเจอร์ 1 อิมแพค เมืองทองธานี จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เมื่อวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2562 พบว่าผู้เข้าร่วมงาน (โดยเฉพาะชาวต่างชาติ) ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในท้องตลาดยังไม่มีผลิตและจำหน่าย ประกอบกับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากใบ ยอด และดอก ของมะม่วงน้ำดอกไม้เมืองแปดริ้วที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่นด้วย ดังนั้นทางทีมผู้รับผู้ชอบโครงการจึงได้จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตการผลิตชาสมุนไพร และสบู่มะม่วงแฮนด์เมดแบบพื้นฐาน ให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพิ่ม โดยมีการสอดแทรกความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสมาชิก ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ อุณหภูมิในการอบชา การสกัดสารสำคัญใส่สบู่ การชั่งตวงวัดส่วนผสม และขั้นตอนการเลือกบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่ม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 สมาชิกในกลุ่มได้มีการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการผลิต ชาสมุนไพรมะม่วงน้ำดอกไม้ สบู่แฮนด์เมดรูปไอติมมะม่วงน้ำดอกไม้ และสบู่มะม่วงน้ำดอกไม้ผสมน้ำผึ้ง โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่มีตามบ้านในการผลิต นำมาจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และขายทาง Social Network อย่างเช่น เฟสบุคเพจ | ค่าใช้จ่าย : 105,450 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : 1. สมาชิกมีข้อจำกัดเรื่องการขาย ผลิตแล้วไม่รู้ว่าจะไปขายให้ใคร ดังนั้นทางกลุ่มจะรับผลิตตามออเดอร์เท่านั้น 2. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ มีงานประจำอื่น เช่น เข้าสวนมะม่วง พนักงานบริษัท เป็นต้น ทำให้สมาชิกมีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่จะมาเข้าร่วมโครงการ ดังนั้นการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการจึงต้องหาเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่าง เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน แนวทางแก้ไข : 1. นักวิจัยช่วยส่งเสริมเรื่องการตลาดให้กับกลุ่มโดยการนำสินค้าของกลุ่มไปจัดแสดงนิทรรศการและออกบูธจำหน่ายสินค้าในงานระดับจังหวัด เพื่อช่วย promote ผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่ม 2. นักวิจัยวางแผนการจัดกิจกรรมตามเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่าง เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3642] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
รายงานความก้าวหน้าไตรมาส 2
จากการจัดกิจกรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจากมะม่วงน้ำดอกไม้” โดยภาพรวมสรุปได้ว่า สมาชิกกลุ่มมีความพึงพอใจและต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่จากมะม่วงน้ำดอกไม้ ที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว ต้นทุนต่ำ กระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาในการแปรรูปน้อย มีอัตลักษณ์ และสามารถขายได้ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 7 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2563 | 300,000|258,100||258,100 | 20207151049211.pdf | 20201011743551.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3741] วันที่รายงาน [4/4/2563] | |||
การชี้แจงโครงการเบื้องต้นกับผู้ประกอบการ หมู่บ้านสมุนไพรน้ำดอกไม้ (ต่อเนื่อง) ในปีงบประมาณ 2563 มีแผนงานในการดำเนินงานต่อเนื่องคือ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 6 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3851] วันที่รายงาน [5/7/2563] | |||
รายงานความก้าวหน้าไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ“หมู่บ้านสมุนไพรน้ำดอกไม้ ” และจัดประชุมกลุ่มย่อยให้แก่ตัวแทนสมาชิกที่เป็นแกนนำของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ในพื้นที่และกลุ่มเครือข่าย ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา และสหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา
การชี้แจงโครงการเบื้องต้นกับแกนนำกลุ่มเกษตรกรสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา หมู่บ้านสมุนไพรน้ำดอกไม้ในปีงบประมาณ 2563 มีแผนกิจกรรมในการดำเนินงานต่อเนื่อง คือ - อบรมเพิ่มทักษะการผลิตสมุนไพรแปรรูปสาธิตการทำชาสมุนไพรจากมะม่วงน้ำดอกไม้(รวมถึงสรรพคุณและการนำไปใช้) โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านต่างๆ เช่น ด้านวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปด้านบรรจุภัณฑ์ - อบรมเพิ่มทักษะการผลิตสมุนไพรแปรรูปใหม่ๆ สาธิตการผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรน้ำดอกไม้ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านต่างๆ เช่น ด้านวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปด้านบรรจุภัณฑ์ - อบรมให้เห็นถึงการสร้างนวัตกรรมให้กับตัวสินค้า โดยใช้ผลงานวิจัยที่ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของมะม่วงน้ำดอกไม้ ส่วนใบ ยอด และดอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกัน และรักษาโรคได้ ให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายมีความรู้สามารถเสนอรายละเอียดของสินค้าเพื่อการส่งเสริมการตลาดและการสื่อสารให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ถึงนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีผลงานวิจัยรับรอง
วิทยาการในการจัดอบรมมีดังนี้ 1.อาจารย์สุวิมล ขวัญศิริวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี
2.อาจารย์ผุสดี ภุมรา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ในช่วงระหว่างดำเนินการขออนุมัติจัดอบรมโครงการหมู่บ้านสมุนไพรน้ำดอกไม้ ในวันที่ 15 กรกฎาคม-15 สิงหาคม2563ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม 50 คน นั้น ได้จัดอบรมเฉพาะกิจให้สมาชิก 2 กลุ่ม 2 ครั้ง
ครั้งที่2 คุณทัศนีย์ มธุรภารดี จัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการผลิตสมุนไพรแปรรูปใหม่ๆ ทางไลน์และโทรศัพท์ สาธิตการผลิตเครื่องสำอางเจลล้างมือสมุนไพรน้ำดอกกลิ่นมะม่วงที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากมะม่วงน้ำดอกไม้ เนื่องจากผู้ประกอบการประสบปัญหาในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้ประกอบการมีสารก่อเจลจำนวนมากที่ใกล้จะถึงวันหมดอายุ และต้องการได้ผลิตภัณฑ์ที่ทันต่อสถานะการณ์โควิดเพื่อความต้องการของผู้บริโภค จึงได้จัดอบรมเฉพาะกิจ
โดยสมาชิกได้นำมาจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น ราชนครินทร์แฟร์ และขายทาง Social Network อย่างเช่น เฟสบุคเพจ ปัญหาอุปสรรค : 1. การจัดกิจกรรมในช่วงที่มะม่วงออกผลมาก สมาชิกอาจไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรม อาจทำให้การดำเนินงานตามแผนงานของโครงการล่าช้า 2. สมาชิกที่สมัครเป็นประธานของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ที่มีอายุน้อย จะมีงานประจำยังไม่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงงานประจำที่ทำเป็นอาชีพหลัก ทำให้มีเวลาเข้าร่วมโครงการไม่เต็มที่ 3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ มีงานประจำอื่น เช่น เข้าสวน พนักงานบริษัท เป็นต้น ทำให้สมาชิกมีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่จะมาเข้าร่วมโครงการ ดังนั้นการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการจึงต้องหาเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่าง เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน 4. เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิค-19 ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ อาจทำให้การดำเนินงานตามแผนงานของโครงการล่าช้า แนวทางแก้ไข : 1. นักวิจัยปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มะม่วงออกผลมาก และเลือกใช้วัตถุดิบ จากสวนที่ได้มาตรฐานGAP 2. เปลี่ยนแปลงประธานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และพื้นที่ดำเนินการจากหมู่ที่ 1 ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง เป็น “หมู่ 3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า” จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่ง หมู่ 3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า มีความเหมาะสมเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เพราะมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้านที่เข้มแข็ง อย่างเช่น สมาชิกในกลุ่มเป็นเจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้รายใหญ่ ทำให้มีวัตถุดิบที่สดใหม่จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก อีกทั้งยังจะเห็นความพร้อมได้จากการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เช่น วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงแปดริ้ว และชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งมีหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า องค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ฯลฯ ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ 3. นักวิจัยวางแผนการจัดกิจกรรมตามเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่ว่างเช่นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือน 4. ช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิค-19 ได้เตรียมเอกสารอบรมและติดต่อกับสมาชิกทางโทรศัพท์และไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลเบื้องต้น และให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆเฉพาะกิจเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates