หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ | ||||||||||||||||||||||||
2562 | 330,000|330,000|252,032|77,968 | 201922197471.pdf | 201910251129581.pdf | ||||||||||||||||||||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | |||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3122] วันที่รายงาน [1/4/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
| ค่าใช้จ่าย : 4,500 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3304] วันที่รายงาน [29/6/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 1 การประชุมจัดทำแผน กำหนดแนวทางสร้างความเข้าใจ ชี้แจงความสำคัญของโครงการ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนป่าชิง จำกัด ตำบลป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา วัตถุประสงค์ เพื่อประชุมระดมความคิดเห็นแนวทาง รูปแบบการดำเนินกิจกรรมโครงการภายใต้โครงการหมู่บ้านป่าชิง อ.จะนะ ประจำปี 2562 ให้แก่สมาชิกกลุ่มเก่าและใหม่ เนื่องจากมีการรับสมัครสมาชิกเพิ่ม และยังเปิดโอกาสให้เครือข่ายชาวนาจากหมู่บ้านใกล้เคียงเข้าร่วมรับฟังผลการดำเนินกิจกรรมของปีที่ผ่านมา และร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางขยายเครือข่ายในอนาคต โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ จำนวน 30 คน | ค่าใช้จ่าย : 180,400 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3305] วันที่รายงาน [29/6/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการการทดลองพัฒนาสูตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ป่าชิง อ.จะนะ คือ นางสาวมยุรา เหมสารา นักวิชาการโภชนาการชำนาญการ [ข้าราชการเกษียณอายุ และสมาชิกอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สมาชิก อสวท. รหัส 7005) ของคลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) ประจำจังหวัดสงขลา] มาออกแบบหลักสูตร รูปแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การใช้เทคโนโลยี รวมถึงกระบวนการทดลองจัดทำหลักสูตรสำเร็จที่ได้จากการตกผลึกจากกิจกรรมที่ 1 ที่ผ่านมา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะในการพัฒนาสูตรสำเร็จ ได้กำหนดเป็นผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของกลุ่มสมาชิกที่อยากให้อนุรักษ์ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม ขนมพื้นบ้านแต่ต้องการใช้วัตถุดิบจากข้าวลูกปลาเป็นหลัก ด้วยการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปปลายข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งวัตถุดิบที่เหลือกินเหลือใช้มาแปรรูปเป็นแป้งและใช้วิธีการกวนเพื่อทำกะละแมข้าวเจ้า (ยาหนม /ดอดอย) ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านที่หารับประทานได้ยากในปัจจุบัน มีการปรับปรุงวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ ใช้วัตถุดิบให้คุ้มค่า และผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบรสข้าวยำ ที่กลุ่มสมาชิกต้องการเพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภค และการทดลองผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษาได้นาน เพื่อลดปัญหาในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงคุณภาพของข้าวยำกรอบ (ผลิตภัณฑ์เด่นของกลุ่ม) เพื่อให้ถูกใจผู้บริโภคมากขึ้น อนึ่ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในงาน “อำเภอยิ้ม” (อำเภอเคลื่อนที่) จัดโดย อบต.คลองเปียะ ซึ่งมีนายอำเภอจะนะ เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 มีหน่วยงานภาครัฐและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมากมายในพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการร่วมกันอย่างครึกครื้น ซึ่งกลุ่ม ฯ ได้นำผลิตภัณฑ์ข้าวลูกปลา (ข้าวสาร) ผลิตภัณฑ์แปรรูป (ทองม้วนกรอบ) ออกจำหน่าย สร้างความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภคในพื้นที่ ทั้งนี้ กลุ่ม ฯ ได้ทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างของข้าวยำกรอบปรุงรส และข้าวเกรียบรสข้าวยำ ให้ผู้สนใจได้ชิมและสาธิตกระบวนการผลิตให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ชมและชิม ซึ่งกลุ่ม ฯ ได้แจกแบบทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อให้แขกในงานที่ได้ชิมช่วยกรอกข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่กลุ่ม ฯ ได้นำไปเปิดตัว ได้ผลการตอบรับเป็นจำนวนมาก หลังจากเสร็จสิ้นได้รวบรวมผลการทดสอบโดยวิธีการสุ่มกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 มีความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบรสข้าวยำ อีกร้อยละ 20 มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มกลิ่นสมุนไพรและเพิ่มรสชาติให้เข้มข้นขึ้นตามรสชาติของคนในพื้นที่ และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ข้าวยำกรอบ จากจำนวนผู้ทำแบบทดสอบด้านประสาทสัมผัส จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 70 มีความชอบผลิตภัณฑ์โดยรวม อีกร้อยละ 30 มีข้อเสนอแนะในเรื่องรูปแบบการขึ้นรูปของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลการทดสอบ (อย่างไม่เป็นทาง) นี้ จะได้นำไปปรับปรุงและบรรจุเป็นหลักสูตรในกิจกรรมต่อไป | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=3306] วันที่รายงาน [29/6/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการการทดลองพัฒนาสูตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ป่าชิง อ.จะนะ คือ นางสาวมยุรา เหมสารา นักวิชาการโภชนาการชำนาญการ [ข้าราชการเกษียณอายุ และสมาชิกอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สมาชิก อสวท. รหัส 7005) ของคลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) ประจำจังหวัดสงขลา] มาออกแบบหลักสูตร รูปแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การใช้เทคโนโลยี รวมถึงกระบวนการทดลองจัดทำหลักสูตรสำเร็จที่ได้จากการตกผลึกจากกิจกรรมที่ 1 ที่ผ่านมา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะในการพัฒนาสูตรสำเร็จ ได้กำหนดเป็นผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของกลุ่มสมาชิกที่อยากให้อนุรักษ์ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม ขนมพื้นบ้านแต่ต้องการใช้วัตถุดิบจากข้าวลูกปลาเป็นหลัก ด้วยการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปปลายข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งวัตถุดิบที่เหลือกินเหลือใช้มาแปรรูปเป็นแป้งและใช้วิธีการกวนเพื่อทำกะละแมข้าวเจ้า (ยาหนม /ดอดอย) ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านที่หารับประทานได้ยากในปัจจุบัน มีการปรับปรุงวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ ใช้วัตถุดิบให้คุ้มค่า และผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบรสข้าวยำ ที่กลุ่มสมาชิกต้องการเพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภค และการทดลองผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษาได้นาน เพื่อลดปัญหาในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังมีการปรับปรุงคุณภาพของข้าวยำกรอบ (ผลิตภัณฑ์เด่นของกลุ่ม) เพื่อให้ถูกใจผู้บริโภคมากขึ้น อนึ่ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในงาน “อำเภอยิ้ม” (อำเภอเคลื่อนที่) จัดโดย อบต.คลองเปียะ ซึ่งมีนายอำเภอจะนะ เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 มีหน่วยงานภาครัฐและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมากมายในพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการร่วมกันอย่างครึกครื้น ซึ่งกลุ่ม ฯ ได้นำผลิตภัณฑ์ข้าวลูกปลา (ข้าวสาร) ผลิตภัณฑ์แปรรูป (ทองม้วนกรอบ) ออกจำหน่าย สร้างความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภคในพื้นที่ ทั้งนี้ กลุ่ม ฯ ได้ทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างของข้าวยำกรอบปรุงรส และข้าวเกรียบรสข้าวยำ ให้ผู้สนใจได้ชิมและสาธิตกระบวนการผลิตให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ชมและชิม ซึ่งกลุ่ม ฯ ได้แจกแบบทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อให้แขกในงานที่ได้ชิมช่วยกรอกข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่กลุ่ม ฯ ได้นำไปเปิดตัว ได้ผลการตอบรับเป็นจำนวนมาก หลังจากเสร็จสิ้นได้รวบรวมผลการทดสอบโดยวิธีการสุ่มกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 มีความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบรสข้าวยำ อีกร้อยละ 20 มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มกลิ่นสมุนไพรและเพิ่มรสชาติให้เข้มข้นขึ้นตามรสชาติของคนในพื้นที่ และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ข้าวยำกรอบ จากจำนวนผู้ทำแบบทดสอบด้านประสาทสัมผัส จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 70 มีความชอบผลิตภัณฑ์โดยรวม อีกร้อยละ 30 มีข้อเสนอแนะในเรื่องรูปแบบการขึ้นรูปของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลการทดสอบ (อย่างไม่เป็นทาง) นี้ จะได้นำไปปรับปรุงและบรรจุเป็นหลักสูตรในกิจกรรมต่อไป
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3307] วันที่รายงาน [29/6/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
การบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่ม ฯ มีความเข้มแข็ง เช่น
วันที่ 11 เมษายน - 31 กรกฎาคม 2562 คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. ได้เสนอให้กลุ่ม ฯ เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลการวิจัย การผลิตแก๊สชีวภาพจากวัสดุเหลือทางการเกษตรและครัวเรือน ซึ่งสำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ. สนับสนุนงบประมาณ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ บุญแสวง อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. เป็นหัวหน้าโครงการ ได้ลงพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแก๊สให้กับสมาชิกของกลุ่ม ฯ และผู้สนใจในพื้นที่เพื่อประยุกต์ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งมุ่งหวังที่จะลดค่าใช้จ่าย ลดขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อม | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=3308] วันที่รายงาน [29/6/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
การบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่ม ฯ มีความเข้มแข็ง เช่น วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 จัดประชุมร่วมกับตัวแทนสมาชิกกลุ่ม ฯ เพื่อลงความเห็นเรื่องการนำผลิตภัณฑ์ส่งเข้าประกวดสินค้าที่ระลึกของเด่นประจำจังหวัดที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของภาคใต้ ภายใต้งาน Southern Souvenir Contest 2019 จัดโดย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสตูล (ตามข้อมูลที่ คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. ได้ส่งข่าวทาง line กลุ่ม “หมู่บ้านวิทย ฯ : หมู่บ้านข้าวลูกปลา ป่าชิง อ.จะนะ”) สรุปผล คือ สมาชิกกลุ่ม ฯ ได้ส่งผลิตภัณฑ์ข้าวยำกรอบ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ “ข้าวยำนอกกรอบ” ร่วมลงประกวดในครั้งนี้ด้วยซึ่งกลุ่ม ฯ เล็งเห็นแล้วว่า จะเกิดสิทธิประโยชน์ให้กับกลุ่มได้ในอนาคต กลุ่ม ฯ ได้ส่งรายละเอียดตามเงื่อนไขของกองประกวดไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีการตัดสินผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมคริสตัล อ.หาดใหญ่ วันที่ 20 มิถุนายน 2562 กลุ่ม ฯ ได้เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการอำเภอเคลื่อนที่ประจำเดือน มิถุนายน 2562 ณ อบต.นาหว้า ต.นาหว้า อ.จะนะ จ.สงขลา ได้นำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ฯ ไปจำหน่ายและแสดงนิทรรศการซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี วันที่ 20 มิถุนายน 2562 กลุ่ม ฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร ณ แปลงสาธิตเทคโนโลยี ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี นำโดย นางสาวเธียรรัตน์ แก้วนะ (ประธานกลุ่ม) ร่วมกับตัวแทนสมาชิกกลุ่มและเจ้าหน้าที่จากสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงานดังกล่าวซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนั้น นางสาวเธียรรัตน์ได้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการเกษตรบนเวทีวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=3309] วันที่รายงาน [29/6/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวลูกปลา เป็นกิจกรรมที่ได้ดำเนินการต่อจากกิจกรรมที่ 2 ภายหลังการทดลองพัฒนาสูตร ฯ โดยฝึกอบรมให้สมาชิกกลุ่ม ฯ ระหว่างวันที่ 11 12 และ 14 มิถุนายน 2562 ณ สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ โดย นางสาวมยุรา เหมสารา นักโภชนาการชำนาญการ (ข้าราชการเกษียณอายุ และ สมาชิก อสวท. รหัส 7005 ของ คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. ประจำจังหวัดสงขลา) เป็นวิทยากรในกิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถานีบริการ ฯ จะนะ ฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปแป้งข้าวลูกปลา เป็นกาละแมข้าวเจ้า ข้าวเกรียบรสข้าวยำ และการพัฒนาคุณภาพของข้าวยำกรอบในทุกมิติ โดยการนำกระบวนการและเทคโนโลยีการประยุกต์ตามความต้องการของสมาชิกกลุ่ม ฯ เพื่อความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมโดยเน้นให้สมาชิกได้ลงมือปฏิบัติเองเกือบทั้งหมดตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มจนถึงเสร็จสิ้นและได้ผลิตภัณฑ์ ในกิจกรรมที่ 3 ได้มีการประสานงานไปยังสถาบันอาหาร (NFI) เพื่อสอบถามถึงการส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ข้าวลูกปลา (ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก) ไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ (แสดงฉลากผลิตภัณฑ์) และวิเคราะห์สารอาหารในข้าวลูกปลาแต่ละประเภท ซึ่งอยู่ระหว่างการติดต่อสอบถามราคาและวิธีการจัดส่งตัวอย่างข้าวไปยังสถาบัน ฯ ต่อไป | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=3310] วันที่รายงาน [29/6/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลกิจกรรม + รูปภาพเพิ่มเติม | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=3553] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 3.1 กิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ นิทรรศการ เผยแพร่องค์ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยี (ร่วมงาน Technomart 2019) วันที่ 4 – 7 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ สาธิตกระบวนการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายในงานถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับสู่ผู้รับบริการที่สนใจในเรื่องการแปรรูปข้าวพื้นเมือง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ เช่น ข้าวเกรียบข้าว กะละแม ทองม้วนสด ข้าวยำ(นอก)กรอบ
| ค่าใช้จ่าย : 8,475 จำนวนผู้รับบริการ : 6 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=3556] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 4 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสถานที่การผลิตเพื่อสร้างมาตรฐาน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562โดยนางสาว รอซะ โอ๊ะหวัง เภสัชกรชำนาญการพิเศษจากโรงพยาบาลอำเภอจะนะ และคณะ ร่วมเป็นวิทยากรลงพื้นที่เพื่อสำรวจความพร้อม สภาพปัญหา เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพื้นที่เพื่อได้มาตรฐานตามเกณฑ์การจัดลำดับสายการผลิต ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนตามสุขลักษณะเพื่อความปลอดภัยในอาหาร ร่วมกับประธานกลุ่มและสมาชิกเพื่อเขียนแปลนทิศทางสถานที่เพื่อการผลิตอย่างคร่าวๆเพื่อรองรับมาตรฐานฯ ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ จำนวน 30 คน (1) วันที่ 15 สิงหาคม 2562 ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจฯเพื่อร่วมสำรวจพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุงพร้อมคำแนะนำในการจัดสรรพื้นที่ให้คุ้มค่าและประหยัดบนพื้นฐานความถูกต้องตามมาตรฐานฯ (2) วันที่ 18 กันยายน 2562 สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสงขลาฯ ในส่วนของการดำเนินการของกลุ่มนำโดยนางสาวเธียรรัตน์ แก้วนะ ได้ประสานงานช่างผู้เชี่ยวชาญประเมิน วัดพื้นที่ใช้สอยเพื่อวางแผนการซ่อมแซมปรับปรุงโครงสร้างของสถานที่เพื่อรองรับมาตรฐานตามกำลังที่สามารถทำได้
| ค่าใช้จ่าย : 12,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=3558] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 5 การประเมินผลกิจกรรมและสรุปผลการประเมินโครงการ ณ สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ได้รับการประสานจากผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี มอ.และคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในการลงพื้นที่ประเมินและสรุปกิจกรรมโครงการหมู่บ้านข้าวลูกปลา เพื่อเป็นการเสนอแนะแนวทางแก้ไขและการพัฒนาโครงการในปีงบประมาณต่อไป และได้บอกถึงกิจกรรมที่ผ่านในการมีส่วนร่วมตลอดจนปัญหาที่ต้องแก้ไขเพื่อการทำงานของสมาชิกกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อนึ่ง ได้ดำเนินกิจกรรมบางส่วนที่ต้องมีการประสานงานยังหน่วยงานต่างๆเพื่อให้กิจกรรมโครงการดำเนินไปอย่างครบถ้วน เช่น การประสานงานเรื่องการนำส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ข้าวลูกปลา 3 ตัวอย่างในการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ และการวิเคราะห์ผลเพื่อการทำฉลากผลิตภัณฑ์ในกิจกรรมที่ 3ที่ผ่านมาและอยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายโครงการตามระเบียบการเบิกจ่าย การสรุปข้อมูลโครงการรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์และแก้ไขเอกสารโครงการ(ถ้ามี)
| ค่าใช้จ่าย : 46,657 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 12 [IG=3560] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
- | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 13 [IG=3562] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมต่างๆที่สามารถนำมาบูรณาการเพื่อการสร้างกลุ่มให้เข้มแข็ง เช่น - การร่วมจัดแสดงนิทรรศการต่างๆของหน่วยงานในพื้นที่ เช่น งานอำเภอเคลื่อนที่ จังหวัดเคลื่อนที่ - การร่วมจัดแสดงนิทรรศการต่างๆหน่วยงานนอก เช่นงานวันเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 27 ม.อ.วิชาการ งานแข่งเรือเกยหาด[อะโบ๊ยหมะ] วันของดีเมืองจะนะ
-การร่วมเข้าประกวดสินค้าที่ระลึกประจำจังหวัดสงขลา ส่งข้าวยำ(นอก)กรอบส่งประกวดได้รับรางวัลชมเชย
- การร่วมProject Idiaโรงงานผลิตข้าวกล้องงอกเพื่อผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องงอกบูรณาการเทคโนโลยีพลังงานตามหลักเศรษฐกิจชีวภาพ
- การร่วมจัดแสดงนิทรรศการการสาธิต ตถ่ายทอดองค์ความรู้ในงาน ม.อ. วิชาการประจำปี 2562 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี - การร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ เรื่องการใช้ประโยชน์รำผสมจมูกข้าวเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าว - การรับเชิญเข้าร่วมประชุมสัมมนาในกิจกรรมต่างๆเพื่อระดมความคิดในการพัฒนาพื้นที่ เป็นต้น - การให้/เก็บข้อมูลพันธุ์ข้าวลูกปลาร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อการศึกษาแหล่งที่มา - รางวัลชมเชยแนวปฏิบัติที่เลิศ (Good Practice) การบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
2563 | 300,000|223,100|223,100|ใช้หมด | 20204101010461.pdf | 20212241431351.pdf | ||||||||||||||||||||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | |||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3710] วันที่รายงาน [31/3/2563] | |||||||||||||||||||||||||||
- เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. และ คณะผู้ดำเนินโครงการ ฯ ร่วมจัดนิทรรศการในงานอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองตำบลป่าชิง เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธ์ข้าวพื้นเมือง (ข้าวลูกปลา) โดย องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ - คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. ได้ประสานงานไปยังอาจารย์/นักวิจัย หัวหน้าโครงการ เรื่องปรับแก้ข้อเสนอโครงการ ฯ ตามข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ - คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ. จัดทำหนังสือนำส่ง พร้อมแบบตอบรับยืนยัน แผนการเบิกจ่าย และหนังสือยินยอมยกเว้นค่าธรรมเนียมสถาบัน เสนอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยลงนาม เรียบร้อยแล้ว - อาจารย์/นักวิจัย ได้ดำเนินการปรับแก้ข้อเสนอโครงการตามความเห็นของคณะกรรมการ และปรับแบบฟอร์มจากแผนงาน เป็น แพลตฟอร์ม - เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ขณะนี้อาจารย์/นักวิจัยกำลังหาวิธีการ/ปรับรูปแบบในการดำเนินโครงการ ซึ่งอาจส่งผลต่อระยะเวลาในการดำเนินโครงการ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3819] วันที่รายงาน [4/7/2563] | |||||||||||||||||||||||||||
ผลการดำเนินกิจกรรม ไตรมาส 3 ดังนี้
กิจกรรมจากหน่วยงานต่างๆที่สามารถนำมาบูรณาการเพื่อความยั่งยืนในการสนับสนุนวัตถุดิบ (ต้นน้ำ)
ปัญหาอุปสรรค : สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมได้ จึงมีการปรับเปลี่ยนแผนโดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่และสมาชิกสามารถเข้าถึงได้ทดแทน แนวทางแก้ไขปัญหา : การปรับเปลี่ยนแผนโดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่และสมาชิกสามารถเข้าถึงได้ทดแทน
| ค่าใช้จ่าย : 3,100 จำนวนผู้รับบริการ : 25 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=4103] วันที่รายงาน [30/9/2563] | |||||||||||||||||||||||||||
ผลการดำเนินกิจกรรม ไตรมาส 4 ดังนี้
กิจกรรมการพัฒนากลุ่มบูรณาการร่วม
| ค่าใช้จ่าย : 150,320 จำนวนผู้รับบริการ : 21 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4271] วันที่รายงาน [21/4/2564] | |||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมที่ 3อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบูรณาบริหารกลุ่มและพัฒนาโครงสร้างพื้นที่และสถานที่ผลิต กิจกรรมการพัฒนาบูรณาการบริหารกลุ่มฯ สมาชิกกลุ่มเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในประเด็นที่มาของระบบการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อให้เกิดศักยภาพในชุมชน การเป็นต้นแบบในพื้นที่ และการขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่เกษตร รวมถึงการร่วมอนุรักษณ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง พัฒนาสินค้าให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพให้ได้มาตรฐานในรูปแบบของข้าวสาร ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ไม่มีสารพิษตกค้าง จนสามารถเป็นศูนย์รวมแหล่งองค์ความรู้ โรงเรียน OTOPในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ตลอดจนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพ ได้พัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาด โดยการนำของ นายนัด อ่อนแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียน OTOP และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง การพัฒนาสถานที่ผลิต เพื่อรองรับมาตรฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ ได้ร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่เภสัชกรโรงพยาบาลอำเภอจะนะ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ในการกำหนดและปรับรูปแบบของพื้นที่เพื่อง่ายต่อการกำหนดจุดต่างๆในการผลิต ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มฯต้องการให้ได้รับมาตรฐานคือ ข้าวยำ(นอก)กรอบ อยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์อายุการเก็บรักษากับศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก (ADCET) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระยะเวลาการทดสอบ 2 เดือน (ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2563 – มกราคม 2564 ) เพื่อวิเคราะห์ผลและเป็นข้อมูลในการยื่นตามเงื่อนไขของการขอรับมาตรฐานการผลิต อย.ต่อไป
| ค่าใช้จ่าย : 69,680 จำนวนผู้รับบริการ : 25 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
2564 | 250,000|218,000|218,000|ใช้หมด | 2021830155151.pdf | |||||||||||||||||||||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | |||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4364] วันที่รายงาน [5/7/2564] | |||||||||||||||||||||||||||
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างประธานกลุ่มและรองประธานวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ เกี่ยวกับแผนงาน โครงการหมู่บ้านข้าวลูกปลาป่าชิง อำเภอจะนะ ปีที่ 3 ซึ่งมีแผนกิจกรรมทั้งหมด 4 แผนกิจกรรม ที่ต้องดำเนินการภายในปี 2564 นี้ และทางกลุ่มยังได้รับงบประมาณ สนับสนุนกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (Industrial Research and Development RD Facility Boost Up) จาก อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกระดับข้าวลูกปลา ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบการข้าวพื้นบ้าน “ข้าวลูกปลาป่าชิง ซึ่งทางกลุ่มได้เลือก ผลิตภัณฑ์จากข้าวลูกปลา คือข้าวยำนอกกรอบ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด ในด้านของการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารและโภชนาการ พร้อมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในได้มาตรฐานควบคู่กันไปด้วย สำหรับผลการประชุมหารือเกี่ยวกับแผนงานของโครงการ โครงการหมู่บ้านข้าวลูกปลาป่าชิง อำเภอจะนะ ปีที่ 3 นั้น สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
2.ด้านบุคลากร มีการแบ่งงานเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรม ดังนี้
โดยประธานและรองประธานกลุ่ม จะต้องไปหาลูกทีมเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนงานของโครงการให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน สมาชิกทุกคนต้องมีการพัฒนาตามศักยภาพและความสามารถของตนเอง เพื่อตอบสนองกับกิจกรรมโครงการที่ต้องดำเนินการในปีนี้ โดยกำหนดให้มีการประชุมเพื่อติดตามงานและวางแผนงานทุกเดือนในวันที่ 19 ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ
ปัญหาและอุปสรรค ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง คือ โรคโควิค-19 ในพื้นที่อำเภอจะนะ จ.สงขลา | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4563] วันที่รายงาน [30/9/2564] | |||||||||||||||||||||||||||
และ ทางโครงการได้ขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จำนวน 3 เดือน (ตุลาคม - ธันวาคม) 2564 | ค่าใช้จ่าย : 128,500 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||||||||||||||||||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=4702] วันที่รายงาน [31/12/2564] | |||||||||||||||||||||||||||
| ค่าใช้จ่าย : 89,500 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates