หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2562 | 175,000|175,000|126,052|48,948 | 2019220174381.pdf | 20201271148121.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3155] วันที่รายงาน [3/4/2562] | |||
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ได้จัดการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดภัย ตำบลปากกราน และเกษตรกรผู้สนใจ จำนวน 50 คน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติต่างที่เกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice, GAP) รวมทั้งเตรียมความพร้อมเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ โดยได้เรียนเชิญวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอพระนครศรีอยุธยา มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม จากการอบรมทำให้กลุ่มสมาชิกและเกษตรกรที่เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐาน GAP และมีความสนใจและอยากปฏิบัติให้ไ้ด้ตามมาตรฐาน GAP | ค่าใช้จ่าย : 26,100 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : 1. เนื่องจากสมาชิกกลุ่มบางส่วนอยู่ในช่วงดำเนินการผลิต เช่น ไถนา หว่านข้าว หว่านปุ๋ย ทำให้ผู้อบรมบางคนที่ลงชื่อเข้าร่วมมอบรมไม่สามารถเดินทางมาได้ 2. ผู้เข้าอบรมถึงจะมีความรู้ความเข้าใจแต่ก็ยังมีความกังวลเนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบเดิม แนวทางแก้ไข : 1. ได้เรียนเชิญวิทยากรและประธานกลุ่มวิสาหกิจ เดินทางไปยังบ้านสมาชิกที่ลงชื่อแต่ไม่ได้มาอบรมบางส่วน เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจและมอบเอกสารอบรม 2. ทางคณะผู้จัดอบรมและเกษตรอำเภอพระนครศรีอยุธยา ได้ตกลงร่วมมือจัดทำแปลงนาสาธิตเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่กลุ่มสมาชิกที่สนใจได้เข้ามาศึกษา รวมทั้งได้จัดตั้งโรงเรือนเพื่อจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์และปุ๋ย ที่สมารถใช้ในแปลงเกษตร GAP ซึ่งเกษตรกรที่มีความสนใจและร่วมลงรายชื่อจะดำเนินตามมาตรฐาน GAP สามารถนำวัสดุ อุปกรณ์หรือปุ๋ยเหล่านี้ไปใช้ได้ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3156] วันที่รายงาน [3/4/2562] | |||
ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของเกษตรอำเภอพระนครศรีอยุธยา เพื่อจัดทำแปลงนาสาธิตตามมาตรฐาน GAP เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกได้เข้ามาศึกษาเรัยนรู้ รวมทั้งจัดทำโรงเรือนเพื่อเก็บวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน GAP ซึ่งแยกจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตตามปกติ เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกที่จะดำเนินการตามมาตรฐาน GAP ได้มาขอยืมใช้ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์สถานที่ของประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดภัยในด้านสถานที่จัดตั้งโรงเรือนและแปลงนาสาธิต | ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3202] วันที่รายงาน [5/4/2562] | |||
ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวจะแบ่งเป็นส่วนที่พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและส่วนที่พัฒนาจากส่วนที่เหลือใช้ของข้าว โดยส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากส่วนที่เหลือใช้ผู้รับผิดชอบโครงการได้ทำการคัดเลือกแนวคิดเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าว ซึ่งคณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรจุข้าวของผู้เข้าร่วมอบรม รวมถึงวิธีการบรรจุ วัสดุที่ใช้ และขนาดการบรรจุข้าวที่ทำอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุที่แตกสลายได้ทางชีวภาพ โดยสอบถามถึงวัสดุที่คาดดว่าจะนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แตกสลายได้ทางชีวภาพ รวมถึงราคาที่ยอมรับได้อีกด้วย ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมรู้จักและมีแนวโน้มเชิงบวกในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มาจากวัสดุทางธรรมชาติ เช่น วัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=3342] วันที่รายงาน [3/7/2562] | |||
วันที่ 1-2 พฤษภาคม ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้ากรมพัฒนาที่ดิน อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเกี่ยวกับความสำคัญในการตรวจสอบธาตุอาหารในดิน รวมทั้งได้นำตัวอย่างดินของกลุ่มสมาชิกที่มีความสนใจนำไปตรวจสอบธาตุอาหารในดิน ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า ดินของสมาชิกส่วนใหญ่มีความเป็นกรดสูง (ดินเปรี้ยว) จึงได้ประสานกับเจ้าหน้าที่กนมพัฒนาที่ดินขอความอนุเคราะห์สารปรับสภาพดิน เพื่อนำมาปรับสภาพดินให้แก่กลุ่มเกษตรกรสมาชิก ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : เมื่อประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบถึงกำหนดการอบรม เบื้องต้นสมาชิกไม่มีความสนใจเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของการตรวจสอบธาตุอาหารในดิน แนวทางแก้ไข : เมื่อตรวจสอบสภาพดินแล้ว กรมพัฒนาที่ดินได้สนับสนุนสารปรับสภาพดิน เมื่อให้ประธานกลุ่มชี้แจงกับเกษตรกรทำให้เกษตรกรมีความสนใจและมาเข้าร่วมอบรมและนำตัวอย่างดินมาตรวจเพิ่มเติมในวันที่ 2 ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3343] วันที่รายงาน [3/7/2562] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 500 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=3344] วันที่รายงาน [3/7/2562] | |||
วันที่ 22-24 เมษายน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้รับการอบรมการผลิตและขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาจากวิทยากร เกษตรตำบลปากกราน เพื่อนำไปถ่ายทอดแก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 1,500 จำนวนผู้รับบริการ : 1 ปัญหาอุปสรรค : แผนงานช่วงแรกจะมีการจัดการอบรมที่ศูนย์ประชุมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แต่เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ติดภาระกิจ ทำให้ไม่สามารถมาอบรมในวันที่กำหนดได้จึงประสานงานกับเกษตรจังหวัดให้ถ่ายทอดเทคนิคการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้แก่ประธานกลุ่มเพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่กลุ่มสมาชิกต่อไป แนวทางแก้ไข : ได้ประสานงานกับเกษตรตำบล เพื่อให้ประธานวิสาหกิจได้อบรมแล้วนำไปเผยแพร่แก่สมาชิกแทน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=3391] วันที่รายงาน [5/7/2562] | |||
วันที่ 29 เมษายน, 27 พฤษภาคม, 24 มิถุนายน ได้อบรมการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาโดยประธานกลุ่มวิสาหกิจฯ ซึ่งได้นำความรู้จากการถ่ายทอดจากเกษตรตำบล มาเผยแพร่แก่สมาชิกกลุ่ม จำนวน 15 คน เพื่อให้ได้เชื่อราไตรโคเดอร์มานำไปใช้ในแปลงนาของตนเองเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมให้เกษตรกรมีความสนใจเข้าร่วม GAP | ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : เทคนิคการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก แนวทางแก้ไข : จัดอบรมซ้ำเพื่อให้เกษตรกรมีความเข้าใจในการผลิตเชื้อราซึ่งต้องทำแบบปลอดเชื้อ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=3392] วันที่รายงาน [5/7/2562] | |||
วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ได้จัดการอบรมผลิตสมุนไพรไล่แมลง โดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านต่างๆ เช่น ใบสะเดา ตะไคร้หอม กระเทียมไทย พริกขี้หนูสด ผสมกับกากน้ำตาลและน้ำส้มควันไม้ แล้วให้สมาชิกกลุ่มนำไปหมักและใช้ในแปลงนาเมื่อมีแมลงศัตรูเข้ามารบกวน โดยสมาชิกจำนวน 15 คนให้ความสนใจและเสนอโครงการปลูกสะเดาเพื่อนำมาใช้ในการผลิตสมุนไพรไล่แมลง ซึ่งประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้จัดหาสถานที่เพาะปลูกสะเดาเพื่อให้สมาชิกสามารถนำไปผลิตสมุนไพรไล่แมลงได้ | ค่าใช้จ่าย : 2,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=3532] วันที่รายงาน [29/9/2562] | |||
วันที่ 12 กันยายน 2562 ได้จัดการอบรมผลิตฮอร์โมนนมสดและฮอร์โมนไข่ โดยวิทยากรคือประธานกลุ่มวิสาหกิจฯ โดยสมาชิกจำนวน 15 คนให้ความสนใจ นอกนากจากนี้ยังมีข้อเสนอในการจัดหาไข่ไก่โดยมีสมาชิกที่เลี้ยงไก่ เสนอในการนำไข่ไก่มาช่วยในการดำเนินการทำฮอร์โมนไข่ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเสนอว่ามีกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงแพะนม ซึ่งมีผลผลิตเป็นนมแพะ ซึ่งสามารถจัดหามาเพื่อผลิตฮอร์โมนนมสดได้ ประธานกลุ่มจึงเสนอให้มีศูนย์ในการผลิตฮอร์โมนที่บ้านของประธานกลุ่มเอง และอนุญาตให้สมาชิกสามารถนำฮอร์โมนที่ผลิตแล้วไปใช้ในแปลงนาของตนเองได้ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=3648] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
วันที่ 13 สิงหาคม 2562 ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมกับสมาชิกที่เข้าร่วมอบรมการตรวจดินได้เข้าร่วมกิจกรรมเก็บตัวอย่างดินและน้ำ โดยได้นำตัวอย่างดินและน้ำ ร่วมทั้งผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง กข43และข้าวไรซ์เบอรี่ ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณยาฆ่าแมลงตกค้างและโลหะหนักตกค้าง โดยสมาชิกให้ความสนใจในการเก็บตัวอย่าง แต่อย่างไรก็ตามช่วงที่เก็บตัวอย่าง พื้นที่ของสมาชิกบางคนมีน้ำขังอยู่ในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถสุ่มตัวอย่างดินได้ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : ช่วงที่เก็บตัวอย่างมีสภาวะน้ำขังในแปลงนาบางจุด แนวทางแก้ไข : ได้ทำการนัดแนะกับสมาชิกให้นำความรู้เดี่ยวกับการเก็บตัวอย่างไปใช้และผู้ดำเนินโครงการจะนำส่งตัวอย่างให้แก่ห้องปฏิบัติการในครั้งต่อไป ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=3652] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
เดินทางไปรับผลแลปที่บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง จำกัด จากนั้นนำผลการทดสอบไปมอบและอธิบายผลการทดสอบแก่ประธานวิสาหกิจ ซึ่งผลการทดสอบดินและน้ำพบว่า ไม่พบยาฆ่าแมงและโลหะหนักปนเปื้อน นอกจากนี้ตัวอย่างข้าวทั้งข้าว กข43 และข้าวไรซ์เบอรี่ ก็ไม่พบยาฆ่าแมลงปนเปื้อน | ค่าใช้จ่าย : 35,952 จำนวนผู้รับบริการ : 1 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2563 | 150,000|150,000|150,000|ใช้หมด | 20204211442301.pdf | 20201026135121.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3713] วันที่รายงาน [1/4/2563] | |||
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 ได้ดำเนินการจัดการประชุมชี้แจ้งการดำเนินการตามแผนฯ ของปีงบประมาณ 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ หัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการ จำนวน 2 คน, ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและรองประธาน, สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปากกราน 1 คนเและเกษตรตำบล 1 คน โดยมีการวางแผนเพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของ โรค COVID19 เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินต่อไปได้ จึงให้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องเอกสารและการปรับปรุงโรงเรือนเพื่อขอเลขสารบบ (อย) และ GMP ก่อนและเมื่อสถานการณ์ของโรคCOVID19 สงบลงแล้วจะดำเนินการถายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากข้าวต่อไป | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 6 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3825] วันที่รายงาน [4/7/2563] | |||
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 9.00 น.-12.00 น. อ.สิริวรรณ สุขนิคม หัวหน้าโครงการ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสมาชิกวิสหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดภัยตำบลปากกราน จำนวน 15 คน ดำเนินการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการและนัดหมายการจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการปัจจุบัน | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3826] วันที่รายงาน [4/7/2563] | |||
วันที่ 20 มิถุนายน 2563 13.00-16.00 น. อ.สิริวรรณ สุขนิคม หัวหน้าโครงการ เข้าตรวจเยี่ยมและให้คำปรึกษาด้านการปรับปรุงสถานที่ผลิตเพื่อขอรับเลขสารบบอาหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดภัย โดยมีประธานกลุ่มและสมาชิก จำนวน 5 คน เข้าร่วมรับฟังข้อชีแนะในการปรับปรุงสถานที่ผลิต | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=3935] วันที่รายงาน [28/9/2563] | |||
วันพฤหัสยดีที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 9.00-15.00 น. อ.สิริวรรณ สุขนิคม หัวหน้าโครงการและ อ.ฌนกร หยกสหชาติ ผู้ร่วมโครงการ อบรมให้ความรู้แก่สมาชิกหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และผู้สนใจ จำนวน 15 คน เกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวเพื่อสิ่งแวดล้อม | ค่าใช้จ่าย : 2,900 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3937] วันที่รายงาน [28/9/2563] | |||
15 สิงหาคม 2563 เวลา 9.00-12.00 น. ทีทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวปลอดภัย ต.ปากกราน อ.สิริวรรณ สุขนิคม หัวหน้าโครงการ และ คุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ให้ความอบรมแก่สมาชิกหมู่บ้านและผู้สนใจจำนวน 10 คนเกี่ยวกับการขับเคลื่อนมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม โดยเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับการใช้งานฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เพื่อขับเคลื่อนให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดตั้งสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน | ค่าใช้จ่าย : 2,500 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=3962] วันที่รายงาน [29/9/2563] | |||
วันที่ 28 กันยายน 2563 เวลา 9.00-12.00 น. ที่ทำการกลุ่มวิสหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวปลอดภัย ต.ปากกราน อ.สิริวรรณ สุขนิคม ได้จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่มอาหารเช้าจากน้ำข้าว ซึ่งเป็นเครื่องดื่มพาสเจอร์ไรซ์ในขวดแก้วขนาด 180 ml และมีคุณค่าทางโภชนาการเท่ากับพลังงานที่ร่างกายต้องการในอาหารมื้อเช้า โดยมีสมาชิกหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เข้าร่วมโครงการ 15 คน | ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=3964] วันที่รายงาน [29/9/2563] | |||
วันที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 9.00-16.00 น. ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย ต.ปากกราน อ.สิริวรรณ สุขนิคม หัวหน้าโครงการ อ.เสน่ห์ บัวสนิท, อ.ดร.สุภาพร พาเจริญ ได้จัดโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไส้กรอกมังสวิรัติจากปลายข้าว กข43 และพุดดิ้งจากข้าวกข 43 โดยมีสมาชิกหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เข้าร่วมโครงการ 15 คน | ค่าใช้จ่าย : 60,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=3965] วันที่รายงาน [29/9/2563] | |||
วันที่ 26 กันยายน 2563 เวลา 9.00 น. - 12.00 น. โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร จ.ปทุมธานี อ.สิริวรรณ สุขนิคม หัวหน้าโครงการ ได้เดินทางพาสมาชิกหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ศึกษาดูงาน โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร จ.ปทุมธานี ร่วมทั้งติตด่อเพื่อหาความร่วมมือในการผลิตเครื่องดื่มอาหารเช้าที่โครงการพัฒนาขึ้นเพื่อขยายกำลังการผลิตให้มีปริมาณมากขึ้น โดยมีสมาชิกผู้ร่วมโครงการจำนวน 10 คน | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=4046] วันที่รายงาน [30/9/2563] | |||
วันที่ 15 สิงหาคม 2563 เวลา 9.00-16.00 น. ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปากกราน อ.สิริวรรณ สุขนิคม ได้จัดอบรมโครงการให้ความรู้ในด้านหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) แก่สมาชิกหมู่บ้านวิทยาศาสตร์์จำนวน 16 คน นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลในการสอนทำน้ำหนักชีวภาพเพื่อแจกให้กับเกษตรกรสมาชิกกลุ่ม เพื่อนำไปใช้ในแปลงนา ช่วงบ่ายได้นำเกษตรกรที่สนใจไปเยี่ยมชม โรงสีข้าวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่กำลังดำเนินการขอการเลขสารระบบอาหาร | ค่าใช้จ่าย : 14,600 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=4047] วันที่รายงาน [30/9/2563] | |||
วันที่ 30 กันยายน 2563 เวลา 9.00 น.-15.00 น. ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย อ.สิริวรรณ สุขนิคม รวมทั้งประธานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 5 คน ได้ร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาโรงสีข้าวของกลุ่มวิสหกิจฯ เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจประเมินเพื่อขอเลขสารบบอาหารจาก สาธารณสุขจังหวัด | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 6 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2564 | 100,000|100,000|100,000|ใช้หมด | 2021531424311.pdf | 202112312140401.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=4286] วันที่รายงาน [2/7/2564] | |||
วันที่ 11 มิถุนายน 2564 เวลา 9.00 น. อ.สิริวรรณ หัวหน้าโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ "หมู่บ้านผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวปลอดภัย ต.ปากกราน อ.อยุธยา จ.อยุธยา" ได้จัดประชุมชี้แจงโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ในปีงบประมาณ 2564 ร่วมกับประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตข้าวปลอดภัย ปากกราน ด้วยระบบ google meet โดยในปีงบประมาณ 2564 กิจกรรมที่จัดจะดำเนินการในรูปแบบ online และ offline ร่วมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับหมู่บ้านวิทยาศาสตร์อื่นๆด้วย | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=4415] วันที่รายงาน [6/9/2564] | |||
วันที่ 6 กันยายน 2564 เวลา 9.00 น. สถานที่ อาคาร 25 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร อ.ดร.สุภาพร พาเจริญได้ถ่ายทำคลิปวีดีโอการผลิตเครื่องดื่มน้ำแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตเครื่องดื่มน้ำแอนโทไซยานินจากรำข้าวไรซ์เบอรี่ โดยมีประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสมาชิกบางส่วนเข้าร่วมในการถ่ายทำคลิปวีดีโอ เมื่อถ่ายทำคลิปวีดีโอเสร็จและผ่านกระบวนการตัดต่อและตรวจทานเรียบร้อย จะนำคลิปไปเผยแพร่ในกับสมาชิกต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=4423] วันที่รายงาน [9/9/2564] | |||
วันที่ 9 กันยายน 2564 9.00 น. อ.ฌนกร หยกสหชาติ ถ่ายทำคลิปวีดีโอเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์จากแกลบ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้ที่เกิดขึ้นจากการสีข้าว ซึ่งหลังจากตัดต่อคลิปวีดีโอเรียบร้อยแล้ว จะนำไปเผยแพร่แก่กลุ่มสมาชิก
และติดตามสอบถามกลุ่มสมาชิกถึงปัญหา ความไม่เข้าใจต่างๆในการผลิตบรรจุภัณฑ์หลังจากสถานการณ์ COVID ดีขึ้น | ค่าใช้จ่าย : 15,000 จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=4675] วันที่รายงาน [31/12/2564] | |||
18 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น. อ.สิริวรรณ และ อ.ดร.สุภาพร พาเจริญ ได้จัดอบรม online การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคร่ื่องดื่มแอนโทไซยานิน จากรำข้าวไรซ์เบอรี่ โดยมีการบันทึกวีดีโอเพื่อ ให้ผู้เข้าอบรมที่ไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ ได้เข้ามาศึกษาคลิปวีดีโอเพิ่มเติมภายหลัง | ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 25 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=4676] วันที่รายงาน [31/12/2564] | |||
22 ตุลาคม 2564 9.00 น. ผศ.ชสนา หยกสหชาติ ได้อบรมการคิดต้นทุนการผลิตและการตลาด ให้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนและผู้สนใจ โดยได้มีการบันทึกคลิปวีดีโอเพื่อให้สมาชิกที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้จากสถานการณ์ COVID 19 ได้ศึกษาเพิ่มเติมย้อนหลัง | ค่าใช้จ่าย : 2,500 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=4680] วันที่รายงาน [31/12/2564] | |||
วันที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น. นายวรพงษ์ สุขนิคม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมกับ อ.สิริวรรณ สุขนิคม และนายปฐมพงศ์ สมัครการ ได้จัดทำคลิปวีดีโอ การผลิตสารชีวภัณฑ์ ได้แก่ ฮอร์โมนนมสด, ฮอร์โมนไข่, จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและสมุนไพรไล่แมลง เพื่อนำคลิปวีดีโอ ไปเผยแพร่ให้แก่หมู่บ้านลูกข่าย หมู่บ้านพืชผักปลอดภัยตามฤดูกาลแบบอัจฉริยะและครบวงจร กลุ่มบ้านโคกช้าง ต.หนองแซง อ.หนองแซง จ.สระบุรี | ค่าใช้จ่าย : 25,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=4683] วันที่รายงาน [31/12/2564] | |||
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 9.00 น. นายวรพงษ์ สุขนิคม และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมกันปรับปรุงพื้นที่บริเวณ แปลงนาสาธิตเพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนและฟื้นฟูสภาพแปลงนาสาธิตภายหลังน้ำท่วม ซึ่งแปลงนาสาธิตการปลูกข้าวโดยใช้สารชีวภัณฑ์และเพื่อขอรับ GAP เสียหายจากอุทกภัยประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด | ค่าใช้จ่าย : 17,500 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates