หน่วยงานรับผิดชอบ :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2561 | 250,000|231,280|231,280|ใช้หมด | 20182271522141.pdf | 20181051345271.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2664] วันที่รายงาน [29/3/2561] | |||
อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี/ฝึกปฏิบัติ 1. ฝึกอบรมและปฏิบัติวิธีการทำแปลงทดลองข้าวกระถางในโรงเรือน ณ โรงแรม เพ-ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 27 ธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นปีแรกที่กลุ่มจะต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่มีต่อนาข้าวในท้องถิ่นของตนว่าเหมาะกับการใช้ปุ๋ยชนิดไหนและอัตราเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม คือผลผลิตไม่ลดลงและค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มขึ้น โดยมี นางณัฐหทัย สุทธิวงษ์ เป็นวิทยากร และมีเกษตรกรบ้านแบงใหม่เข้าอบรมจำนวน 4 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 94.44 %
2. ฝึกอบรมเทคโนโลยีการแปรรูปเห็ด ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านแบงใหม่ ตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ในวันที่ 14 มีนาคม 2561 โดยมีนางสาวพรพิมล ควรรณสุ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยนครพนมมาให้ความรู้ และนำฝึกปฏิบัติ ซึ่งหัวข้อที่เรียนมี การทำแหนมเห็ด การทำข้าวเกรียบจากเห็ด ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านที่สนใจ ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 46 คน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 89.68 %
3. ฝึกอบรมเทคโนโลยีวิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพ ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านแบงใหม่ ตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ในวันที่ 27 มีนาคม 2561 โดยมีนางสาววราภรณ์ ศิริดล และนายทวีศิลป์ โสมสุพิน วิทยากรจากศูนย์วิจัยข้าวหนองคายมาให้ความรู้ และนำฝึกปฏิบัติขั้นตอนการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อให้สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานพันธุ์ข้าวได้ ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 42 คน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 85.76 %
เป็นวิทยากรอบรมลูกข่ายเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1. นายดำรง คงปัญญา รองประธานกลุ่ม ทำหน้าที่วิทยากรบรรยายการบริหารจัดการโรงปุ๋ยของแม่ข่าย ที่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในด้านกิจกรรมที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ณ โรงแรมเพ-ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท วันที่ 26 ธันวาคม 2560 มีเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ในหลายอำเภอเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ จำนวน 97 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 100 %
2. นายสมนึก แสนคำ ประธานกลุ่มแม่ข่าย อ.เฝ้าไร่ ทำหน้าที่วิทยากร บรรยายการดำเนินการผลิตปุ๋ยและนำฝึกปฏิบัติแก่เกษตรกรที่เป็นลูกข่ายใน 3 พื้นที่ ดังนี้ 2.1 กลุ่มผลิตปุ๋ยบ้านจาร ม. 5 ต.ม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ในวันที่ 16 ม.ค. 2561 จำนวนผู้เข้าอบรม 43 คน ความพึงพอใจเท่ากับ 92.65%
2.2 กลุ่มผลิตปุ๋ยบ้านหนองสะไน ต.นาม่อง อ.กุดบาก จ.สกลนคร ในวันที่ 17 ม.ค. 2561 จำนวนผู้เข้า
2.3 กลุ่มผลิตปุ๋ยบ้านโสก ต.ทุ่งแก อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ในวันที่ 18 ม.ค. 2561 จำนวนผู้เข้าร่วม
ศึกษาดูงาน กลุ่มแม่ข่ายได้เข้าศึกษาดูงานและเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆที่น่าสนใจ ที่โรงแรม เพ-ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2560 โดยแบ่งออกเป็น 6 ฐานการเรียนรู้ดังนี้ 1. ฐานการแปรรูปผลไม้ท้ายไร่ เป็นการนำเอาผลผลิตพืชไร่ที่สามารถนำมาทำเป็นไอศกรีมได้เช่น เสาวรส เป็นไอศกรีมเจลาโต้ ที่มีกลิ่นหอมของพืชผลไม้และมีความเข้มข้นกว่าไอศกรีมโดยปกติทั่วไป โดยมีนางสาวชัญญณัฐ์ ยอดรองเมือง เป็นผู้สาธิต สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 92.78 % 2. ฐานย้อนรอยไทย ขนมทองพับ เป็นขนมที่สามารถทำเป็นสินค้าของฝากที่น่าสนใจ ขั้นตอนวิธีการทำไม่ยุ่งยาก แต่เคล็ดลับของสูตรเป็นเรื่องเฉพาะตนที่จะต้องศึกษาทดลองจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยมี นางวิลาวัลย์ พาพร เป็นวิทยากรสาธิต สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 95.56 % 3. ฐานทำสบู่จากกาแฟ เพราะกาแฟนอกจากจะเป็นเครื่องดื่มยามเช้าของคนทั่วไปแล้ว ยังมีประโยชน์สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวได้อย่างดีอีกด้วย ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้มีกรีเซอรีนแบบก้อนและน้ำ ผสมด้วยกากกาแฟตามอัตราส่วนที่เหมาะสมก็จะได้สบู่ที่ทำจากกาแฟแล้ว โดยมีนางสาวรุ่งนภา แพงนอก เป็นวิทยากรสาธิต สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 96.11 % 4. ฐานจุลินทรีย์จากดิน โดยการนำหน่อกล้วยมาสร้างจุลินทรีย์จากดินเพื่อเป็นแหล่งสร้างอาหารให้กับพืชได้เจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืชได้และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย โดยมีเจ้าหน้าที่ในไร่ของเพ-ลา เพลิน เป็นวิทยากรสาธิต สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 96.67 % 5. ฐานธรรมชาติไล่แมลง การทำการเกษตรมักจะหลีกเลี่ยงแมลงศัตรูพืชได้ยาก หากจะใช้สารเคมีก็จะเป็นอันตรายต่อเกษตรกรอีก วิธีการที่สามารถไล่แมลงโดยวิธีธรรมชาติจึงเป็นทางออกที่ดีต่อสุขภาพของเกษตรกรที่สุด และพืชสมุนไพรที่มาใช้ทำสารไล่แมลงก็หาได้ง่ายในชุมชน เช่น สะเดา ข่า หางไหลเป็นต้น โดยมีนางชุมพร คงโสภา เป็นวิทยากรสาธิต สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 95.56 % 6. ฐานเพาะเลี้ยงพันธุ์ไม้เมืองหนาว แกลดิโอลัส (Galdiolus) เป็นดอกไม้ที่มีรูปทรงของช่อดอกตลอดจนสีสันที่สวยงามสะดุดตาตั้งแต่สีอ่อนสุดจนถึงสีเข้มสุด เช่น ขาว เหลือง ชมพู ม่วง แดง ฯลฯ เหมาะแก่การใช้สำหรับจัดแจกัน นอกจากนี้ยังใช้ปลูกประดับแปลงดอกไม้ภายในสวนได้ดีเช่นเดียวกัน โดยมีนางสาวปณิดา ครองสนั่น เป็นผู้บรรยายและสาธิต สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 96.11 %
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 334 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2665] วันที่รายงาน [29/3/2561] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 120,265 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2766] วันที่รายงาน [27/6/2561] | |||
1. การอบรมปฏิบัติการทำแปลงทดลอง
วิทยากร โดย ดร.ณัฐหทัย สุทธิวงษ์ นักวิจัย วว. ในวันที่ 25 เมษายน 2561 จำนวนผู้เข้าอบรม 22 ราย
วิทยากรได้แนะนำวิธีการทำการทดลอง ฝึกการวัดผลและจดบันทึก โดยปฏิบัติคู่ขนานกับข้าวที่เกษตรกรปลูกในอาชีพจริงๆ เก็บเกี่ยวและวัดผลครั้งสุดท้ายประมาณเดือนพฤศจิกายน 2561
2. ประสานงาประกลุ่มเพื่อติดตามการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งกลุ่มได้ผลิตปุ๋ยเป็นจำนวน 2 ครั้ง | ค่าใช้จ่าย : 62,445 จำนวนผู้รับบริการ : 22 ปัญหาอุปสรรค : -ปัญหาอุปสรรคคือความไม่ถนัดในการจดบันทึก และความรอบคอบในการปฏิบัติงาน แนวทางแก้ไข : -จัดบุคคลให้ร่วมกันรับผิดชอบเป็นชุดๆละ 2-3 คน เพื่อช่วยกันให้งานเกิดความเรียบร้อยมากขึ้น ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2961] วันที่รายงาน [25/9/2561] | |||
1. การติดตามการปฏิบัติงานของกลุ่มในเทคโนโลยีรอง
2. การติดตามความก้าวหน้ากลุ่มลูกข่าย
3. การประเมินแม่ข่ายประจำปี 2561
วันที่ 19 สิงหาคม 2561 เวลา 13.00 น. คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่ข่าย กลุ่มบ้านแบงใหม่ ม. 20 ต.หนองหลวง อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย ได้เข้าตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานโดยมีนางวนิดา บุญนาคค้า สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และคณะผู้ร่วมปฏิบัติงานดังนี้
สรุปประเด็นการประเมิน
4. การปฏิบัติงานทดลองแปลงข้าวกระถาง
กิจกรรมการปฏิบัติงานตามตารางปฏิทิน ดังนี้
| ค่าใช้จ่าย : 48,570 จำนวนผู้รับบริการ : 32 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates