หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยนครพนม
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2561 | 300,000|300,000|300,000|ใช้หมด | 2018271018111.pdf | 20181018118141.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2693] วันที่รายงาน [5/4/2561] | |||
ยังไม่ได้ดำเนินกิจกรรม เนื่องจากเพิ่งทำสัญญาเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 ขณะนี้ กำลังดำเนินการเบิกเงินงดวที่ 1 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : มีความล้าช้าในการดำเนินงานเนื่องจากเพิ่งทำสัญญาทุน สาเหตุมาจากมหาวิทยาลัยนครพนมมีการเปลี่ยนคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2758] วันที่รายงาน [19/6/2561] | |||
วันที่ 2-14 เมษายน 2561
วันที่ 3-4พฤษภาคม 2561 | ค่าใช้จ่าย : 92,960 จำนวนผู้รับบริการ : 84 ปัญหาอุปสรรค : 1. การเบิกจ่ายเงินโครงการมีความล้าช้า จึงทำผู้รับผิดชอบนำเงินส่วนตัวมาใช้ในการดำเนินการถ่ายทอด เพื่อให้โครงการเป็นไปตามแผนการดำเนินโครงการ 2. การขอความร่วมมือให้เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมนั้น อาจจะไม่ได้รับความร่วมมือมากนั้นเนื่องจากเกษตรกรมองถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเสียโอกาสในการหารายได้ 3. การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก และวุ้นมะพร้าวจากน้ำสับปะรด มีขั้นตอนที่ซับซ้อน และอุปกรณ์บางอย่างที่เกษตรกรไม่มี ทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นผลิตได้ แนวทางแก้ไข : 1. เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาขั้นตอนการเบิกจ่ายให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น 2. มีช่องทางในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางให้เกษตรกร 3. จัดการอบรมซ้ำแบบกลุ่มย่อยที่สนใจและตั้งใจในการผลิต หรือ สามารถติดต่อขอไปอบรมที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมทั้งมีช่องทางในการสนับสนุนอุปกรณ์ให้แก่เกษตรกร ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3002] วันที่รายงาน [28/9/2561] | |||
กิจกรรม
- ติดต่อประสานงานกับวิทยากร
- ติดต่อประสานงานอาหาร อาคาร และสถานที่
- ติดต่อประสานงานกับ1) ผู้นำชุมชนกลุ่มผู้ปลูกแปรรูปสับปะรด 2) เกษตรอำเภอท่าอุเทน และโพนสวรรค์
ผลการดำเนินงาน
- กำหนดการในการถ่ายทอดการการแปรรูปสับปะรดวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมไทยญ้อ 2 โรงเรียนอุเทนพัฒนา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
- ชี้แจงรายละเอียด กำหนดวันเวลา ในการจัดการอบรม และนัดหมายให้ผู้นำกลุ่มประชาสัมพันธ์การอบรมแก่สมาชิกกลุ่ม
- ส่งหนังสือเชิญหน่วยงานราชการเข้าร่วมรับฟังรายละเอียดโครงการหมู่บ้านสับปะรดท่าอุเทนและกำหนดการอบรม
วันที่ 12 กรกฎาคม 2561
กิจกรรม
- การอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ไคโตซานฉายรังสีในกระตุ้นการเจริญเติบโตและการใช้ยืดอายุสับปะรดท่าอุเทน
วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 อบรมดังนี้
- บรรยาย การใช้ไคโตซานฉายรังสีในกระตุ้นการเจริญเติบโตพืชและการยืดอายุสับปะรดท่าอุเทน โดย ดร.ปรารถนา คิ้วสุวรรณ (สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน))
- อบรมปฎิบัติการใช้ไคโตซานฉายรังสีในการกระตุ้นการเจริญเติบโตพืชและการยืดอายุสับปะรดท่าอุเทน โดย ดร.ปรารถนา คิ้วสุวรรณ (สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน))
โดยหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง “การใช้ไคโตซานฉายรังสีในกระตุ้นการเจริญเติบโตพืชและการยืดอายุสับปะรดท่าอุเทน “มีดังนี้
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไคโตซานฉายรังสี
2. การประยุกต์ใช้ไคโตซานฉายรังสีในการกระตุ้นการเจริญเติบโตพืชและการยืดอายุสับปะรด
ท่าอุเทน
3. ลงพื้นที่แปลงทดลองเพื่อทดลองฉีดไคโตซานฉายรังสีพ่นสับปะรด
รายละเอียดกิจกรรมการใช้ไคโตซานฉายรังสีในกระตุ้นการเจริญเติบโตพืชและการยืดอายุสับปะรดท่าอุเทน
1. ลงทะเบียน จากนั้น ดร.บัณฑิต บุญขาว หัวหน้าโครงการ และคณะ ชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของโครงการหมู่บ้านสับปะรดท่าอุเทน ได้รับงบประมาณจากการทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. บรรยายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไคโตซานฉายรังสี ประโยชน์ การนำไปประยุกต์ใช้และ ผลงานวิจัยที่ได้ทดสอบกับพืชชนิดต่างๆ ซึ่งอัตราส่วนของการใช้ไคโตซานฉายรังสีที่วิทยากรแนะนำมีดังนี้
- สำหรับเพาะเม็ดข้าว ใช้ในอัตราส่วน 80-100 มิลลิลิตร 20 ลิตร
- สำหรับท่อนพันธุ์ ไม้ผล ใช้ในอัตราส่วน 20-30 มิลลิลิตร 20 ลิตร
- สำหรับพืชไร่ ไม้ดอก ใช้ในอัตราส่วน 20-30 มิลลิลิตร 20 ลิตร
- สำหรับปรับสภาพดิน ใช้ในอัตราส่วน 20 มิลลิลิตร 20 ลิตร
โดยฉีดพ่นทุก 15 วัน ฉีดพ่นตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อต้องการให้พืชดูดซึมไคโตซานฉายรังสี และป้องกันการระเหยโดยความร้อน
| ค่าใช้จ่าย : 86,040 จำนวนผู้รับบริการ : 62 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=3003] วันที่รายงาน [28/9/2561] | |||
กิจกรรม
- ติดต่อประสานงานกับวิทยากร
- ติดต่อประสานงานอาหาร อาคาร และสถานที่
- ติดต่อประสานงานกับ1) ผู้นำชุมชนกลุ่มผู้ปลูกแปรรูปสับปะรด 2) เกษตรอำเภอท่าอุเทน และโพนสวรรค์
ผลการดำเนินงาน
- กำหนดการในการถ่ายทอดการการแปรรูปสับปะรดวันที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมไทยญ้อ 2 โรงเรียนอุเทนพัฒนา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
- ชี้แจงรายละเอียด กำหนดวันเวลา ในการจัดการอบรม และนัดหมายให้ผู้นำกลุ่มประชาสัมพันธ์การอบรมแก่สมาชิกกลุ่ม
- ส่งหนังสือเชิญหน่วยงานราชการเข้าร่วมรับฟังรายละเอียดโครงการหมู่บ้านสับปะรดท่าอุเทนและกำหนดการอบรม
วันที่ 12 กรกฎาคม 2561
กิจกรรม
- การอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ไคโตซานฉายรังสีในกระตุ้นการเจริญเติบโตและการใช้ยืดอายุสับปะรดท่าอุเทน
วันที่ 21 กันยายน 2561 อบรมดังนี้
- บรรยาย ปฏิทินเพาะปลูก โดย นางสาวศิริประภา สุวรรณมณี (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอโพนสวรรค์)
- อบรมปฎิบัติการการจัดทำปฏิทินเพาะปลูกสับปะรด โดย นางสาวศิริประภา สุวรรณมณี (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอโพนสวรรค์)
โดยหลักสูตรที่ใชในการอบรมถายทอดเทคโนโลยี เรื่อง “ปฏิทินการเพาะปลูกสับปะรดท่าอุเทน” มีดังนี้
1. บรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับปฏิทินการเพาะปลูก
2. แนวทางการประยุกต์ใช้ปฏิทินการเพาะปลูกกับการปลูกสับปะรด จากนั้นแบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มโนนตาล กลุ่มนาใน และ กลุ่มท่าจำปา เพื่อจัดปฏิทินเพาะปลูกสับปะรดให้เก็บเกี่ยวได้ในช่วงที่ผลผลิตมีราคาสูง จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มมานำเสนอปฏิทินการปลูกสับปะรดของแต่ละกลุ่ม
3. วิทยากรสรุปและแนะนำการปลูกสับปะรด
รายละเอียดกิจกรรมปฏิทินการเพาะปลูกสับปะรดท่าอุเทน
1. ลงทะเบียน จากนั้น ดร.บัณฑิต บุญขาว หัวหน้าโครงการ และคณะ ชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของโครงการหมู่บ้านสับปะรดท่าอุเทน ได้รับงบประมาณจากการทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. บรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับปฏิทินการเพาะปลูก
3. แบ่งกลุ่มเพื่อจัดปฏิทินการเพาะปลูกสับปะรดโดย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มโนนตาล กลุ่มนาใน และ กลุ่มท่าจำปา เพื่อจัดปฏิทินเพาะปลูกสับปะรดให้เก็บเกี่ยวได้ในช่วงที่ผลผลิตมีราคาสูง
4. ให้ตัวแทนนำเสนอปฏิทินการปลูกสับปะรดของแต่ละกลุ่ม จากนั้นวิทยากรแนะนำช่วงเวลาในการปลูกดังนั้น1) ให้หลีกเลี่ยงให้ผลผลิตออกมาช่วง มีนาคม เมษายน พฤษภาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่สับปะรดราคาต่ำ
2) ควรจะมีการจัดลำดับการใส่ฮอร์โมน โดยเว้นระยะห่างในการใส่แต่ละแปลงประมาณ 15-30 วัน
3) พยายามใส่ฮอร์โมน ช่วงมกราคม - มีนาคม เพื่อบังคับให้ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเวลา กรกฏาคม – กันยายนซึ่งเป็นช่วงที่ราคาสับปะรดสูง
4) เกษตรกรต้องหมั่นดูแลแปลง กำจัดวัชพืช ให้น้ำ และ ใส่ปุ๋ย ต้นของสับปะรดจะต้องสมบูรณ์ จึงสามารถกระตุ้นโดยการใช้ฮอร์โมนได้
| ค่าใช้จ่าย : 80,000 จำนวนผู้รับบริการ : 107 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3004] วันที่รายงาน [28/9/2561] | |||
- ติดตามผลการดำเนินงาน 3 กิจกรรม - ประชาสัมพันธ์แต่ละกิจกรรมโดยใช้แผ่นพับ และช่องทางอื่นๆ - ค่าบริการวิชาการมหาวิทยาลัย 10 % | ค่าใช้จ่าย : 41,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates