หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2561 | 500,000|374,000|374,000|ใช้หมด | 201822105111.pdf | 201810311019421.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2912] วันที่รายงาน [20/7/2561] | |||
รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานหมู่บ้านตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินการจนถึงปีล่าสุดที่รับงบประมาณ ในการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา ในปีแรก (ปีงบประมาณ พ.ศ.2561) ได้พัฒนาและสร้างความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีด้านการผลิตจากถั่วดาวอินคา เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านต้นแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา จังหวัดสุพรรณบุรี และส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชน ดังนี้
ตั้งเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการไว้ จำนวน 50 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 63 คน ได้ผลผลิตจากถั่วดาวอินคา รวม 4 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
ผลลัพท์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจถั่วดาวอินคาออกจำหน่ายได้ในราคา ดังต่อไปนี้ (บางส่วนยังไม่ได้เก็บเกี่ยว) เมล็ด ราคาขายปลีก 200 บาท/กก. (คั่วแล้ว) ราคาขายส่ง 180 บาท/กก. (คั่วแล้ว) ราคาขายส่ง 45 บาท/กก. (สด) ใบชา ราคาขายปลีก 250 บาท/กล่อง (บรรจุ 50 ซอง) ราคาขายส่ง 200 บาท/กล่อง (บรรจุ 50 ซอง)
จากการคำนวณต้นทุนในการทำธุรกิจถั่วดาวอินคาแล้วมีเป้าหมายในการผลิต 45 กิโลกรัมต่อวัน มีรายได้ต่อวัน 8,100 บาท มีรายได้ต่อเดือน 243,000 บาท จุดคุ้มทุนได้ 122.93 บาท/กก. อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย 17.43% กำไรถัวเฉลี่ย 620,688 บาท อัตราผลตอบแทนจาการลงทุน 215% ระยะเวลาคืนทุน 6.64 เดือน -7 เดือน มีการศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ถั่วดาวอินคาเชิงพาณิชย์ มีการทำที่ได้มาตรฐานกระบวนการทำงานการผลิตที่สะอาดปลอดภัย มีที่ปรึกษาทางด้านการแปรรูป การออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
| ค่าใช้จ่าย : 140,000 จำนวนผู้รับบริการ : 63 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3015] วันที่รายงาน [28/9/2561] | |||
ศึกษาดูงานไร่ถั่วดาวอินคาของอาจารย์วัลชัย เอื้อเฟื้อ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วดาวอินคา ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมวันที่ 12,14 กันยายน 2561 จำนวนผู้รับบริการ 40 คน
| ค่าใช้จ่าย : 94,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3017] วันที่รายงาน [28/9/2561] | |||
ศึกษาดูงานไร่ถั่วดาวอินคาของอาจารย์วัลชัย เอื้อเฟื้อ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วดาวอินคา ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมวันที่ 12,14 กันยายน 2561
| ค่าใช้จ่าย : 94,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=3065] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
การติดตามประเมินผลโครงการ ด้านเศรษฐกิจ สามารถสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เพิ่มผลผลิตจากเดิม ได้มาตรฐาน เกิดผลิตภัณฑ์ของชุมชนจากพืชที่มีในท้องถิ่น และเกิดผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่สามารถจำหน่ายได้เชิงพาณิชย์ ขจัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง ลดรายจ่าย ดังนี้
โดยรวม สามารถลดรายจ่ายได้ 275,000 บาทต่อปีเพิ่มรายได้ ดังนี้
100,000/ปี
โดยรวม มีรายได้เพิ่มขึ้น 450,000 บาทต่อปี ด้านสังคม เกิดการจ้างงาน ลดการย้ายถิ่นฐาน ครอบครัวเป็นสุข ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดภาวะหนี้สินของเกษตรกร และเกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน | ค่าใช้จ่าย : 46,000 จำนวนผู้รับบริการ : 70 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3066] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
จากการสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ทิศทางของตลาดนั้น พบว่า พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ที่เกษตรกรได้เริ่มปลูกถั่วดาวอินคาไปแล้วนั้น ผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้ารับซื้อ และนำไปแปรรูป เพื่อส่งออกไปยังประเทศเกาหลี ซึ่งผลิตภัณฑ์ดาวอินคาที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ มีหลายแบบ เช่น น้ำมันสกัดเย็น ชาใบ และเมล็ดอบแห้ง รวมถึงเครื่องสำอาง ความต้องการในตลาดต่างประเทศ มีสูง ผลผลิตที่ทำได้ในภาคกลาง ในบางช่วงเวลาที่ผลผลิตออกมาน้อย ไม่เพียงพอ ในส่วนการทำตลาดในประเทศไทย ยังขยายไม่ได้มาก เนื่องจาก ตลาดหลักยังเป็นตลาดส่งออก บางส่วนก็ออกไปทำเอง เพราะถ้าแปรรูปได้ และขายเอง จะทำเงินได้มากกว่า ดังนั้นการทำตลาดในประเทศจะเป็น การแปรรูป เช่น น้ำมันถั่วดาวอินคา เครื่องประดับดาวอินคา ผลิตภัณฑ์สปาดาวอินคา ชาพร้อมดื่มดาวอินคา <a href="http://www.clinictech.most.go.th/online/FileManager/FileClinic/F1/ReportBudgetspending/ReportBudgetspendingRUMTK.pdf" target="_blank" > รายงานการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 </a> | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2562 | 379,000|350,000|455,000|-105,000 | 20192201157111.pdf | 201911191620221.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3218] วันที่รายงาน [5/4/2562] | |||
ครั้งที่ 1 วันที่ 16-17 มีนาคม 2562 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองและนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องอบใบชาดาวอินคาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้แก่ชุมชนบ้านห้วยหิน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ผศ.ดร.สายชล ชุดเจือจีน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และนางสาวชนิดา ป้อมเสน หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
| ค่าใช้จ่าย : 244,760 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3407] วันที่รายงาน [5/7/2562] | |||
วันที่ 29 มิถุนายน 2562 ทางทีมที่ปรึกษาได้แนะนำและพัฒนาสูตรน้ำชาดาวอินคา สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้นำใบชาไปแช่ในน้ำร้อนประมาณ 10 นาที ดื่มในตอนที่อุ่นๆมื้อละ1-2 แก้ว ก่อนอาหารเวลาเช้าและตอนเย็น ประมาณ 15-30 นาทีให้ดื่มติดต่อกันเป็นอย่างน้อย 10 วัน ชาดาวอินคามีสรรพคุณทำให้ลดการอยากกินอาหารและขับถ่ายไขมันออกจากร่างกาย สำหรับคนที่ลดน้ำตาลและไขมัน ให้นำใบชาไปแช่ในน้ำร้อนทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ให้ดื่มขณะที่อุ่นๆ ก่อนอาหารเช้า 15-30 นาที ต่อ 1 แก้ว ติดต่อกันทุกวัน อย่างน้อย 15 วัน หลังจากนั้นก็เห็นผลทันที ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ชาดาวอินคามีประโยชน์สำหรับท่านที่ต้องการดูแลรูปร่าง ซึ่งช่วยปรับความสมดุลให้ร่างกาย ช่วยชะลอความแก่ได้ วิธีการทำชาดาวอินคา
วันที่ 4-7 กรกฎาคม 2562 ได้นำสินค้าไปทดสอบตลาดในงาน Technomart 2019 "ก้าวสำคัญเพื่อการขับเคลื่อน วทน.สู่ภูมิภาค"
| ค่าใช้จ่าย : 105,240 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3614] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2562 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำชาดาวอินคาแฟนซี และเทคนิคการจัดการหน้าร้าน หน้าร้านค้า เปรียบเสมือน “หน้าตาของร้านค้า” หรือ “พนักงานขายทางอ้อม” ดังนั้น การจัดตกแต่งหน้าร้านค้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดใจให้ลูกค้าเข้าร้าน ร้านของผู้ประกอบการจะคึกคักเต็มไปด้วยลูกค้า สร้างความประทับใจด้วยการวางสินค้าที่มีราคาแพง หรูหรา ให้อยู่ในระดับที่ลุกค้าสามารถมองด้วยระดับสายตาได้ชัด โดดเด่น หรือสามารถสัมผัสได้บ้าง เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นว่าสินค้านั้นคุ้มค่าที่เขาจะซื้อกลับบ้านไป เป็นการจัดสินค้าที่สามารถเรียกความสนใจจากลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเท่าเทียมให้แก่ลูกค้าที่เดินชมสินค้าในร้าน จะได้สัมผัสกับสินค้าราคาแพง หรูหรา แบบใกล้ชิด โดยที่ไม่ต้องร้องขอให้พนักงานหยิบมาให้ดู | ค่าใช้จ่าย : 105,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=3615] วันที่รายงาน [30/9/2562] | |||
เนื่องจากการดำเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเพียง 7 ราย ที่มีศักยภาพในการบ่มเพาะผู้ประกอบการ ซึ่งเดิมทางกลุ่มมีรายได้ 6,000 บาท ต่อเดือน หลังจากที่คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่ไปพัฒนา เรื่องกระบวนการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคาแล้ว ผลที่ได้คือชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 10,000 บาทต่อเดือน โดยคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการฉบับเต็ม ตามแผนงานบ่มเพาะนักธุรกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2563ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนดเรียบร้อยแล้ว | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 7 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates