หน่วยงานรับผิดชอบ :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2560 | 300,000|294,240|294,240|ใช้หมด | 20174301757201.pdf | 201711181842141.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2213] วันที่รายงาน [4/4/2560] | |||
อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี 1. กลุ่มได้เข้าร่วมการฝึกอบรมการเป็นวิทยากร ณ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวันที่ 17 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวอัปสร เสถียรทิพย์ ผู้อำนวยการ กองสื่อสารภายใน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความรู้และเทคนิคในการเป็นวิทยากรเพื่อฝึกให้เกษตรกรที่เข้าอบรมสามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งต่อแก่ผู้อื่นได้อย่างมั่นใจ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรบ้านเทวีมีตัวแทนเข้าอบรมจำนวน 4 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 89.44 %
2. ฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านเทวี ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ในวันที่ 17 มีนาคม 2560 โดยมีนางรัตนา ตันติศิริวิทย์ วิทยากรของ วว.ให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจหลักปฏิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และเพื่อพัฒนาการดำเนินงานผลิตปุ๋ยให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 69 คน ซึ่งในภาคปฏิบัติได้นำวัตถุดิบเพื่อหมักปุ๋ยตามสูตรของ วว.จำนวน 60 ตัน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 87.56 %
ศึกษาดูงาน 1. กลุ่มได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ที่กรมพัฒนาที่ดิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 18 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวมิรันตี ฐิติโชติรัตนา เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม เพื่อเรียนรู้ความเป็นมาของดิน การแก้ปัญหา ชนิดของดินในแต่ละภูมิภาคซึ่งมีผลกระทบต่อการทำการเกษตรของเกษตรกรอย่างมาก ได้รับการถ่ายทอดวิธีการทำ พด. สูตรต่างๆที่จะช่วยเป็นหัวเชื้อในการมาขยายได้อีกหลากหลาย ทั้งการทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ การทำสารกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เป็นต้น กลุ่มได้เข้าร่วมดูงานรวม 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 81.67 %
2. ได้ร่วมดูงานและศึกษาการเกษตรที่ในหลวงทรงเป็นผู้ทำเป็นต้นแบบ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในวันที่ 18 มกราคม 2560 ซึ่งมีนายประดับพันธ์ คูณเมือง เป็นผู้พาชมและบรรยายประกอบ มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายประการ ซึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงหวังให้พสกนิกรได้มีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่มีความทันสมัยและสามารถเรียนรู้ได้ในทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ได้เรียนรู้พืชในท้องถิ่นในภาคต่างๆที่ให้ประโยชน์ทั้งในด้านการบริโภค การรักษาโรค และการช่วยบำรุงพื้นดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาแบบไทยๆ ซี่งกลุ่มได้เข้าร่วมจำนวน 4 คน และมีความพึงพอใจเท่ากับ 85 %
3. ศึกษาดูงานโครงการส่วนพระองค์ ณ สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวจรรยาพร ก่อเกียรติคุณ เป็นผู้รับผิดชอบในการพาชม โดยโครงการต่างๆที่ในหลวงทรงมีวิสัยทัศน์และทรงรับสั่งให้ดำเนินการในพระราชวังส่วนพระองค์ มีทั้งโรงงานทำนม ฟาร์มเลี้ยงโคนม การทำแท่งถ่านอัด สาหร่ายเกลียวทองและอื่นๆอีกมากมาย และได้ชมโรงช้างที่เป็นช้างสำคัญมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และเกี่ยวข้องกับงานพระราชพิธีต่างๆของกษัตริย์ กลุ่มได้เข้าดูงานจำนวน 4 คน และมีความพึงพอใจเท่ากับ 82.78 % | ค่าใช้จ่าย : 70,412 จำนวนผู้รับบริการ : 85 ปัญหาอุปสรรค : -อุปสรรคทางภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2258] วันที่รายงาน [26/6/2560] | |||
การอบรมเทคโนโลยีที่กลุ่มสนใจ 1. เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยจัดอบรมที่กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านเทวี หมู่ 7 ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย วิทยากร โดย นางนันทิดา สินสายไทย นักวิชาการศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย และคณะ ในวันที่ 7 เมษายน 2560 จำนวนผู้เข้าอบรม 50 ราย การบรรยายเรื่องวิธีการทำนาโดยทั่วไปของเกษตรกรที่ปลูกข้าวเพื่อมาจำหน่าย และบริโภคเป็นหลัก วิทยากรได้กล่าววิธีการที่จะเปลี่ยนการทำนาแบบปกติมาเป็นเพาะเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อกลุ่มสามารถนำไปเป็นพันธุ์ข้าวของตนเอง และรวมกลุ่มกันเพื่อจำหน่ายพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรทั่วไป สิ่งที่สำคัญในเรื่องของประเภทพันธุ์ข้าว ขั้นตอนและวิธีการเตรียมพื้นที่ และจัดการแปลงข้าวให้เหมาะสมแก่การทำเมล็ดพันธุ์ข้าว การระวังการปนเปื้อนพันธุ์ข้าวอื่นตามเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้วิทยากรยังสนใจที่จะเข้ามาช่วยดูและให้คำแนะนำกลุ่มในครั้งต่อไปด้วยเนื่องจากมีหน้าที่ๆต้องลงพื้นที่เกษตรกรสม่ำเสมออยู่แล้ว ในการอบรมครั้งนี้ วว.สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่กลุ่มต้องการผลิตจำนวน 500 กิโลกรัม ผลการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยเป็น 85.47% และประเมินวิทยากรที่ 89.23%
2. เทคโนโลยีการเพาะเห็ด โดยจัดอบรมที่กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านเทวี หมู่ 7 ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย วิทยากร โดย ผศ.วิระ ศรีธัญรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2560 จำนวนผู้เข้าอบรม 51 ราย วิทยากรได้อธิบายถึงเห็ดชนิดต่างๆที่มีการเพาะกัน ทั้งแบบที่ส่งตลาดในและต่างประเทศ เห็ดที่เลี้ยงในสภาพอากาศที่มีความเย็น เห็ดที่เพาะแบบชุมชนตามบ้านเรือน สอนการทำก้อนเห็ดซึ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อให้กลุ่มได้ทดลองทำจริง ขั้นตอนต่างๆจนก้อนเห็ดพร้อมที่จะนำเชื้อเห็ดใส่เข้าไป การจัดทำโรงเรือนให้เหมาะสม การรักษาสภาพแวดล้อมและการตัดดอก นอกจากนี้ได้ฝึกปฏิบัติการทำเห็นจากขอนไม้จริงๆเพื่อให้เป็นแหล่งเลี้ยงเห็ดไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือนของสมาชิกทุกคนด้วย วว.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ด เช่นวัสดุทำก้อนเห็ด เชื้อเห็ด อุปกรณ์ใช้นึ่งก้อนเห็ด เป็นต้น ผลการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยเป็น 94.96% และประเมินวิทยากรที่ 97.33%
| ค่าใช้จ่าย : 163,012 จำนวนผู้รับบริการ : 101 ปัญหาอุปสรรค : -ช่วงเวลาในการปฏิบัติการฝึกอบรม เกษตรกรบางส่วนยังติดภารกิจเนื่องจากต้องลงนาไร่ของตนจึงทำให้เสียโอกาสที่จะได้เรียนรู้ในสิ่งที่วิทยากรนำมาถ่ายทอด แนวทางแก้ไข : -จะต้องขอความร่วมมือให้สมาชิกภายในกลุ่มจัดเรียงลำดับความสำคัญ หากติดภารกิจกันเป็นส่วนใหญ่ควรเลื่อนวันอบรมเพื่อให้มีเวลาที่สะดวกตรงกันเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรเอง ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2461] วันที่รายงาน [8/9/2560] | |||
ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานในเรื่องการผลิตปุ๋ย และการทำก้อนเห็ดเพิ่มเติม 1. การผลิตปุ๋ยกลุ่มได้มาร่วมกันหมักมูลสัตว์เพิ่มเติมอีก 20 ตัน ซึ่งการหมักจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนและจะจบกระบวนการผลิตสามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายได้ในช่วงเดือนตุลาคม เป็นปุ๋ยสูตรเร่งผลผลิต โดยสมาชิกที่มาร่วมกันทำมี 37 ราย
| ค่าใช้จ่าย : 60,816 จำนวนผู้รับบริการ : 65 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2561 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 201827122441.pdf | 20181051346131.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2666] วันที่รายงาน [29/3/2561] | |||
อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี/ฝึกปฏิบัติ
2. ฝึกอบรมเทคโนโลยีการแปรรูปเห็ด ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านเทวี ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ในวันที่ 13 มีนาคม 2561 โดยมีนางสาวพรพิมล ควรรณสุ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยนครพนมมาให้ความรู้ และนำฝึกปฏิบัติ ซึ่งหัวข้อที่เรียนมี การทำแหนมเห็ด การทำข้าวเกรียบจากเห็ด ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านที่สนใจ ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 30 คน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 91.72 %
3. ฝึกอบรมเทคโนโลยีวิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพ ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านเทวี ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ในวันที่ 28 มีนาคม 2561 โดยมีนายทวีศิลป์ โสมสุพิน วิทยากรจากศูนย์วิจัยข้าวหนองคายมาให้ความรู้ และนำฝึกปฏิบัติ ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 30 คน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 80.87 %
ศึกษาดูงาน
| ค่าใช้จ่าย : 98,750 จำนวนผู้รับบริการ : 88 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2764] วันที่รายงาน [27/6/2561] | |||
1. การอบรมปฏิบัติการทำแปลงทดลอง
วิทยากร โดย ดร.ณัฐหทัย สุทธิวงษ์ นักวิจัย วว. ในวันที่ 24 เมษายน 2561 จำนวนผู้เข้าอบรม 37 ราย
วิทยากรได้แนะนำวิธีการทำการทดลอง ฝึกการวัดผลและจดบันทึก โดยปฏิบัติคู่ขนานกับข้าวที่เกษตรกรปลูกในอาชีพจริงๆ เก็บเกี่ยวและวัดผลครั้งสุดท้ายประมาณเดือนพฤศจิกายน 2561
2. ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งกลุ่มได้มีการผลิตในรอบครึ่งปีแรก จำนวน 60 ตัน (จะผลิตปีละ 1 ครั้ง) ในช่วงครึงปีหลังกลุ่มมีกิจกรรมที่ทำส่วนตัวในครัวเรือน และกิจกรรมอื่นๆ และในช่วงต้นปีกลุ่มมีความสะดวกในการผลิตมากกว่าเพราะไม่มีปัญหาเรื่องฝนตก ทำให้สามารถผลิต ตากแห้งและเก็บรอไว้ใช้ในช่วงฤดูกาลต่อไปได้ | ค่าใช้จ่าย : 87,500 จำนวนผู้รับบริการ : 37 ปัญหาอุปสรรค : -ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการปฏิบัติคือความละเอียดและใส่ใจ เพราะการทดลองต้องอาศัยการสังเกตติดตามและบันทึกผลในสมุด แต่เกษตรกรมักไม่ค่อยได้จดบันทึกทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ แนวทางแก้ไข : -จัดทำสมุกปฏิทินการปฏิบัติงานเพื่อให้เกษตรกรกรอกข้อมูลตามกิจกรรมที่ วว.กำหนดและติดต่อประสานทางโทรศัพท์หรือใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อแจ้งเตือนเกษตรกร ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2963] วันที่รายงาน [25/9/2561] | |||
1. การติดตามการปฏิบัติงานของกลุ่มในเทคโนโลยีหลักและรอง 1.1 การผลิตปุ๋ย กลุ่มได้จัดเตรียมปุ๋ยเพื่อส่งให้ลูกค้าประจำและสมาชิกนำไปใส่นาข้าว โดยปริมาณการผลิตทั้งปี รวมยอดได้ทั้งสิ้น 70 ตัน
2 การประเมินแม่ข่ายประจำปี 2561
วันที่ 20 สิงหาคม 2561 เวลา 09.00 น. คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่ข่าย กลุ่มบ้านเทวี ม. 7 ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้เข้าตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานโดยมีนางวนิดา บุญนาคค้า สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และคณะผู้ร่วมปฏิบัติงานดังนี้ โดยมี นายอนันต์ ศรีหงส์ และนางจิรัตน์นันท์ จันทร์เมือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อ.ท่าบ่อ ร่วมกับเกษตรกรตัวแทนสมาชิกกลุ่มที่ร่วมให้ข้อมูลการประเมิน 15 ราย
สรุปประเด็นการประเมิน นายสมศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ แนะเรื่องการทำเมล็ดพันธุ์ข้าว ต้องทำให้ถูกต้องเพราะมีพ.ร.บ.กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในด้านกฎหมายตามมา และจะช่วยยกระดับคุณภาพให้ข้าวมีราคาสูงขึ้นมาด้วย นางจุฑาลักษณ์ แสนโท สรุปการประเมินโดยมีเกษตรกรได้ตอบข้อซักถามถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในโครงการอย่างพร้อมเพรียง โดยเฉพาะในด้านการผลิตปุ๋ย ประธานกลุ่มมีแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตและขยายเครือข่ายออกไปอีก เพราะมีคนสนใจค่อนข้างเยอะ และพยายามที่จะส่งต่อความรู้ให้เด็กเยาวชนรุ่นใหม่ให้เรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้วย
3 การปฏิบัติงานทดลองแปลงข้าวกระถาง
ผู้ปฏิบัติงาน 4 คน ในการนี้ วว.ได้จัดส่ง ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีสูตรต่างที่ระบุในปฏิทินการปฏิบัติงาน
| ค่าใช้จ่าย : 63,750 จำนวนผู้รับบริการ : 19 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2562 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20192211453101.pdf | 20191111333541.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3086] วันที่รายงาน [4/2/2562] | |||
กิจกรรมของกลุ่มแม่ข่าย
1. เกี่ยวต้นข้าวใน Treatments ต่างๆทั้งหมด
2. ฝึกอบรมและปฏิบัติวิธีการทำแปลงทดลองผัก ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านเทวี ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งผักมีอายุสั้นและเป็นตัวอย่างในการนำไปใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นแผนที่จะทำการทดลองในปี 2562 โดยมี น.ส.นภัสวรรณ สุนทร เป็นวิทยากร กลุ่มเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 28 ราย ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 83.33 %
3. การศึกษาดูงาน กลุ่มได้รับโอกาสได้มาดูงานเทคโนโลยีทางการเกษตรของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี งานไทยแลนด์ 4.0 ที่พาร์คแอดสยาม เขตปทุมวัน กทม. วันที่ 22 พ.ย. 2561 ซึ่งมีการจัดนิทรรศการด้านนวัตกรรมเกษตร 108 เรื่อง เช่น นวัตกรรมพัฒนาหม้อต้มไอน้ำต้นแบบ เพื่อฆ่าเชื้อในโรงเห็ดฟาง เจลรักษาสิวจากว่านนางคำ การปรับปรุงประสิทธิภาพเตาเผาถ่านเพื่อผลิตกัมมันต์ เป็นต้น จากการได้เห็นนวัตกรรมต่างทำให้กลุ่มมีความสนใจที่จะเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรในพื้นที่ของกลุ่มให้เกิดเป็นสินค้าที่เป็นที่นิยมของท้องถิ่นต่อไป และได้เข้าร่วมการฝึกอบรมอาชีพในโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วย วทน. ในวันที่ 23 พ.ย. 2561 ซึ่งมีหลักสูตร การทำบลูเบอรี่และสตรอว์เบอรี่ชีสพาย วิทยากรผู้นำปฏิบัติคือ นางสาวชนิดา ประจักษ์จิตร และน.ส.เจนจิรา บ.ป.สูงเนิน และการทำน้ำสมุนไพร น้ำผลไม้พร้อมดื่ม วิทยากรคือ ผศ.อภิญญา มานะโรจน์ และ น.ส.อินทร์ธีมา หิรัญอัครวงศ์ ตัวแทนกลุ่มได้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ 2 คนทั้งสองหลักสูตร ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 91.11 %
4. เป็นวิทยากรพิเศษ ในโครงการอบรมของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในโครงการ การยกระดับโรงปุ๋ยเดิมด้วย วและท วันที่ 12 ธ.ค. 2561 นายประภาส แก้วด้วง ประธานกลุ่มแม่ข่ายปุ๋ยอินทรีย์ ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้รับหน้าที่เป็นวิทยากร บรรยายเรื่องการบริหารจัดการโรงปุ๋ยระดับชุมชน ว่ามีเทคนิควิธีอย่างไรที่จะประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนต่อไปในชุมชน โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมอบรมจำนวน 137 คน
| ค่าใช้จ่าย : 65,000 จำนวนผู้รับบริการ : 45 ปัญหาอุปสรรค : -ไม่มี แนวทางแก้ไข : -ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3239] วันที่รายงาน [24/6/2562] | |||
การเป็นวิทยากรอบรมลูกข่าย เรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
ภาพวิทยากรกลุ่มแม่ข่าย นายสมาน วงษ์สุวรรณ
วิทยากรบรรยายถึงการบริหารจัดการโรงปุ๋ย ที่มีการแบ่งหน้าที่กรรมการให้สอดคล้องกับความเหมาะสม
วิทยากรสาธิตการนำปุ๋ยที่ผลิตมาผสมสูตรเพื่อให้เหมาะแก่การนำไปใช้ โดยเฉพาะพืชที่มีความต้องการต่างกันต้องให้ธาตุอาหารอย่างสมดุลย์
ภาพถ่ายหมู่ทั้งเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยวิทยาศตาร์ วิทยากรแม่ข่าย และผู้เข้ารับการอบรม
การฝึกปฏิบัติท้ายชั่วโมงเพื่อให้ทราบถึงวิธีการทำปุ๋ยที่มีขั้นตอนง่ายและนำไปปฏิบัติจริงได้
2. ฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ที่กลุ่มผลิตปุ๋ย ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ในวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2562 กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่สนใจกิจกรรมของชุมชน และการผลิตปุ๋ยจะเป็นการส่งเสริมในอาชีพเกษตรกรรมอยู่แล้ว ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและใช้เวลาว่าเพื่อชุมชนอย่างมีประโยชน์ด้วย ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 50 คน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 87.30 %
นายสมานวิทยากร บรรยายเรื่องการดำเนินงานผลิตปุ๋ยกลุ่มแม่ข่ายปุ๋ยอินทรีย์
อธิบายการนำแม่ปุ๋ยธาตุอาหารพืชมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ สูตรช่วยเร่งการเจริญเติบโต
ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกหลังจบการอบรม
สาธิตการหมักปุ๋ยอินทรีย์ วว. ให้เกษตรกรเข้าร่วมลงมือปฏิบัติด้วย
3. ฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ที่กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านทุ่งกกทัน ต.หนองแก อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2562 ซึ่งสมาชิกกลุ่มและเกษตรกรใกล้เคียงมีความสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีนโยบายในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณต่างๆ ทั้งโครงการ 9101 โครงการด้านเกษตรอินทรีย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงทำให้การผลิตปุ๋ยที่มีคุณภาพมีความเหมาะสมมาก กลุ่มมีกิจกรรมหลายอย่างนอกจากปลูกพืชผักอินทรีย์แล้ว ยังมีการเลี้ยงสุกร ที่สามารถนำมูลสุกรมาต่อยอดในการทำปุ๋ยได้อีกด้วย ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 57 คน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 87.90 %
นายชำนาญ มีแจ้ ผู้ช่วยวิทยากร ได้อธิบายการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่กลุ่มทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ได้รับโครงการในปี 2550
วิทยากรสาธิตการผสมปุ๋ยสูตรเพื่อเพิ่มธาตุอาหารห้แก่พืช
ร่วมถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกในการอบรมปุ๋ยอินทรีย์
กลุ่มร่วมกันปฏิบัติการหมักปุ๋ยอินทรีย์ | ค่าใช้จ่าย : 69,500 จำนวนผู้รับบริการ : 137 ปัญหาอุปสรรค : ปัญหาบางประการที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ เกษตรกรมักจะไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการต่างๆ หากไม่มีคนในกลุ่มเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือตัวแทนในองค์การบริหารส่วนตำบล แนวทางแก้ไข : กลุ่มเกษตรกรจะต้องร่วมมือกัน เข้าใจสิ่งที่กลุ่มกำลังทำว่าเป็นประโยชน์อาจต้องมีการลงแรงและลงเงินโดยไม่ต้องรอการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพราะเป็นธรรมดาที่การสนับสนุนจะเข้ามาในกลุ่มที่แข็งแรงเป็นส่วนใหญ่ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3463] วันที่รายงาน [23/9/2562] | |||
1. การอบรมเทคโนโลยีรองที่กลุ่มสนใจ 1.1 อบรมการผลิตก๊าซชีวภาพ กลุ่มได้ฝึกอบรมการผลิตก๊าซชีวภาพ ที่บ้านนายประภาส แก้วด้วง ซึ่งเป็นประธานกลุ่ม ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 40 ราย มีนายประสิทธิ์ บำรุงสุข นายช่างเทคนิค วว. เป็นวิทยากรให้ความรู้ โดยในช่วงเช้าเป็นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีในการเกิดก๊าซชีวภาพ และในช่วงบ่ายเป็นการสาธิตปฏิบัติ เรียนรู้อุปกรณ์ในการประกอบถุงก๊าซชีวภาพ การเตรียมสถานที่ การติดตั้งและการนำก๊าซไปใช้ในครัวเรือน มีความพึงพอใจในการฝึกอบรม 82.92%
1.2 อบรมการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และการกำจัดแมลงโรคพืชแบบผสมผสาน กลุ่มได้ฝึกอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่บ้านนายประภาส แก้วด้วง ซึ่งเป็นประธานกลุ่ม ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 36 ราย มีนายวิรัตน์ ประยูรพงษ์ เกษตรกรดีเด่นจากอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการในการพัฒนาวิธีการปลูกพันธุ์ข้าว เป็นวิทยากรให้ความรู้ โดยได้เล่าประสบการณ์ที่ตัวเองได้ผ่านมาแล้วตั้งแต่ยังไม่ค่อยมีความรู้อะไร แต่เนื่องจากเป็นคนช่างสังเกตและสงสัยต้นข้าวตลอดเวลา เคยนั่งเฝ้าสังเกตต้นเข้าเป็นเวลาหลายชั่วโมงจนถูกหาว่าเป็นคนบ้ามาแล้ว จากประสบและมีโอกาสไปอบรมกับหน่วยงานระดับประเทศ อยู่กินนอนเป็นเวลา 3 เดือน จนจบหลักสูตร จึงได้รับโอกาสเป็นวิทยากรของจังหวัดที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี จากนั้นได้บรรยายถึงแมลงที่ทั้งเป็นมิตรและศัตรูกับต้นข้าว เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจว่าจะอยู่กับแมลงเหล่านั้นอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และต้องกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูข้าวอย่างไรให้ได้ผล ในการอบรมครั้งนี้มีความพึงพอใจของเกษตรกรโดยรวม 87.94%
2 การประเมินแม่ข่ายประจำปี 2562 วันที่ 26 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.00 น. คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่ข่าย กลุ่มบ้านเทวี ม. 7 ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้เข้าตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานโดยมีนายวิทยา สุวรรณสุข ผอ. ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศวภ.2) นางสาวเดือนเพ็ญ อาจไธสง และผู้ติดตามอีก 2 ท่าน โดยมี นายโสภณ สรรพศิลป์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเดื่อ และนางจิรัตน์นันท์ จันทร์เมือง เจ้าหน้าจากสำนักงานเกษตรอำเภอท่าบ่อ เข้าร่วมการประเมินครั้งนี้พร้อมกับสมาชิกของกลุ่มอีก 44 ราย
สรุปประเด็นการประเมิน
ฐานเรียนรู้ที่ 1 การทอผ้าและย้อมสีจากธรรมชาติ โดย นางเชาวนีย์ มโนราพันธ์ เป็นวิทยากร ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มเริ่มจากการนำภูมิปัญญาในการทอผ้า ย้อมผ้าที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ต่อยอดด้วยนวัตกรรมที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาส่งเสริม โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอยู่ ทั้งวัสดุในการนำมาทำสีย้อมและลายผ้า ผลิตภัณฑ์ที่ทำมีทั้งผ้าถุง ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และผ้าเป็นผืนที่สามารถนำไปสร้างงานอื่นต่อได้ การเรียนรู้นี้เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ที่ 94.07%
ฐานเรียนรู้ที่ 2 การผลิตถ่านใบโอชาร์ โดย นางสะคร นาคคีรี เป็นวิทยากร กิจกรรมนี้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานด้านพลังงานทดแทนในพื้นที่ และเป็นกิจกรรมในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) ช่วยให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายและใช้เองได้ เพราะผลิตภัณฑ์นี้สามารถแปรรูปได้หลากหลาย เช่น ถ่านชาร์โคลพลังงานสูง สบู่จากถ่านชาร์โคล เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีการส่งเสริมกันอย่างแพร่หลายในชุมชนต่างๆ การเรียนรู้นี้เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ที่ 95.19%
ฐานเรียนรู้ที่ 3 การผลิตเตาอั้งโล่ประหยัดถ่าน โดย นายไพรพนอม สมณะ เป็นวิทยากร โดยการทำเตาเป็นนวัตกรรมในอดีตที่บรรพบุรุษได้สร้างมาเพื่อการดำรงชีวิตต่อมาหลายยุคสมัย จนมีการพัฒนาประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการให้พลังงานที่มีความร้อนสูงและประหยัดถ่านมากขึ้น ความรู้ต่อยอดเหล่านี้กลุ่มได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากสำนักงานพลังงานจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นหน่วยงานในกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน จนปัจจุบันนอกจากจะทำเพื่อการใช้เองในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถทำเป็นงานกลุ่มทำตามที่ผู้สนใจต้องการอีกด้วย ซึ่งสามารถสร้างงานสร้างรายได้เสริมให้แก่กลุ่มได้อีกทางหนึ่ง การเรียนรู้นี้เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ที่ 87.78%
3.2 กลุ่มเกษตรกรบ้านดอนยางเดี่ยว หมู่ 10 ตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ฐานเรียนรู้ที่ 4 การบริหารจัดการขยะและกำจัดขยะเปียก โดย นายสมยศ มนิสสาร เป็นวิทยากร ได้เล่าความเป็นมาในการเปลี่ยนวิกฤติที่เกิดจาขยะในชุมชน ให้เกิดสร้างมูลค่าได้จริง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากหมู่บ้านร่วมกันทำคือ ชุมชนสะอาดผิดหูผิดตา คนในหมู่บ้านมีระเบียบวินัย ทัศนคติคนเปลี่ยนไปเพราะในชุมชนไม่มีขยะเพราะสิ่งที่เห็นมันคือโอกาสและมูลค่าที่เกิดจากการช่วยกันรวบรวม คัดแยกและส่งจำหน่ายต่อไปจนสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน จึงมีรายได้ที่เกิดจากแยกขายวัสดุกับร้านรับซื้อของเก่า และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้ง ทุกวันนี้ชาวบ้านทุกครัวเรือนมีเงินฝากบัญชีในธนาคารขยะของหมู่บ้าน และยังมีสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ การฌาปนกิจสงเคราะห์ด้วยเงินจากการบริหารจัดการขยะเหล่านี้ ประเด็นที่สำคัญสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีผู้นำที่มองโอกาสให้ชัด มีความอดทน และรอคอยความสำเร็จได้อย่างมั่นคง ซึ่งผู้ใหญ่บ้านดอนยางเดี่ยวได้ทำสำเร็จแล้ว พร้อมบอกเคล็ดลับว่าที่เรามาถึงจุดนี้ได้เพราะชุมชนมีหลักในการทำงานร่วมกันตามทฤษฎีของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำให้ชาวบ้านใช้เหตุผล พอเพียงและปลอดภัยไม่เดือดร้อน ส่วนผลิตภัณฑ์จากขยะที่กลุ่มทำ เช่น เก้าโซฟาจากยางรถยนต์ กระเป๋าหิ้วจากวัสดุเหลือทิ้ง ร่มผ้าจากก้านร่มที่ถูกทิ้ง และเชือกถักทอเป็นถุงสำหรับใส่ของเป็นต้น การเรียนรู้นี้เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ที่ 95.56%
ฐานเรียนรู้ที่ 5 เทคนิคการปลูกและแปรรูปผักหวานป่า
โดย นายสมยศ มนิสสาร การปลูกผักหวานป่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กลุ่มอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะได้รับการส่งเสริมตามนโยบายรัฐบาล ทำให้เกิดความนิยมเป็นอย่างมาก กลุ่มได้พยายามหาความรู้และลงมือทำ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ เฝ้าสังเกตจนได้วิธีการที่เกิดผลสำเร็จเป็นอย่างดี การปลูกผักหวานทำรายได้ค่อนข้างดี เพราะสร้างรายได้หลายทาง เพราะผักหวานป่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้ มีคุณค่าทางอาหาร นอกจากเพาะต้นกล้าจำหน่ายแล้ว ยังสามารถจำหน่ายส่วนอื่นๆของต้นและแปรรูปเป็นเครื่องดื่นสมุนไพรได้อีกด้วย การเรียนรู้นี้เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ที่ 97.04%
| ค่าใช้จ่าย : 115,500 จำนวนผู้รับบริการ : 126 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates