หน่วยงานรับผิดชอบ :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2560 | 300,000|294,240|294,240|ใช้หมด | 2017430174741.pdf | 201711181839341.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2212] วันที่รายงาน [4/4/2560] | |||
กิจกรรมที่ 1. อบรมสัมมนาหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2560 วันที่ 17-19 มกราคม 2560 ณ.กรมพัฒนาที่ดิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จังหวัดกรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน จำนวน 4 ราย ผลลัพธ์ของกิจกรรม – กลุ่มฯได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริของพระองค์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ควบคู่ไปกั0บการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เพื่อก่อประโยชน์ โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรม มีดังนี้ 1.เรื่อง บทบาทการเป็นวิทยากร 80.56%, 2.การศึกษาดูงานเรื่องดินและปุ๋ย 78.33%, 3.การศึกษาดูงานการเกษตรในพระราชดำริของในหลวง 90.56%, การศึกษาดูงานโครงการส่วนพระองค์ 84.44%
กิจกรรมที่ 2. ฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์ วันที่ 8 มีนาคม 2560 ณ.ศาลาหมู่บ้านบุตาโสม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 79 ราย โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยนครพนม ได้แก่นายธนพัฒน์ สุระนรากุล และนางสาวจารุวรรณ ศรีสม ผลลัพธ์ของกิจกรรม – เกษตรกรได้รับความรู้ด้านอาหารสัตว์ สามารถผลิตอาหารสัตว์ไว้ใช้เองได้ โดยใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่น ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ได้ โค-กระบือมีสุขภาพสมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากมีอาหารสัตว์คุณภาพดี โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรม 88.56%
กิจกรรมที่ 3. ฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง วันที่ 30 มีนาคม 2560 ณ.โรงปุ๋ยบ้านบุตาโสม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 60 ราย ปัญหา/อุปสรรค/การแก้ไข – พื้นที่นาเป็นดินแข็ง เสื่อมโทรม ไถพรวนยาก ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดิน เพื่อให้ดินดีขึ้น จึงต้องมีการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อินทรีย์เคมี ที่ถูกต้อง ผลลัพธ์ของกิจกรรม – เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีไว้ใช้เองภายในชุมชน หรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ และลดการใช้ปุ๋ยเคมี รวมถึงพื้นที่ดินนามีการปรับสภาพให้ดีขึ้นอีกด้วย โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรม 90.51%
กิจกรรมที่ 4. ฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพ วันที่ 30 มีนาคม 2560 ณ.โรงปุ๋ยบ้านบุตาโสม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 60 ราย ผลลัพธ์ของกิจกรรม – เกษตรกรสามารถผลิตบ่อก๊าซชีวภาพไว้ใช้เองภายในชุมชนได้ สามารถลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้ และกากที่ได้จากการหมักก๊าซชีวภาพสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อีก โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรม 89.55 %
| ค่าใช้จ่าย : 97,759 จำนวนผู้รับบริการ : 215 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2283] วันที่รายงาน [1/7/2560] | |||
กิจกรรมที่ 1 เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
| ค่าใช้จ่าย : 100,975 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : 1.ปัญหา/อุปสรรค ในการผลิตปุ๋ย ได้แก่ บางช่วงฝนมาเร็ว และฝนตกบ่อยมาก ไม่สามารถผลิตปุ๋ยได้ 2. ปัญหา/อุปสรรค ในการใช้ก๊าซชีวภาพ ได้แก่ บางครั้งลืมเติมมูลสัตว์ ทำให้ไม่เกิดก๊าซ แนวทางแก้ไข : 1. แก้ไขปัญหาในการผลิตปุ๋ยคือ เร่งผลิตปุ๋ยก่อนฤดูฝน หรือบางครั้งผลิตปุ๋ยเสร็จแล้วนำไปใช้ในไร่นาทันที 2. แก้ไขปัญหาในการใช้ก๊าซชีวภาพ คือ สมาชิกช่วยกันดู สังเกต และเติมมูลสัตว์ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2465] วันที่รายงาน [11/9/2560] | |||
กิจกรรมที่ 1 เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
กิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพ
กิจกรรมที่ 3 เทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์ | ค่าใช้จ่าย : 95,506 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : -ปัญหาอุปสรรค 1.ปัญหา/อุปสรรค ในการผลิตปุ๋ย ได้แก่ บางช่วงฝนมาเร็ว และฝนตกบ่อยมาก ไม่สามารถผลิตปุ๋ยได้ 2. ปัญหา/อุปสรรค ในการใช้ก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ถุงก๊าซรั่ว ทำให้ไม่เกิดก๊าซ แนวทางแก้ไข : 1. แก้ไขปัญหาในการผลิตปุ๋ยคือ เร่งผลิตปุ๋ยก่อนฤดูฝน หรือบางครั้งผลิตปุ๋ยเสร็จแล้วนำไปใช้ในไร่นาทันที 2. แก้ไขปัญหาในการใช้ก๊าซชีวภาพ คือ สังเกต และใช้แผ่นปิดรอยต่อ/รั่ว (sealtex) ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2561 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20191111056281.pdf | 20181051352121.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2673] วันที่รายงาน [2/4/2561] | |||
ผลการดำเนินงาน 1. จัดงานอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
• ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ณ โรงแรม เพลาเพลิน อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวนผู้เข้าร่วม 4 คน วันที่อบรม 26 ธันวาคม 2560
2. การศึกษาดูงาน ฐานการเรียนรู้ด้านการนำผลผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตร การสร้างอาชีพ ซึ่งฐานเรียนรู้เหล่านี้ มีหลากหลายให้หมู่บ้านแม่ข่ายได้เลือกนำไปใช้ พร้อมทั้งมีการนำเกร็ดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาเสริม เพื่อชี้ให้เห็นความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างวิทยาศาสตร์และชุมชน
• ศึกษาดูงานฐานเรียนรู้ การแปรรูปผลไม้จากท้ายไร่ จำนวนผู้เข้าร่วม 4 คน วันที่ 26 ธันวาคม 2560 ระดับความพึงพอใจภาพรวม 87.22 %
3. จัดงานอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สรุปผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านร่วมกับคณะกรรมการกลุ่ม พร้อมชี้แจงและแจ้งผลการเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
• ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การทดลองปุ๋ยสูตร วว. ระดับเรือนทดลอง ณ โรงแรม เพลาเพลิน อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวนผู้เข้าร่วม 4 คน วันที่อบรม 27 ธันวาคม 2560
4. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
• เทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์
| ค่าใช้จ่าย : 87,500 จำนวนผู้รับบริการ : 44 ปัญหาอุปสรรค : - การผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณมากกว่า 100 ตัน เครื่องจักรที่มีในปัจจุบันชำรุด สึกกร่อนไปตามระยะเวลาการใช้งาน ผู้ใช้ต้องการปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเพื่อสะดวกในการใช้หว่านในนาข้าว แต่เครื่องจักรไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ บางส่วนจึงต้องจำหน่ายในรูปแบบผง ทำให้ลูกค้าตัดสินใจที่ซื้อยากขี้น แนวทางแก้ไข : - ติดต่อซื้อเครื่องจักรมือสองจากกลุ่มที่ไม่ได้ดำเนินการ/ขอความอนุเคราะห์จาก วว. ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2801] วันที่รายงาน [2/7/2561] | |||
อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
2. อบรมเชิงปฏิบัติการศึกษาการใช้ปุ๋ยในนาข้าวระดับกระถางทดลอง
| ค่าใช้จ่าย : 103,000 จำนวนผู้รับบริการ : 149 ปัญหาอุปสรรค : -ปัจจุบันแก๊สหุงต้มในครัวเรือน มีราคาค่อนข้างสูง ต้องการความรู้ด้านการผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อนำวัตถุดิบที่มีอยู่ผลิตแก๊สชีวภาพใช้ภายในชุมชนได้ แนวทางแก้ไข : -เรียนรู้การนำมูลสัตว์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในหลายๆทางเพื่อให้เกิดเป็นชุมชนวิทย์โดยการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ทำแก๊สชีวภาพเพื่อลดรายจ่ายภายในครัวเรือน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2964] วันที่รายงาน [25/9/2561] | |||
ผลการดำเนินงาน
2. ดำเนินการผลิตอาหารสัตว์ โดยการจัดซื้อวัตถุดิบบางส่วนที่มีในท้องถิ่น
3. ศึกษาการใช้ปุ๋ยในนาข้าวระดับกระถางทดลอง
4. การประเมินแม่ข่าย
| ค่าใช้จ่าย : 59,500 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : ในการทดลองปลูกข้าวในกระถางพบว่าข้าวปลายใบสีแดง วัตถุดิบการผลิตอาหารสัตว์บางตัวการเจริญเติบโตไม่ทันกับช่วงต้องการใช้ เช่นมันสำปะหลัง แนวทางแก้ไข : การแก้ไขฉีดสารชีวภัณฑ์เพื่อให้ต้นข้าวคงความสมบูรณ์จนถึงระยะการเก็บเกี่ยว ประชุมและวางแผนการผลิตให้ระยะเวลาให้พอดีกับการเก็บเกี่ยววัตถุดิบ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2562 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20192211453251.pdf | 20191111331291.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=3093] วันที่รายงาน [4/3/2562] | |||
1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ลูกข่าย
• หมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงบ้านบุตาโสมได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้กับชุมชน ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์ จำนวนผู้เข้าร่วม 46 คน วันที่อบรม 7 พฤศจิกายน 2561
2. จัดงานอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และศึกษาดูงาน • ศึกษาดูงาน วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 งานขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยการนำ 108 นวัตกรรมเกษตร ซึ่งมีหลากหลายเทคโนโลยีให้หมู่บ้านแม่ข่ายได้เลือกนำไปใช้ สร้างโอกาสให้ผู้เข้าชมนิทรรศการได้ศึกษาเทคโนโลยีต่างๆเห็นความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างวิทยาศาสตร์และชุมชน
• ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วย วทน. (บลูเบอรี่ฯ และน้ำสมุนไพรฯ)
3. ศึกษาการใช้ปุ๋ยในผักระดับกระถางทดลอง
จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 71 คน วันที่อบรม 21 พฤศจิกายน 2561 • เตรียมปุ๋ยตามกรรมวิธีการทดลอง • จดบันทึกการเจริญเติบโตของทุกกรรมวิธีการทดลอง
• ดูแลการให้น้ำ และกำจัดแมลง
4. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
• เทคโนโลยีการผลิตปลาป่นเพื่อผลิตอาหารสัตว์
| ค่าใช้จ่าย : 104,100 จำนวนผู้รับบริการ : 181 ปัญหาอุปสรรค : ปี 2562 กลุ่มมีการผลิตอาหารสัตว์ใช้เองภายในชุมชน เพื่อลดต้นทุนในการซื้ออาหารสัตว์จากร้านค้าทั่วไป โดยใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน ต้องการผลิตอาหารอัดเม็ดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกกลุ่ม แต่ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องอัดเม็ดที่เหมาะสมกับการผลิตอาหารสัตว์ แนวทางแก้ไข : ขอความอนุเคราะห์จาก วว.เพื่อจัดหาตัวเครื่องอัดเม็ดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ในโอกาสต่อไป ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=3363] วันที่รายงาน [4/7/2562] | |||
1. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ลูกข่าย
• หมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงบ้านบุตาโสมได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้กับชุมชน ต.พระบุ อ.พระยืน จ.ขอนแก่น จำนวนผู้เข้าร่วม 50 คน วันที่อบรม 30 พฤษภาคม 2562
2. ผลิตสารชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืช เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 สำนักงานเกษตรอำเภอชุมพลบุรี เห็นกิจกรรมภายในกลุ่มที่มีความสอดคล้องกับโครงการจึงได้คัดเลือกกลุ่มให้เป็นศูนย์จัดการกำจัดศัตรูพืช โดยชุมชนได้ประโยชน์จากการได้รับความรู้และขั้นตอนการผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้กับศัตรูพืชประเภทต่างๆ
| ค่าใช้จ่าย : 105,000 จำนวนผู้รับบริการ : 158 ปัญหาอุปสรรค : - ปี 2562 กลุ่มมีการผลิตอาหารสัตว์ใช้เองภายในชุมชน เพื่อลดต้นทุนในการซื้ออาหารสัตว์จากร้านค้าทั่วไป โดยใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน ต้องการผลิตอาหารอัดเม็ดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกกลุ่ม แต่ปัจจุบันยังไม่มีเครื่อง -อัดเม็ดที่เหมาะสมกับการผลิตอาหารสัตว์ ขอความอนุเคราะห์จาก วว.เพื่อจัดหาตัวเครื่องอัดเม็ดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ ให้กับกลุ่ม แนวทางแก้ไข : -วว.ได้สนับสนุนเครื่องอัดเม็ดเพื่อใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับกิจกรรมในด้านต่างๆ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=3462] วันที่รายงาน [23/9/2562] | |||
1. ดำเนินการผลิตอาหารสัตว์ โดยใช้ปลาป่นที่ผลิตเองเป็นส่วนประกอบประเภทโปรตีนในสูตรอาหารสัตว์
3. การประเมินแม่ข่าย
4. ศึกษาดูงาน
2. การผลิตถ่านไบโอชาร์ วิทยากร คือ นางสะคร นาคคีรี ได้เรียนรู้การเผาถ่านให้เกิดประจุบวก และ สามารถผลิตเป็นถ่านชาร์โคล สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้ จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ มีระดับความพึงพอใจในภาพรวม 92.44 %
| ค่าใช้จ่าย : 40,900 จำนวนผู้รับบริการ : 71 ปัญหาอุปสรรค : ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มมีอายุประมาณ 50-75 ปี หากบุคลากรเหล่านี้สิ้นแรงไปตามวัย เทคโนโลยีที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น จะสูญหายไป ในการเลี้ยงสัตว์ต้องการลดการใช้สารปฏิชีวนะโดยต้องการใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ป้องกันและรักษาโรคจากการติดเชื้อแทน แนวทางแก้ไข : ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เด็กนักเรียนให้มาเรียนรู้ และร่วมปฏิบัติงานในทุกเทคโนโลยีเพื่อได้ส่งต่อสู่เด็กรุ่นใหม่จะได้สืบสานนวัตกรรมที่มีอยู่ไม่ให้สูญหายไปสามารถดำเนินงานต่อได้ เจ้าหน้าที่เข้าประเมินโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายฯแนะนำให้ติดต่อประสานกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งมีงานวิจัยด้านสมุนไพรที่ใช้ทดแทนสารปฏิชีวนะในสัตว์ประเภทต่างๆ ทางกลุ่มจะดำเนินการติดต่อประสานงานตามคำแนะนำดังกล่าว ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates