หน่วยงานรับผิดชอบ :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สถานะหมู่บ้าน :
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2559 | 401,040|300,000|300,000|ใช้หมด | 20163221514381.pdf | 20169301428111.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1562] วันที่รายงาน [7/4/2559] | |||
1. จัดเวทีเสวนาระดมความคิดเลือกเทคโนโลยีที่กลุ่มสนใจ เตรียมความพร้อมร่วมกับแกนนำกลุ่มเกษตรกรพร้อมชี้แจงและแจ้งผลการเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
| ค่าใช้จ่าย : 80,092 จำนวนผู้รับบริการ : 104 ปัญหาอุปสรรค : การสื่อสารที่มีบางครั้งเกิดเข้าใจไปคนละทาง เนื่องจากความไม่คุ้นเคยในกิจกรรมที่ปฏิบัติ แนวทางที่บรรเทาปัญหาได้ตัวแทนกลุ่มที่มีประสบการณ์ช่วยอธิบายให้เข้าใจดีขึ้น แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1702] วันที่รายงาน [29/6/2559] | |||
1. จัดอบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
2. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
3. กิจกรรมต่อยอดการเพาะเห็ด (จากการอบรมที่ผ่านมา) | ค่าใช้จ่าย : 141,092 จำนวนผู้รับบริการ : 120 ปัญหาอุปสรรค : 1. การทำการทดลองในแปลงผักจะต้องอาศัยความละเอียดในการปฏิบัติเพื่อให้ผลที่ออกมาสมบูรณ์ตามเงื่อนไขที่วิทยากรกำหนด และให้ชุมชนมั่นใจถึงความปลอดภัยในพืชผักที่กลุ่มได้สร้างให้เกิดผลขึ้นมา แนวทางแก้ไข : 1. การเรียนรู้และปฏิบัติจะต้องมีความละเอียดในสิ่งที่ทำ และคำนึงถึงความปลอดภัยมีมาตรฐานเป็นสำคัญ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1913] วันที่รายงาน [12/9/2559] | |||
ผลการดำเนินงาน
2. การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
3. การติดตามการปฏิบัติงานและประเมินผล | ค่าใช้จ่าย : 78,816 จำนวนผู้รับบริการ : 6 ปัญหาอุปสรรค : -1. เวลาที่จำกัดทำให้ไม่สามารถเรียนรู้การทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริได้หมด เพราะศูนย์เรียนรู้มีประโยชน์และมีพื้นที่ค่อนข้างมากจึงต้องใช้เวลามากขึ้น แนวทางแก้ไข : -1. จัดระบบการอบรมสัมมนาและการศึกษาดูงานให้กระชับและเหมาะสม เช่นควรให้น้ำหนักสำหรับกิจกรรมที่เกษตรกรสนใจมากขึ้นและใช้เวลาในห้องประชุมให้เหมาะสม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2560 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 2017430174661.pdf | 201711181838361.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2187] วันที่รายงาน [3/4/2560] | |||
1. จัดอบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี - กลุ่มได้เข้าร่วมการฝึกอบรมการเป็นวิทยากร ณ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวันที่ 17 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวอัปสร เสถียรทิพย์ ผู้อำนวยการ กองสื่อสารภายใน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความรู้และเทคนิคในการเป็นวิทยากรเพื่อฝึกให้เกษตรกรที่เข้าอบรมสามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งต่อแก่ผู้อื่นได้อย่างมั่นใจ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรบ้านแบงใหม่มีตัวแทนเข้าอบรมจำนวน 4 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 82.22 %
- กลุ่มบ้านแบงใหม่ได้ร่วมประชุมเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดทำการทดลองปลูกข้าวในกระถางเป็นปีแรก ในวันที่ 16 มีนาคม 2560 โดยมีนางสาวนภัสวรรณ สุนทร เป็นวิทยากรสร้างความเข้าใจวิธีการทำแปลง ประโยชน์จากการทดลองครั้งนี้ เพื่อให้รู้จักสังเกตและจดบันทึกความเปลี่ยนของข้าวที่เกิดจากผลกระทบในการใส่ปุ๋ยชนิดต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรรู้วิธีการการใช้ปุ๋ยต่อข้าวในพื้นที่ปลูกข้าวของกลุ่มเอง วว.ได้แนะนำการจัดเตรียมดิน เตรียมปุ๋ยเพื่อใส่ข้าวในชนิดและอัตราที่ต่างกัน ในการนี้ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 20 คน
2. ศึกษาดูงาน - กลุ่มได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ที่กรมพัฒนาที่ดิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 18 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวมิรันตี ฐิติโชติรัตนา เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม เพื่อเรียนรู้ความเป็นมาของดิน การแก้ปัญหา ชนิดของดินในแต่ละภูมิภาคซึ่งมีผลกระทบต่อการทำการเกษตรของเกษตรกรอย่างมาก ได้รับการถ่ายทอดวิธีการทำ พด. สูตรต่างๆที่จะช่วยเป็นหัวเชื้อในการมาขยายได้อีกหลากหลาย ทั้งการทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ การทำสารกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เป็นต้น กลุ่มได้เข้าร่วมดูงานรวม 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 84.44 %
- ศึกษาดูงานการเกษตรที่ในหลวงทรงเป็นผู้ทำเป็นต้นแบบ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในวันที่ 18 มกราคม 2560 ซึ่งมีนายประดับพันธ์ คูณเมือง เป็นผู้พาชมและบรรยายประกอบ มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายประการ ซึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงหวังให้พสกนิกรได้มีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่มีความทันสมัยและสามารถเรียนรู้ได้ในทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ได้เรียนรู้พืชในท้องถิ่นในภาคต่างๆที่ให้ประโยชน์ทั้งในด้านการบริโภค การรักษาโรค และการช่วยบำรุงพื้นดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาแบบไทยๆ ซี่งกลุ่มได้เข้าร่วมจำนวน 4 คน และมีความพึงพอใจเท่ากับ 82.78 %
- ศึกษาดูงานโครงการส่วนพระองค์ ณ สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวจรรยาพร ก่อเกียรติคุณ เป็นผู้รับผิดชอบในการพาชม โดยโครงการต่างๆที่ในหลวงทรงมีวิสัยทัศน์และทรงรับสั่งให้ดำเนินการในพระราชวังส่วนพระองค์ มีทั้งโรงงานทำนม ฟาร์มเลี้ยงโคนม การทำแท่งถ่านอัด สาหร่ายเกลียวทองและอื่นๆอีกมากมาย และได้ชมโรงช้างที่เป็นช้างสำคัญมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และเกี่ยวข้องกับงานพระราชพิธีต่างๆของกษัตริย์ กลุ่มได้เข้าดูงานจำนวน 4 คน และมีความพึงพอใจเท่ากับ 86.67 %
| ค่าใช้จ่าย : 80,376 จำนวนผู้รับบริการ : 36 ปัญหาอุปสรรค : -ปัญหาที่ผ่านเป็นเรื่องของระยะเวลาและช่วงการทำนางานในชุมชนค่อนค่างมาก ทำให้มีเวลาในการร่วมกิจกรรมของกลุ่มหมู่บ้านน้อย แนวทางแก้ไข : -อาจต้องเร่งดำเนินการและวางแผนให้สามารถร่วมทำกิจกรรมในช่วงเวลาที่งานไม่มากเกินไป ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2260] วันที่รายงาน [26/6/2560] | |||
การอบรมเทคโนโลยีที่กลุ่มสนใจ 1. เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยจัดอบรมที่กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านแบงใหม่ หมู่ 20 ตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย วิทยากร โดย นางนันทิดา สินสายไทย นักวิชาการศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย และคณะ ในวันที่ 6 เมษายน 2560 จำนวนผู้เข้าอบรม 61 ราย วิทยากรได้นำเสนอและบรรยายถึงหลักในการทำนาโดยทั่วไป และอธิบายถึงประเภทของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ควรนำมาเพาะเพื่อทำเป็นเมล็ดพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมแปลง การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การเก็บรักษา การตรวจแปลง การวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว และยังได้ตั้งใจที่จะเข้ามาดูการปฏิบัติของกลุ่มด้วยหากมีโอกาส ซึ่งหลังจากอบรมเกษตรกรจะได้รับเมล็ดพันธุ์ที่ วว.สนับสนุนให้จำนวน 500 กิโลกรัม เพื่อให้กลุ่มนำไปทำพันธุ์ข้าวให้ทันในฤดูกาลนี้ ผลการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยเป็น 86.10% และประเมินวิทยากรที่ 91.76%
2. เทคโนโลยีการเพาะเห็ด โดยจัดอบรมที่กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านแบงใหม่ หมู่ 20 ตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย วิทยากร โดย ผศ.วิระ ศรีธัญรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในวันที่ 15 มิถุนายน 2560 จำนวนผู้เข้าอบรม 65 ราย กลุ่มได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่ดีในการทำเห็ดตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น ในเรื่องการทำอาหารเพื่อเลี้ยงเชื้อเห็ด การทำก้อนเห็ดให้มีความสมบูรณ์ที่สุด การนึ่งที่มีความปลอดภัยจากการปนเปื้อน การเขี่ยเชื้อ การรักษาความสะอาดร่างกายเพื่อไม่ให้เชื้ออื่นเจือปน และความรู้ในลักษณะของเห็ดแต่ละชนิด ซึ่งกลุ่มมีความร่วมมือในการปฏิบัติเป็นอย่างดี วว.ได้สนับสนุนวัตถุดิบในการทำก้อนเห็ดเพื่อสร้างงานให้กลุ่มนำไปปฏิบัติเสริมรายได้ด้วย ผลการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยเป็น 88.53% และประเมินวิทยากรที่ 90.23%
| ค่าใช้จ่าย : 111,045 จำนวนผู้รับบริการ : 126 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2459] วันที่รายงาน [8/9/2560] | |||
ความคืบหน้าการศึกษาทดลองแปลงข้าวกระถาง
| ค่าใช้จ่าย : 58,579 จำนวนผู้รับบริการ : 4 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates