หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2559 | 300,000|300,000|300,000|ใช้หมด | 2016451242401.pdf | 201713192571.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1794] วันที่รายงาน [5/7/2559] | |||
พฤศจิกายน 2558 | ค่าใช้จ่าย : 97,440 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : -เนื่องจากได้รับงบประมาณล่าช้า จึงส่งผลให้การดำเนินงานช้ากว่าแผน แนวทางแก้ไข : -ปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1935] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
จัดกิจกรรมอบรมครั้งที่ 1 | ค่าใช้จ่าย : 35,000 จำนวนผู้รับบริการ : 45 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1936] วันที่รายงาน [22/9/2559] | |||
จัดกิจกรรมอบรมครั้งที่ 1 | ค่าใช้จ่าย : 35,000 จำนวนผู้รับบริการ : 45 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1937] วันที่รายงาน [22/9/2559] | |||
สมาชิกในโครงการ ร่วมกันทำแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์
พื้นที่ส่วนกลาง
สมาชิกปลูกในพื้นที่รอบๆบ้าน ดังนี้ | ค่าใช้จ่าย : 15,000 จำนวนผู้รับบริการ : 45 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1938] วันที่รายงาน [22/9/2559] | |||
คณะทำงานลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=1939] วันที่รายงาน [22/9/2559] | |||
คณะทำงานลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=2115] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
สรุปกิจกรรมเปิดหมู่บ้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านวิถีเกษตรแบบพอเพียง
เวลา 09.30 น. สมาชิกและแขกผู้มีเกียรติลงทะเบียน พร้อมสำหรับกิจกรรมต่อไป คือ การเสวนา ถอดประสบการณ์ของสมาชิก หลังจากได้ร่วมโครงการ โดยมี อ.นิรันดร หนักแดง ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพิธีกร
เวลา 09.30น.สมาชิกและแขกผู้มีเกียรติลงทะเบียน พร้อมสำหรับกิจกรรมต่อไป คือ การเสวนา ถอดประสบการณ์ของสมาชิก หลังจากได้ร่วมโครงการ โดยมี อ.นิรันดร หนักแดง ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพิธีกร
เวลา 11.00น.ประธานในพิธี ผศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เดินทางมายังหมู่บ้าน วท. หมู่บ้านวิถีเกษตรแบบพอเพียง พร้อมด้วยผู้อำนวยการคลินิกเทคโนลียรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ประธานในพิธี ผศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เดินทางมายังหมู่บ้าน วท. หมู่บ้านวิถีเกษตรแบบพอเพียง พร้อมด้วยผู้อำนวยการคลินิกเทคโนลียรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งสมาชิกในโครงการ ร่วมรับชมวีดีทัศน์สรุปผลการดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆ
เวลา 11.15 น. ผศ.ดร.สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการคลินิกฯ กล่าวรายงาน ประวัติความเป็นมาของโครงการ
เวลา 11.20 น. ผศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านวิถีเกษตรแบบพอเพียง
เวลา 11.20 น. ผศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี ให้เกียรติเปิดป้ายโครงการฯ และตัดข้าวโพด
เวลา 11.45 น. แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน พร้อมด้วยสมาชิก ร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน
โครงการ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านวิถีเกษตรแบบพอเพียง
| ค่าใช้จ่าย : 117,560 จำนวนผู้รับบริการ : 53 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2560 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20176161122561.pdf | 20171111312101.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2323] วันที่รายงาน [4/7/2560] | |||
รายงานผลการดำเนินงานหมู่บ้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านวีเกษตรแบบพอเพียง กิจกรรมที่ 1 ประชุมสามัญครั้งที่ 1 ปีที่ 2 (ปีงบ 2560)
ผลผลิตจากการถ่ายทอดความรู้ และการช่วยเหลือผ่านกองทุนเมล้ดพันธุ์
กองทุนเมล็ดพันธุ์กลไกการช่วยเหลือ เพื่อให้สมาชิกลดต้นทุนการผลิต และได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ โดยการจำน่ายในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด
การอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตเห็ด และการแปรรูป
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕60
เวลา กิจกรรม หมายเหตุ
------------------------------------------------------------------
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕60
โดย นางสาวเพชรรัตน์ แสงทอง
กิจกรรมการอบรมเรื่องที่ 2
กิจกรรมการอบรมเรื่องที่ 3
| ค่าใช้จ่าย : 70,000 จำนวนผู้รับบริการ : 80 ปัญหาอุปสรรค : ปัญหาความล่าช้าของงบ,ปัญหาด้านความไม่สงบ,ปัญหาเรื่องของสภาพอากาศ แนวทางแก้ไข : วางแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบท ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2333] วันที่รายงาน [4/7/2560] | |||
รายงานผลการดำเนินงานหมู่บ้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านวีเกษตรแบบพอเพียง กิจกรรมที่ 1 ประชุมสามัญครั้งที่ 1 ปีที่ 2 (ปีงบ 2560)
ครั้งที่ 1/2560
ครั้งที่ ๒ / ๒๕๖๐
ผลผลิตจากการถ่ายทอดความรู้ และการช่วยเหลือผ่านกองทุนเมล้ดพันธุ์
การอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตเห็ด และการแปรรูป
สรุปกิจกรรมอบรม วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕60
เวลา กิจกรรม หมายเหตุ
------------------------------------------------------------------
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕60
โดย นางสาวเพชรรัตน์ แสงทอง
กิจกรรมการอบรมเรื่องที่ 2
กิจกรรมการอบรมเรื่องที่ 3 | ค่าใช้จ่าย : 70,000 จำนวนผู้รับบริการ : 80 ปัญหาอุปสรรค : ความล่าช้าของงบประมาณ/ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่/ปัญหาสภาพอากาศที่ส่งผลต่อผลผลิต แนวทางแก้ไข : ปรับแผนให้เหมาะสมต่อสถาณการณ์ และบริบท ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2633] วันที่รายงาน [30/9/2560] | |||
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี “หมู่บ้านวิถีเกษตรพอเพียง” ประจำไตรมาสที่ 4 เดือน กรกฎาคม-กันยายน 2560
| ค่าใช้จ่าย : 110,000 จำนวนผู้รับบริการ : 101 ปัญหาอุปสรรค : ความมั่นคง,สภาวะอากาศ แนวทางแก้ไข : ปรับแผนการดำเนินงาน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2649] วันที่รายงาน [30/9/2560] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=2655] วันที่รายงาน [30/9/2560] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=2656] วันที่รายงาน [30/9/2560] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2561 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20182151113551.pdf | 20181017173101.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2677] วันที่รายงาน [2/4/2561] | |||
จำหน่ายสินค้าตลาดประชารัฐ
นำร่องสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ นำผลผลิตในโครงการไปจำหน่ายในโครงการตลาดประชารัฐในเขตพื้นที่ของ อำเภอระแงะ และอำเภอเมือง โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นผักปลอดภัยอายุสั้น และสินค้าอื่นๆที่มีอยู่ในระบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ "ตลาดประชารัฐ" เป็นนโยบายส่งเสริมของรัฐบาลที่ต้องการให้มีพื้นที่ตลาดใหม่ พร้อม ๆ กับพัฒนาพื้นที่ตลาดเดิม เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หาบเร่แผงลอย วิสาหกิจชุมชน หรือร้านอาหาร รวมทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขายอีกด้วย โดยในปัจจุบันสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ที่ได้ลงทะเบียนและจำหน่ายในตลาดดังกล่าวได้ลงทะเบียนแล้ว 2หมู่บ้าน คือ บ้านแกแม และบ้านไทย
ปรับพื้นที่เตรียมผลิตเพิ่ม
โดยพื้นที่ดังกล่าวมีสมาชิกรับผิดชอบทั้งสิ้น 6รายโดยมีแผนการผลิตดังนี้ 1.แผนการผลิตระยะที่หนึ่ง ลงข้าวโพดทั้งสิ้น 4 ไร่ เพื่อระดมทุน โดยคาดว่าจะได้กำไรจากการเพาะปลูกไร่ละไม่ตำกว่า 30,000 – 35,000 บาท 2.เริ่มเพาะปลูกพืชอายุสั้นตามออร์เดอร์ ของตลาดในพื้นที่ใกล้เคียง
ส่งเสริมการผลิตสินค้าแปรรูปในโครงการ
สมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ในพื้นที่ของบ้านไทย ได้ทดลองผลิตแชมพูจากมะกรูต และได้ทดลองจำหน่ายผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในท้องตลาด โดยให้ความช่วยเหลือดังนี้ 1.คำแนะนำในเรื่องของการปรับสูตร และทดลองใช้เพื่อทดสอบคุณภาพสินค้า 2.ให้ความช่วยเหลือในการประสานงานขอเลขจดแจ้งกับ สนง.สาธารณสุขจังหวัด 3.ประชาสัมพันธ์สินค้าดังกล่าวให้รู้จัก เช่น ทาง shopee และสื่ออื่นๆ
ส่งเสริมการเรียนรู้การเพาะเนื้อเยื่อเบื้องต้น
ด้วย ดร.ราฮีมา วาแมดีซา ได้เปิดคอร์สอบรมเรื่อง การเพาะเนื้อเยื่อเบื้องต้น ระยะเวลา วันการอบรม 2 วัน โดยในการอบรมดังกล่าวได้สอนเรื่องโครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเพาะเลี้ยงในถุงดํา จึงได้สอบถามไปยังกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ม 3 หมู่บ้านในเรื่องดังกล่าว
ทางกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 หมู่บ้านบ้านจึงได้ส่งตัวแทนหมู่บ้านละ 2 คนเพื่อเข้ามาฝึกฝนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเบื้องต้นจากคอสดังกล่าว เพื่อที่จะเป็นการสร้างบุคลากร และชุดความรู้ที่จะใช้ต่อไปในอนาคต ในการพัฒนาหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในส่วนของการผลิตต้นพันธุ์
ถ่ายทอดและขยายลูกข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์
ตามหนังสือเชิญของวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส เพื่อให้ลงพื้นที่ถ่ายทอดชุดความรู้ต่างๆในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 8 ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส และเพื่อขยายเป็นลูกข่ายในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์แห่งที่ 5
ถ่ายทอดความรู้จากหมู่บ้านวิทยาศาสตร์สู่ลูกข่ายครั้งที่ 2
ทางหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ได้เชิญให้มาถ่ายทอดเป็นครั้งที่ 2ในเรื่องของแผนการปลูกในระบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ โดยมีผู้เข้ารับการถ่ายทอดทั้งสิ้น 25 ราย
ถ่ายทอดความรู้จากหมู่บ้านวิทยาศาสตร์สู่ลูกข่ายครั้งที่ 3
ทางหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ได้เชิญให้มาถ่ายทอดเป็นครั้งที่ 3โดยมีประเด็นการอบรมทั้งสิ้น 1.การผลิตปุ๋ยใช้เองตามระบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ 2.การผลิตฮอร์โมน น้ำหมัก และสารไล่แมลง 3.การใช้สารชิวภัณฑ์เบื้องต้น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 25 ราย
ส่งเสริมให้ หมู่บ้านแม่ข่าย และลูกข่ายแห่งที่ 4ผลิตฮอร์โมนและน้ำหมักใช้เอง
ร่วมทดลองกับสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเป็นหน่วยผลิตสารชีวภัณฑ์ฮอร์โมน และสารไล่แมลงต่างๆ และนำผู้นำของหมู่บ้านลูกข่ายแห่งที่ 4 คือบ้านไชยา ตำบลมะรือโบตกมาศึกษาถึงวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ และฮอร์โมนต่างๆเพื่อนำกลับไปใช้ต่อในพื้นที่ของหมู่บ้านลูกข่ายต่อไป โดยในปี 2561 จะใช้พื้นที่ของ อ.ยี่งอเป็นหน่วยผลิตเพื่อใช้กับทุกหมู่บ้านในโครงการฯ
ประชุมทั่วไปประจำเดือนกับสมาชิกในโครงการ
ร่วมประชุมประจำเดือนกับสมาชิกในโครงการโดยมีวาระการพูดคุยหลักๆ ดังนี้ 1.แผนการผลิตในอนาคต 2.การจัดการเรื่องของการตลาด
3.การพัฒนาความรู้ต่างที่จะใช้ในโครงการ
งานสถาปนา มนร.ปี 2561
เนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยฯ คลินิกเทคโนโลยีได้ดำเนินการจัดแสดงซุ้มนิทรรศการในส่วนของคลินิกเทคโนโลยี มนร. โดยในการจัดนิทรรศการปีนี้ คลินิกเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญกับการนำเสนอผลงานของคลินิกที่ไดให้บริการแก่ชุมชน เช่น โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (หมู่บ้านวิถีเกษตรแบบพอเพียง) และโครงการอื่นๆที่เกี่ยงข้อง จากการจัดนิทรรศการดังกล่าว มีผู้เข้าชมให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนมัธยม และนักศึกษาตามลำดับ
ติดตามจำหน่ายร้านประชารัฐ อ.เมืองและยี่งอ
ด้วยนโยบายของคณะ รมต. ว่าด้วยตลาดประชารัฐ ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชน โดยการเปิดพื้นที่สำหรับการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภคต่าง ทางกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมออกจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ดังกล่าวด้วย โดยสิ้นค้าที่จำหน่ายได้แก่สินค้าที่มีการผลิตในระบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และหมู่บ้านเครือข่ายบางส่วน ในการจำหน่ายครั้งนี้ มีพื้นที่ๆเลือกจำหน่ายได้แก่ ตลาดประชารัฐอำเภอยี่งอ อำเภอระแงะ และอำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส
ให้ความช่วยเหลือในการจำหน่ายสินค้าในงานวัฒนธรรม
ด้วย สวจ.นราธิวาส จัดงาน “ลานวัฒนธรรม วิถีถิ่น วิถีไทย” ครั้งที่ ๑ ภายใต้โครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุ รายละเอียดดังนี้ วันที่ ๑๖ -๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส จัดงาน "ลานวัฒนธรรม วิถีถิ่น วิถีไทย” ครั้งที่ ๑ ภายใต้โครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่ ร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ชมพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส, นิทรรศการอวดเก่า, ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองมือนารอ, นิทรรศการ วาดภาพ ระบายสี หน้ากากและตุ๊กตาอาเซียน ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม กิจกรรมสาธิต จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน, พืชผักพื้นบ้าน, ไม้ดอกไม้ประดับผลิตภัณฑ์ช่างทำมือ,ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ผ้าทอ ผ้าถิ่น, การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและดนตรีร่วมสมัย จัดขึ้น ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (หลังเก่า) อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส
ศึกษาแนวทางการผลิตสินค้าเกษตรของฟาร์มฮูแตทูวอ
ด้วยแผนการผลิตของกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ที่จะเริ่มผลิตสินค้าเกษตรในรูปแบบของการเพาะปลูกเชิงระบบ จึงได้ไปที่ฟาร์มตัวอย่างของบ้านฮูแตทูวอ เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการฟาร์ม เพื่อนำมาปรับใช้กับโครงการต่อไป
จากการศึกษาพบว่า มีแผนการผลิตที่ไม่ต่างไปจากแผนงานของหมู่บ้าน เพียงแต่เป็นที่ส่วนกลางและมีการจัดการที่ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการจับจองพื้นที่ จึงสามารถควบคุมการผลิตได้ง่ายกว่า และมีหน่วยที่ทำการตลาดให้หลายหน่วยจึงสามารถขายสินค้าได้ดีกว่า
ต้อนรับ ธกส. จากส่วนกลาง
เมื่อวันที่ 26-27เดือน มกราคม 2561ได้มีเจ้าหน้าที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรจากส่วนกลาง จำนวน 2ท่าน ได้ติดต่อเพื่อที่จะเข้ามาดูการบริหารจัดการของโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ หมู่บ้านวิธีเกษตรแบบพอเพียง และการจัดองค์กรของกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เครือข่าย 3 หมู่บ้าน โดยในวันที่ 26 มกราคม 2561 ได้ร่วมรับฟังการสรุปผลของการดำเนินงานของโครงการ ตลอดจนได้หารือเรื่องของการพัฒนาต่อยอดให้เป็นองค์กรเกษตรเชิงธุรกิจ และในวันที่ 27 มกราคม 2561 ได้นำทั้ง 2 ท่านเดินทางไปยังแปลงผลิตของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ทั้ง 3หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแกแม บ้านไทย อ.ระแงะ และหน่วยทดลองน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์ของบ้านบือแนกาเซ็ง อ.ยี่งอ
จากการลงพื้นที่และได้ร่วมประชุม ส่งผลให้ได้รับคำแนะนำต่างๆเพื่อนำมาต่อยอดแผนการดำเนินงานขององค์กรเพื่อพัฒนาสู้เกษตรเชิงธุรกิจต่อไป
ติดตามจำหน่ายสินค้า (ตลาดโต้รุ่ง)
ปัจจุบันรูปแบบการจำหน่ายสินค้าในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านวิถีเกษตรแบบพอเพียง มีช่องทางการจำหน่ายหลายแบบ เช่น การขายปลีก ซึ่งจะจำหน่ายตั้งแต่ในชุมชน และขยายไปยังระดับอำเภอและจังหวัดตามลำดับ ซึ่งในระดับจังหวัดคือการจำหน่ายในตลาดสด ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งสินค้าที่ออกจำหน่ายในตลาดสดดังกล่าวประกอบไปด้วย พืชกลุ่มผักสวนครับที่มีการผลิตมากในระบบ และเครือข่าย จึงสามารถนำออกจำหน่ายได้ในคราวละมากๆ ซึ่งปัจจุบันความถี่ในการจำหน่ายสินค้าไปยังเขตอำเภอเมือง อยู่ที่ 3 วันต่อครั้ง https://www.youtube.com/watch?v=NDhvImafy1I&t=23s ติดตามหน่วยผลิตปุ๋ยใส้เดือนดิน บ้านไทย
หลังจากที่ขยายเครือข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ไปยังบ้านไทย รวมถึงบ้านไทยไส้เดือน จึงส่งผลให้สินค้าในระบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์มีปุ๋ยไส้เดือนเพิ่มขึ้น และเป็นอีกหนึ่งสินค้าของกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ เครือข่าย 3หมู่บ้าน ปัจจุบันกำลังการผลิตของปุ๋ยไส้เดือนอยู่ที่ประมาณ 1.5 ตันต่อเดือน จึงได้รวมวางแผนการผลิตเพื่อที่จะให้สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของตลาด รวมถึงการวางแผนการตลาดในรูปแบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์
ถ่ายทอดความรู้หมู่บ้านวิทย์ ที่บ้านตอหลัง ต.ตันหยงลิมอ อ.เมือง จ.นราธิวาส
ด้วยทางเกษตร อ.ระแงะ ได้ส่งหนังสือเพื่อให้ไปถ่ายทอดรูปแบบการทำงานของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ สถานที่ บ้านตอหลัง โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 40 รายมาจากหลายๆหมู่บ้านในพื้นที่ของ อ.ระแงะ โดยการถ่ายทอดในครั้งนี้ ได้นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรเกษตรในรูปแบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และเครือข่าย การวางแผนการผลิต การทำการตลาด การบริหารจัดการด้านต่างๆ หลังจากการถ่ายทอดมีกลุ่มเกษตรกรสนใจในรูปแบบการบริหารจัดการในแบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และต้องการให้เจ้าหน้าทีลงไปสำรวจ และจัดองค์กรให้กับกลุ่มของตนเอง
ทำเชื้อชีวภัณฑ์
เพาะเชื้อไตรโคเดอร์มา ด้วยปัญหาด้านการผลิตของสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ในปี2560 เกษตรกรในระบบมักพบปัญหาด้านโรคพื้ชที่เกิดมาจากเชื้อรา และแบคทีเรีย เชื้อไตรโคเดอร์มาเป็นหนึ่งทางออกของการแก้ไขปัญหาอย่างได้พล และสอดคล้องกับแผนดารผลิตในรูปแบบของสินค้าปลอดภัย
จึงได้ขยายเชื้อเพื่อเตรียมพร้อมในการใช้สำหรับแผนการผลิตในฤดูการปัจจุบัน
ติดต่อและประสานงานกับ เกษตร อ.ยี่งอ
ในระหว่าง ห่วงเดือน มกราคม และกุมภาพันธ์ ได้ประสานงานกับสำนักงานเกษตรอำเภอยี่งอบ่อยครั้งเพื่อขับเคลื่อนการจดทะเบียน จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรของสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ในพื้นที่ของ อ.ยี่งอ
จากการดำเนินการ ได้จดทะเบียนเพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นที่เรียบร้อย โดยใช้ชื่อ “วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงพัฒนาประชารัฐ” เป็นชื่อการจดทะเบียน
ลงพื้นที่ติดตามและแก้ไขปัญหาการเพาะปลูก
การลงพื้นที่เพื่อติดตาม และแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรคือ งานหลักที่ปฏิบัติ โดยในหนึ่งอาทิตย์จะมีตารางลงพื้นที่ให้คลอมคลุมทั้ง 3หมู่บ้านและทุกแปลงผลิต อย่างน้อย อาทิตย์ละ 3วัน โดยในห่วงเดือน มกราคมและกุมภาพันธ์ โดยในห่วงนี้ เน้นหนักที่ หมู่ที่ 4บ้านแกแม เนื่องจากเป็นหน่วยที่มีการผลิตมากที่สุด และประสบปัญหาในเรื่องของการผลิตมากที่สุดด้วย
โดยปัญหาที่พบมากคือ เรื่องของแมลงศัตรูพืชที่เริ่มเข้ามาหลังจากหมดฤดูน้ำท่วม และเริ่มจะเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ รองลงมาคือ เรื่องของการวางผังการผลิตที่ยังไม่เข้าที่ จึงเป็นประเด็นที่ต้องแก้ไขปัญหาต่อไป
สำรวจหมู่เพื่อเก็บข้อมูลหมู่บ้านใหม่
ลงพื้นสำรวจหมู่ บ้านลุโบะบือซา อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ตามที่มีสมาชิกในชุมชนเข้ามาขอความช่วยเหลือ ที่
จากการลงพื้นที่พบว่า เกษตรกรที่ลงไปสำรวจ เริ่มมีการจัดตั้งกลุ่มโดยมีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 30ราย กิจกรรมหลักของกลุ่มคือ การผลิตมะนาว และเลี้ยงปลาดุก โดยจากการประเมินขั้นต้นกลุ่มมีศักยภาพในการพัฒนา จึงรอกำหนดตารางเพื่อลงสำรวจละเอียดอีกหนึ่งครั้งเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกต่อไป พัฒนาหน่วยทดลองน้ำหมักและสารชีวภัณฑ์
หน่วยทดลองน้ำหมักและสารชีวภันฑ์ คืออีกหนึ่งกลไกของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ที่จะเป็นหน่วยทดลองการผลิตและใช้น้ำหมัก และสารชีวภัณฑ์เพื่อให้ได้ชุดความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับชุมชนและสภาพพื้นที่ โดยในหน่วยทดลองนี้ มีคุณอับดุลเลาะห์ เป็นผู้รับผิดชอบและทดลองน้ำหมักชนิดต่างๆ จากการผลิตนี้มีการทำน้ำหมักทั้งสิ้นประมาณ 25 ชนิดและได้ทดลองจนได้สูตรที่ชัดเจนแล้ว ประมาณ 17ชนิดน้ำหมัก และ 1สารชีวภัณฑ์ และปัจจุบันกำลังเตรียมขยายผลการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในระบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และลูกข่ายต่อไป
ติดต่อการป้อนสินค้าเข้าโรงครัว โรงพยาบาลระดับอำเภอ
หลังจากที่ได้ประสานงานทางมือถือกับเจ้าหน้าที่โภชนากร รพ.ยี่งอ มาประมาณ 2อาทิตย์ จึงได้เข้าพบในวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2561ที่ฝ่ายโภชนาการ รพ.ยี่งอ โดยมีคุณนิตยา หน.งานโภชนาการต้อนรับ หลังจากที่ได้มีการพูดคุยจึงได้ข้อสรุปว่า ทางโรงพยาบาลมีความต้องการสิ้นค้าเกษตรปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับการผลิตในรูปแบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ จึงได้มีการดิลครั้งที่ 1 และรอนัดดิลอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม
| ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2804] วันที่รายงาน [2/7/2561] | |||
ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2805] วันที่รายงาน [2/7/2561] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2910] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
ติดตามผลการปลูกข้าวหอมกระดังงา
ติดตามผลการปลูกข้าวหอมกระดังงาของสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในส่วนของหมู่บ้านแม่ข่ายลำดับที่ 3คือ บ้านบือแนกาเซ็ง ซึ่งมีพื้นที่การเพาะปลูกประมาณ 4 ไร่ เป็นแปลงลำดับที่ 7 ในส่วนของหมู่บ้านดังกล่าว ในปีนี้เป็นการปลูกข้าวพันธุ์หอมกระดังงา ซึ่งเป็นปีแรกหลังจากที่นาร้างมาหลายปี การเพาะปลูกครั้งนี้มี 2 วัตถุประสงค์ 1 เพาะปลูกเพื่อทดลองปลูกข้าวในพื้นที่ร้าง ซึ่งภายหลังจากการเพาะปลูก ได้รับความสนใจจากโรงพยาบาลในพื้นที่ เพื่อที่จะนำผลผลิตนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการประกอบอาหารให้กับผู้ป่วยต่อไป วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อให้สมาชิกบางส่วนในโครงการ ได้ทดลองรับประทานข้าวที่ปลูกด้วยตนเองซึ่งจะช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการซื้อข้าวสารในครัวเรือน
เกี่ยวข้าวหอมกระดังงาในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์
สมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนทนา รุจิระศักดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นผู้สอนในเรื่องของการปลูกข้าวหอมกระดังงาให้กับสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานทหารในพื้นที่คือ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินกองทัพเรือ ซึ่งได้นำกำลังอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธิน และเยาวชนมาร่วมเกี่ยวข้าวด้วย และโภชนากรจากโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา รวมเกี่ยวข้าวหอมกระดังงาในแปลงผลิตจำนวน 4ไร่ ซึ่งแปลงดังกล่าวเป็นแปลงที่เพาะปลูกในพื้นที่แปลงลำดับที่ 7พื้นที่ขนาดแปลง 4ไร่ของสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ หลังจากการเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตทั้งสิ้น 1.2ตันและจะมีการจัดแบ่งเป็น 3ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1เก็บไว้เป็นพันธุ์ในปีต่อไป ส่วนที่ 2เก็บไว้รับประทานหุงร่วมกับข้าวสายพันธุ์ปกติ ส่วนที่ 3 ที่เหลือจากการแจกจ่ายกับสมาชิกของกลุ่ม เตรียมจำหน่ายให้กับโรงพยาบาล
หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ สนง.พานิชย์จังหวัดนราธิวาส
กลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เครือข่าย 3 หมู่บ้าน ได้รับพื้นที่จำหน่ายสินค้าจาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนราธิวาส ทำเลที่ตั้งคือ ตลาดน้ำโบราณบ้านยะกัง ซึ่งเป็นตลาดน้ำยอดนิยมในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส ให้นำสินค้าเกษตรในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย มาจำหน่ายในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากการเปิดร้านจำหน่ายได้รับความสนใจจากผู้มาเที่ยวตลาดน้ํายะกัง เนื่องจากเป็นสินค้าเกษตรที่ผลิตด้วยวิธีการปลอดภัยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ในการจำหน่ายครั้งนี้ ได้นำสินค้าที่ผลิตจากหมู่บ้านแกนหลักทั้ง 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านแกแม บ้านไทย และบ้านบือแนกาเซ็ง มาจำหน่าย ส่วนใหญ่เป็นผักสวนครัว และแตงโมร่วมด้วย
หมู่บ้านวิทยาศาสตร์จำหน่ายสินค้าในงาน วัฒนาธรรมจังหวัด
ด้วย สวจ.นราธิวาส จัดงาน “ลานวัฒนธรรม วิถีถิ่น วิถีไทย” ครั้งที่ 4ภายใต้โครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส จัดงาน "ลานวัฒนธรรม วิถีถิ่น วิถีไทย” ครั้งที่ 4ภายใต้โครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่ ร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ชมพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส, นิทรรศการอวดเก่า, ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองมือนารอ, นิทรรศการ วาดภาพ ระบายสี หน้ากากและตุ๊กตาอาเซียน ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม กิจกรรมสาธิต จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน, พืชผักพื้นบ้าน, ไม้ดอกไม้ประดับผลิตภัณฑ์ช่างทำมือ,ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ผ้าทอ ผ้าถิ่น, การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและดนตรีร่วมสมัย จัดขึ้น ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (หลังเก่า) อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ดังนั้นทางสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ โดยสมาชิกบ้านไทย ได้ออกร้านจำหน่ายสินค้าในงานดังกล่าวด้วยโดย จำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย ปุ๋ย และน้ำหมักชนิดต่างๆ พร้อมทั้งได้นำสินค้าเกษตรจากทั้ง 3หมู่บ้านแกนหลักมาจำหน่ายเช่นกัน
สำรวจทางเดินน้ำในพื้นที่บ้านแกแม 1 ใน 3 หมู่บ้านแม่ข่าย
หลังจากดำเนินการโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ในพื้นที่บ้านแกแม หมู่ที่ 4 ตำบล ตันหยงมัสอำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาส สมาชิกในโครงการได้เพราะปลูกสินค้าเกษตรทั่วไปตามแผนการปลูก ภายหลังจากการดำเนินงานมาระยะหนึ่งทางกลุ่มได้ประสบปัญหาในเรื่องของ น้ํา ซึ่งโดยปกติในฤดูน้ำท่วม สมาชิกมักประสบปัญหาภาวะน้ำท่วมหนัก และขณะเดียวกันในภาวะแล้งสมาชิกในโครงการ มีปัญหาในเรื่องของน้ำที่จะใช้ในกระบวนการทางการเกษตร ทางคณะกรรมการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ในส่วนของบ้านแกแม จึงได้มีมติ ให้สำรวจทางเดินน้ำ และเขียนแผนที่เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างฝ่ายชะลอน้ำ ในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากได้ข้อสรุปของคณะกรรมการแล้ว จึงได้เริ่มสำรวจร่วมกับคณะกรรมการ เริ่มตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำซึ่งรับน้ำมาจากพื้นที่บ้านไทย และสำรวจทางน้ำทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่การผลิตของสมาชิกในโครงการ ไปจนถึงพื้นที่ปลายน้ำซึ่งเชื่อมต่อกับอีกหมู่บ้านหนึ่ง หลังจากการสำรวจพื้นที่พบว่าทางน้ำมีปัญหาในเรื่องของพื้นที่และทางเดินน้ำที่มีความไม่สมบูรณ จึงได้มาร์คพิกัด และทำข้อสรุปเพื่อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือต่อไป
ถ่ายทอดความรู้สู่หมู่บ้านลุโบะดาโตะ
ด้วยทางวิทยาลัยชุมชนจังหวัดนราธิวาสได้เชิญคณะทำงานของกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงาน และวิทยากรภายในหมู่บ้านวิทยาศาสตร์มาถ่ายทอดให้ความรู้ ตามแบบแผนของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ชุดความรู้การจัดการองค์กรเกษตรพึ่งตนเอง รวมถึงชุดความรู้ต่างๆในการทำเกษตรอินทรีย์ ภายหลังจากได้รับหนังสือ เชิญ จึงได้ไปให้ความรู้ในพื้นที่ดังกล่าวนั่นคือ บ้านลูโบ๊ะดาโต๊ะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสซึ่งใช้ระยะเวลาถ่ายทอด 2วันโดยได้ให้ชุดความรู้ดังนี้ 1การจัดการองค์กรเกษตรพึ่งตนเอง 2การทำน้ำหมักชีวภาพ 3การทำปุ๋ยอินทรีย์ 4การทำปุ๋ยอินทรีย์เคมี 5การทําฮอร์โมนและสารไล่แมลง 6การทำปุ๋ยไส้เดือนดิน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น 50คน โดยการอบรมเป็นการถ่ายทอดเชิงทฤษฎี และปฏิบัติเน้นสอนและให้เกษตรกรผู้รับการอบรมได้ปฏิบัติทดลองทำ หลังจากการจัดกิจกรรมถ่ายทอดดังกล่าว ได้รับความสนใจจากเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องการทำเกษตรกรรมแบบอินทรีย์อยู่แล้ว และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดความรู้จากกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์จะเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นๆต่อไป
สำรวจทางเดินน้ำในพื้นที่ บ้านบือแนกาเซ็ง 1ใน 3 หมู่บ้านแม่ข่าย
การสำรวจปัญหาระบบน้ำทางการเกษตรในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ในเขตพื้นที่บ้านบือแนกาเซ็ง ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
สภาพปัญหา หมู่บ้านบือแนกาเซ็งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ เดิมเข้าร่วมในฐานะหมู่บ้านลูกข่าย โดยได้รับชุดความรู้ต่างๆนการพัฒนาด้านการเกษตร และภายหลังยกระดับเป็นหมู่บ้านแม่ข่าย 1ใน 3หมู่บ้านแกนหลัก สมาชิกในโครงการที่อยู่ในหมู่บ้านดังกล่าวมีทั้งหมด 20 ครัวเรือน ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยเนื่องจาก อาชีพหลักคือการทำสวนยาง ซึ่งเป็นพืชที่มีราคาผันผวนและเกษตรกรเองไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าได้ ส่งผลให้รายได้ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพไม่สม่ำเสมอ และรายได้ตกต่ำ หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ ทางกลุ่มได้ปรับรูปแบบการประกอบอาชีพใหม่ โดยมีการทำแปลงผลิตผักอายุสั้นเกิดขึ้น ซึ่งใช้วิธีการจัดการในรูปแบบของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ จัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้มีความสมบูรณ์ และกาสร้างคุณค่าหรือจุดเด่นของสินค้า คือ การผลิตสินค้าเกษตรที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินการ เกษตรกรได้มีการเปิดพื้นที่ผลิตใหม่ทั้งมด 4 แปลง โดยแต่ละแปลงมีพื้นที่แตกต่างกันไป โดยปัจจุบันแปลงที่กำลังปรับพื้นที่คือ แปลงหมายเลข 4ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณตีนเขา (ละติจูด 641582 ลองติจูต 101.66478 ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 22 เมตร) ในพื้นที่ดังกล่าวนี้มีขนาดพื้นที่ซึ่งสามารถใช้สอยทางการเกษตรได้ประมาณ 4 ไร่เศษ ซึ่งตามแผนการดำเนินงานแปลงผลิตนี้จะเป็นแปลงที่ผลิตสินค้ากลุ่มพืชกินใบและพืชล้มลุก โดยมีปลายทางการจำหน่ายคือ โรงครัวของโรงพยาบาลในพื้นที่ แต่จากการดำเนินงานข้างต้นได้พบปัญหาด้านแหล่งน้ำที่จะใช้ในกระบวนการผลิต
การสำรวจทิศทางน้ำ หลังจากที่ทราบปัญหาดังกล่าว จึงได้ลงพื้นที่สำรวจทางน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งได้เริมเดินเท้าจากแปลงผลิตตามพิกัดเดิมคือ ละติจูด 641582 ลองติจูต 101.66478เดินตามทางเดินน้ำซึ่งมีลักษณะเป็นคูขนาดเล็กเลียบสวนยางขึ้นไปจุดสูงสุดของเขาดังกล่าวจึงพบว่า มีต้นน้ำอยู่ห่างจากแปลงผลิตประมาณ 700 เมตร ซึ่งได้จับพิกัดคือ ละติจูต 641723 ลองติจูต 101.66184 ความสูงจากระดับน้ำทะเล 44 เมตร แบริ่ง 85.5 จากการสอบถามชาวบ้านคนสูงอายุในพื้นที่ ได้ข้อมูลว่า แหล่งน้ำดังกล่าวไม่เคยแห้ง ถึงแม้จะอยู่ในฤดูร้อนก็ยังมีน้ำไหลผ่านตลอด จาการเดินเท้ายังพบอีกว่า ในพิกัด ละติจูต 641624 ลองติจูต 101.666333 ความสูงจากระดับน้ำทะเล 35 เมตร และ พิกัด ละติจูต 641691 ลองติจูต 101.666263 ความสูงจากระดับน้ำทะเล 28 เมตร มีความเหมะสมในการสร้างฝายชะลอน้ำ เนื่องจากมีขนาดพื้นที่กว้าง และยาวตามทางเดินน้ำ อีกทั้งมีลักษณะเป็นแอ่งเหมาะสมในการทำฝายชะลอน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งจะสามารรถกักเก็บน้ำ และส่งผลให้พื้นรอบข้างสามารถทำการเกษตรได้อย่างสะดวกกว่าเดิม
แนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น จากการร่วมประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์บอร์ดใหญ่ และคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน ได้ข้อสรุปดังนี้ เนื่องจากกลุ่มยังไม่มีงบประมาณ การแก้ไขปัญหาที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เช่น การเจาะบาดาล เป็นสิ่งที่กลุ่มไม่สามารถทำได้ จึงได้มีมติไม่เห็นชอบในการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการขุดเจาะบาดาล แต่ทางกลุ่มมีความเห็นว่า การสร้างฝายขนาดเล็กด้วยวัสดุธรรมชาติเดินท่อน้ำจากต้นน้ำ และลากขึ้นมาที่แปลงผลิต และสร้างบ่อพักน้ำเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยทางกลุ่มได้รับความช่วยเหลือเรื่องของท่อน้ำจาก คุณรัชพล ตั้งจิตถนอม ที่ปรึกษาด้านการตลาด และจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 – 3,000 บาทสำหรับทำบ่อพักน้ำที่พิกัด ละติจูด 641582 ลองติจูต 101.66478 ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 22 เมตร เนื่องจากต้นน้ำ กับบ่อพักน้ำ มีความสูงของระดับน้ำทะเลต่างกัน โดนต้นน้ำมีความสูงมากว่า จึงคาดว่า ระยะทาง 700 เมตร จะสามารถดันน้ำให้สามารถส่งถึงบ่อพักน้ำได้
สุ่มตรวจแปลงผลิตในโครงการ และติดตามผลการใช้สารชีวภาพต่างๆ
สุ่มตรวจ และติดตามผลการใช้สารชีวภาพต่างๆของสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการเพาะปลูกปกติของสมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ เน้นการเพาะปลูกโดยใช้สารชีวภาพ เพื่อป้องกัน และไล่แมลงโดยไม่พึ่งยาฆ่าแมลง ซึ่งในการสุ่มตรวจครั้งนี้ได้ลงพื้นที่ในแต่แปลงต่างๆ หนึ่งในแปลงที่น่าสนใจ คือแปลงผลิตลำดับที่ 4 ของหมู่บ้านบือแนกาเซ็ง ซึ่งปลูกฟักทอง โดยใช้สารไล่แมลงชนิดต่างๆที่ผลิตกันในชุมชนเพื่อไล่แมลงรบกวน รวมถึงใช้น้ำหมักชนิดต่างๆเพื่อบำรุงต้นด้วย
ติดตามปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดในทั้ง 3 หมู่บ้านของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์
ติดตามปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดในทั้ง 3 หมู่บ้านของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ โดยปัญหาครั้งนี้สมาชิกในโครงการพบปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่ระบาดในต้นแตงกวา และต้นฟักทอง หลังจากการลงพื้นที่สำรวจ และเก็บตัวอย่างแมลงจึงพบว่าเป็น เต่าแตง จึงได้เก็บตัวอย่างแมลงเพื่อนำไปหาวิธีการจัดการต่อไป ซึ่งการระบาดในครั้งนี้เป็นการระบาดที่หนักกว่าในปีที่ผ่านๆมา ซึ่งอาจจะด้วยปัญหาในเรื่องของ สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการหากินของแมลงรวมถึง ปัญหาอื่นๆด้วยเช่นกัน
ติดตามการจัดการภายหลังการเก็บเกี่ยว
นำข้าวเปลือกพันธุ์หอมกระดังงา ซึ่งเป็นผลผลิตจากหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ไปทดลองสีข้าวในพื้นที่อำเภอตากใบซึ่งเป็นการสีข้าวในรูปแบบซ้อมมือ ซึ่งในพื้นที่อำเภอยี่งอโรงสีทั่วไปไม่สามารถที่จะสีข้าวหอมกระดังงาในรูปแบบขัดเปลือกได้ ซึ้งข้าวหอมกระดังงาผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมรับประทานในลักษณะของข้าวขัดเปลือกเนื่องจากมีคุณประโยชน์สูงกว่าข้าวขัดขาว จึงได้เดินทางกับผู้จัดการกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ไปยังพื้นที่อำเภอตากใบ ซึ่งมีโรงสีที่สามารถสีข้าวหอมกระดังงาในรูปแบบขัดเปลือกได้ จึงได้นำข้าวเปลือกจำนวน 2กระสอบเพื่อทดลองสี และดูผลที่เกิดขึ้นหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จึงจะนำข้าวเปลือกทั้งหมดมาสีต่อไป
แก้ไขปัญหาโรคแมลง
จากปัญหาในเรื่องของแมลงศัตรูพืชระบาดในพื้นที่ของกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ทั้ง 3หมู่บ้านจึงได้เก็บตัวอย่างแมลงซึ่งก็คือ เต่าแตงมา ทดสอบโดยใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัด ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด และมีความเหมาะสมต่อเกษตรกรในการใช้สารชีวภัณฑ์ และการกำจัดโดยด้วยวิธีการไม่ใช่สารเคมีฆ่าแมลง ที่ให้ผลดีที่สุด และปลอดภัยกับเกษตรกร รวมถึงผู้บริโภคด้วย จากการทดลองครั้งนี้พบว่า ชีวภัณฑ์เมธาไรเซียมสามารถที่จะกำจัดแมลงดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องใช้เวลา ถึง 7วัน และความเข้มข้นมากพอ จึงจะส่งผลทำให้แมลงตายได้ จึงได้นำผลการทดสอบในครั้งนี้ไปปรับใช้กับพื้นที่จริงเพื่อบรรเทาปัญหาต่อไป
กิจกรรมกองทุนเมล็ดพันธุ์เป็นปีที่ 3
ดำเนินการกิจกรรมกองทุนเมล็ดพันธุ์เป็นปีที่ 3เนื่องจากว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เป็นเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักสวนครัว และพืชไร่ กลไกกองทุนเมล็ดพันธุ์จึงเป็นหนึ่งในกลไกที่ให้ความช่วยเหลือ และให้ความสะดวกแก่สมาชิกในโครงการได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ที่ มีคุณภาพตลอดจนลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นการซื้อในขณะของกองทุน โดยเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ที่เริ่มต้นเพาะปลูกภายหลังจากน้ำท่วมคือพืชผักต่างๆและข้าวโพด
สร้างฝายชะลอน้ำ (ฝายมีชีวิต)
การสร้างฝายชะลอน้ำครั้งนี้เป็นการตัดสินใจเพื่อให้ได้ประโยชน์กันทั้งชุมชน เนื่องจากพื้นที่สร้างฝายชะลอน้ำเป็นพื้นที่สูง ดังนั้นหลังจากการสร้างฝายชะลอน้ำด้วยวัสดุทางธรรมชาติ จะส่งผลให้พื้นที่รอบข้างของฝ่ายชะลอน้ำอย่างน้อย 2 กิโลเมตรจะเกิดความชุ่มชื่นในดิน ส่งผลให้กระบวนการเพาะปลูกมีคุณภาพมากขึ้น
ด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้เชิญเจ้าหน้าที่งานหมู่วิทยาศาสตร์ ร่วมประชุม เรื่องการนำสินค้าเกษตรเข้าสู่โรงครัวโรงพยาบาลทั้ง 13 อำเภอ โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 3 ในเรื่องของการนำสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร เข้าสู่โรงครัวของโรงพยาบาลทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส โดยกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับความสนใจในเรื่องของวัตถุดิบต่างๆที่ผลิตภายใต้มาตรฐานของกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลจากการประชุมได้รับทราบจำนวนผลผลิตที่ในแต่ละโรงพยาบาลมีความต้องการ จึงได้นำแผนดังกล่าวไปหารือ และประชุมกับคณะกรรมการของกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ต่อไป เพื่อวางแผนกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของปลายทางต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 200,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3057] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
พัฒนาการของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การดำเนินงาน ปีที่ 1 พ.ศ. 2559 (อยู่รอด) เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ลงพื้นที่ สำรวจ หมู่ที่ 4 บ้านแกแม ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ตามหนังสือขอความช่วยเหลือ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558โดยตัวแทนในชุมชน หลังจากได้รับหนังสือดังกล่าว จึงลงไปสำรวจเพื่อหาข้อมูลขั้นต้น พบว่า สมาชิกในชุมชนต้องการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ดังนี้ 1. การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ 2. การลดการใช้สารเคมีและการทำน้ำหมักชีวภาพ 3. เทคโนโลยีในการผลิตพืชผักปลอดสารพิษ 4 .การกำจัดศัตรูพืชโดยใช้วิธีธรรมชาติ
ทางคลินิกเทคโนโลยี จึงได้ดำเนินการ โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพื้นที่ของชุมชนดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหา โดยทำเวทีประชาพิจารณ์ และออกแบบชุดความรู้ต่างๆ ที่เหมาะกับชุมชนดังกล่าวเช่น ชุดความรู้ที่ 1รู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุดความรู้ที่ 2การทำบัญชีครัวเรือน ชุดความรู้ที่ 3การปลูก พืช-ผักสวนครัวและเห็ด ในวิถีเกษตรอินทรีย์ ชุดความรู้ที่ 4การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และน้ำหมักต่างๆ ชุดความรู้ที่ 5การทำปุ๋ยอินทรีย์เคมีเบื้องต้น ชุดความรู้ที่ 6การปลูกผักสวนครัวโดยใช้วัสดุปลูก
จากการดำเนินงานในปีแรกพบว่า มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการจำนวน 54 ครัวเรือน โดยสมาชิกส่วนหนึ่งเป็นเกษตรกรเดิมอยู่แล้ว สมาชิกบางส่วนไม่ได้เป็นเกษตรกร จากการจัดเวทีให้ความรู้ดังกล่าวทำให้สมาชิกบางส่วน ที่ไม่ได้เป็นเกษตรกร สามารถผลิตพืชผักรับประทานเองในครอบครัวได้ ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สำหรับสมาชิกบางส่วนที่เป็นเกษตรกรเดิมอยู่แล้ว เกิดชุดความรู้ใหม่ในการพัฒนากระบวนการผลิตของตนเอง และยังพบว่าจากสมาชิกที่ต่างคนต่างทำกิจกรรมทางการเกษตร ภายหลังจากการร่วมโครงการจึงเกิดการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชน ที่มีความสนใจในกิจกรรมด้านเดียวกัน คือกิจกรรมด้านการเกษตรและการดำเนินการในปีแรกพบว่า สมาชิกในโครงการสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ยครัวเรือนละ
ความรู้ คือ กลไกการส่งมอบความรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด แก่สมาชิกในโครงการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของกิจกรรมการอบรมขนาดใหญ่ การถ่ายทอดความรู้เป็นรายกลุ่ม หรือปัจเจกบุคคล ทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นการติดอาวุธทางปัญญาแก้สมาชิกในโครงการ ตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งก็คือ “สอนวิธีการจับปลา แทนการจับปลาใส่จานให้เกษตรกร” กองทุนเมล็ดพันธุ์คือ กลไกในการช่วยเหลือ ให้สมาชิกในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯได้รับความสะดวกในการทำกิจกรรมทางการเกษตร ในส่วนของต้นน้ำ สามารถใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี มีความเหมาะสมและได้รับอย่างรวดเร็ว ธนาคารปุ๋ยคือ การที่สมาชิกมีส่วนร่วมในการผลิตปุ๋ยร่วมกันทั้งในแง่ของวัตถุดิบและแรงงานและเมื่อปุ๋ยสามารถใช้งานได้สมาชิกมีการแบ่งสรรปันส่วนตามความเหมาะสม โดยได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ และต้นทุนต่ำ
ปีที่ 2 พ.ศ. 2560 (พัฒนา) จากการดำเนินงานในปีที่ 2 ปีแห่งการพัฒนา ทางโครงการได้ออกแบบชุดกิจกรรมต่างๆเพื่อที่จะพัฒนาสมาชิกในโครงการ ให้มีศักยภาพมากขึ้น ไม่ว่าในระดับของกระบวนการผลิตต้นน้ำ คือตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การเพาะปลูก การจัดการต่างๆ กระบวนการกลางน้ำ คือ การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพ และการจำหน่าย กระบวนการปลายน้ำ คือ การนำสินค้าทางการเกษตรเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ทำให้เกษตรกรในโครงการบางส่วนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งด้านต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ได้ในระดับที่มีความเหมาะสมต่อศักยภาพของตนเอง ขณะเดียวกันในปีที่ 2 ทางหมู่บ้านแกแม มีสถานะเตรียมเข้าสู่การเป็นหมู่บ้านแม่ข่าย และได้ถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปยังชุมชนอื่นๆ จึงทำให้มีอีก 2 หมู่บ้านที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นหมู่บ้านลูกข่าย คือ หมู่ที่ 3 บ้านไทย ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และหมู่ที่ 2 บ้านบือแนกาเซ็ง ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยในครั้งแรกของการเข้าร่วม เป็นการเข้ามารับชุดความรู้ต่างๆจากหมู่บ้านแม่ข่าย เพื่อนำไปพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง แต่หลังจากที่ได้มีการพูดคุย และพบปะหารือกันบ่อยครั้งจนตกผลึกความคิดที่ว่า การทำงานด้วยกัน การมีฐานการผลิตด้วยกัน และการทำการตลาดด้วยกัน จะทำให้หมู่บ้านแม่ขาย และหมู่บ้านลูกข่ายสามารถที่จะอยู่รอดและพัฒนาไปเป็นเกษตรเชิงธุรกิจได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดรายได้ที่ต่อเนื่องแก่สมาชิกในชุมชน และนำพาไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงได้ จึงเกิดการรวมกลุ่ม โดยใช้แนวคิดที่ว่า 3 หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (แกแม-บ้านไทย-บือแนกาเซ็ง) จับมือกัน ผลิตสินค้าเกษตร ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ปีที่ 3 พ.ศ. 2561 (ยั่งยืน) ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ มีเป้าหมายหลักเพียง 2 อย่างเท่านั้นเอง ข้อที่ 1 นั่นก็คือ พัฒนาให้สมาชิกในโครงการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเชิงเศรษฐกิจ หมายความว่า มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงๆ อย่างที่2 คือ สมาชิก และองค์กรสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ นั่นหมายความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่ใช่เงื่อนไขของการอยู่รอด แต่เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปเพื่อพัฒนาเท่านั้นเอง หมู่บ้านวิทยาศาสตร์เครือข่าย 3 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วยสมาชิกที่อยู่ในพื้นที่ของ บ้านแกแม บ้านไทย และบ้านบือแนเซง คือ 3 หมู่บ้านแกนหลัก ที่มีความยึดโยง และเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเป็นการรวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของชุดความรู้ การปรึกษาซึ่งกันและกัน การสับเปลี่ยนวัตถุดิบ และปัจจัยการผลิต รวมไปถึงการใช้ชีวิตร่วมกันประดุจดังเครือญาติ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ต่างคนต่างไม่รู้จักมาก่อน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยเงิน แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากว่าทุกคนมีปัญหาร่วมกัน นั่นคือในเรื่องของการแสวงหาความยั่งยืนในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา มีกระบวนการแก้ไขปัญหามากมายในพื้นที่ แต่หลายวิธีการก็ยังไม่ตอบโจทย์ และไม่สามารถที่จะนำพาไปสู่ความยั่งยืนได้ ในปี พ.ศ. 2561 ตลอดระยะเวลา 3 ปีของการดำเนินงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ มีหลายหมู่บ้านที่ได้รับอานิสงส์ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของชุดความรู้ที่กลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เครือข่าย 3 หมู่บ้าน เดินทางไปสอนตามคำเชิญ ไม่ว่าจะเชิญมาจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน หรือกลุ่มชาวบ้านที่ร้องขอ โดยสมาชิกซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้ ไม่เคยปฏิเสธที่จะส่งมอบชุดความรู้ให้กับชุมชนอื่นๆตามความสามารถที่มี ในขณะเดียวกันมีหลายชุมชนที่ขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เครือข่าย 3 หมู่บ้าน แต่ปัจจุบันกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ตอบรับหมู่บ้านใดๆเป็นลูกข่าย หมู่บ้านแห่งที่ 4 อย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องมีการประเมินทั้งศักยภาพบุคคล และลักษณะพื้นที่ แต่ที่สำคัญกว่าพื้นที่นั่นก็คือ ตัวบุคคล วันนี้อาจจะกล่าวได้ว่าโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เน้นในเรื่องของการสร้างแปลงเกษตรเป็นอันดับแรก แต่เน้นในการสร้างคนเกษตรเป็นอันดับแรก เนื่องจากประสบการณ์หลายสิบปีที่ผ่านมา เราเห็นการสร้าง การส่งเสริมทุกๆปี อาทิ สร้างกลุ่มแม่บ้านหรือกลุ่มเกษตรกร สร้างอาคาร ส่งเสริมให้ผลิตและแปรรูปสินค้า แต่ในขณะเดียวกัน เมื่องบประมาณของรัฐหมดลงในแต่ละปีงบประมาณ สิ่งเหล่านั้นก็ยุติลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร และเครื่องมือถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง สาเหตุส่วนหนึ่ง คือกระบวนการพัฒนาที่รวดเร็วจนเกินไป เร็วเกินกว่าความต้องการของผู้รับการพัฒนา สินค้าหลายอย่างไม่สามารถที่จะจำหน่ายได้จริงในท้องตลาด แต่ก็ยังมีการส่งเสริมให้ผลิตและแปรรูปสินค้า เพื่อให้ได้มาซึ่ง ?แน่นอนกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีเจตนารมณ์อย่างนั้น กลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ คือ องค์กรที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อสร้างคนเกษตร แนะนำพาไปสู่การจัดตั้งองค์กรเกษตรพึ่งตนเอง องค์กรที่เห็นความสำคัญของการลุกขึ้นยืนด้วยตนเอง องค์กรที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก และระหว่างชุมชน แต่แน่นอนว่าหลังจากกระบวนการพัฒนาคน ผลที่เกิดขึ้นคือ นำพาไปสู่การพัฒนากระบวนการสร้างแปลง และสินค้าเกษตรเพื่อนำมาสู่รายได้ด้วยเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันกระบวนการเพาะปลูกสินค้าเกษตร เป็นการดำเนินการในลักษณะของเกษตรพื้นบ้าน เนื่องจากศักยภาพของสมาชิกในโครงการยังไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าในรูปแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ได้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้หากการกระบวนการพัฒนายังดำเนินการในองค์กรกลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เครือข่าย 3 หมู่บ้าน เชื่อมั่นว่า กลุ่มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เครือข่าย 3 หมู่บ้านจะเป็นองค์กรหลักในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ที่สามารถตอบโจทย์ให้กับคนในจังหวัดนราธิวาสได้อย่างแน่นอน
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=3058] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=3059] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=3060] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=3061] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=3062] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=3063] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates