หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ | |||||||
2559 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 2016611334501.pdf | 2017741648221.pdf | |||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | ||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1643] วันที่รายงาน [20/6/2559] | ||||||||||
คณะทำงาน หมู่บ้านผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านหนองหม้อแตก (จ.นครปฐม) โดยความร่วมมือระหว่าง มจธ. (คุณวาสนา มานิช และคุณพรรณปพร กองแก้ว) และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์) ลงพื้นที่พูดคุยหารือกับกลุ่มเกษตรกร และ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 (บ้าาหนองหม้อแตก) ถึงแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 4 ปัญหาอุปสรรค : เป็นช่วงฤดูแล้ง การทำแปลงผักต้องอาศัยน้ำชลประทาน แนวทางแก้ไข : วางแผนจัดกิจกรรมอื่นๆ ก่อน อาทิ การให้ความรู้เรื่อง การวิเคราะห์ตัวอย่างดินดิน การดูแลสุขภาพ เป็นต้น ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1644] วันที่รายงาน [20/6/2559] | ||||||||||
โครงการให้ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์คุณภาพดิน
มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 41 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน มจธ. 3 คน คณะทำงาน มรภ.นครปฐม 9 คน เป็นเกษตรกร 29 คน กิจกรรมเริ่มด้วยการแนะนำคณะทำงานของ มจธ. และ มรภ.นครปฐม รวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม จากนั้นเป็นการแจ้งถึงหัวข้อและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในครั้งนี้ คือ
การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้ทำให้เกษตรกรและชาวบ้าน ได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากผลวิเคราะห์คุณภาพดิน (ภาคผนวก ก เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง องค์ประกอบดิน และความสำคัญของการวิเคราะห์ดิน) ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร รวมไปถึงเกษตรกรได้ทราบถึงแนวทางการดูแลสุขภาพจากสารเคมีภาคการเกษตร อาทิ การนำใบรางจืด 7 ใบ มาต้มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มทุกวัน
| ค่าใช้จ่าย : 23,000 จำนวนผู้รับบริการ : 29 ปัญหาอุปสรรค : ชาวบ้านบางรายที่ไม่ได้ปลูกผัก ออกไปรับจ้างตัดแต่งผัก และเก็บกระชาย เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้ไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรมตลอดช่วงกิจกรรม แนวทางแก้ไข : วิทยากรเน้นให้ความรู้ และชี้จุดที่มีความสำคัญ และก่อนสิ้นสุดกิจกรรมได้สรุปในภาพรวมของการจัดการดินและการดูแลสุขภาพ ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1658] วันที่รายงาน [22/6/2559] | ||||||||||
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 คณะทำงานโครงการ (มจธ. และ มรภ.นครปฐม) ได้จัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีของดิน และการเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการวางแผนการปรับปรุงคุณภาพดิน และการใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับผลการวิเคราะห์ดิน ซึ่งกิจกรรมทั้งสองส่วนนี้ยังมีส่วนช่วยในการประหยัดต้นทุนทางการผลิต ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักได้เป็นอย่างดี หัวข้อการอบรมประกอบด้วย 1) การเตรียมสารเคมีเพื่อการวิเคราะห์ 2) ความสำคัญของการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดิน เช่น ความเป็นกรดด่างของดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน การวิเคราะห์ธาตุไนโตรเจนทั้งหมดในดิน การวิเคราะห์ธาตุโพแทสเซียม 3) การแปลผลการวิเคราะห์ดิน เพื่อการเลือกใช้ปุ๋ยเคมี และ 4) การใช้ปุ๋ยสั่งตัดตามค่าการวิเคราะห์ดิน คณะทำงานคาดหวังให้เกิด 1) เกษตรกรและชาวบ้าน ได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากผลวิเคราะห์คุณภาพดิน และ 2) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มทักษะเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการดิน ผลการจัดกิจกรรม เป็นดังนี้
เกษตรกร พืชที่ปลูก อินทรีย์วัตถุ ปริมาณธาตุอาหาร ความเป็นกรด-ด่าง
ภาพรวม | ค่าใช้จ่าย : 18,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : เกษตรกรมีเวลาจำกัด บางรายต้องไปรับจ้างตัดแต่งผัก และทำงานในแปลงของตน แนวทางแก้ไข : เน้นพูดคุยในสาระที่สำคัญ เป็นกลุ่มเล็ก ตามพืชที่ปลูกสำคัญ อาทิ กระชาย ตะไคร้ (ดังภาพ) ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1659] วันที่รายงาน [22/6/2559] | ||||||||||
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 คณะทำงาน มจธ. ลงพื้นที่สำรวจแปลงปลุกพืชของเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการทำแปลงทดลอง จำนวน 4 ราย เพื่อทำแปลงทดสอบเทคโนโลยีโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม PTD ผลงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบแปลงทดลอง ประกอบด้วย 4 แปลง คือ 1. คุณวสันต์ เก้าลิ้มปลูกกระชายอินทรีย์ ในถุงดำ ** มีแนวคิดจะปลูกในถุงดำวางในที่ร่มและกลางแจ้ง อย่างละ 10 ถุง เก็บเกี่ยว 2 ช่วง คือ กระชายอ่อน และกระชายแก่ เก็บข้อมูล 1) การเจริญเติบโต 2) ผลผลิต และ 3) การเกิดโรค ทำการทดลอง 2 กรรมวิธี คือ 1) มูลวัวเก่า +แกลบดำ และ 2) ปุ๋ยหมัก+ แกลบดำ 2. คุณวิศาล เก้าลิ้มปลูกกระชายในแปลง (** คาดว่าจะปลูกปลายนเดือนมิถุนายน ขอพื้นที่ไว้ 3 แถว**) เก็บข้อมูล 1) การเจริญเติบโต 2) ผลผลิต และ 3) การเกิดโรค วางแผนการทดลองแบบ RBCDจำนวน 4 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ คือ 1. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ(Control) 2. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ + ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ 3. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ + ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ + PGPR 4. ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ+ PGPR
3. คุณศรีพิชัย (ต่าย)2 พืช คือ ตะไคร้ และกระชาย(** อาจจะต้องสอนทำสมุนไพรไล่แมลง**) ตะไคร้(**จะปลูกต้นเดือนกรกฏาคม รอต้นพันธุ์ในแปลง**) เก็บข้อมูล 1) ผลผลิต หลังปลูกประมาณ 5 เดือน (ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม) วางแผนการทดลองแบบ RBCDจำนวน 3 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ คือ 1. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ(Control) 2. ใส่ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 50 ของที่เกษตรกรปฏิบัติ + ปุ๋ยหมัก (ร้อยละ 50 ของอัตราแนะนำ) 3. ใส่ปุ๋ยหมัก 100% กระชายแปลงด้านติดริมคลองส่งน้ำ ดินค่อนข้างเป็นทราย ร่องกว้าง 2.5 เมตร * ยาว 15 เมตร ปลูกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 (** นัดใส่ปุ๋ยหมัก + PGPRช่วงเย็นของวันที่จะปลูกตะไคร้**) เก็บข้อมูล 1) การเจริญเติบโต 2) ผลผลิต และ 3) การเกิดโรค วางแผนการทดลองแบบ RBCDจำนวน 4 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ คือ 1. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ Control 2. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ + ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ 3. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ + ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ + PGPR 4. ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ+ PGPR ถั่วลิลงเม็ดใหญ่(**กำลังจะปลูกน่าจะทาบทามทดลองปุ๋ยไรโซเบียม** วางแผนการทดลองแบบ RBCDจำนวน 2 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ เก็บข้อมูล 1) การเจริญเติบโต และ 2) ผลผลิต (อายุเก็บเกี่ยว 90-110 วัน) 1. ใม่ใส่ปุ๋ยไรโซเบียม 2. ใส่ปุ๋ยไรโซเบียม 4. คุณนพรัตน์ ณัฐพูลวัฒน์ปลูกตะไคร้ ตอนนี้อายุประมาณ 1.5 เดือน ใส่ปุ๋ย 25-7-7 อัตรา ½ช้อนโต๊ะ/ต้น ต้นตะไคร้พึ่งตั้งตัวได้ และเริ่มแตกใบใหม่ ขนาดแปลงกว้าง 1.5 เมตร * ยาว 36 เมตร วางแผนการทดลองแบบ RBCDจำนวน 3 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ เก็บข้อมูล 1) ผลผลิต หลังปลูกประมาณ 5 เดือน (ประมาณเดือนกันยายน-ต้นตุลาคม) 1. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ 2. ใส่ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 50 ของที่เกษตรกรปฏิบัติ + ปุ๋ยหมัก (ร้อยละ 50 ของอัตราแนะนำ) 3. ใส่ปุ๋ยหมัก 100% (** ต้องคำนวณปุ๋ยหมัก (ขอ ผญ. วิศาล มีประมาณ 30 กระสอบๆ ละ 30 กิโลกรัม) และปุ๋ยเคมีให้) | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 4 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1704] วันที่รายงาน [30/6/2559] | ||||||||||
รายงานการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบแปลงทดลอง - ปลูกกระชาย คณะทำงานโครงการได้ประสานไปยังเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการทำแปลงทดลอง พัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม จำนวน 2 ราย จาก 4 ราย ในการนี้เพื่อทดลองการจัดการดินและปุ๋ย (ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภัณฑ์ ปุ๋ยเคมี) ในการปลุูกกระชาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบแปลงทดลอง โดยเป็นกิจกรรมที่สืบเนื่องจากการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดิน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างดินมีประมาณอินทรีย์วัตถุค่อนข้างต่ำ คณะทำงานจึงเสริมด้วยการใช้ปุ๋ยหมักที่กลุ่มเกษตรกรผลิตขึ้นมาใช้เพิ่มคุณภาพดิน โดยรายละเอียดเป็น ดังนี้ 1. คุณวิศาล เก้าลิ้ม (ผญ.วิศาล) ปลูกกระชายในแปลง ขนาด 6 * 8 เมตร หรือ 48 ตรม.เก็บข้อมูล 1) การเจริญเติบโต 2) ผลผลิต และ 3) การเกิดโรค โดยวางแผนการทดลองแบบ RBCD จำนวน 4 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ
1. ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ (Control) คือ ปุ๋ยเคมี 21-0-0 จำนวน 200 กรัม/แปลง
2. คุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร (ต่าย) ปลูกกระชายในแปลงที่ติดริมคลองส่งน้ำ ดินค่อนข้างเป็นทราย แปลงกว้าง 2.5 เมตร * ยาว 15 เมตร หรือ 37.5 ตรม. ปลูกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 เก็บข้อมูล 1) การเจริญเติบโต 2) ผลผลิต และ 3) การเกิดโรควางแผนการทดลองแบบ RBCD จำนวน 4 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ (เช่นเดียวกับคุณวิศาล)
สำหรับงานทดลองกับตะไคร้ มี จำนวน 2 ราย คาดว่าจะเริ่มปลูกต้นเดือนกรกฏาคม 2559 ซึ่งจะใช้เวลากว่า 5 เดือน ถึงจะเก็บผลผลิตได้ | ค่าใช้จ่าย : 8,000 จำนวนผู้รับบริการ : 2 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=1731] วันที่รายงาน [4/7/2559] | ||||||||||
วันที่ 1 ก.ค. 59 คณะทำงาน ลงพื้นที่บ้านหนองหม้อแตก เพื่อดำเนินงานแปลงทดลอง 3 ส่วนคือ 1. ปลุูกกระชาย (พันธุ์ กระชายพวง) แปลงทดลองของคุณวิศาล เก้าลิ้ม ที่ใส่ปุ๋ยหมักรองพื้น + PGPR เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 59 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ได้มีการทดลองในส่วนของระยะปลูก คือ 1) ระยะ 7 นิ้ว ตามที่เกษตรกรปฏิบัติ และ 2) ระยะปลูก 15 นิ้ว (คาดหวังว่าจะช่วยลดการเกิดโรคเน่าได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ช่วงที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีๆ บางส่วนที่อาจจะตกลงไปในง่ามใบ มีผลทำให้ใบเน่า อีกทั้งเมื่อต้นกระชายเจริญเติบโตขึ้น ต้นจะค่อนข้างชิดกันมาก แสงแดดส่งไม่ถึง ซึ่งเป็นสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดการระบาดของโรคเน่ามากยิ่งขึ้น (ข้อมูลโดยคุณวิศาล เก้าลิ้ม) ทั้งนี้คาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณเดือนมกราคม 2560 2. ใส่ปุ๋ยแปลงทดลองปลูกตะไคร้ ของคุณนพรัตน์ ณัฐพูลวัฒน์ จำนวน 3 การทดลอง คือ 1) ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ 2) ใส่ปุ๋ยหมัก 100% ตามอัตราแนะนำ + ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ 50% และ 3 ปุ๋ยหมัก 100% ตามอัตราแนะนำ ทั้งนี้คาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนตุลาคม 3. ทดลองปลูกกระชายในถุงดำ (ขนาด 7*14 นิ้ว) โดยแบ่งการทดลอง เป็น 2 ส่วน คือ 1) ใส่ปุ๋ยหมัก + แกลบดำและดินปลูก อัตราส่วน 1 ต่อ 1 2) ใส่มูลวัวเก่า + แกลบดำและดินปลูก อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ทั้งนี้มีการจัดวางถุงดำทั้งในที่ร่วมและกางแดด ด้วยสมมติฐานที่ว่า ก) กระชายเป็นโรครากเน่าโคนเน่า ดังนั้นการปลุูกในถุงดำ อาจจะมีส่วนช่วยกำจัดการระบาดของโรคได้ ข) กระชายโดยทั่วไปจะเจริญเติบโตดีในที่ร่ม อนึ่ง การทดลองนี้ เป็นการหารือร่วมกับเกษตรกรแกนนำ เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับแนวทางการปลุูกกระชายของพื้นที่
| ค่าใช้จ่าย : 6,000 จำนวนผู้รับบริการ : 3 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=1875] วันที่รายงาน [17/8/2559] | ||||||||||
กิจกรรมปลูกตะไคร้แปลงนายศรีพิชัย ศรีสกลุอำพร (ต่าย) วันที่ 10 สิงหาคม 2559
ร่องปลูกกว้าง 1.5 เมตร ยาว 20 เมตร วางแผนการทดลองแบบ RBCD จำนวน 3 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ (ภาพที่ 1) เก็บข้อมูล 1) ผลผลิต หลังปลูกประมาณ 5 เดือน (ปลูกสิงหาคม 2559 เก็บผลผลิตประมาณเดือนธันวาคม 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560) หมายเหตุ กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมัก 72 กิโลกรัม และกรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมัก 33 กิโลกรัม
| ค่าใช้จ่าย : 4,500 จำนวนผู้รับบริการ : 2 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=1876] วันที่รายงาน [17/8/2559] | ||||||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
แปลงทดสอบปลูกกระชาย ร่วมกับปุ๋ยหมัก และ PGPR ในการนี้ ได้ให้คำแนะนำในเบื้องต้นให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี หรือสารชีวภัณฑ์ จากนั้นได้สอบถามกลับไปในวันที่ 16 สิงหาคม เกษตรกรเล่าว่าได้ซื้อสารเคมีมาใช้ (1 ซอง และ 1 ขวด ราคา 600 บาท ภาพที่ 3) ฉีดพ่นไปแล้วเมื่อเช้าวันที่ 11 สิงหาคม แต่ยังพบว่าโรคระบาดไปยังต้นข้างเคียงเล็กน้อย ในรัศมีไม่เกิน 1 เมตร จึงแนะนำให้ฉีดพ่นซ้ำในช่วงเย็นอีก 2 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน
ข้อมูลเพิ่มเติม ประกอบการวิเคราะห์สาเหตุของโรคเน่าในกระชาย
| ค่าใช้จ่าย : 3,000 จำนวนผู้รับบริการ : 2 ปัญหาอุปสรรค : -เกษตรกรไม่ทราบสาเหตของโรคเน่าในกระชายที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจจัดการป้องกันกำจัดโรคได้ถูกต้อง แนวทางแก้ไข : -ให้คำแนะนำ และสอนเทคนิคการตรวจหาสาเหตุของโรคในเบื้องต้น และให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=1877] วันที่รายงาน [17/8/2559] | ||||||||||
แปลงทดสอบปลูกกระชายคุณวิศาล เก้าลิ้ม | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 2 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=1878] วันที่รายงาน [17/8/2559] | ||||||||||
ติดตามงานแปลงทดสอบปลูกตะไคร้ของคุณนพรัตน์ เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 ผสมกับ 21-0-0 อัตรา 1 ต่อ 1 เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2559 ตอนนี้ต้นตะไคร้ อายุ ประมาณกว่า
2 เดือน เจริญเติบโตดี คาดว่าจะเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนตุลาคม 2559 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=1897] วันที่รายงาน [7/9/2559] | ||||||||||
สรุปรายงาน
ตารางที่ 1 ผลวิเคราะห์ตัวอย่างดินของเกษตรกรบ้านหนองหม้อแตก วันที่ 1 กันยายน 2559 หัวข้อที่ 4 ประชุมหารือถึงแนวทางการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก โดย นางวาสนา มานิช และนางสาวพรพิมล สมัครสมาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลที่ได้ คณะทำงานได้หารือที่ประชุมถึงแนวทางการฟื้นฟูการผลิตปุ๋ยหมักที่กลุ่มเกษตรกรเคยทำผ่านมา บางรายที่เคยใช้ปุ๋ยหมักที่กลุ่มผลิต เล่าว่า
“ใช้ได้ดี และอยากใช้อีก อยากให้ผู้ใหญ่ทำอีก และขายในราคาถูกให้กับสมาชิก”
นอกจากนี้ ผญ.วิศาล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คนที่ทำไร่อ้อยเคยเอามูลแพะไปใส่ พบว่าหนูไม่มารบกวน คาดว่าน่าจะเป็นเพราะกลิ่นของมูลแพะ น่าจะมาลองใช้กับแปลงตะไคร้ของบ้านเราได้ เพราะทุกวันนี้หนูเริ่มระบาดและทำความเสียหายมากขึ้น
ผลการประเมินความพึงพอใจจากเกษตรกรผู้ตอบแบบประเมิน 22 คน ผลการประเมินความพึงพอใจ (ตารางที่ 2) กิจกรรมที่ผู้เข้าร่สวกิจกรรมพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ วิทยากร เจ้าหน้าที่ ให้บริการด้วยความยิ้มแย้ม (ร้อยละ 81.82) รองลงมาคือ สถานที่อบรม อาหาร (ร้อยละ 54.55) ขั้นตอนการให้บริการ รวมทั้งเนื้อหาที่วิทยากรสอน (ร้อยละ 45.45)
| ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 12 [IG=1898] วันที่รายงาน [7/9/2559] | ||||||||||
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ ติดตามงานในแปลงทดสอบของเกษตรกร กรณี ปลุกตะไคร้ และกระชาย ของคุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร แปลงตะไคร้ พืชเจริญเติบโตดี แปลงกระชาย พบการระบาดของโรคเน่า จากเชื้อแบคทีเรีย ในเบื้องต้นได้แนะนำให้ขุดต้นที่เป็นโรคออก แล้วนำไปทำลายนอกแปลง จากนั้น โรยด้วยปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อ รวมทั้งแนะนำให้ใช้สารปฏิชีวนะฉีดพ่น เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ คณะทำงาน ได้ประสานไปยังกองอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เพื่อลงพื้นที่สำรวจการระบาดของโรคเน่าในกระชาย เนื่องจากช่วงนี้ พบการระบาดอย่างรุนแรง ในหลายแปลง | ค่าใช้จ่าย : 3,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 13 [IG=1933] วันที่รายงาน [21/9/2559] | ||||||||||
รายงานความก้วหน้าครั้งที่ 1
2. รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้าของการวิจัย
3. ผลการดำเนินงาน
2. อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพดินและการเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้าน ม.4 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 27 คน เป็นเกษตรกร 11 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 12 คน นักวิชาการเกษตรชำนาญการ (สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 2) 1 คน และคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3 คน (ภาพที่ 2) ในการนี้ ได้มีเกษตรกรนำตัวอย่างดินมาตรวจวิเคราะห์ จำนวน 13 ตัวอย่าง (แสดงผลดังตารางที่ 4) ผลในภาพรวม เป็นดังนี้
หัวข้อที่ 4 ประชุมหารือถึงแนวทางการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก โดย นางวาสนา มานิช และนางสาวพรพิมล สมัครสมาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลที่ได้ คณะทำงานได้หารือที่ประชุมถึงแนวทางการฟื้นฟูการผลิตปุ๋ยหมักที่กลุ่มเกษตรกรเคยทำผ่านมา บางรายที่เคยใช้ปุ๋ยหมักที่กลุ่มผลิต เล่าว่า
“ใช้ได้ดี และอยากใช้อีก อยากให้ผู้ใหญ่ทำอีก และขายในราคาถูกให้กับสมาชิก”
นอกจากนี้ ผญ.วิศาล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คนที่ทำไร่อ้อยเคยเอามูลแพะไปใส่ พบว่าหนูไม่มารบกวน คาดว่าน่าจะเป็นเพราะกลิ่นของมูลแพะ น่าจะมาลองใช้กับแปลงตะไคร้ของบ้านเราได้ เพราะทุกวันนี้หนูเริ่มระบาดและทำความเสียหายมากขึ้น
ผลการประเมินความพึงพอใจจากเกษตรกรผู้ตอบแบบประเมิน 22 คน ผลการประเมินความพึงพอใจ (ตารางที่ 6) กิจกรรมที่ผู้เข้าร่สวกิจกรรมพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ วิทยากร เจ้าหน้าที่ ให้บริการด้วยความยิ้มแย้ม (ร้อยละ 81.82) รองลงมาคือ สถานที่อบรม อาหาร (ร้อยละ 54.55) ขั้นตอนการให้บริการ รวมทั้งเนื้อหาที่วิทยากรสอน (ร้อยละ 45.45)
ตารางที่ 6 ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม การทำบัญชีครัวเรือนและต้นทุนอาชีพ การลดความเสี่ยงจากสารเคมีภาคการเกษตร และการหารือเพื่อจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
แปลงทดสอบที่ 2 นางสาวนพรัตน์ ณัฐพูลวัฒน์ พืชทดสอบ ตะไคร้
แปลงทดสอบที่ 3 นายวิศาล เก้าลิ้ม พืชทดสอบ กระชาย
แปลงทดสอบที่ 4 นายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร พืชทดสอบ ตะไคร้
แปลงทดสอบที่ 5 นายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร พืชทดสอบ ถั่วลิสงเม็ดใหญ่
4. งบประมาณที่ได้ใช้จ่ายไปแล้ว นับตั้งแต่เริ่มทำโครงการ (เดือนมีนาคม 2559) เป็นเงินทั้งสิ้น 156,284.62 บาท (ณ วันที่ 21 กันยายน 2559) แสดงดังตารางที่ 7
5. งานตามแผนงานวิจัยโครงการที่จะทำต่อไป
5. คำชี้แจงเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรค และวิธีการแก้ไข | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : -ดังรายงาน แนวทางแก้ไข : -ดังรายงาน ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 14 [IG=1934] วันที่รายงาน [21/9/2559] | ||||||||||
รายละเอีดตามรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1 (ส่งเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 แต่ลืมใส่จำนวน) | ค่าใช้จ่าย : 61,785 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 15 [IG=2153] วันที่รายงาน [17/12/2559] | ||||||||||
รายงานการทดลองในแปลงปลูกกระชาย ของคุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2559 กระชาย (chinese ginger) ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurate (Roxb.) Schltr. ชื่อวงศ์ Zingiberaceae กระชายเป็นพืชพื้นบ้านที่มีการปลูกกระจายทั่วประเทศ เนื่องจากความต้องการบริโภค และใส่ในอาหารหลายชนิดเพื่อช่วยเพิ่มความอร่อย เช่น แกงป่า แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ผัดฉ่าและอื่นๆ กระชายยังเป็นส่วนผสมของเครื่องแกงอย่างแกงส้ม น้ำยาขนมจีน นอกจากนี้ กระชายยังได้รับความนิยมในการนำมาปั่นเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ช่วยให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยอีกด้วย สภาพการจัดเตรียมแปลงปลูก เดิมทีเป็นพื้นที่ปลูกอ้อย ดินค่อนข้างเป็นดินทราย ใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดวัชพืชค่อนข้างมาก กอปรกับราคาอ้อยไม่ค่อยดี เกษตรกรจึงหันมาปลูกพืชอื่นทดแทน ในการปลูกกระชายเกษตรกรจะนำรถไถมาไถดะ ไถแปรปั่นดิน และยกแปลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ร่องกว้างประมาณ 1.5-2 เมตร ความยาวตามพื้นที่ มีส่วนที่เป็นทางเดินและร่องระบายน้ำรอบๆ แปลง จากนั้นจะขุดหลุมปลูกที่มีระยะระหว่างต้นและแถว 15 เซนติเมตร จากนั้นจะนำหัวกระชาย 1 เหง้า (ก่อนปลูกคลุกท่อนพันธุ์ด้วย metalaxyl กันเชื้อรา) วางลงในหลุมปลูก (ภาพที่ 1) คลุมด้วยฟางข้าวให้ทั่วทั้งแปลง รดนํ้าให้ชุ่ม
ช่วงเดือนสิงหาคม 2559 คณะทำงานได้นำตัวอย่างพืชที่เป็นโรคทดสอบสาเหตุของโรคในเบื้องต้นด้วยวิธีตัดเนื้อเยื่อพืชมาแช่น้ำ ผลการทดสอบในเบื้องต้น คาดว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย จากนั้นจึงนำตัวอย่างต้นที่เป็นโรคส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กองอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร) ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทราบเชื้อสาเหตุ คือ เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanaceaerum โดยกลุ่มงานบักเตรีวิทยา (โทร. 02-5798599) คำแนะนำ คือ 1) ขุดต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย และโรยปูนขาว/ ปูนเปลือกหอย และ 2) ใช้สารเคมี-ยาปฏิชีวนะฉีดพ่น
ผลการทดลอง (ภาพที่ 2) เป็นดังนี้
ภาพที่ 2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลผลิตกระชายแปลงทดลองของคุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร
กระชายหัวกุด เป็นเพราะแพ้ราก/เหง้าเก่าอ้อย ต้องเว้นปี จึงจะปลูกได้
ข้อสังเกตของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร
ภาพที่ 3 การระบาดของโรคเน่าในกระชาย อายุ 4 เดือน (บน) และอายุ 7 เดือน (ล่าง)
สิ่งที่สำคัญที่เป็นปัญหาในการปลูกกระชาย คือ โรคต้นล้ม ที่เกิดจากอาการรากเน่า ต้นเน่า ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่ที่สังเกตเห็นได้ง่ายก็อยู่ในช่วงอายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย. หรือในหน้าฝน จะเกิดปัญหาโรคนี้ค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็ต้องฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ จึงมีกระชายเกิดโรคอยู่ในแปลงเป็นหย่อมๆ ซึ่งต้องฉีดพ่นยากันราประคับประคองไปเรื่อยๆจนกว่าจะครบอายุ 6 เดือนที่สามารถขุด
กอที่ T1 ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ + PGPR T2 ใส่ปุ๋ยเคมี 50% ของเกษตรกร + | ค่าใช้จ่าย : 8,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 16 [IG=2154] วันที่รายงาน [17/12/2559] | ||||||||||
ใส่รูปตามรายงานการติดตามงานครั้งที่ 3 (อับโหลดรูปได้เท่านี้ พบ error) | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 17 [IG=2169] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
รายงานการทดลองในแปลงปลูกตะไคร้ ของนางสาวนพรัตน์ ณัฐพูลวัฒน์ ปีเพาะปลูก 2559
ขนาดแปลงกว้าง 1.5 เมตร * ยาว 36 เมตร (54 ตารางเมตร) พันธุ์ เขียวเกษตร เขียวหยวก ปลูก 1 ต้น ต่อ หลุม หรือ ประมาณ 45 ต้น (หลุม) ต่อ แปลง วันที่ปลูก เดือนพฤษภาคม 2559 วางแผนการทดลองแบบ RBCDจำนวน 3 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ (สูตร 25-7-7) อัตรา ½ช้อนโต๊ะ กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 50 ของที่เกษตรกรปฏิบัติ (สูตร 25-7-7) อัตรา 1 ช้อนชา + ปุ๋ยหมัก (ร้อยละ 50 ของอัตราแนะนำ) หรือ 50 กิโลกรัม กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมัก 100% ของอัตราแนะนำ หรือ 100 กิโลกรัม หมายเหตุ ปีที่ผ่านมา เคยทดลองตามกรรมวิธีที่ 2 แล้ว ให้ผลผลิตดี และผลตอบแทนมากที่สุด
- การบำรุงดูแลรักษา เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2559 ใส่ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 อัตรา ½ช้อนโต๊ะ/ต้น สังเกตว่าต้นตะไคร้พึ่งตั้งตัวได้ และเริ่มแตกใบใหม่ - เก็บข้อมูลผลผลิต หลังปลูกประมาณ 5 เดือน (ปลายเดือนตุลาคม – ต้นเดือนพฤศจิกายน) ผลการทดลอง (ภาพที่ 2) เป็นดังนี้ การแตกกอเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจำนวนต้นตะไคร้ต่อกอ ของแต่ละกรรมวิธีพบว่า การแตกกอในกรรมวิธีที่ 3มีจำนวนต้นมากที่สุด คือ 88.80 ต้น/กอ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับกรรมวิธีที่รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 1(73.60ต้น/กอ.) และ กรรมวิธีที่ 2(71.80 ต้น/กอ) ตามลำดับ น้ำหนักต้นตะไคร้ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักต้นตะไคร้ต่อกอ ของแต่ละกรรมวิธีพบว่า น้ำหนักของต้นตะไคร้กรรมวิธีที่ 3มีน้ำหนักสูงสุด คือ 3.96 กิโลกรัม/กอ และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีอื่น ทั้งนี้น้ำหนักผลผลิตรองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 1(3.32 กิโลกรัม/กอ) และกรรมวิธีที่ 2 (3.15 กิโลกรัม/กอ) ตามลำดับ
ภาพที่ 2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลผลิตตะไคร้แปลงปลูกตะไคร้ของคุณนพรัตน์ ณัฐพูลวัฒน์ ปีเพาะปลูก 2559
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 8,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : -พบการระบาดของหนอนเจาะลำต้น ด้วยเพราะเกษตรกรเก็บผลผลิตล่าช้า ตามโควต้าโรงงาน (ถ้าเก็บตามปกติจะพบน้อย หรือไม่พบการระบาด) แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 18 [IG=2170] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
คณะทำงานได้ร่วมทดลองการจัดการปุ๋ย แบ่งเป็น 4 กรรมวิธี ดังนี้
ผลการทดลอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 เป็นดังนี้ ปีเพาะปลูก 2559 เมื่อพิจารณาภาพรวมของการจัดการปุ๋ย พบว่ากรรมวิธีที่ 4 คือ ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรปฏิบัติ ทำให้การเจริญเติบโตของกระชายดีที่สุด อีกทั้งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้กระนั้นก็ตาม ในช่วงดำเนินงานทดลองประสบปัญหาโรครากเน่าระบาดอย่างรุนแรง ยังผลให้ต้นกระชายเน่าและแห้งตายในที่สุด (ภาพ) ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตกระชาย ทั้งนี้เกษตรกรเล่าว่าที่ผ่านมาจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 150 กก. / 1.5 ร่อง ประมาณ 56 ตรม. หรือประมาณ 4 ตัน/ไร่
กระชายหัวกุด เป็นเพราะแพ้ราก/เหง้าเก่าอ้อย ต้องเว้นปี จึงจะปลูกได้
ข้อสังเกตของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร
กอที่ T1 ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ + PGPR T2 ใส่ปุ๋ยเคมี 50% ของเกษตรกร +
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 7,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : สิ่งที่สำคัญที่เป็นปัญหาในการปลูกกระชาย คือ โรคต้นล้ม ที่เกิดจากอาการรากเน่า ต้นเน่า ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่ที่สังเกตเห็นได้ง่ายก็อยู่ในช่วงอายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย. หรือในหน้าฝน จะเกิดปัญหาโรคนี้ค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็ต้องฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ จึงมีกระชายเกิดโรคอยู่ในแปลงเป็นหย่อมๆ ซึ่งต้องฉีดพ่นยากันราประคับประคองไปเรื่อยๆจนกว่าจะครบอายุ 6 เดือนที่สามารถขุดได้ แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 19 [IG=2171] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
แปลงปลูกถั่วลิงสง ของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2559 (เก็บผลผลิต พฤศจิกายน 2559) | ค่าใช้จ่าย : 6,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 20 [IG=2172] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
โครงการให้ความรู้ด้านการจัดการโรคเน่าในกระชาย และแนวทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560 วันพุธที่ 21 ธันวาคม 2559 นางณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล วิทยากรจากกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้บรรยายให้ความรู้เรื่อง โรคเน่าของกระชายและแนวการจัดการโรคกระชาย หัวข้อต่างๆ (ภาคผนวก ก) อาทิ เชื้อสาเหตุ ลักษณะอาการ การดำรงชีวิตของเชื้อ การแพร่ระบาดของเชื้อ พืชอาศัยของเชื้อ แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุม สำหรับปัญหาที่การระบาดของโรคในหมู่บ้าน พบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการปลูกซ้ำในที่เดิม ผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ระยะปลูกที่ชิดเกินไป คือ 10-15 ซม. เท่านั้น ซึ่งระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 25 ซม. ในการนี้ วิทยากรได้เสนอแนวทางการจัดการ เช่น 1) การปลูกพืชหมุนเวียน 2) การคัดท่อนพันธุ์ปลอดโรค และการแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมี 3) การฆ่าเชื้อในบริเวณแปลงที่มีการระบาดของโรคด้วยปุ๋ยยูเรียผสมปูนขาว อัตราส่วน 80:800 กิโลกรัม ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ 4) การตรวจคุณภาพดิน
ลักษณะอาการ
การดำรงชีวิตของเชื้อ
การแพร่ระบาดของเชื้อ
แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุม
4 1 ต้นเป็นโรค 2 3
ถอนต้นทิ้งครั้งที่ 2
| ค่าใช้จ่าย : 15,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 21 [IG=2173] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
ผลการทดลอง เมื่อเดือนธันวาคม จากการทดลองครั้งนี้พบว่า การปลูกกระชายในถุงดำตามกรรมวิธีที่ 4 (ดินปลูกผสมมูลวัวและวางตากแดด) ให้จำนวนหน่อและความยาวได้ดีที่สุด สำหรับน้ำหนักผลผลิตกรรมวิธีที่ 2 (ดินปลูกผสมมูลวัวและวางในที่ร่ม) ให้น้ำหนักมากที่สุด ข้อมูลค่าเฉลี่ยผลผลิตกระชายในถุงดำ คุณวิศาล เก้าลิ้ม เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.59
กรรมวิธี จำนวนหน่อ ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 6,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 22 [IG=2174] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
ปลูกกระชาย ของนายวิศาล เก้าลิ้ม ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2559 - เดือนมกราคม 2560 ขนาดแปลง ปลูกกระชายในแปลง ขนาด 6 * 8 เมตร หรือ 48 ตรม. ระยะระหว่างต้นและแถว 15 และ 30 เซนติเมตร) พันธุ์ พื้นบ้าน (ก่อนปลูกคลุกท่อนพันธุ์ด้วย metalaxylกันเชื้อรา) วางแผน การทดลองแบบ RBCDจำนวน 4 กรรมวิธีๆ ละ 14ซ้ำ (กอ) กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ (100%)+ PGPR[1]คือ (ปุ๋ยหมัก 70 กก./แปลง) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ (100%) + PGPR1 + ปุ๋ยเคมีที่เกษตรปฏิบัติ 50% คือ (ปุ๋ยเคมี 21-0-0 จำนวน 100 กรัม/แปลง + ปุ๋ยหมัก 70 กก./แปลง) กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ 100% + ปุ๋ยเคมีที่เกษตรปฏิบัติ 100% คือ (ปุ๋ยเคมี 21-0-0 จำนวน 200 กรัม/แปลง + ปุ๋ยหมัก 70 กก./แปลง) กรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีที่เกษตรปฏิบัติ (100%)คือ ปุ๋ยเคมี 21-0-0 จำนวน 200 กรัม/แปลง หมายเหตุ ใส่ปุ๋ยหมัก + PGPRเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 และปุ๋ยเคมี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559 เก็บผลผลิต วันที่ 6 มกราคม 2560
ผลการทดลอง ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 15 เซนติเมตร พบว่าการทดลองกรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ (100%)[1] + PGPR + ปุ๋ยเคมีที่เกษตรปฏิบัติ 50%) ให้จำนวนหน่อ (31.86 หน่อ) มากที่สุด และให้ผลทางสถิติเหมือนกับกรรมวิธีที่ 2 (ใส่ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ 100% + ปุ๋ยเคมีที่เกษตรปฏิบัติ 100%[2]) สำหรับน้ำหนักนั้นทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ 3 ให้น้ำหนัก (166.93 กรัม/ต้น) มากที่สุด ในขณะที่ความยาวของเหง้า หรือรากกระชายนั้น กรรมวิธีที่ 3 ให้ความยาวเท่ากับ 10.14 ซม. ซึ่งเป็นค่ามากที่สุด และแตกต่างจากกรรมวิธีอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางภาคผนวกที่ 10) ทั้งนี้ที่ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 30 เซนติเมตร นั้นให้ผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรปฏิบัติ (กรรมวิธีที่ 1) ในอัตรา 200 กรัมต่อแปลง ขนาด 48 ตางเมตร ทำให้ได้จำนวนหน่อมากที่สุด คือ 46.56 หน่อ/ต้น แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น สำหรับน้ำหนักกระชายพบว่าการทดลองกรรมวิธีที่ 1 ให้น้ำหนักมากที่สุดคือ 383.12 อีกทั้งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่นๆ โดยกรรมวิธีที่ให้น้ำหนักรองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 2 (279.62 กรัม) กรรมวิธีที่ 4 (263.44 กรัม) และกรรมวิธที่ 3 (210.62 กรัม) ตามลำดับ ในส่วนของความยาวเหง้าพบว่าการทดลองกรรมวิธีที่ 4 คือ การใช้ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ 100%ทำให้ความยาวของเหง้า หรือรากกระชายมีค่ามากที่สุด คือ 9.92 ซม. แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 (9.63 ซม.) และ กรรมวิธีที่ 3 (9.59 ซม.) ที่ให้ความยาวรองลงมา ตามลำดับ ในทางตรงข้ามพบว่ากรรมวิธีที่ 4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 2 ซึ่งให้ความยาวน้อยที่สุด (ตารางภาคผนวกที่ 11) สรุปได้ว่า ในการปลูกกระชายที่ระยะห่างระห่างต้นและแถว เป็นดังนี้ - ระยะปลูก 15 ซม.การใช้ปุ๋ยเคมีที่เกษตรปฏิบัติเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราปกติ ร่วมกับปุ๋ยหมักตามอัตราแนะนำ และปุ๋ยชีวภาพ PGPR คือ กรรมวิธีที่ 3 มีแนวโน้มทำให้ได้ผลผลิตมากที่สุด (ภาพที่ 7) - สำหรับระยะปลูก 30 ซม.การใช้ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ (กรรมวิธีที่ 1) จะมีส่วนทำให้ได้ผลผลิตมากที่สุด (ภาพที่ 8)
[2]ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรปฏิบัติ คือ 200 กรัม/แปลง ขนาด 48 ตรม.
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 8,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 23 [IG=2175] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
แปลงปลูกตะไคร้ ของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2559 – เดือนกุมภาพันธ์ 2560 ขนาดแปลง 1.5 เมตร ยาว 20 เมตร (30 ตารางเมตร) พันธุ์ เขียวเกษตร เขียวหยวก ปลูก 1 ต้น ต่อ หลุม วางแผน การทดลองแบบ RBCDจำนวน 3 กรรมวิธีๆ ละ 10 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติ (สูตร 25-7-7) อัตรา ½ช้อนโต๊ะ
กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 50 ของที่เกษตรกรปฏิบัติ (สูตร 25-7-7) อัตรา 1 ช้อนชา กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมัก 100% ของอัตราแนะนำ หรือ 100 กิโลกรัม การบำรุงดูแลรักษา เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2559 ใส่ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 อัตรา ½ช้อนโต๊ะ/ต้น สังเกตว่าต้นตะไคร้พึ่งตั้งตัวได้ และเริ่มแตกใบใหม่ เก็บข้อมูลผลผลิต หลังปลูกประมาณ 6เดือน (ประมาณวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560)
ผลการทดลอง การแตกกอเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจำนวนต้นตะไคร้ต่อกอ ของแต่ละกรรมวิธีพบว่า การแตกกอในกรรมวิธีที่ 3มีจำนวนต้นมากที่สุด คือ 94 ต้น/กอ รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 1 (87.45 ต้น/กอ.) และ กรรมวิธีที่ 2(83 ต้น/กอ) ตามลำดับ ทั้งนี้กรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียว) และกรรมวิธีที่ 1 (ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคุญทางสถิติ น้ำหนักต้นตะไคร้ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักต้นตะไคร้ต่อกอ ของแต่ละกรรมวิธีพบว่า กรรมวิธีที่ 3มีน้ำหนักสูงสุด คือ 1.99 กิโลกรัม/กอ และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีอื่น ทั้งนี้น้ำหนักผลผลิตรองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 1(1.70 กิโลกรัม/กอ) และกรรมวิธีที่ 2 (1.59 กิโลกรัม/กอ) ตามลำดับ ผลการทดลองของคุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร คล้ายคลึงกับของคุณนพรัตน์ ณัฐพูลวัฒน์ แต่ให้น้ำหนักน้อยกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตะไคร้ที่ปลูกในฤดูหนาว มักเจริญเติบโตช้ากว่าตะไคร้ที่ปลูกช่วงฤดูฝน
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 6,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 24 [IG=2176] วันที่รายงาน [3/3/2560] | ||||||||||
บทที่ 1 รายละเอียดโครงการ
1.1 ข้อเสนอโครงการที่ได้รับการอนุมัติ
5 หลักการและเหตุผล
5.2 เหตุผล ความต้องการหรือประเด็นปัญหาที่ต้องการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปแก้ไขหรือพัฒนาหมู่บ้าน
และ 2) ผลการสำรวจข้อมูลความต้องการเข้ารับการฝึกอบรมเทคโนโลยีด้านการผลิตพืชของเกษตรกรบ้านหนองหม้อแตก และหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีบริบทชุมชนคล้ายคลึงกัน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่ 10 ทำให้ทราบถึงความต้องการ 3 อันดับแรก คือ 1) การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากพืช ผลไม้ สัตว์ 2) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์-เคมีอัดเม็ด และ 3) ปลูกพืชอินทรีย์
“การไม่มีอินทรียวัตถุในดิน ผลเสียที่ตามมาคือ คุณภาพดิน ความเป็นกรด และผลผลิตพืช ผลการดำเนินโครงการ การสำรวจข้อมูล และแนวคิดที่ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรแกนนำ คณะทำงานจึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการ “หมู่บ้านผลิตพืชผักปลอดสาร บ้านหนองหม้อแตก” ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อยอดโครงการเดิมในการทำธุรกิจกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยหมัก และอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช เช่น การจัดการดินและปุ๋ย การใช้ศัตรูพืชแบบผสมผสาน (อาทิ การผลิตสารสกัดสมุนไพร การใช้สารชีวภัณฑ์ ฯลฯ) การทำบัญชีต้นทุนการผลิต เป็นต้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรที่มีองค์ความรู้ และจัดการปัญหาของตนเองได้อย่างยั่งยืน ในขณะที่หมู่บ้านหนองหม้อแตกจะเป็นต้นแบบของการนำความรู้ทางวิชาการ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตปัจจัยการผลิต และเป็นแหล่งผลผลิตพืชผักปลอดสารคุณภาพดี ทั้งนี้คณะทำงานโครงการจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้ความรู้ คำปรึกษา และร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ บนฐานการจัดการทรัพยากรชุมชน และด้วยฐานคิดของความเป็นเหตุเป็นผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
6 วัตถุประสงค์
ภาพที่ 1 แนวคิดในการพัฒนาหมู่บ้านผลิตพืชผักปลอดสาร บ้านหนองหม้อแตก
9 ระยะเวลาดำเนินการ
ปีที่ ทรัพยากร
ปีที่ ทรัพยากร
ปีที่ ทรัพยากร
ปีที่ ทรัพยากร
ปีที่ ทรัพยากร
กิจกรรมหลัก ระยะเวลา (ปี)
ตารางที่ 3 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน
ชื่อหน่วยงาน/สถาบันการศึกษา รูปแบบการสนับสนุน
ตารางที่ 4 แผนการดำเนินงานหมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2559
กิจกรรม
6. รายงานความก้าวหน้า/ฉบับสมบูรณ์ (และค่าหักเข้าสนับสนุนมหาวิทยาลัย) 35,000
ตารางที่ 5 เป้าหมายผลผลิต/ผลลัพธ์ และตัวชี้วัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2561
ผลผลิต/ผลลัพธ์ หน่วย ข้อมูลพื้นฐาน** ค่าเป้าหมายแต่ละปี หมายเหตุ
14 ผลกระทบ
รายการค่าใช้จ่ายตามกิจกรรมที่ระบุไว้ในข้อ 10 จำนวนเงิน หมายเหตุ ขอถัวจ่ายทุกรายการ
17 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ:
ลงชื่อ .........................................
ลำดับ ชื่อ-สกุล ที่อยู่ อาชีพ/พืชที่ปลูก
2.1 กิจกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กิจกรรมหลัก คือ การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 5 ครั้ง
ครั้งที่ 2 โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพดินและการเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้าน หมู่ 4 (บ้านหนองหม้อแตก) ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
ครั้งที่ 3 การทำบัญชีครัวเรือนและต้นทุนอาชีพ การลดความเสี่ยงจากสารเคมีภาคการเกษตร และการหารือเพื่อจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 (บ้านหนองหม้อแตก) ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ครั้งที่ 4 จากการประชุมครั้งที่ 3 ได้เสนอให้มีการประชุมเพื่อลงหุ้น ในวันที่ 9 กันยายน 2559 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ระหว่างเวลา 10.00 – 12.00 น. เพื่อจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยชุมชน
ครั้งที่ 5 โครงการให้ความรู้ด้านการจัดการโรคเน่าในกระชาย และแนวทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560 วันพุธที่ 21 ธันวาคม 2559 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 (บ้านหนองหม้อแตก) ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีนางณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล วิทยากรจากกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้บรรยายให้ความรู้เรื่อง โรคเน่าของกระชายและแนวการจัดการโรคกระชาย หัวข้อต่างๆ (ภาคผนวก ค) อาทิ เชื้อสาเหตุ ลักษณะอาการ การดำรงชีวิตของเชื้อ การแพร่ระบาดของเชื้อ พืชอาศัยของเชื้อ แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุม
แปลงทดลองที่ 2 แปลงปลูกกระชาย ของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน 2559
แปลงทดลองที่ 4 แปลงปลูกถั่วลิงสง ของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ระหว่างเดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม 2559 (วันที่ 25 สิงหาคม 2559 - วันที่ 30 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2559)
แปลงทดลองที่ 5 แปลงปลูกกระชาย ของนายวิศาล เก้าลิ้ม ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2559 - เดือนมกราคม 2560
แปลงทดลองที่ 6 แปลงปลูกตะไคร้ ของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2559 – เดือนกุมภาพันธ์ 2560
ผลการดำเนินงานกิจกรรมหลัก คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 5 ครั้ง
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 3
นอกจากนี้ ผญ.วิศาล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คนที่ทำไร่อ้อยเคยเอามูลแพะไปใส่ พบว่าหนูไม่มารบกวน คาดว่าน่าจะเป็นเพราะกลิ่นของมูลแพะ น่าจะมาลองใช้กับแปลงตะไคร้ของบ้านเราได้ เพราะทุกวันนี้หนูเริ่มระบาดและทำความเสียหายมากขึ้น
ผลการประเมินความพึงพอใจจากเกษตรกรผู้ตอบแบบประเมิน 22 คน ผลการประเมินความพึงพอใจ (ตารางภาคผนวกที่ 4) กิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ วิทยากร เจ้าหน้าที่ ให้บริการด้วยความยิ้มแย้ม (ร้อยละ 81.82) รองลงมาคือ สถานที่อบรม อาหาร (ร้อยละ 54.55) ขั้นตอนการให้บริการ รวมทั้งเนื้อหาที่วิทยากรสอน (ร้อยละ 45.45)
ครั้งที่ 4
ครั้งที่ 5
ภาพที่ 3 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลผลิตกระชายแปลงทดลองของคุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร
ภาพที่ 4 การระบาดของโรคเน่าในกระชาย อายุ 4 เดือน (บน) และอายุ 7 เดือน (ล่าง)
ปีเพาะปลูก 2559 เมื่อพิจารณาภาพรวมของการจัดการปุ๋ย พบว่ากรรมวิธีที่ 4 คือ ใส่ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรปฏิบัติ ทำให้การเจริญเติบโตของกระชายดีที่สุด อีกทั้งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
กระชายหัวกุด เป็นเพราะแพ้ราก/เหง้าเก่าอ้อย ต้องเว้นปี จึงจะปลูกได้
แปลงทดลองที่ 3 การปลูกกระชายในถุงดำ ของนายวิศาล เก้าลิ้ม
แปลงทดลองที่ 4 แปลงปลูกถั่วลิงสง ของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2559
ภาพที่ 7 ผลผลิตกระชายที่ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 15 เซนติเมตร
แปลงทดลองที่ 6 แปลงปลูกตะไคร้ ของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ดำเนินงานต่างๆ (ตารางภาคผนวกที่ 12) เป็นดังนี้ ผู้เข้ารับการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี (กิจกรรมหลัก) กิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี 5 กิจกรรม พบว่ากิจกรรมที่มีเกษตรกรเข้ารับการอบรม รวมทั้งสิ้น 63 คน ผู้เข้าร่วมดำเนินงานแปลงสาธิต (กิจกรรมรอง) จำนวน 3 ราย และคณะกรรมการกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก จำนวน 11 คน 5.1 สรุปผลการดำเนินโครงการ
ตารางที่ 5.1 ผลผลิตโครงการตามข้อเสนอ
เรียบเรียงและจัดทำโดย
พรรณปพร กองแก้ว และวาสนา มานิช
อนินทรียวัตถุ ได้แก่ ส่วนของแร่ต่างๆ ภายในหิน ซึ่งผุพังสึกกร่อนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ความสำคัญของการวิเคราะห์ดิน
การเก็บตัวอย่างดินมาตรวจ
วิธีการเก็บตัวอย่างดิน
สำหรับจุดที่จะเก็บตัวอย่างดินสวนไม้ผล (ภาพที่ 2)
แสดงจุดเก็บตัวอย่างดินรอบทรงพุ่มไม้ผล
2. วิธีเก็บตัวอย่างดิน (ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 วิธีเก็บตัวอย่างดิน
3. การเตรียมตัวอย่างดินเพื่อส่งไปวิเคราะห์
คำแนะนำ และข้อควรระวัง
บันทึก
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรียบเรียงและจัดทำโดย
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/3/science/bio3/natural-agri2.htm
หลักการวิเคราะห์ดิน หลักการสำคัญในการวิเคราะห์ดินมี 2 ประการ คือ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ดิน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ดิน
ตารางที่ 1 วิธีการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินจากผลการวิเคราะห์ดิน
ระดับความ อุดมสมบูรณ์ ของดิน ปริมาณ อินทรียวัตถุ วิธีประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้วิธีการให้คะแนน (ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บในตาราง ) ถ้าคะแนนเท่ากับ 7 หรือน้อยกว่าถือว่าดินมีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ถ้าคะแนนอยู่ระหว่าง 8-12 ถือว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ถ้าคะแนนเท่ากับ 13 หรือมากกว่า ถือว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง
ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช ยังช่วยลดต้นทุนในการปุ๋ยอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก ค
โรคเหี่ยวหรือโรคเน่าของกระชายและแนวทางในการป้องกันกำจัด
ลักษณะอาการ
การดำรงชีวิตของเชื้อ
การแพร่ระบาดของเชื้อ
แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุม
4 1 ต้นเป็นโรค 2 3
ถอนต้นทิ้งครั้งที่ 2
ครั้งที่ 1
10.00 – 10.30 น. ลงทะเบียนรับเอกสารและอาหารว่าง
เวลา หัวข้อ วิทยากร
เวลา หัวข้อ วิทยากร
เวลา หัวข้อ วิทยากร
ครั้งที่ 5
เวลา หัวข้อ วิทยากร
เกษตรกร พืชที่ปลูก อินทรีย์วัตถุ ปริมาณธาตุอาหาร ความเป็น
เกษตรกร พืช อินทรีย์
รายการ ระดับความพึงพอใจ
กอที่ T1 ปุ๋ยหมักอัตราแนะนำ + PGPR T2 ใส่ปุ๋ยเคมี 50% ของเกษตรกร +
กรรมวิธี จำนวนหน่อ ตารางภาคผนวกที่ 8 เปรียบเทียบผลผลิตเฉลี่ยจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมกับการปลูกถั่วลิสง ปีเพาะปลูก 2559
กรรมวิธี จำนวนฝัก (ฝัก) น้ำหนักรวมฝัก (กรัม) น้ำหนักต้น (กรัม)
ตารางภาคผนวกที่ 9 การเปรียบเทียบทางสถิติของผลผลิตถั่วลิสงระหว่างการใช้และไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ปีเพาะปลูก 2559
กรรมวิธี จำนวนหน่อ ตารางภาคผนวกที่ 11 เปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติของผลผลิตกระชาย ของนายวิศาล เก้าลิ้ม ปีเพาะปลูก 2559 ที่ระยะระหว่างต้นและแถว 30 เซนติเมตร
กรรมวิธี จำนวนหน่อ
ตารางภาคผนวกที่ 12 รายชื่อเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ (ตัวเลขในวงเล็บ คือ ผลตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด) ของโครงการหมู่บ้านผลิตพืชผักปลอดสาร บ้านหนองหม้อแตก ปีงบประมาณ 2559
| ค่าใช้จ่าย : 28,715 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
2560 | 250,000|232,000|144,000|88,000 | 2017451031431.pdf | 20182281153481.pdf | |||||||
รายงานผลการดำเนินงาน | ||||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2217] วันที่รายงาน [5/4/2560] | ||||||||||
เมือวันที่ 17 มีนาคม 2560 คณะทำงานโครงการ มจธ. 2 ท่าน คือ นางพรรณปพร กองแก้ว และนางวาสนา มานิช ร่วมกับตัวแทนคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2 ท่าน คือ รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ และ ผศ.ดร.พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์ ได้ประชุมสรุปผลการทำงานในปีที่ 1 และวางแผนการดำเนินงานโครงการ ในปีที่ 2 (พ.ศ.2560) รวมทั้งได้ลงพื้นที่กับแกนนำเกษตรกรคือ นายวิศาล เก้าลิ้ม และนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร เพื่อสรุปงานและวางแผนงาน ประกอบด้วย 1) แปลงทดลอง 2) การพัฒนากลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยหมัก 3) การประเมินผลการตรวจสารเคมีในเลือด และอื่นๆ
| ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2222] วันที่รายงาน [5/4/2560] | ||||||||||
คณะทำงาน มจธ. และเกษตรกร คือ นายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร เจ้าของแปลงทดลอง ปลูกกระชายปลอดโรค ได้ลงพื้นที่ปลูกกระชายภายหลังจากการเตรียมดิน ตามคำแนะนำของนักวิชาการเกษตร (ผอ.ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล) กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาอารักขาพืช คือ ใช้ปูนขาวผสมกับปุ๋ยยูเรีย อัตราส่วน 800 กก. ต่อ 80 กก. ต่่อพื้นที่ 1 ไร่ หว่านให้ทั่วแปลงทดลอง จากนั้นไถกลบ ให้น้ำพอชุ่ม ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ จากนั้นจึงขึ้นร่องปลูก กว้าง 1.5 เมตร ยาว 60 เมตร นอกจากนี้ ก่อนปลูก จะนำหัวเชื้อ BS DOA 24 ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย สายพันธุ์ Bacillus subtilis มาละลายน้ำ อัตราส่วน 50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร แช่ท่อนพันธุ์กระชาย นาน 30 นาที จึงนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปปลุูกได้ แปลงทดลองนี้ใช้พื้นที่ 2 งาน จากแปลงใหญ่ 6 งาน
| ค่าใช้จ่าย : 8,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2223] วันที่รายงาน [5/4/2560] | ||||||||||
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 คณะทำงาน ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดิน แปลงทดลองของนายวิศาล เก้าลิ้ม ขนาดพื้นที่ 2 งาน เพื่อทำแปลงทดลองปลุูกกระชายปลอดโรค เป็นแปลงที่ 2 จากนี้จะดำเนินงาน เตรียมแปลงเช่นเดียวกับของนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2239] วันที่รายงาน [16/5/2560] | ||||||||||
วันที่ 16 พค. 60 ติดตามงาน แปลงสาธิตปลูกกระชายปลอดโรค พบว่าต้นกระชาย (ที่ปลูกไปเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 60) เริ่มงอกเป็นหน่อเข็มขนาดเล็ก ยาวประมาณ 5-10 ซม. ในการนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้นำสารชีวภัณฑ์ BS มาให้ฉีดพ่นทุกเดือน (เดือนละครั้ง จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต) โดยเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 60 ท่่ผ่านมา เกษตรกรคือ นายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ได้ฉีดพ่นเป็นครั้งที่ 1 โดยใช้เครื่องพ่นยา ขนาด 25 ลิตร ที่ปรับหัวฉีดให้หยาบ หรือกว้างขึ้น เพื่อป้องกันหัวฉีดอุดตัน โดยร่องขนาดยาว 64 เมตร ใช้เวลาฉีดประมาณ 5 นาที นอกจากนี้ เกษตรกรได้ทดลองปลูกถั่วลิสงคลุกเชื้อไรโซเบียม พบว่าถั่วลิสงให้ผลผลิตดีเช่นปีที่ผ่านมา สำหรับการทดลองอื่นๆ ที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1) การใช้ปุ๋ยหมัก (250 กก.) ร่วมกับ PGPR ในการปลูกอ้อย จำนวน 2 งาน และ 2) การใช้ส่วนผสมของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักในการปลูก ตะไคร้ จำนวน 3 กรรมวิธี (ทำซ้ำ การทดลองเดิมในปีที่ผ่านมา) อนึ่งด้วยพื้นที่ปลูกดินเป็นทรายจัด พบอาการขาดธาตุสังกะสี ใบเหลืองซีด จึงแนะนำให้ฉีดพ่นทางใบ พบว่าต้นพืชแสเงอาการน้อยลง ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : ฝนตกค่อนข้างมาก จึงยังไม่สามารถดำเนินงานแปลงทดลองเพิ่มเติมได้ แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=2278] วันที่รายงาน [30/6/2560] | ||||||||||
รายงานจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด
ผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มปุ๋ยหนองหม้อแตก รวมใจพัฒนา และเกษตรกรที่สนใจ เข้าร่วมอบรม จำนวน 11 คน (รายชื่อตามเอกสารแนบ) คณะทำงาน มจธ. 1 คน (นางวาสนา มานิช) และ มรภ. นครปฐม 1 คน (รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์) รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งสิ้น 13 คน
ประเด็นที่ 2 ผลของปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ต่อคุณค่าทางโภชนาการของพืชผัก โดยได้รับความรู้จาก รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ ว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีส่วนช่วยให้เพิ่มคุณค่าของสารอาหารมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สืบเนื่องจากคณะทำงาน คือ ผศ.ดร.พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กล่าวไว้ว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักจะมีส่วนช่วยให้อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น ทั้งในส่วนของสารอาหาร สาระสำคัญ และสารออกฤทธิ์ของสมุนไพรที่มีผลต่อสุขภาพ ทั้งนี้อัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมขึ้นกับพืชแต่ละชนิด ในเบื้องต้นที่ประชุมได้เสนอให้มีการทำแปลงทดลอง เรื่อง ผลของปุ๋ยหมักต่อสารอาหารสำคัญของแก่นตะวัน (มีสารออกฤทธิ์ต่อโรคเบาหวาน) หัวใช้รับประทานสดเป็นผัก ใช้ทำขนมหรือต้มรับประทาน ภายในหัวมีน้ำ ร้อยละ 80 และคาร์โบไฮเดรต ประมาณ ร้อยละ 18 โดยคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่เป็นอินนูลิน (Inulin) เป็นสารเยื่อใยอาหารที่ให้ความหวาน จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก อยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานานทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารได้น้อย ช่วยลดความอ้วนและป้องกันโรคเบาหวาน ในเชิงอุตสาหกรรมใช้หัวแก่นตะวันเป็นวัตถุดิบสำหรับสกัดน้ำตาลอินนูลินได้ ทั้งนี้ คณะทำงานของ มรภ.นครปฐม รับจัดหาหัวพันธุ์แก่นตะวันในการทดลอง เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคือ นางสาวอรุณี อำนวยทรัพย์ การทดลองแบ่งเป็น 4 กรรมวิธี ๆ ละ 3 ซ้ำ (แปลงย่อยขนาด 2 X 4 เมตร)
การติดตามงานแปลงทดลอง (28 มิถุนายน 2560)
รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรรม วันที่ 28 มิถุนายน 2560 | ค่าใช้จ่าย : 11,000 จำนวนผู้รับบริการ : 13 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=2279] วันที่รายงาน [30/6/2560] | ||||||||||
รายงานการประชุมถอดบทเรียนและวางแผนโครงการ
ลำดับ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง/ที่อยู่ หมายเหตุ ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 12 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=2280] วันที่รายงาน [30/6/2560] | ||||||||||
แปลงทดลอง คุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร แปลงทดลองที่ 3 อ้อยตอรุ่น 3 พันธุ์ลำปาง 11 (รสชาติหวาน) + PGPR ของข้าวโพด ข้าวฟ่าง
แปลงทดลองที่ 4 ถั่วลิสง (เป็นการทดลองซ้ำเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง) ต้นถั่วลิสงเจริญเติบโตดี ส่วนหนึ่งเพราะฝนตกนานกว่า 1 เดือน และเริ่มออกแล้ว เกษตรกรเกรงว่าจะงามแต่ต้น แต่ผลผลิตไม่ดี (ธรรมชาติต้นไม้จะเป็นแบบนี้) คาดว่าจะเก็บผลผลิต เดือนปลายเดือนกรกฏาคม 2560 ข้อสังเกต เกษตรกรสนใจทำปุ๋ยหมัก แต่ขอดูการจัดสรรพื้นที่ก่อน ด้วยเพราะมีเศษต้นพืชหลังเก็บเกี่ยว อาทิ ถั่วลิสง ตะไคร้ กะเพรา โหระพา แต่ด้วยเศษพืชมีขนาดใหญ่ และไม่มีแรงงานสับย่อย กอรกับบ้านข้างเคียงทำก้อนเห็ดใช้แล้ว จึงต้องการเครื่องย่อยเศษพืชเพื่อลดเวลาและแรงงานในการกองปุ๋ยหมัก
| ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=2281] วันที่รายงาน [30/6/2560] | ||||||||||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=2282] วันที่รายงาน [30/6/2560] | ||||||||||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=2422] วันที่รายงาน [31/7/2560] | ||||||||||
รายงานจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
ผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วยเกษตรกรบ้านหนองหม้อแตก และเกษตรกรที่สนใจ จำนวน 68 คน (รายชื่อตามเอกสารแนบ) คณะทำงาน มจธ. 1 คน (นางวาสนา มานิช) และ มรภ. นครปฐม 1 คน (รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์) รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 70 คน
ในการนี้ รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ ได้หารือการดำเนินงานโครงการ เพื่อต่อยอดการอบรม GAP ในครั้งนี้ รวมทั้งภารกิจอื่นๆ ทีคณะกรรมการตรวจประเมินให้คำแนะนำไว้ (เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2559) ดังนี้
ผลประเมินการอบรมให้ความรู้ เรื่อง หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 35,000 จำนวนผู้รับบริการ : 68 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=2423] วันที่รายงาน [31/7/2560] | ||||||||||
รายงานแปลงทดลองใช้ไรโซเบียมในถั่วลิสง คุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2560
กรรมวิธี
กรรมวิธี จำนวนฝัก ตารางที่ 2 ผลผลิตถั่วลิสงเฉลี่ยต่อต้นต่อหลุม แปลงทดลอง คุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2560
กรรมวิธี จำนวนฝัก แม้กระนั้นก็ตาม เมื่อพิจารณาผลผลิตถั่วลิสงเฉลี่ยต่อต้นต่อหลุม พบว่าทั้งฝักใหญ่และฝักเล็กกรรมวิธีที่ 1 ให้ผลผลิตมากกว่ากรรมวิธีที่ 2 ทั้งนี้การทดลองทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฝนตกค่อนข้างหนักในเดือนมิถุนายน (ภาพที่ 1) ต้นพืชมีการเจริญเติบโตทางความสูงต้น (vegetative stage) มากกว่าเน้นสร้างผลผลิต (Reproductive stage) โดยถั่วลิสงฝักใหญ่มีความสูง (ภาพที่ 2) ระหว่าง 117.10 – 145.60 ซม. และถั่วลิสงฝักเล็ก เท่ากับ 107.10 – 132.59 ซม. ทั้งนี้เกษตรกรให้ข้อสังเกตว่าต้นที่อยู่บริเวณที่ดอน จะมีความสูงต้นค่อนข้างน้อย และให้ผลผลิตมากกว่าต้นที่อยู่ในที่ลุ่ม
ภาพที่ 1 ต้นถั่วลิสง อายุ 1 เดือน (ซ้าย) อายุ 1 ¾ เดือน (กลาง) และฝักถั่วลิสงที่เก็บผลผลิต อายุ 3 เดือน
| ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 1 ปัญหาอุปสรรค : ฝนตกค่อนข้างหนัก ต้นถั่วลิสงเจริญเติบโตทางลำต้นมากกว่าให้ผลผลิต แนวทางแก้ไข : ให้คำแนะนำด้านการปรับพืนที่ให้น้ำระบายออกดีขึ้น ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 12 [IG=2442] วันที่รายงาน [28/8/2560] | ||||||||||
รายงานผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 49 คน เป็นคณะทำงาน 1 คน (มจธ.) และวิทยากร 3 คน (มรภ.นครปฐม) นักศึกษาช่วยงาน 9 คน และเกษตรกร 36 คน (รายชื่อตามเอกสารแนบ 1)
หัวข้อที่ 1 การเพาะเลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน โดยวิทยากรคือ อาจารย์วนิดา ชัยชนะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
วิธีเลี้ยงไส้เดือนดิน
การทำน้ำหมักมูลไส้เดือน
ปัญหาและอุปสรรคในการทำบัญชี อาทิ ไม่เข้าใจระบบบัญชี ขาดทักษะ ขาดความรู้ ความเข้าใจ ข้อเสนอแนะในการทำบัญชีครัวเรือน ได้แก่
ข้อคิดเห็น คือ อยากให้มีการอบรมอีก ตารางที่ 1 รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเลี้ยงไส้เดือนกำจัดขยะอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน และการทำบัญชีครัวเรือนและต้นทุนอาชีพ วันที่ 18 สิงหาคม 2560
ชื่อ-สกุล ที่อยู่ พืชที่ปลูกมากสุด พื้นที่ (ไร่)
ชื่อ-สกุล ที่อยู่ พืชที่ปลูกมากสุด พื้นที่ (ไร่)
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 22,000 จำนวนผู้รับบริการ : 49 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 13 [IG=2443] วันที่รายงาน [29/8/2560] | ||||||||||
รายงานการประชุมสรุปผลและปรับแผนการดำเนินงานหมู่บ้านผลิตพืชผักฯ
มีผู้เข้าร่วมประชุม 12 คน (รายชื่อตามเอกสารแนบ) เป็นเกษตรกร 10 คน และคณะทำงาน 2 คน (มจธ. 1 คน และ มรภ.นครปฐม 1 คน)
วัตถุดิบ ราคา หน่วย จำนวนที่ใช้
จากตารางที่ 1 ด้วยราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูงถึง 8,000 บาท/ตัน อาจจะส่งผลต่อกำลังซื้อของเกษตรกรและลูกค้าทั่วไป ที่ประชุมจึงหารือถึงแนวทางการลดต้นทุน ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์นาถ ให้ข้อสังเกตว่า อาจจะลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ได้ เช่น 3. การจำหน่าย คณะกรรมการกลุ่ม วสช. จะหารือกับสมาชิกกลุ่ม และเกษตรกรในชุมชน ในประเด็นการจำหน่ายปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ครังนี้ (ประมาณ 30-35 ตัน) ให้กับสมาชิก เพื่อการสั่งจอง (อย่างน้อย 500 – 1,000 ตัน ต่อ คน ในวันที่ 6 สิงหาคม 2560 (เพื่อปันผลในเดือนกันยายน 2561 ต่อไป)
รายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 10000 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 14 [IG=2444] วันที่รายงาน [29/8/2560] | ||||||||||
รายงานแปลงทดลองใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกตะไคร้ คุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2560
เป็นการทดลองซ้ำเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง) แบ่งการทดลองเป็น 3 กรรมวิธี วางแผนการทดลองแบบ RBCD ดังนี้ ตารางที่ 1 ผลผลิตตะไคร้แปลงทดลอง คุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2560
กรรมวิธี จำนวนต้นต่อกอ (ต้น) น้ำหนักรวม (กก.)
สรุปว่า กรรมวิธีที่ใช้ปุ๋ยหมักอย่างเดียวให้ผลผลิตทั้งจำนวนต้นและน้ำหนักกรรมวิธีอื่น | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 8000 ปัญหาอุปสรรค : โรงงานชะลอโควต้ารับซื้อตะไคร้ ราคาที่เกษตรกรได้รับ หลั หักค่าใช้จ่าย คือ 1 บาท/กก. แนวทางแก้ไข : เก็บผลผลิตเฉพาะในส่วนทำแปลงทดลอง และติดต่อร้านแปรรูปทำตะไคร้แห้ง ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 15 [IG=2446] วันที่รายงาน [31/8/2560] | ||||||||||
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม คณะทำงานได้ลงพื้นที่เตรียมแปลงทดลองการใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกแก่นตะวัน ร่วมกับเกษตรกรที่สนใจ คือ นางสาวอรุณี อำนวยทรัพย์ เบื้องต้นได้เพาะกล้าแก่นตะวันในกระบะเพาะ โดยนำหัวพันธุ์มาตัดแต่งให้มีขนาดความสูงประมาณ 2-3 ซม. จาำนั้นทาปูนแดงบริเวณตัดแต่ง ทิ้งไว้ให้แห้ง นำไปเพาะในกระบะ (ขนาด 60 หลุม) รดน้ำให้ชุ่ม คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน จึงสามารถนำลงปลุูกในแปลง โดยวางแผนการทดลอง เป็น 4 กรรมวิธี คือ 1) ใส่ปุ๋ยเคมี 2) ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1 ตัน/ไร่ 3) ใส่ปุ๋ยหมัก อัตรา 2 ตัน/ไร่ และ 3) ใส่ปุ๋ยหมัก 4 ตัน/ไร่ โดยใช้ปุ๋ยหมักที่กลุ่มเกษตรกรผลิตขึ้น เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ใส่ในขั้นตอนการขึ้นร่องแปลงปลูก ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร | ค่าใช้จ่าย : 6,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 16 [IG=2493] วันที่รายงาน [21/9/2560] | ||||||||||
เมือวันที่ 21 กันยายน 2560 คณะทำงาน โดย มจธ. และ มรภ.นครปฐม ร่วมกันนักศึกษา และเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ คือ นางสาวอรุณี อำนวยทรัพย์ ได้ร่วมกันจัดทำแปลงทดลอง การใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกแก่นตะวัน โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 ใช้ปุ๋ยเคมี กรรมวิธีที่ 2 ใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1 ตัน กรรมวิธีที่ 3 ใช้ปุ่ยหมัก อัตรา 2 ตัน กรรมวิธีที่ 4 ใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 4 ตัน หมายเหตุ ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้จากการกลุ่มปุ๋ยบ้านหนองหม้อแตกรวมใจพัฒนา โดยใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก พืชทดลอง คือ กล้าแก่นตะวัน อายุ 2 สัปดาห์ (ดังภาพ) ระยะปลูกที่ใช้ ระหว่างแถว 60 ซม. และระหว่างหลุม 50 ซม. ขนาดแปลงทดลองยาว 32 เมตร หน้ากว้าง 1.2 เมตร
| ค่าใช้จ่าย : 12,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 17 [IG=2494] วันที่รายงาน [21/9/2560] | ||||||||||
คณะทำงานได้ลงพื้นที่ติดตามงานแปลงทดลอง และเทคโนโลยีที่เกษตรกรนำไปใช้ต่อยอด แปลงทดลองนายศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร 1 แปลงทดลองใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดโรคเน่าในกระชาย ทำร่วมกับ ศวพ. นครปฐม ให้การสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ พบว่าต้นกระชายเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ไม่พบการระบาดของโรค เมื่อสอบถามถึงการแปลงเกษตรกรในพื้นที่พบว่ามีการระบาดของโรคเกิดขึ้นแล้ว
2 แปลงทดลองใช้สารชีวภัณฑ์ไรโซเบียมในการปลูกถั่วลิสง พบว่าภายหลังจากการทดลองที่ผ่านมา เกษตรกรเกิดการยอมรับ และนำไปใช้/ต่อยอดในแปลงของตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังภาพ เป็นการปลูกรุ่นที่ 3 (ภายหลังจากทำแปลทดลอง ) ระยะเริ่มติดฝักใต้ดิน สังเกตว่าบริเวณโดยรอบโคนต้น ดินจะแยกออกจากกัน คือ มีการเจริญเติบโตของฝักใต้ดิน | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 2 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||||||||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 18 [IG=2495] วันที่รายงาน [21/9/2560] | ||||||||||
รายงานความก้วหน้าครั้งที่ 1
1.3 แกนนำชุมชน นายวิศาล เก้าลิ้ม
1.4 เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น นางวสันต์ เก้าลิ้ม
3. ผลการดำเนินงาน
ประเด็นที่ 2 ผลของปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ต่อคุณค่าทางโภชนาการของพืชผัก โดยได้รับความรู้จาก
ภาพที่ 1 การประชุมหารือเพื่อดำเนินงานกลุ่มปุ๋ยหมักบ้านหนองหม้อแตก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560
2. การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP (Good agricultural Practice) (ภาพที่ 2) เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2560 ณ ที่ทำการกลุ่มผู้ใหญ่บ้าน ม.4 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 70 คน เป็นเกษตรกร 68 คน คณะทำงาน 2 คน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม) โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร นครปฐม (ศวพ.นครปฐม) คือ คุณจงดี หารเอี่ยม นักวิชาการเกษตร บรรยายหัวข้อต่างๆ ได้แก่
รายการ ระดับความพึงพอใจ
ส่วนที่ 2 แปลงทดสอบเทคโนโลยี
แปลงที่ 1 การใช้สารชีวภัณฑ์บาซิลลัส ซับทีลิส (BS) กับการทำแปลงกระชายปลอดโรค ร่วมกับกองอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร นครปฐม
ตารางที่ 6 ผลผลิตถั่วลิสงเฉลี่ยต่อต้นต่อหลุม แปลงทดลอง คุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ปีเพาะปลูก 2560 แม้กระนั้นก็ตาม เมื่อพิจารณาผลผลิตถั่วลิสงเฉลี่ยต่อต้นต่อหลุม พบว่าทั้งฝักใหญ่และฝักเล็กกรรมวิธีที่ 1 ให้ผลผลิตมากกว่ากรรมวิธีที่ 2 ทั้งนี้การทดลองทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฝนตกค่อนข้างหนักในเดือนมิถุนายน (ภาพที่ 7) ต้นพืชมีการเจริญเติบโตทางความสูงต้น (vegetative stage) มากกว่าเน้นสร้างผลผลิต (Reproductive stage) โดยถั่วลิสงฝักใหญ่มีความสูง (ภาพที่ 8) ระหว่าง 117.10 – 145.60 ซม. และถั่วลิสงฝักเล็ก เท่ากับ 107.10 – 132.59 ซม. ทั้งนี้เกษตรกรให้ข้อสังเกตว่าต้นที่อยู่บริเวณที่ดอน จะมีความสูงต้นค่อนข้างน้อย และให้ผลผลิตมากกว่าต้นที่อยู่ในที่ลุ่ม
อนึ่งในปี 2560 คาดว่าจะผลิตปุ๋ยหมักได้ประมาณ 20 ตัน (เดือนมิ.ย. – ธ.ค. เท่ากับ 6 เดือน = 6 ตัน + ของเดิม 4 ตัน เท่ากับ 10 ตัน + ของเดิม 2 ตัน รวมทั้งสิ้น 12 ตัน/ปี ดังนั้นต้องหาเกษตรกรที่สนใจทำกองปุ๋ยหมัก แบบระบบกองเติมอากาศ (ต้องขนจากบ้าน ผญ. ไปให้ โดยทาบทามคุณศรีพิชัย ศรีสกุลอำพร ไว้)
4. งบประมาณที่ได้ใช้จ่ายไปแล้ว นับตั้งแต่เริ่มทำโครงการ (เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนกรกฏาคม 2560) เป็นเงินทั้งสิ้น 133,000 บาท (ณ วันที่ 31 กรกฏาคม 2560) แสดงดังตารางที่ 7
5. งานตามแผนงานวิจัยโครงการที่จะทำต่อไป
6. คำชี้แจงเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรค และวิธีการแก้ไข หมายเหตุ ตัวรายงานความก้าวหน้าฉบับเต็ม ส่งทางเมล์ให้เจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้ว
ภาคผนวก ก
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates