สวทช. โดยฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ได้จัดการการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การสร้างผู้ประกอบการสีเขียว ด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษาผสมผสานวัฒนธรรม” ณ อาศรมพลังงาน ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระหว่งวันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2559
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ คาดว่าจะเกิดชุมชนนำร่องที่ทดลองนำเอากระบวนการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษาผสมผสานวัฒนธรรมไปใช้ในชุมชนตนเอง และเกิดผู้ประกอบการชุมชนที่สามารถยกระดับสินค้าและบริการในชุมชนตนเองด้วยการสร้างเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังเกิดความร่วมมือในการทำงานระหว่างหน่วยงานด้านการศึกษากับชุมชนในการพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
ซึ่งเกษตรกร หรือชาวบ้านสามารถนำเอาโจทย์จากสินค้าหรือบริการในชุมชนมาสร้างแผนธุรกิจเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการสีเขียวได้ สามารถสร้างชุมชนนำร่องการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาผสมผสานวัฒนธรรม และสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างผู้ประกอบการชุมชนที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจสีเขียวได้ สวทช. จึงพิจารณาเห็นว่า ควรมีเวทีที่จะได้มีการนำประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันกับเครือข่ายภายนอกที่มีความเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการกระตุ้น และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงจัดให้มีกิจกรรมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายพันธมิตรอื่นที่ประสบความสำเร็จ เรื่อง “การสร้างผู้ประกอบการสีเขียวด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษาผสมผสานวัฒนธรรม” ขึ้นมา
มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 42 คน โดยเป็นผู้สังเกตการณ์จากงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท ไบโอเทค จำนวน 2 คน และเกษตรกร ผู้ประกอบการ และหน่วยงานเครือข่ายจาก 16 พื้นที่ จำนวน 40 คน ได้แก่
1) กลุ่มเกษตรกร บ้านดอนเขียง ต.คำแมด อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น จำนวน 3 คน
2) กลุ่มเกษตรกร บ้านนาเยีย ต.นาเยีย อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี จำนวน 2 คน
3) กลุ่มเกษตรกร บ้านทุ่งเจริญ ต.ตาลสุม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี จำนวน 3 คน
4) กลุ่มเกษตรกร บ้านหนองมัง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี จำนวน 3 คน
5) กลุ่มเกษตรกร บ้านอุดม-สมบูรณ์ ต.ชุมแสง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ จำนวน 3 คน
6) กลุ่มเกษตรกร บ้านโคกขาม ต.โบสถ์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา จำนวน 2 คน
7) ผู้ประกอบการฟาร์มไส้เดือนดินไม้งาน ต.เทพารักษ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ จำนวน 2 คน
8) ผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มแม่ฑีตาผ้าย้อมคราม ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จำนวน 2 คน
9) ผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มปลาบู่มัดย้อม ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม จำนวน 2 คน
10) ผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มทอผ้าบ้านหนองขอน ต.แสงวัง อ.แกดำ จ.มหาสารคาม จำนวน 1 คน
11) ผู้ประกอบการชุมชน บ้านหนองฟานสะเดา ต.โบสถ์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา จำนวน 3 คน
12) ผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มตลาดนัดสีเขียวราษีไศล ต.ด่าน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ จำนวน 3 คน
13) เจ้าหน้าที่สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม (อาศรมพลังงาน) ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 4 คน
14) เจ้าหน้าที่คลินิคเทคโนโลยี ม.นครพนม และเกษตรกรเครือข่าย จำนวน 3 คน
15) เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาอีสาน (NET) จ.สุรินทร์ จำนวน 2 คน
16) กรรมการตลาดนัดสีเขียว ต.แนงนุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ จำนวน 2 คน
|