หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2559 | 300,000|300,000||300,000 | 20151117930191.pdf | 20161111625321.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1504] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ หมู่บ้านแก๊สทำมือ...รักษ์โลกของชุมชนบ้านหัวหรง หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1509] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
ทำแก๊สไปทั้งหมด 4 ชุด | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2560 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20176161117521.pdf | 201810111012131.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2257] วันที่รายงาน [26/6/2560] | |||
ชุมชนบ้านหัวหรง ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ระยะเวลา
ค่าใช้จ่าย
ผลการดำเนินงาน | ค่าใช้จ่าย : 150,000 จำนวนผู้รับบริการ : -30 ปัญหาอุปสรรค : ไม่มี แนวทางแก้ไข : ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2622] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ชุมชนโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน และชุมชนชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เป็นชุมชนชนบท ที่มีบ้านเรือนค่อนข้างมาก และกำลังมีนโยบายของท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอย มีธนาคารขยะ มีผู้นำชุมชนที่เริ่มตระหนักถึงปัญหา และหาแนวทางเลือกในการกำจัดขยะ และแต่ละครอบครัวเมีปัญหารายรับไม่ค่อยสมดุลกับรายจ่าย ขาดแคลนหรือต้องจัดซื้อในด้านเชื้อเพลิงเพื่อการประกอบอาหาร เป็นต้น ผนวกกับการเกษตรพืชผลไม่สามารถสร้างรายได้ที่มีความสม่ำเสมอได้ในทุกช่วงฤดูกาล แต่ชุมชนก็พยายามหาแนวทางในการสร้างชุมชนที่ดูแลตัวเองให้ได้ เพื่อได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และที่สำคัญเพื่อหาแนวทางที่จะสามารถลดปริมาณขยะ และลดค่าใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ลง โดยการสร้างและจัดหาได้เองตามศักยภาพที่ชุมชนมีทุนทรัพย์ทางธรรมชาติ ดังนั้นการส่งเสริมการสร้างต้นทุนพลังงานในชุมชน และการสร้างสุขภาวะที่ดีในชุมชน จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะการนำของเสียอินทรีย์ ได้แก่ มูลสัตว์ เศษอาหาร เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เป็นต้น มาใช้กระบวนการการหมักแบบไร้อากาศ เพื่อสร้างต้นทุนพลังงานเป็นพลังงานความร้อน ในการปรุงอาหารในแต่ละครัวเรือน ซึ่งชุมชนตระหนักดีว่าเป็นการจัดการของเสียอินทรีย์ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง และเมื่อได้ทราบข้อมูลผลงานวิจัยการจัดการของเสียอินทรีย์ จากการได้รับความรู้จากกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยทักษิณ เกี่ยวกับระบบการหมักก๊าซชีวภาพ แกนนำชุมชนและกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพชุมชนมีความสนใจที่จะเรียนรู้ระบบดังกล่าว จึงรวมกลุ่มกันไปศึกษาดูงานระบบบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน ในชุมชนบ้านหัวคู ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการของเสียด้วยระบบหมักก๊าซกชีวภาพที่ชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และได้เห็นประจักว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเรื่องของขยะอินทรีย์สามารถผลิตก๊าซชีวภาพใช้ในการหุงต้มในครัวเรือนได้ จึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นในแนวทางการกำจัดของเสียอินทรีย์ด้วยวิธีการดังกล่าว และเนื่องจากปี 2560 ตลอดปี มีเหตุการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีฝนชุกตลอดปี ทำให้ชุมชนหัวหรงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ จึงทำให้ไม่สามารถจัดทำระบบแก๊สชีวภาพได้ เนื่องจากระบบหมักไม่ควรตั้งระบบแช่อยู่ในน้ำ ดังนั้น ทางผู้นำชุมชนจึงขอปรับเปลี่ยนให้พื้นที่อื่นๆ ซึ่งทางทีมมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ประสานชุมชน โคกม่วง อำเภอเขาชัยสน และชุมชนชุมพล อำเภอศรีนครินท์ จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีถังขยะให้แต่ละครัวเรือน และทางเทศบาล มียุทธศาสตร์เกี่ยวกับการกำจัดขยะที่ต้นทาง ชุมชนทั้งสอง เป็นชุมชน ชนบท ที่มีประชากร และครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพการเกษตร ประชาชนมีทั้งกลุ่มนับถือศาสนาพุทธ และชุมชนนับถือศาสนาอิสลาม แต่ไม่มีปัญหาเรื่องศาสนา คือ แต่ละครัวเรือน การจัดทำระบบก๊าซชีวภาพนำร่อง จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการกำจัดขยะอินทรีย์ หรือเศษอาหารในครัวเรือน และมีผลพลอยได้เป็นแรงจูงใจ คือ ได้รับก๊าซชีวภาพ มาใช้ทดแทนก๊าซ LPG และได้น้ำหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการปลูกผักอินทรีย์ ทั้งสองผลพลอยได้นี้สามารถช่วยให้เป็นแนวทางในการกำจัดขยะที่ต้นทาง และช่วยลดการใช้จ่ายในด้านพลังงานในครัวเรือน หรือเป็นครัวเรือนตัวอย่างนำร่องการสร้างฐานพลังงานครัวเรือน การดำเนินโครงการครั้งนี้ จะมุ่งเน้นการนำของเสียอินทรีย์ในครัวเรือนมาผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถช่วยให้ชาวบ้านลดการใช้พลังงานในรูปแบบเดิมได้มาก ได้แก่ ลดการใช้แก๊สหุงต้ม เมื่อชาวบ้านมีแหล่งพลังงานทดแทนแก๊ส LPG ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ชาวบ้านสามารถผลิตได้เอง นั่นคือสามารถมีแหล่งต้นทุนของพลังงานในการหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งผลิตได้จากของเสียอินทรีย์ในพื้นที่ จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น ลดรายจ่ายของครอบครัว ลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป และช่วยลดปัญหาของเสียอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอีกด้วย นอกจากนั้น การจัดทำระบบหมักก๊าซชีวภาพยังได้น้ำหมักและกากตะกอนปุ๋ยชีวภาพจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพมาเป็นปุ๋ยบำรุงพืชที่มีคุณภาพดี มีธาตุอาหารพืชไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นการสร้างความมั่นคงทางสุขภาวะในชุมชน และเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการเรียนรู้ของชุมชนอื่นๆ | ค่าใช้จ่าย : 100,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : มีการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย แนวทางแก้ไข : ปรับเปลี่ยนกลุ่มเนื่องจากกลุ่มเดิมได้รับผลกระทบด้านน้ำทะเลหนุนจึงไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates