ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2559 | 300,000|300,000|257,390|42,610 | 201512281316151.pdf | 20161121423201.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1467] วันที่รายงาน [2/2/2559] |
กิจกรรมที่ 1 : จัดเวทีเสวนาทบทวนองค์ความรู้เดิม วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ กำหนดเป้าหมายกิจกรรมขับเคลื่อน ชี้แจงวัตถุกระสงค์ร่วมกับหน่วยงานและชุมชน
1.1 วิธีการดำเนินการ
1.ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่ในการประชุม
2.จัดเวทีเสวนาโดยการทบทวนองค์ความรู้เดิม
3.สรุปกิจกรรม สอบถามประเด็นปัญหา
1.2 ผลการดำเนินการ
1.จากกการดำเนินการจัดเวทีเสวนาทบทวนองค์ความรู้เดิม วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ กำหนดเป้าหมายกิจกรรมขับเคลื่อนชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น ได้มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและแผนการดำเนินงานปี 2558 ให้แก่แกนนำชุมชน สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านสวนหลวง แม่บ้าน และหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ เทศบาลตำบลทาขุมเงิน และสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดลำพูน การจัดเวทีครั้งนี้ ทางกลุ่มได้สะท้อนปัญหาการผลิตปุ๋ยหมักเรื่อง ขาดความต่อเนื่องของกิจกรรม ชุมชนเมื่อมีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนแล้ว ชุมชนไม่มีการดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง ความรู้เรื่องสูตรปุ๋ยสูตรเฉพาะ สูตรที่ใช้กับผัก ต้นไม้ แรงงานในการผลิต บางช่วงที่เป็นฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ขาดแรงงานในการผลิตปุ๋ย อีกทั้งการผลิตในปัจจุบันเป็นแบบผงทำให้ไม่สะดวกในการใช้ กลุ่มได้เสนอว่าควรจะมีการอัดปุ๋ยเป็นเม็ดเพื่อสะดวกในการใช้ หรือผลิตเป็นดินปลูก และยังไม่มั่นใจคุณภาพในการผลิตเนื่องจากสูตรเดิมที่ผลิต มีกลิ่นฉุน และเวลานำไปใช้กับพืชผักหรือไม้ยืนต้นทำให้ต้นไม้ตาย และปัจจุบันได้มีการผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทานเพิ่มขึ้น โดยมีพัฒนาที่ดินอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่ม จากประเด็นดังกล่าว ทางคณะทำงานโครงการได้เสนอให้ทางชุมชนมีการเก็บข้อมูลการปลูกพืชบ้านสวนหลวง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเศษพืชที่มีอยู่ในชุมชนเพียงพอต่อการผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทานและข้อมูลต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยยาและการเอาตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินต่อไป
2.การดำเนินงานจัดเวทีครั้งนี้ได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ เทศบาลทาขุมเงินและสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดลำพูน โดยสถานีพัฒนาที่ดินได้เสนอในเวทีครั้งนี้ เรื่อง ธนาคารปุ๋ย โดยมีเป้าหมายการผลิต 10 ตัน จะสนับสนุนชุมชนตันละ 1,000 บาท และน้ำหมัก พด.2,6,7 จำนวน 2,000 ลิตร
3. เก็บข้อมูลการทำปุ๋ยหมักสูตรการผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพสูง วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก (สูตรเดิม)
ความสำเร็จของกิจกรรม
1.ชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันจากปัญหาการผลิตปุ๋ยสูตรเดิมเพื่อปรับปรุงและสามารถใช้กับพืชได้ทุกชนิด เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
2.มีหน่วยงานให้การสนับสนุนการเรื่อง การผลิตปุ๋ยหมัก ในรูปแบบของธนาคารปุ๋ย โดย
3.มีกิจกรรมที่สามารถสร้างความสามัคคีให้กับสมาชิกกลุ่มและชุมชน
กิจกรรมที่ 2 : จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน กำหนดเป้าหมายของชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการวิเคราะห์ศักยภาพที่มีอยู่ของชุมชนและปัจจัยเกื้อหนุน
2.1 วิธีการดำเนินการ
1.ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่ในการประชุม
2.จัดเวทีเสวนาโดยการทบทวนองค์ความรู้เดิม
3.สรุปกิจกรรม สอบถามประเด็นปัญหา
2.2 ผลการดำเนินการ
กิจกรรมจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน กำหนดเป้าหมายของชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการวิเคราะห์ศักยภาพที่มีอยู่ของชุมชนและปัจจัยเกื้อหนุน มีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผู้นำชุมชน แม่บ้าน สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านสวนหลวง ได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาหมู่บ้าน และร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพที่มีอยู่ของชุมชนและปัจจัยเกื้อหนุนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
กิจกรรมที่ 3 : การสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้กระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเพิ่มทักษะให้แก่ชุมชน ครั้งที่ 1 อบรมให้ให้ความรู้การปลูกปอเทืองพืชปรับปรุงบำรุงดิน
3.1 วิธีการดำเนินการ
1. ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่ในการปอเทือง
2. สรุปกิจกรรม สอบถามประเด็นปัญหา
3.2 ผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่3 เป็นกิจกรรมการสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้กระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเพิ่มทักษะให้แก่ชุมชนโดยการถ่ายทอดามรู้ความรู้เรื่อง การปลูกปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน นำโดยคณะทำงานทีมงาน ผศ.ดวงพร อ่อนหวาน และมีหน่วยงานในนในพื้นที่ร่วมด้วย ได้แก่ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดลำพูน เทศบาลตำบลขุมเงิน และแกนนำชุมชน ชาวบ้าน แม่บ้าน ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ โดยการจัดกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 พิธีเปิดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกพืชบำรุงดิน โดยผู้ใหญ่บ้านบ้านสวนหลวงตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพืชบำรุงดิน ได้แก่ ปอเทือง ถั่วขาว สารเร่งพด.ต่างๆ และน้ำหมัดชีวภาพ
ส่วนที่ 3 แปลงสาธิตการปลูกปอเทืองและถั่วขาว
ส่วนที่ 4 บรรยายให้ความรู้เทคนิควิธีการปลูกพืชบำรุงดินและสาธิตการปลูกปอเทืองและถั่วขาว
| ค่าใช้จ่าย : 45,890 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1601] วันที่รายงาน [2/6/2559] |
รายงานสรุปผลจัดกิจกรรมที่1 : ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การวิเคราะห์ดิน
: วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เวลา 07.00 – 19.00 น.
: ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสวนหลวง ต.ทาขุมเงิน อ.ทาขุมเงิน จ.ลำพูน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการปรับปรุงดิน การวิเคราะห์ดินเบื้องต้นและจัดการดินหลังการวิเคราะห์ดินได้
2. เพื่อเกษตรกรสามารถฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ดินอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง
3. เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้การวิเคราะห์ดินไปใช้ในทำการเกษตรได้เพื่อลดต้นทุนการเกษตร
ผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจจำนวน 50 คน
2. หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน 2 คน
องค์ความรู้ที่นำมาใช้ในกิจกรรม
1. การวิเคราะห์ดินอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง
วิธีการดำเนินงาน
1. ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่ในการประชุม
2. อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน โดยใช้ชุดวิเคราะห์วิเคราะห์ดินอย่างง่ายให้กับเกษตรกรได้เรียนรู้ และนำไปปฏิบัติ
3. สรุปกิจกรรม สอบถามประเด็นปัญหา
ผลการดดำเนินงาน
ภาคเช้า
กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง การปรับปรุงบำรุงดิน การวิเคราะห์ดิน และการจัดการดินหลังการวิเคราะห์
ภาคบ่าย
ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ดินโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเอาดินมาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยใช้ชุดอุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ดิน 2 รูปแบบ
แบบที่ 1 การใช้เครื่องวิเคราะห์ดิน แทงลงไปในดิน แล้วอ่านค่าความเป็นกรด เป็นด่างของดิน ซึ่งแปลงที่ทดสอบ หรือวัดค่า จำนวน 2 จุดที่ 1 ข้างห้องอบรม ผลความเป็นกรด หรือ PH ของดิน อยู่ที่ 5 มีกรดปานกลางจุดที่สอง เป็นจุดที่ใช้ปลูกสวนครัว ผลการวิเคราะห์ อยู่ที่ 7 ซึ่งเหมาะสมในการปลูกพืช
แบบที่ 2 ชุดวิเคราะห์ดินอย่างง่าย ซึ่งสามารถอ่านค่าของดินได้ 4 อย่างคือ PH และ N P K ในดิน โดยได้มีการเอาตัวอย่างดินที่ทางวิทยากรนำมา เอามาวิเคราะห์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทดลองอ่านค่า ซึ่งผลการวิเคราะห์ออกมา PH และ N P K ในดินสูง เหมาะในการปลูกพืชทุกชนิด นอกจากนี้ได้มีการนำเอาปุ๋ยที่เกษตรกรได้มีการหมักไว้แล้ว มาลองวิเคราะห์ จำนวน 3 ราย ดังนี้
รายที่ 1 นายมิตร ผัดสัก อยู่บ้านเลขที่ 48 หมู่ 3 ตำบลทาขุมเงิน ผลการวิเคราะห์หา N P K ในปุ๋ยหมักผลว่า N มีค่าเป็นกลาง P มีค่าเป็นสูง และ K มีค่าต่ำ วัสดุที่ใช้ในการหมัก ได้แก่ เศษพืช ใบตะไคร้ ใบลำไย ขี้ไก่และขี้วัว
รายที่ 2 รุ่งวลา อุประกาบ ผลการวิเคราะห์ปุ๋ย N มีค่าสูง P มีค่าเป็นสูง และ K มีค่าต่ำ วัสดุที่ใช้ในการหมัก ได้แก่ เศษพืช ใบลำไย ขี้ค้างคาว 3 กระสอบ ขี้วัว 20 กระสอบ และปูนขาว
รายที่ 3 ของกลุ่มฯ ผลการวิเคราะห์ปุ๋ย N มีค่าสูง P มีค่าเป็นสูง และ K มีค่าต่ำ วัสดุที่ใช้ในการหมัก เศษพืช ได้แก่ ใบลำไย ใบตะไค้ ขี้วัว 30 กระสอบ และดิน
ความสำเร็จของกิจกรรม
1. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง การปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์ดินอย่างง่ายได้ด้วยตัวเอง
2. เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมมาปรับปรุงดินและลดต้นการผลิตทางการเกษตรได้
.jpg)

รายงานสรุปผลจัดกิจกรรมที่2 : การฝึกปฏิบัติการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง แบบไม่กลับกอง
: วันที่ 2 พฤษภาคม 2559 เวลา 07.00 – 19.00 น.
: ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสวนหลวง ต.ทาขุมเงิน อ.ทาขุมเงิน จ.ลำพูน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้แกนนำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจมีความรู้ ความเข้าใจ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ด้วยวิธีการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง
2. เพื่อให้แกนนำชุมชน และชาวบ้านที่สนใจสามารถทำปุ๋ยเองได้ โดยวิธีการแบบไม่กลับกอง
3. เพื่อให้แกนนำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจสามารถลดต้นทุนทางการเกษตร
ผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจจำนวน 50 คน
2. หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน 2 คน
องค์ความรู้ที่นำมาใช้ในกิจกรรม
1. การทำปุ๋ยหมักแบบวิธีไม่กลับกอง
วิธีการดำเนินงาน
1. ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่ในการประชุม
2. อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง
3. สรุปกิจกรรม สอบถามประเด็นปัญหา
ผลการดดำเนินงาน
ภาคเช้า เป็นการบรรยายให้ความรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง วิธีการขั้นตอนอุปกรณ์ที่ใช้และวัสดุที่จำเป็นในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ และทบทวนองค์ความรู้การทำปุ๋ยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
ภาคบ่าย ฝึกปฏิบัติการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง โดยวิธีการผลิตปุ๋ยแบบไม่กลับกอง
ความสำเร็จของกิจกรรม
แกนนำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง วิธีแบบไม่กลับกองได้


| ค่าใช้จ่าย : 143,735 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2009] วันที่รายงาน [29/9/2559] |
ระบุ : ใคร ทรายงานกิจกรรมทดสอบการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืชถาดหลุม
วันที่ 13 กรกฎาคม 2559 กิจกรรม ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสวนหลวง ต.ทาขุมเงิน
อ.ทาขุมเงิน จ.ลำพูน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ความรู้การนำปุ๋ยอินทรีย์ทดสอบกับพืชในถาดหลุม
๒. เพื่อให้กลุ่มมีความรู้ความเข้าใจการทำวัสดุดินเพาะและหาวัสดุที่เหมาะสม
ผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจจำนวน 50 คน
2. หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน 1 คน
องค์ความรู้ที่นำมาใช้ในกิจกรรม
1. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เพื่อทำการทดสอบพืช จำนวน 2 ชนิด
2. เทคนิคการเพาะกล้าในถาดหลุม
3. การทำวัสดุดินเพาะ
วิธีการดำเนินงาน
1. ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่
2. บรรยายให้ความรู้การนำปุ๋ยอินทรีย์ทดสอบกับพืช
3. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะกล้า และการเตรียมแปลงปลูก
4. สรุปกิจกรรม สอบถามประเด็นปัญหา
ำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร
ผลการดำเนินการ
ได้มีการทดสอบการนำปุ๋ยอินทรีย์ทดสอบกับพืชโดยทำการทดสอบ 2 ชนิดพืชในปุ๋ยอินทรีย์ฟอตเฟส ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
| ค่าใช้จ่าย : 15,380 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2032] วันที่รายงาน [29/9/2559] |
กิจกรรมทดสอบการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้พืชในแปลงเกษตรกร
วันที่ 1 สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ บ้านนายอภิญญา ร่วมสุข บ้านสวนหลวง ต.ทาขุมเงิน
อ.แม่ทา จ.ลำพูน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อทดสอบการปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืช ในแปลงเกษตรกร
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต กับปุ๋ยอินทรีย์ฟอตเฟส ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตรกร
ผู้เข้าร่วมโครงการ
1. กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง จำนวน ๒๐ ราย
2. หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน 1 คน
องค์ความรู้ที่นำมาใช้ในกิจกรรม : ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เพื่อทำการทดสอบพืช จำนวน 2 ชนิด
วิธีการดำเนินงาน
1. ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่
2. คัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมในการทดสอบปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืช ในแปลงเกษตรกรกิจกรรมการทดสอบปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืช ของนายอภิญญา ร่วมสุข แสดงผลการดำเนินงานเป็นตารางดังนี้
3. เตรียมแปลงเพื่อทดสอบปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืช
ผลการดำเนินงาน
เกษตรกรได้มีการเตรียมพื้นที่พร้อมปลูก จำนวน 6 แปลง เพื่อทำการทดสอบ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิดพืช ได้แก่ ผักกาด แตงกวา โดยเตรียมแปลงเพื่อทดสอบดังภาพ
 
| ค่าใช้จ่าย : 20,845 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=2033] วันที่รายงาน [29/9/2559] |
กิจกรรมติดตามผลการทดสอบการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืชแตงกวา ผักกาดในแปลงเกษตรกร
วันที่ 19 สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ บ้านนายอภิญญา ร่วมสุข บ้านสวนหลวง ต.ทาขุมเงิน
อ.แม่ทา จ.ลำพูน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อทดสอบการปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืช ในแปลงเกษตรกร
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต กับปุ๋ยอินทรีย์ฟอตเฟส ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตรกร
ผู้เข้าร่วมโครงการ
1. กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง จำนวน ๒๐ ราย
2. หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน 1 คน
องค์ความรู้ที่นำมาใช้ในกิจกรรม : ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เพื่อทำการทดสอบพืช จำนวน 2 ชนิด
วิธีการดำเนินงาน
1. ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการนัดหมายการเข้าชุมชน วัน เวลา สถานที่
2. คัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมในการทดสอบปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืช ในแปลงเกษตรกร
กิจกรรมการทดสอบปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้กับพืช ของนายอภิญญา ร่วมสุข แสดงผลการดำเนินงานเป็นตารางดังนี้
ผลการดำเนินงานทดสอบ
จากการทดสอบการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำการผลิตไปใช้พืชในแปลงเกษตรกร โดยทำการทดสอบ 2 ชนิดพืชได้แก่ แตงกวา และผักกาด ในปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ฟอตเฟส และปุ๋ยเคมี พบว่า พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี ในปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ฟอตเฟส ส่วนในปุ๋ยเคมี พืชเจริญเติบโตไม่ดี และช้ากว่าในปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ฟอตเฟส


| ค่าใช้จ่าย : 25,380 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=2034] วันที่รายงาน [29/9/2559] |
วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์บ้านสวนหลวง ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
๒. เพื่อค้นหาหมู่บ้านลูกข่ายที่สนใจในปี ๒๕๖๐
ผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้ใหญ่บ้านในอำเภอแม่ทาทุกหมู่บ้าน
2. องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลในเขตอำเภอแม่ทา
๓. หน่วยงานในอำเภอแม่ทา
๔. หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน 1 คน
วิธีการดำเนินงาน
1. ประสานงานกับผู้นำชุมชน และอำเภอแม่ทาเรื่องนัดหมายการเข้าร่วมประชุม วัน เวลา สถานที่
2. หนังสือขอเข้าร่วมประชุม
๓. จัดทำPower Point เพื่อนำเสนอในที่ปะชุม
ผลการนำเสนอผลการประชุมการดำเนินงานหมู่บ้านกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์บ้านสวนหลวง ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน สรุปดังนี้
๑. มีหมู่บ้านที่สนใจเข้าร่วมเป็นหมู่บ้านลูกข่าย ๑ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองยังฟ้า หมู่ที่ ๕ ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
๒. มีหน่วยงานให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาหมู่บ้านอื่น
๓. มีหน่วยงานสนใจสั่งซื้อปุ๋ยอินทรีย์
๔. นายอำเภอให้ทำรายงานส่งจำนวน ๑ เล่ม 
.jpg)
| ค่าใช้จ่าย : 6,160 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
2560 | 300,000|240,000||240,000 | 2017430159271.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน |