หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2559 | 300,000|300,000|300,000|ใช้หมด | 201645119571.pdf | 2016104113351.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1465] วันที่รายงาน [5/1/2559] | |||
27 สิงหาคม 2558 โครงการหมูบ้าน วท โดยคลินิกเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ. จัดประชุมทำความเข้าใจและถอดบทเรียนด้านการตลาดข้าวอินทรีย์ (ภายใต้โครงการหมู่บ้าน วท : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงรัตภูมิ ครั้งที่ 1/2558) ณ ศูนย์สาธิตฝึกอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา โดยมี รศ. ดร.สมยศ ทุ่งหว้า ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. หัวหน้าโครงการ นายธนศักดิ์ สุขสง ผู้อำนวยการศูนย์สาธิตฯ และคณะผู้รับผิดชอบร่วมโครงการฯ ดำเนินการประชุม ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มนาข้าวอินทรีย์เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน จากการประชุมครั้งนี้ ได้ความต้องการของสมาชิกกลุ่มที่สามารถนำมาจัดลำดับแผนการดำเนินกิจกรรม ในปี 2559 9 กันยายน 2558 โครงการหมูบ้าน วท โดยคลินิกเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ. จัดประชุมเพื่อจัดเตรียมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ และนวัตกรรม ภายใต้โครงการหมู่บ้าน วท. : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงรัตภูมิ ครั้งที่ 2/2558 ณ ร้าน Biz Time อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) โดยมี รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. หัวหน้าโครงการ และคณะอาจารย์/นักวิจัย จาก ม.อ. และ มทร.สงขลา จำนวน 9 คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบร่วมโครงการย่อยภายใต้โครงการ หมู่บ้าน วท. จากการประชุมครั้งนี้ อาจารย์/นักวิจัย ผู้รับผิดชอบร่วมโครงการย่อย ต้องจัดทำข้อเสนอโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะดำเนินการในปี 2559 ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) โครงการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ 2) โครงการด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และ 3) โครงการด้านการตลาด | ค่าใช้จ่าย : 6,050 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1517] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 5,850 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1518] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1519] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 32,185 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1520] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 4,500 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=1521] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=1522] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 2,977 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=1523] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2559 โครงการหมูบ้านวิทยาศาสตร์ฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “สมาชิกกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านคูหาใน”ณ รีสอร์ทชุมชนบ้านบากันเคย อ.เมือง จ.สตูล มีผู้เข้าร่วมประชุม 40 คน ผลจากการจัดประชุมทำให้ทราบปัญหาความต้องการ ผ่านการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน SWOT นำไปสู่การระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ตามปัญหาหลักๆของกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านคูหาใน คือ การบริหารจัดการกลุ่มที่ยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร อันมีสาเหตุเนื่องมากจากโครงสร้างกลุ่มไม่ชัดเจน คณะทำงานไม่ทราบบทบาทหน้าที่/ไม่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม ไม่มีการจัดประชุมกลุ่ม อีกทั้งเป้าหมายและทิศทางการทำงานไม่ชัดเจน ในการนี้ที่ประชุมจึงมีมติร่วมกันว่าเพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญ 2 ประการที่จำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ การพัฒนาคน และการพัฒนาองค์กร จึงได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความเห็น และนำข้อสรุปที่ได้ไปดำเนินการพูดคุยทำความเข้าใจกับสมาชิกต่อไป
| ค่าใช้จ่าย : 39,197 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=1528] วันที่รายงาน [5/4/2559] | |||
การประชาสัมพันธ์
ผลการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา - Facebook : หน่วยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม/ CILO ดังนี้
1. กิจกรรม “ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรการทำนาปลอดสารพิษ บ้านคูหาใน อ.รัตภูมิ จ.สงขลา”เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2559 บ้านคูหาใน อ.รัตภูมิ จ.สงขลา” เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=1765] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
วันที่ 4 พฤษภาคม 2559โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ เรียกประชุมโครงการย่อย “โครงการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเกษตรอินทรีย์บนแผนที่ออนไลน์” ซึ่งมี อ.ศักดิ์ชัย ปรีชากุล สังกัดสถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าโครงการนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา ณ ร้าน Blue ตึก BSC คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยหัวหน้าโครงการได้มอบหมายให้ น.ส.ณพัส กังวานตระกูล และน.ส.ธัสรา โพธิพุกกณะ คณะทำงานโครงการเป็นผู้นำเสนอ พบว่าผลการดำเนินงานโครงการมีความก้าวหน้าพอสมควร ทั้งนี้ รศ.ดร. สมยศ ทุ่งหว้า มีข้อเสนอแนะเพื่อให้โครงการพัฒนาระบบให้มีความสมบูรณ์ขึ้น อาทิ ควรเพิ่มข้อมูลพิกัดรายแปลง พื้นที่ พันธุ์ข้าว เหล่านี้เป็นต้น | ค่าใช้จ่าย : 310 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=1766] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
- วันที่ 28 พฤษภาคม 2559 โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ โดยโครงการย่อย “โครงการโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์บ้านคูหาใน ซึ่งมี อ.จินตนา เจริญเนตรกุล สังกัด คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นหัวหน้าโครงการ จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ รุ่นที่ 2 ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรการทำนาปลอดสารพิษ หมู่ที่ 3 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน โดยมีการถ่ายทอดการแปรรูปทั้งสิ้น 8 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) ขนมปังไส้ข้าวสังข์หยด 2) ข้าวตังหน้าธัญพืช 3) ขนมปังสองสีเสริมผิวข้าสังข์หยด 4) คุกกี้สอดไส้ข้าวสังข์หยด 5) ธัญพืชอัดแท่ง 6) ขนมทองม้วนผิวข้าวสังข์หยด 7) เมี่ยงข้าวสังข์หยด 8) คุกกี้ธัญพืชข้าวสังข์หยด
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 12 [IG=1767] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
เก็บข้อมูลพิกัดรายแปลง พร้อมสำรวจสภาพพื้นที่ | ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 13 [IG=1768] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 โครงการหมูบ้านวิทยาศาสตร์ฯ เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านคูหาใน ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรการทำนาปลอดสารพิษ หมู่ที่ 3 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา โดยมี รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. หัวหน้าโครงการ นายธนศักดิ์ สุขสง ผู้อำนวยการศูนย์สาธิตฯ คณะผู้รับผิดชอบร่วมโครงการฯ และสมาชิกกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านคูหาใน เข้าร่วมประชุม รวมทั้งสิ้น 32คน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแจ้งให้สมาชิกกลุ่มทราบเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่ม วัตถุประสงค์การดำเนินงานของกลุ่ม การจัดนิทรรศการในงานเกษตรภาคใต้ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 12-21 ส.ค. 59 ตลอดจนการดำเนินงาน/กิจกรรมต่างๆเพื่อให้สอดรับกับเงื่อนไขที่ทางแหล่งทุน (กระทรวงวิทย์ฯ) กำหนด | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 32 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 14 [IG=1769] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
วันที่ 21 มิถุนายน 2559 โครงการหมูบ้านวิทยาศาสตร์ฯ จัดประชุมคณะทำงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์: หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงรัตภูมิ ครั้งที่ 2/2559 ณ ห้องประชุม 120คณะทรัพยากร ธรรมชาติ ม.อ. มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 12 คน และมีวาระการประชุมเพื่อแจ้งให้ทราบประกอบด้วย การจัดนิทรรศการงานเกษตรภาคใต้ ผลการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย และมีวาระพิจารณาประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเกษตรอินทรีย์บนแผนที่ออนไลน์” งบประมาณโครงการ การถอดบทเรียนการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 1,008 จำนวนผู้รับบริการ : 12 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 15 [IG=1770] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
- โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ โดย รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า เข้าร่วมอบรมระบบออนไลน์ Clinic Monitoring Online (CMO) ซึ่งทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุมเลิศพัฒน์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 16 [IG=1771] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
นายธนศักดิ์ สุขสง คณะทำงานโครงการฯ และคณะ ลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม Pre-SAR ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 17 [IG=1772] วันที่รายงาน [4/7/2559] | |||
จัดทำจดหมายข่าวหน่วยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือน มีนาคม – เมษายน 2559 คอลัมน์บอกข่าวเล่าเรื่อง “กระทรวงวิทย์ฯ จับมือคลินิก ม.อ. ดันคูหาใต้ ต้นแบบหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง” | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 18 [IG=2119] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
วันที่ 5 กันยายน 2559 โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ จัดประชุมคณะทำงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงรัตภูมิ ครั้งที่ 4/2559 ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรการทำนาปลอดสารพิษ หมู่ที่ 3 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 19 คน เพื่อพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับ ผลการจัดนิทรรศการงานเกษตรภาคใต้ ทิศทางการดำเนินงานของกลุ่ม ตลอดจนเพื่อเติมเต็มข้อมูลกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มจากการประชุมครั้งนี้ได้มาซึ่งข้อสรุปสำคัญ คือ กิจกรรมการจัดนิทรรศการงานเกษตรภาคใต้ประจำปี 2559 ของกลุ่มถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เพราะนอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์กลุ่มให้เป็นที่รู้จักแล้ว ยังมีการนำผลผลิตของกลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอด ได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกจำหน่ายสร้างรายได้แก่สมาชิก ซึ่งผู้รับผิดชอบหลักควรชี้แจงผลการดำเนินงาน (รายรับ-รายจ่าย) ให้ทางกลุ่มรับทราบในโอกาสต่อไป ในส่วนของกระบวนการผลิตข้าวของกลุ่มได้มีการระดมความเห็นนำมาซึ่งข้อสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมการผลิต ความต้องการ และหน่วยงานที่จะเข้ามาหนุนเสริมสนับสนุนทั้งในส่วนของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 19 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 19 [IG=2120] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
2 กันยายน 2559 โครงการหมูบ้านวิทยาศาสตร์ฯ คลินิกเทคโนโลยีฯ ม.อ. และโครงการการพัฒนาอัตลักษณ์เพื่อการตลาดออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ของกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านคูหาใน อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการตลาดออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ขึ้น ณ โรงเรียนวัดคูหาใน อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยมีสมาชิกกลุ่มและบุตรหลานซึ่งเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมจำนวน 35 ราย
| ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 35 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 20 [IG=2121] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
โครงการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเกษตรอินทรีย์บนแผนที่ออนไลน์ ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์ กลุ่มนาข้าวอินทรีย์วิถีพอเพียงคูหาใน โดยจด Domain ภายใต้ชื่อ www.khuhanai-organic.psu.ac.th
| ค่าใช้จ่าย : 35,000 จำนวนผู้รับบริการ : 38 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 21 [IG=2122] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
วันที่ 17-18 สิงหาคม 2559 โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมจัดนิทรรศการผลงานวิชาการรับใช้สังคม กับหน่วยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ในงาน ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ
| ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 22 [IG=2123] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
วันที่ 12 - 21 สิงหาคม 2559 โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมจัดนิทรรศการในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 24 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยภายในบูทมีการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ดังนี้ 1) การแสดงนิทรรศการ โมเดลกระบวนการทำนาอินทรีย์ 2) การจัดแสดงและการสาธิตการแปรรูป เช่น การแปรรูปขนม (ขนมจาก ขนมโค ขนมเจาะหู และขนมต้มสามเหลี่ยม) การบรรจุข้าวแบบสุญญากาศ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดง ประกอบด้วย ข้าวสังหยด ข้าวไรเบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ข้าวหอมปทุม ข้าวเล็บนก ขนมคุกกี้ และขนมทองพับ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มผลิตขึ้น 3) กิจกรรมกึ่งสาธิตกึ่งปฏิบัติจริง เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์ของกลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงคูหาใน ซึ่งเป็นผลงานของโครงพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศฯ ที่มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาให้ได้ทดลองใช้จริง 4) บอร์ดนิทรรศการระบบการเกษตร การผลิตข้าวอินทรีย์ของคนคูหาใต้ โดยนำโมเดลของคุณวิโรจน์ คงนุ้ย เกษตรกรซึ่งประสบความสำเร็จ ด้วยมีความหลากหลายของกิจกรรมและมีการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจน
| ค่าใช้จ่าย : 77,923 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 23 [IG=2124] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
การประชาสัมพันธ์ โครงการฯได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์งานผ่านสื่อประเภทต่างๆ อาทิ จดหมายข่าว, facebook, จัดแสดงนิทรรศการ และการเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว | ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 24 [IG=2125] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ และจัดทำป้ายโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ | ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2560 | 223,000|223,000|223,000|ใช้หมด | 20176161116401.pdf | 2017112144621.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2226] วันที่รายงาน [5/4/2560] | |||
วันที่ 29 มีนาคม 2560 คลินิกเทคโนโลยีฯ ม.อ. ได้รับแจ้งเงินโอน (งบประมาณ) จาก สป.วท. ปัจจุบัน คลินิกเทคโนโลยี สำนักวิจัยฯ ม.อ. กำลังดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายและตัดโอนงบประมาณให้ต้นสังกัดของเจ้าของโครงการ" | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : การโอนงบประมาณล่าช้า แนวทางแก้ไข : การแจ้งผลโครงการฯ ล่าช้า ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2356] วันที่รายงาน [5/7/2560] | |||
วันจันทร์ ที่ 8 พฤษภาคม 2560 ประชุม ระดมความคิดและกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) และกำหนดวัน เวลาลงพื้นที่ เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชนสำหรับการพัฒนาโครงการต่อเนื่องปีที่ 2ณ ห้องประชุมฉัตรวิจัย ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) อาคาร 1 ชั้น 12 | ค่าใช้จ่าย : 901 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2358] วันที่รายงาน [5/7/2560] | |||
วันที่ 1 มิถุนายน 2560 ลงพื้นที่ประชุมและกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน ร่วมกับคณะทำงาน และกำหนดแนวทางในการดำเนินงานสำหรับปีที่ 2 ณ บ้านคูหาใน หมู่ที่ 3 ต. คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จากการประชุม มีมติให้แปรรูปไข่เป็ดของชุมชนไข่เค็ม และทำข้าวตัง ซึ่งจะมีวิทยากรมาให้ความรู้เพื่อขยายผล โดยมี ผศ.ดร.ธีรศักดิ์ จินดาบถ วิทยากรทางด้านการตลาด เข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานทางด้านการตลาด | ค่าใช้จ่าย : 1,600 จำนวนผู้รับบริการ : 17 ปัญหาอุปสรรค : - เนื่องจากติดฤดูทำนา ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมมีจำนวนน้อย แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2362] วันที่รายงาน [5/7/2560] | |||
ภาพลงพื้นที่ประชุมและกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน ร่วมกับคณะทำงาน
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=2601] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร การเตรียมข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์ฯ อาจารย์อรอนงค์ สัตยารักษ์หัวหน้าโครงการได้มีการสัมภาษณ์และถ่ายทอดวิธีการคิดและคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ให้สมาชิกกลุ่ม และ วิทยากรที่มาถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับการผลิตสินค้า ต้นทุนการผลิต และต้นทุนบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสรุปข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนสินค้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ณ หมู่ที่ 3 บ้านคูหาใน ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 วันที่ 8 สิงหาคม 2560 และ วันที่ 2 และ 3 กันยายน 2560 ทำให้ทราบถึงข้อมูลต้นทุนของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์ฯ และนำข้อมูลดังกล่าวมากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ให้กับกลุ่มฯ | ค่าใช้จ่าย : 7,400 จำนวนผู้รับบริการ : 80 ปัญหาอุปสรรค : -พบว่าสินค้าบางชนิดมีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับราคาขายทำให้กลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์ มีกำไรขั้นต้นต่ำมาก แนวทางแก้ไข : -กำหนดราคาขายใหม่ที่เหมาะสม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=2602] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร กิจกรรมวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 (เวลา 9.00 – 16.30 น). ทางโครงการฯได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำไข่เค็มโดยวิทยากรคุณบุญทิพย์ สังข์มาศ ณ บ้านคูหาใน หมู่ที่ 3 ต. คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 37 คนซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมฟังบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของไข่เป็ดแต่ละสายพันธุ์ การเลือกไข่เป็ด วิธีการเลี้ยงเป็ดไข่เพื่อคัดไข่ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการทำไข่เค็ม รับฟังบรรยายจากวิทยากร เกี่ยวกับส่วนผสมในการทำไข่เป็ด และหลังจากนั้นสมาชิกได้ร่วมกันทำไข่เค็ม ไข่เค็มที่ได้ทำในครั้งนี้เป็นไข่เค็มที่พอกด้วยดินที่หาได้ในท้องถิ่น ผสมเกลือ และคลุกด้วยแกลบเผา รวมถึงวิธีการเก็บรักษา ผลผลิตที่ได้คือไข่เค็มซึ่งสามารถทำไว้บริโภคในครัวเรือนและทำเป็นอาชีพเสริม เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและ เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกกลุ่ม กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปรรูปข้าว เป็นข้าวตังหน้าข้าวยำ” ในวันที่ 2-3 กันยายน 2560 ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปรรูปข้าว เป็นข้าวตังหน้าข้าวยำ”โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา ผลผลิตที่ได้คือชุมชนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น ที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของภาคใต้ โดยผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวที่ปลูกในชุมชนเข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการทำข้าวตัง ซึ่งสามารถนำความรู้มาผลิตสินค้าใหม่เพื่อสร้างรายได้ให้ครัวเรือน โครงการสนับสนุน พันธุ์กล้วย กล้วยหิน กล้วยเล็บมือนาง กล้วยน้ำว้า ในวันที่ 3 กันยายน 2560 มาให้สมาชิกในกลุ่ม จำนวน 80 ต้น เพื่อให้สมาชิกนำไปปลูกและนำผลผลิตที่ได้มาแปรรูปในปีต่อไป ทำให้ได้ผลผลิตในนาข้าวเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในปีต่อไป กิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ชุมชน และกิจกรรมส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ส่งเสริมให้มีการออกบูธจำหน่ายสินค้า - สมาชิกในโครงการฯ ออกบูธจำหน่ายสินค้าในงานเที่ยวสุขใจ ระหว่างวันที่ 7– 10 กันยายน 2560 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - วันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน 2560 ส่งเสริมกลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์ฯ ออกบูธจำหน่ายสินค้าในงานแสดงสินค้า “Healthy Lifestyle Hatyai : Eposode II –Change Your Thoughts and Transform Your Life (2017)” ระหว่าง ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ในวันที่ 10 กันยายน 2560 ผศ. ดร.ธีระศักดิ์ จินดาบถ และอ. ณัฐกานต์ รัตนพันธุ์ ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน สำหรับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ชุมชนและแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่สมาชิก เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ข้าวตัง และ ไข่เค็ม มีการออกแบบกล่องใส่ไข่เค็ม สติ๊กเกอร์สำหรับติดบนฝากล่องใส่ข้าวตัง และไข่เค็ม จัดทำแผ่นพับเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลภายนอก
| ค่าใช้จ่าย : 159,837 จำนวนผู้รับบริการ : 71 ปัญหาอุปสรรค : -ข้าวตังมีกลิ่นหืน แนวทางแก้ไข : -อยู่ระหว่างหาวิธีแก้ไข ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=2603] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร วันที่ 11 - 12 สิงหาคม 2560 อาจารย์อรอนงค์ สัตยารักษ์ ได้ร่วมกิจกรรมพัฒนาจิตปัญญาร่วมสมาชิกกลุ่มนาข้าว และได้ทาบทามสมาชิกกลุ่มนาข้าวเป็นวิทยากรบรรยายการทำไข่เค็มให้กับ หมู่ที่ 9 บ้านหัวยาง ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 3 ปัญหาอุปสรรค : -ไม่มี แนวทางแก้ไข : -ไม่ม่ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=2604] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร วันที่ 26 กันยายน 2560 ตัวแทนสมาชิกฯ ได้ไปถ่ายทอดความรู้การทำไข่เค็มให้กับกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หมู่ที่ 9 บ้านหัวยาง ต. คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ. สงขลา โดยมีสมาชิกในชุมชนเป็นวิทยากร จำนวน 3 คน และมีผู้บริหารท้องถิ่น เทศบาลตำบลคูหาใต้ เข้าร่วมกิจกรรม สำหรับกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 73 คนชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดได้รับความรู้ และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัตถุดิบในชุมชน สร้างวิทยากรตัวคูณ สร้างเครือข่ายภายนอกเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบในการแปรรูป ทำให้วิทยากรชุมชนเกิดความชำนาญในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนลูกข่าย
| ค่าใช้จ่าย : 25,262 จำนวนผู้รับบริการ : 73 ปัญหาอุปสรรค : -สถานที่คับแคบเกินไป แนวทางแก้ไข : -จัดกลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ทำไข่เค็มให้ครบทุกคน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=2626] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร หัวหน้าโครงการและคณะทำงานโครงการประเมินผลการดำเนินงาน ณ หมู่ที่ 3 บ้านคูหาใน ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เกี่ยวกับผลการดำเนินงานปีที่ 2 ของโครงการ | ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งราคาขายที่ไม่สัมพันธ์กับต้นทุน ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากข้าวมีกลิ่นหืน การดำเนินงานของกลุ่มสมาชิกกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม แต่ยังมีกระบวนการกลุ่มไม่มากเท่าที่ควร แนวทางแก้ไข : จึงเห็นควรผลักดันให้เกิดการจัดรูปแบบองค์กร และถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกเกี่ยวกับการบริหารงานกลุ่มนาข้าวฯ เพิ่มเติม การประเมินทำให้ทราบปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=2628] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร ได้ดำเนินการประเด็นนี้แล้วเมื่อเริ่มดำเนินโครงการ และช่วงของการประเมินผล | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=2629] วันที่รายงาน [29/9/2560] | |||
ระบุ : ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้ผลอย่างไร จำนวนเท่าไหร่(5W 1H) ผลผลิต..ได้อะไร ผลลัพธ์..คืออะไร คณะทำงานได้มีการสรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานตามข้อกำหนดของโครงการ | ค่าใช้จ่าย : 18,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2561 | 250,000|250,000|214,591|35,409 | 2018261631461.pdf | 2018123103451.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2698] วันที่รายงาน [5/4/2561] | |||
วันที่ 8 มีนาคม 2561 คลินิกเทคโนโลยีฯ ม.อ. ได้รับแจ้งเงินโอน (งบประมาณ) จาก สป.วท. | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2907] วันที่รายงาน [6/7/2561] | |||
คณะทำงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง รัตภูมิ ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ปีที่ 3 เบื้องต้นก่อนจะมีการประชุมร่วมกับชุมชน โดยได้มีการพิจารณาถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา ปีที่ 1 ทางโครงการฯ จัดทำแผนการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายสินค้า รวมทั้งพัฒนาในส่วนของการตลาดออนไลน์ เนื่องจากในปีที่ 1 นั้นได้รับงบประมาณในช่วงที่มีผลผลิตจากนาข้าวแล้วจึงเป็นการพัฒนาส่วนของปลายน้ำ ปีที่ 2 ก็ยังคงเป็นการถ่ายทอดเกี่ยวกับการแปรรูป พัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และมีการเพิ่มผลผลิตในนาข้าวด้วยการปลูกกล้วย ทางคณะทำงานจึงมองว่าเพื่อเป็นการเติมเต็มการดำเนินงานของกลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์ฯ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการจึงเห็นว่าปีที่ 3 จึงควรมีการพัฒนาในส่วนของต้นน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนาครบวงจร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งกำหนดให้มีการทบทวนโครงสร้างองค์กรและ ส่งเสริมการดำเนินงานในรูปแบบกลุ่มมากยิ่งขึ้น โดยได้นำข้อเสนอแนะเบื้องต้นเสนอในที่ประชุมที่มีการประชุมร่วมกับชุมชน คณะทำงานเข้าร่วม จำนวน 5 คน | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2908] วันที่รายงาน [6/7/2561] | |||
กิจกรรม 3 กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ มีศาสตราจารย์ ดร.สมยศ ทุ่งหว้า และ นายธนศักดิ์ สุขสง เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม โดยทั้ง 3 กิจกรรมมีการปฏิบัติในพื้นที่ บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยได้ดำเนินการ 2 กิจกรรม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงาน การดำเนินงานยังไม่เสร็จสิ้น กิจกรรมที่ 1โครงการเพิ่มผลผลิตนาข้าว โดยโครงการเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรให้ได้ไม่น้อยกว่า 800กิโลกรัม และสามารถให้บริการดำนาแก่ชาวบ้านประชาชนทั่วไปได้ โดยมีกิจกรรมจัดทำแปลงดำนา แปลงเพาะกล้า และการเลี้ยงเป็ดในนาข้าว มีผู้เข้าร่วม จำนวน 15 คน
กิจกรรมที่ 2โครงการเพิ่มรายได้จากการทำนาผสมผสาน โดยให้เกษตรกรมีรายได้ไม่น้อยกว่า 50,000บาทต่อไร่อปี โดยมีกิจกรรม ทำนาข้าว ปลูกกล้วย เกษตรกรสามารถจำหน่ายหน่อกล้วยพันธุ์ดี และสามารถจำหน่วยอาหารสัตว์และเลี้ยงเป็ดโดยใช้ข้าวกล้องหยวกกล้วยเป็นอาหารได้ มีผู้เข้าร่วม จำนวน 15 คน
| ค่าใช้จ่าย : 36,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2909] วันที่รายงาน [6/7/2561] | |||
วันที่ 5 เมษายน 2561 โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง รัตภูมิ ภายใต้คลินิกเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการจัดประชุมคณะทำงาน ร่วมกับตัวแทนจากชุมชนเพื่อระดมความคิดเห็นในการกำหนดแผนการดำเนินงานสำหรับปีที่ 3 โดยมีคณะทำงาน ตัวแทนชุมชน คณาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบแผนงานสำหรับการต่อยอดงานวิจัย รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 20 คน โดยกำหนดแผนการดำเนินงานดังนี้
วันที่ 27 มิถุนายน 2561 คณะทำงาน โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง รัตภูมิ ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานในมุมมองของสมาชิกของกลุ่มนาข้าวฯ เพื่อวางแผนการจัดโครงการจัดโครงสร้างองค์กร มีตัวแทนเข้าร่วมจำนวน 3 คน กิจกรรมอยู่ระหว่างดำเนินการ ในเดือน กรกฎาคม ดำเนินการถ่ายทอดความรู้และกำหนดบทบาทหน้าที่อีกครั้ง | ค่าใช้จ่าย : 13,839 จำนวนผู้รับบริการ : 23 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=3018] วันที่รายงาน [29/9/2561] | |||
กิจกรรมอบรม การจัดการผลประโยชน์ของกลุ่มนาข้าวอินทรีย์วิถีพอเพียง รัตภูมิ-วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการผลประโยชน์ให้กับสมาชิกกลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงรัตภูมิ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ บางโชคดี ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดคูหาใน บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เวลา 13.00-16.00 น. โดยให้สมาชิกเปรียบเทียบประโยชน์จากการดำเนินงานในลักษณะกลุ่มและการผลิตและขายสินค้าเอง คำนวณผลประกอบการของกลุ่ม ทั้งด้านการคิดและวิธีการ สอนให้สมาชิกคิดทบทวนต้นทุนและผลกำไรได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงได้มีกิจกรรมระดมความคิด กลุ่มละประมาณ 5 คน แบ่งตามสถานการณ์ที่วิทยากรได้กำหนดไว้ ให้สมาชิกกลุ่มได้ทดลองคิด ต้นทุนและกำไรในแต่ละสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างความความชำนาญในการคิดต้นทุนและผลกำไรให้กับสมาชิกกลุ่ม
ภายหลังกำหนดโครงสร้างกลุ่มได้สมาชิกเห็นความสำคัญของการจัดทำบัญชี จึงได้กำหนดให้มีการวางระบบบัญชีกลุ่ม
| ค่าใช้จ่าย : 24,774 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=3021] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
กิจกรรมอบรม เกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างองค์กรและการบริหารงาน-วันที่ 12กรกฎาคม 2561 จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างองค์กรและการกำหนดบทบาทหน้าที่ ในการบริหารงานกลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง รัตภูมิ โดย ดร.ศิรินุช ลอยกุลนันท์ ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดคูหาใน บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เวลา 09.30-12.00 น. โดยมีการถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร หน้าที่ความสำคัญในแต่ละตำแหน่ง ด้านการจัดการโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม บทบาทของแต่ละตำแหน่ง ร่วมกันทำกิจกรรมระดมความคิด กำหนดตำแหน่งในโครงสร้างของกลุ่มนาข้าวใหม่ เนื่องาจากเดิมมีกรรมการบางส่วนไม่ได้มีส่วนร่วม พร้อมกันนั้น ประธานกลุ่ม นางปรานีทองรักษ์ ได้มีการลาออกจากตำแหน่งประธานกลุ่ม จึงมีการเลือกประธานกลุ่มใหม่ คือ นายธนศักดิ์ สุขสง หลังจากนั้นสมาชิกขอจัดประชุมกลุ่มนาข้าว และเลือกผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งกันภายในกลุ่ม ทำให้กลุ่มมีการปรับเปลี่ยนกรรมการบริหารกลุ่ม ภายหลังการประชุมของสมาชิกจึงกำหนดกรรมการบริหารกลุ่มนาข้าวเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงตามโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งเป็นผลจากการได้รับการอบรม ส่งผลให้กลุ่มมีความแข้มแข็ง มีการดำเนินงานในลักษณะกลุ่มมากขึ้น โครงสร้างองค์กรกลุ่มนาข้าวอินทรีย์วิถีพอเพียง รัตภูมิหมู่ที่ 3 บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา1 นายธนศักดิ์ สุขสง ประธาน 2 นายนึก ชายแก้ว รองประธาน 3 นายเนื่อง แก้วดี รองประธาน 4 นายนึก ชายแก้ว เลขานุการ 5 นางสาวอรกมล ทองรักษ์ เลขานุการ 6 นางปรานี ทองรักษ์ ฝ่ายการตลาด 7 นางยุพิน แก้วสุวรรณ ฝ่ายการเงิน 8 นางสาวสรวงสุดา สวนทอง ฝ่ายบัญชี 9 นางสมใจ เกษมุล ฝ่ายทะเบียน 10 นางอำนวย หลงแก้ว ปฏิคม 11 นางอุมาพร สีพุฒ ประชาสัมพันธ์ 12 นางเจริญ ทองประภา ฝ่ายผลิต 13 นางพุมริน เพรชบูรณ์ ฝ่ายผลิต 14 นายชำเลือง เสวีพงศ์ ฝ่ายตรวจสอบ 15 นายวิโรจน์ คงนุ้ย ที่ปรึกษา 16 นายชาญ เพรชบูรณ์ ที่ปรึกษา | ค่าใช้จ่าย : 5,550 จำนวนผู้รับบริการ : 22 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=3030] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
กิจกรรม การเพิ่มผลผลิตในนาข้าว ได้มีการปรับปรุงพัฒนาและทดลอง และดำเนินกิจกรรมตลอดทั้งปี
กิจกรรมปลูกกล้วย การปลูกกล้วย จะทำการผ่าหน่อกล้วยเพื่อป้องกันโรคไส้แดง และล้างด้วยยาฆ่าเชื้อชีวภาพ แช่ฮอร์โมนเร่งตา ชำในถุง ตลอดระยะการปลูกใส่ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งผลผลิตกล้วยที่ได้สามารถจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม และต้นกล้วยก็สามารถนำมาเป็นอาหารให้เป็ด โดยหั่นหยวกกล้วยด้วยอุปกรณ์ประดิษฐ์ของชุมชน
| ค่าใช้จ่าย : 54,416 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : แพดำนาบางรุ่นมีน้ำหนักมากเกินไป แนวทางแก้ไข : มีการพัฒนาใช้วัสดุที่มีน้ำหนักที่เบาขึ้น ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=3031] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
กิจกรรม แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวกลุ่มนาข้าวรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกกลุ่ม และนำมาสี บรรจุถุง และจำหน่าย โดยเป็นการฝึกการดำเนินงานในลักษณะกลุ่ม ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มในส่วนของการจำหน่ายข้าวเปลือก เนื่องจากลุ่มรับซื้อข้าวเปลือกในราคาสูงกว่าพ่อค้าคนกลาง นอกจากนี้สมาชิกกลุ่มยังได้รับค่าตอบแทนในส่วนของการสีข้าว การบรรจุข้าวสารเพื่อจำหน่าย และได้ค่าตอบแทนจากการจำหน่ายข้าวสาร โดยที่กำไรจากการจำหน่ายเป็นของกลุ่มนาข้าว กิจกรรมดังกล่าวเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม
| ค่าใช้จ่าย : 44,672 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=3032] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้แก่เครือข่ายภายนอก นางปรานี ทองรักษ์ หัวหน้าแผนกการตลาด เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้กับหน่วนงานภายนอกดังนี้
กิจกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี /องค์ความรู้ของหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงรัตภูมิ และเครือข่ายชาวนาอำเภอรัตภูมิ ร่วมกับคณะกรรมการนาแปลงใหญ่จากจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส- วันที่ 19 กรกฎาคม 2561โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับเครือข่ายชาวนาอำเภอรัตภูมิ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ คณะกรรมการนาแปลงใหญ่จากจังหวัดปัตตานี และนราธิวาส โดยมีการจัดแสดงสินค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรในชุมชน ทบทวนมาตรฐานการผลิตครบวงจร โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สมยศ ทุ่งหว้า และ นายธนศักดิ์ สุขสง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ณ วิโรจน์ โฮมสเตย์ บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เวลา 09.00-16.30น. โดยมีการจัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 ฐานได้แก่ ฐานแปรรูปอาหารสัตว์ ฐานนวัตกรรมการผลิตแพดำนา ฐานการตลาด ฐานการแปรรูปผลผลิตการเกษตร
| ค่าใช้จ่าย : 7,320 จำนวนผู้รับบริการ : 160 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=3033] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
ประชุมคณะทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มนาข้าว วันที่ 5 กันยายน 2561 ประชุมเพื่อทบทวนการดำเนินงานกลุ่ม ณ ศูนย์ถายทอดเทคโนโลยีการเกษตรจากผลการประชุม เวลา 13.30 – 16.30 น. มีมติให้มีการจัดทำแผนการตลาด และวางระบบบัญชีเพื่อให้กลุ่มสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มและสมาชิกโดยทางกลุ่มได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรครบทุกตำแหน่งแล้ว พร้อมกันนั้นสมาชิกมีความเห็นอยากให้มีการถ่ายทอดการแปรรูปกล้วย และเป็ด เนื่องจากมีผลผลิตกล้วยและเป็ดซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ เดิมทางกลุ่มฯ ขายกล้วยสด แต่เนื่องจากปัจจุบันราคากล้วยท้องตลาดมีราคาลดลงจึงมีความต้องการแปรรูปผลผลิตดังกล่าว สำหรับเป็ดทางกลุ่มมีความต้องการนำเนื้อเป็ดมาแปรรูป ซึ่งมีสมาชิกเป็นคนคิดค้นสูตรในการแปรรูป จึงมีสมาชิกบางส่วนยังไม่ได้รับการถ่ายทอด | ค่าใช้จ่าย : 2,836 จำนวนผู้รับบริการ : 13 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 11 [IG=3034] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
ประชุมคณะทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มนาข้าว วันที่ 14 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดคูหาใน บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เวลา 13.30-16.30 น.ประชุมเพื่อสรุปการดำเนินงานกลุ่ม โดยสมาชิกรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม และรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรม พร้อมกับสรุปปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน สมาชิกร่วมประชุมจำนวน 20 คน | ค่าใช้จ่าย : 2,656 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 12 [IG=3035] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
ประเมินโครงการ วันที่ 17 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดคูหาใน บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เวลา 09.00- 12.00 น.สมาชิกให้ข้อมูลกรรมการประเมิน และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับดำเนินกิจกรรมของกลุ่มนาข้าวฯ ในแต่ละกิจกรรม | ค่าใช้จ่าย : 13,136 จำนวนผู้รับบริการ : 29 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 13 [IG=3036] วันที่รายงาน [30/9/2561] | |||
กิจกรรมจัดทำแผนการตลาด และเทคนิคการขาย วันที่ 28 กันยายน 2561 สมาชิกกลุ่มรับการถ่ายทอดเกี่ยวกับการจัดทำแผนการตลาด โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ จินดาบถ ณ ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดคูหาใน บ้านคูหาใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เวลา 09.00- 16.00 น. สมาชิกได้รับการถ่ายทอดการจัดทำแผนการตลาด จัดทำตัวแบบธุรกิจของผลิตภัณฑ์ กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด การวิเคราะห์ SWOT กำหนดเป้าหมายการขาย ลักษณะเด่นของสินค้า กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด และการจัดทำประมาณการทางการเงิน ซึ่งจากกิจกรรมดังกล่าวสมาชิกสามารถประยุกต์ความรู้จากการจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ตัวอย่างมาพัฒนาและจัดทำแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นของกลุ่มได้เช่นกัน
| ค่าใช้จ่าย : 9,392 จำนวนผู้รับบริการ : 23 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates