หน่วยงานรับผิดชอบ :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2558 | 401,040|299,650|179,670|119,980 | 2015721549481.pdf | 20151118179401.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1307] วันที่รายงาน [5/7/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 179,670 จำนวนผู้รับบริการ : 151 ปัญหาอุปสรรค : ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มบ้านเสารีกต้องล่าช้า เนื่องจากปีนี้ฝนมาช้า แนวทางแก้ไข : คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่ลุ่ม และมีบ่อน้ำสาธารณะที่สามารถดึงน้ำมาใช้ได้ เพื่อให้ทันต่อการเพาะปลูก ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 388,900|250,000|250,000|ใช้หมด | 20165241019151.pdf | 20169301417341.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1545] วันที่รายงาน [30/6/2559] | |||
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี2559
| ค่าใช้จ่าย : 78,996 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : -1. เทคโนโลยีการผลิตแก็สชีวภาพมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากที่ต้องการบ่อแก็สชีวภาพ เพราะเป็นเทคโนโลยีง่ายไม่ยุ่งยาก ใช้ได้จริง แนวทางแก้ไข : -1. วว. ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อม ได้แก่ - ต้องเป็นเกษตรกรที่ต้องการใช้แก็สชีวภาพจริงๆ และใช้จริง - ต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสม - ต้องมีวัตถุดิบ เช่นมูลสัตว์ต่างๆ ให้เพียงพอตามที่ วว. กำหนด - วว. จะเก็บผลการดำเนินงานประมาณ 3 ปี หากมีการชำรุด ไม่ดูแลจนใช้ไม่ได้จะมีคณะกรรมการกลุ่มดังกล่าวปรับค่าเสียหาย (แล้วแต่กลุ่มตกลง) เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการทำบ่อแก็สให้กับเกษตรกรรายต่อไป เพื่อให้เกษตรกรเกิดจิตสำนึกและรักษาสิ่งของที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐต่อไป ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1699] วันที่รายงาน [30/6/2559] | |||
1. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
• เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 60 คน วันที่ 8 มิถุนายน 2559 อบรมโดยนายประทาย เคนเหลื่อม จากศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็น 86.36%
2. การจัดเตรียมวัสดุส่งเสริมการสาธิตการปฏิบัติในพื้นที่
3. การเก็บตัวอย่างดินและปุ๋ย | ค่าใช้จ่าย : 77,586 จำนวนผู้รับบริการ : 100 ปัญหาอุปสรรค : 1. การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐาน เมื่อบริษัทมารับซื้อเกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ แนวทางแก้ไข : รประชุมระดมความคิดเพื่อหาช่องทางการตลาดที่มากขึ้น ทางกลุ่มจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน มีการตรวจแปลงที่มีกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีมาเป็นพี่เลี้ยง และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวในนามกลุ่มเอง ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1909] วันที่รายงาน [12/9/2559] | |||
ผลการดำเนินงาน
| ค่าใช้จ่าย : 93,418 จำนวนผู้รับบริการ : 51 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2560 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20174301756511.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2191] วันที่รายงาน [3/4/2560] | |||
กิจกรรมที่ 1. อบรมสัมมนาหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2560 วันที่ 16-19 มกราคม 2560 ณ.กรมพัฒนาที่ดิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จังหวัดกรุงเทพมหานคร
รายชื่อผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน จำนวน 5 ราย ผลลัพธ์ของกิจกรรม – กลุ่มฯได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริของพระองค์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เพื่อก่อประโยชน์ โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรม มีดังนี้ 1.เรื่อง บทบาทการเป็นวิทยากร 89.78%, 2.การศึกษาดูงานเรื่องดินและปุ๋ย 90.22%, 3.การศึกษาดูงานการเกษตรในพระราชดำริของในหลวง 94.22%, การศึกษาดูงานโครงการส่วนพระองค์ 94.22%
กิจกรรมที่ 2. เป็นวิทยากรนอกสถานที่ เรื่อง “การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง” วันที่ 26 มกราคม 2560
ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 136 ราย
ผลลัพธ์ของกิจกรรม – ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงกระบวนการผลิตปุ๋ย และการบริหารจัดการภายในกลุ่ม
กิจกรรมที่ 3. การศึกษาทดลองการใช้ปุ๋ยนาข้าวระดับกระถางในเรือนทดลอง วันที่ 2 มีนาคม 2560 ได้มีการประชุม วางแผนการทดลองของปี 60 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 ราย ผลลัพธ์ของกิจกรรม เกษตรกรได้ใช้วิทยาศาสตร์ในการสังเกตและจดบันทึก ช่วยให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยเข้าไปในแต่ละครั้ง ว่าการใส่ปุ๋ยกรรมวิธีใดที่สามารถตอบสนองผลผลิตข้าวได้มากกว่า และได้ทราบถึงผลการทดลองในปี 59 ที่ผ่านมาว่ากรรมวิธีใดให้ผลผลิตสูง และกรรมวิธีใดให้ผลผลิตต่ำ รวมถึงกรรมวิธีใดต้นทุนการผลิตสูง และกรรมวิธีใดต้นทุนการผลิตต่ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของการทดลองครั้งต่อใปในปี 60 ได้
กิจกรรมที่ 4. ฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์ วันที่ 8 มีนาคม 2560 ณ.ศาลาหมู่บ้านเสารีก อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 64 ราย โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยนครพนม ได้แก่นายธนพัฒน์ สุระนรากุล และนางสาวจารุวรรณ ศรีสม
ผลลัพธ์ของกิจกรรม – เกษตรกรได้รับความรู้ด้านอาหารสัตว์ สามารถผลิตอาหารสัตว์ไว้ใช้เองได้ โดยใช้แหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งสามารถลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ได้ โค-กระบือมีสุขภาพสมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากมีอาหารสัตว์คุณภาพดี โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรม 89.63%
| ค่าใช้จ่าย : 95,937 จำนวนผู้รับบริการ : 243 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2275] วันที่รายงาน [30/6/2560] | |||
1.ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเป็นอาชีพรอง/เสริม
1.2 อบรมเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพ วันที่ 25 เมษายน 2560 (กิจกรรมที่ 2)
2. อบรมลูกข่าย โดยเป็นวิทยากรนอกสถานที่ เรื่อง “เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง” (กิจกรรมที่ 3)
3. การศึกษาทดลองการใช้ปุ๋ยนาข้าวระดับกระถางในเรือนทดลอง ปี2 (กิจกรรมที่ 4)
| ค่าใช้จ่าย : 60,829 จำนวนผู้รับบริการ : 102 ปัญหาอุปสรรค : 1.ปัญหา/อุปสรรค ในการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ ได้แก่ บางพื้นที่มีต้นไม้อยู่บริเวณใกล้เคียง จะมีกิ่งไม้หล่นลงมาตกใส่ถุงพลาสติก LAPE จะทำให้ถุงเกิดการชำรุด/รั่วได้ 2.ปัญหา/อุปสรรคในการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ อีกอย่างได้แก่ การลืมเติมมูลสัตว์ ทำให้เกิดปริมาณก๊าซน้อย แนวทางแก้ไข : 1. แก้ไขโดยการตัดกิ่งไม้ที่ยื่นออกมา ไม่ให้หล่นใส่ถุงพลาสติก หรือหาพื้นที่บริเวณโล่งแจ้ง 2. แก้ไขโดย ทำการเติมมูลสัตว์ทุกสัปดาห์ เพื่อให้ปริมาณก๊าซมีมากขึ้น ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2462] วันที่รายงาน [11/9/2560] | |||
กิจกรรมที่ 1 เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
(2.2) วันที่ 2 สิงหาคม 2560 ณ. ศาลาเอนกประสงค์ กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านหนองสามสี ตำบลหนองสามสี อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 51 ราย วิทยากร จำนวน 3 ราย ได้แก่ นางสาวประมาพร ธิติวรรณ นางหยาดฟ้า ปัญญาดี และนางอภิญญา สายตา จากหมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงบ้านเสารีก โดยคะแนนประเมินวิทยากร 90.00%
กิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพ
กิจกรรมที่ 3 เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
กิจกรรมที่ 4 เทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์
กิจกรรมที่ 5 การศึกษาทดลองการใช้ปุ๋ยนาข้าวระดับกระถางในเรือนทดลอง (ปี2)
(2) วันที่ 6 สิงหาคม 2560 ณ.โรงปุ๋ยบ้านเสารีก ต.พระเหลา อ.พนา จ.อำนาจเจริญ
ผลลัพธ์ของกิจกรรม – เกษตรกรได้มีการฝึกการปฏิบัติงานทดลองการใช้ปุ๋ยนาข้าวระดับกระถางในเรือนทดลอง ได้ใช้วิทยาศาสตร์ในการสังเกตและจดบันทึก ช่วยให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยเข้าไปในแต่ละครั้งว่าการใส่ปุ๋ยกรรมวิธีใดที่สามารถตอบสนองผลผลิตข้าวได้มากกว่า | ค่าใช้จ่าย : 93,234 จำนวนผู้รับบริการ : 90 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates