หน่วยงานรับผิดชอบ :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2558 | 401,040|299,650|170,192|129,458 | 2015721414121.pdf | 201512281041311.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1302] วันที่รายงาน [5/7/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 170,192 จำนวนผู้รับบริการ : 147 ปัญหาอุปสรรค : การประสานงานผู้รับบริการซึ่งเป็นเกษตรกรจะมีปัญหาในระหว่างกิจกรรมในอาชีพหลักซึ่งมักจะไม่มีเวลาในการรับบริการ แนวทางแก้ไข : ควรกำหนดการถ่ายทอดหรือให้ความรู้แก่ผู้รับบริการในช่วงที่ว่างจากการทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 388,900|250,000|250,000|ใช้หมด | 20165241017171.pdf | 2016930141511.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1563] วันที่รายงาน [7/4/2559] | |||
1. ประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับแกนนำกลุ่มเกษตรกร พร้อมชี้แจงและแจ้งผลการเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล
2. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
• การเพาะเห็ดชุมชน จำนวนผู้เข้าอบรม 50 คน วันที่อบรม 22 มีนาคม 2559
• การฝึกปฏิบัติทดลองการใช้ปุ๋ยนาข้าวระดับกระถางในเรือนทดลอง
3. การศึกษาดูงาน | ค่าใช้จ่าย : 149,969 จำนวนผู้รับบริการ : 123 ปัญหาอุปสรรค : การปรับตัวของเกษตรกรในเรื่องต้องเดินทางไกลเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม เพราะไม่คุ้นเคยกับการต้องไปค้างอ้างแรมในพื้นที่ไกลบ้าน แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1701] วันที่รายงาน [29/6/2559] | |||
1. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
2. การปฏิบัติงานทดลองทำแปลงกระถางข้าว
| ค่าใช้จ่าย : 81,568 จำนวนผู้รับบริการ : 74 ปัญหาอุปสรรค : 1. การทำแปลงเป็นสิ่งใหม่ของเกษตรกร ซึ่งกิจกรรมนี้ต้องอาศัยความละเอียดในการสังเกต การบันทึก ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทดลองได้ผลสำเร็จที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านงานวิจัยและความมั่นใจของเกษตรกร แนวทางแก้ไข : 1. ต้องให้โอกาสและเวลาให้เกษตรกรนำคนที่มีความเข้าใจในการสังเกตเรียนรู้และการบันทึกข้อมูลเพื่อให้กิจกรรมที่ทำประสพผลสัมฤทธิ์อย่างสูงสุด ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1912] วันที่รายงาน [12/9/2559] | |||
ผลการดำเนินงาน
2. การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
| ค่าใช้จ่าย : 18,463 จำนวนผู้รับบริการ : 6 ปัญหาอุปสรรค : -1. เวลาที่จำกัดทำให้ไม่สามารถเรียนรู้การทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริได้หมด เพราะศูนย์เรียนรู้มีประโยชน์และมีพื้นที่ค่อนข้างมากจึงต้องใช้เวลามากขึ้น แนวทางแก้ไข : -1. จัดระบบการอบรมสัมมนาและการศึกษาดูงานให้กระชับและเหมาะสม เช่นควรให้น้ำหนักสำหรับกิจกรรมที่เกษตรกรสนใจมากขึ้นและใช้เวลาในห้องประชุมให้เหมาะสม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2560 | 250,000|244,900|244,900|ใช้หมด | 2017430175581.pdf | 201711181849181.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=2186] วันที่รายงาน [3/4/2560] | |||
1. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี - กลุ่มได้เข้าร่วมการฝึกอบรมการเป็นวิทยากร ณ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวันที่ 17 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวอัปสร เสถียรทิพย์ ผู้อำนวยการ กองสื่อสารภายใน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความรู้และเทคนิคในการเป็นวิทยากรเพื่อฝึกให้เกษตรกรที่เข้าอบรมสามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งต่อแก่ผู้อื่นได้อย่างมั่นใจ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนสมอมีตัวแทนเข้าอบรมจำนวน 4 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 95 %
- กลุ่มบ้านดอนสมอได้ร่วมประชุมเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดทำการทดลองปลูกข้าวในกระถางเป็นปีที่สอง ในวันที่ 14 มีนาคม 2560 เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่แน่นอน วว.ได้แนะนำการจัดเตรียมดิน เตรียมปุ๋ยเพื่อใส่ข้าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ในการนี้ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 20 คน - นายวัชระ คำใหญ่ ประธานกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ได้ทำหน้าเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมลูกข่าย ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองสิม ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 14 มีนาคม 2560 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่กลุ่มมีความเชี่ยวชาญให้ลูกข่ายสามารถเข้าใจหลักปฏิบัติในการทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และเพื่อพัฒนาการดำเนินงานผลิตปุ๋ยให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่ง วว.ได้คอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำชี้แนะเกษตรกรอย่างใกล้ชิด ในการนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจำนวน 46 คน ซึ่งในภาคปฏิบัติได้นำวัตถุดิบเพื่อหมักปุ๋ยตามสูตรของ วว.จำนวน 50 ตัน ความพึงพอใจของกลุ่มเท่ากับ 87.51 %
2.ศึกษาดูงาน - กลุ่มได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ที่กรมพัฒนาที่ดิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 18 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวมิรันตี ฐิติโชติรัตนา เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม เพื่อเรียนรู้ความเป็นมาของดิน การแก้ปัญหา ชนิดของดินในแต่ละภูมิภาคซึ่งมีผลกระทบต่อการทำการเกษตรของเกษตรกรอย่างมาก ได้รับการถ่ายทอดวิธีการทำ พด. สูตรต่างๆที่จะช่วยเป็นหัวเชื้อในการมาขยายได้อีกหลากหลาย ทั้งการทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ การทำสารกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เป็นต้น กลุ่มได้เข้าร่วมดูงานรวม 4 คน มีความพึงพอใจเท่ากับ 86.67 %
- ได้ร่วมดูงานและศึกษาการเกษตรที่ในหลวงทรงเป็นผู้ทำเป็นต้นแบบ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในวันที่ 18 มกราคม 2560 ซึ่งมีนายประดับพันธ์ คูณเมือง เป็นผู้พาชมและบรรยายประกอบ มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายประการ ซึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงหวังให้พสกนิกรได้มีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่มีความทันสมัยและสามารถเรียนรู้ได้ในทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ได้เรียนรู้พืชในท้องถิ่นในภาคต่างๆที่ให้ประโยชน์ทั้งในด้านการบริโภค การรักษาโรค และการช่วยบำรุงพื้นดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาแบบไทยๆ ซี่งกลุ่มได้เข้าร่วมจำนวน 4 คน และมีความพึงพอใจเท่ากับ 98.89 %
- ศึกษาดูงานโครงการส่วนพระองค์ ณ สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 มกราคม 2560 โดยมีนางสาวจรรยาพร ก่อเกียรติคุณ เป็นผู้รับผิดชอบในการพาชม โดยโครงการต่างๆที่ในหลวงทรงมีวิสัยทัศน์และทรงรับสั่งให้ดำเนินการในพระราชวังส่วนพระองค์ มีทั้งโรงงานทำนม ฟาร์มเลี้ยงโคนม การทำแท่งถ่านอัด สาหร่ายเกลียวทองและอื่นๆอีกมากมาย และได้ชมโรงช้างที่เป็นช้างสำคัญมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และเกี่ยวข้องกับงานพระราชพิธีต่างๆของกษัตริย์ กลุ่มได้เข้าดูงานจำนวน 4 คน และมีความพึงพอใจเท่ากับ 94.44 % | ค่าใช้จ่าย : 72,927 จำนวนผู้รับบริการ : 82 ปัญหาอุปสรรค : -เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนบุคลากรในการทำงานในบางช่วง แนวทางแก้ไข : -ทำความเข้าใจถึงภารกิจหน้าที่และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นแม่ข่ายฯ โดยสร้างความร่วมมือในชุมชนให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2259] วันที่รายงาน [26/6/2560] | |||
1. การทำหน้าที่เป็นวิทยากร 1.1 กลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางหัวแฮต ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 4 เมษายน 2560 มีจำนวนผู้เข้าอบรม 35 ราย
โดยได้เล่าถึงการดำเนินงานในกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกและผู้นำจะต้องมีหัวก้าวหน้าในการนำความรู้มาพัฒนากลุ่มให้ดียิ่งๆขึ้นจนเป็นกลุ่มที่หน่วยงานต่างๆมักจะพาคนมาเยี่ยมชมเสมอ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในหลายๆด้าน จากนั้นนายสังวร ก้อนกั้น วิทยากรฝ่ายการผลิตปุ๋ยได้สอนเทคนิคและวิธีการผลิตปุ๋ยที่มีคุณภาพมาตรฐานที่ได้รับความรู้มาจาก วว. ที่เน้นการนำความรู้มาปรับพฤติกรรมการผลิตปุ๋ยให้ดีขึ้น เป็นที่สนใจของผู้ใช้ปุ๋ยมากยิ่งขึ้น ในภาคบ่ายได้นำเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติการหมักปุ๋ยร่วมกัน
1.2 ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านบ่อปัทม์ หมู่ 4 ตำบลสะแบง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 มีจำนวนผู้เข้าอบรม 48 ราย โดยคณะวิทยากรที่ทำหน้าที่ในการบรรยายมี 2 ท่าน คือนายวัชระ คำใหญ่ ประธานกลุ่มทำหน้าที่เล่าการดำเนินงานในการของกลุ่มตั้งแต่เริ่มทำปุ๋ยจากการสนับสนุนของปศุสัตว์อำเภอศรีสงคราม จนได้มีโอกาสรับการฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และมีการพัฒนาในด้านคุณภาพและศักยภาพการผลิตอย่างดี ส่วนนายสังวร ก้อนกั้น ได้อธิบายขั้นตอนวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตามแนวทางของวว. และได้ตอบคำถาม ข้อสงสัยให้ผู้เข้าอบรมได้รับคำตอบในเรื่องที่เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยของกลุ่มด้วย ผลการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยเป็น 89.18% และประเมินวิทยากรที่ 91.30%
2. การอบรมเทคโนโลยีที่กลุ่มสนใจ นอกจากกลุ่มจะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตปุ๋ยแล้ว เทคโนโลยีอื่นที่กลุ่มมีความสนใจและต้องการนำมาปฏิบัติให้เกิดผลจริงเพื่อสร้างเสริมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้และลดค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรของชุมชนมี 2 เรื่อง ได้แก่ 2.1 เทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์ โดยจัดอบรมที่กลุ่มเลี้ยงกระบือสวยงามบ้านดอนสมอ หมู่ 1 ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม วิทยากร โดย นายธนพัฒน์ สุระนรากุล อาจารย์มหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ด้วย ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 จำนวนผู้เข้าอบรม 30 ราย ในเนื้อหารการบรรยาย วิทยากรได้พูดถึงหลักการทำการเกษตรให้มีความยั่งยืน และพูดในเรื่องการเลี้ยง สายพันธุ์ที่สำคัญและเหมาะสมกับเกษตรกร วัตถุดิบและการเลี้ยงสัตว์ที่มีในท้องถิ่น และการทำอาหารให้สัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมและลดต้นทุนได้ ในท้ายการบรรยายได้มีการสาธิตแนะนำสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงโคที่ใช้งบประมาณไม่มากเพื่อให้กลุ่มนำไปทำกันเองในกลุ่มในโอกาสต่อไปด้วย วว.ยังได้สนับสนุนปัจจัยการผลิตดังกล่าวให้กลุ่มทำเป็นกิจกรรมนำร่องเพื่อพัฒนาสูตรอาหารให้เหมาะสมกับกระบือในปีต่อไปด้วย ผลการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยเป็น 83.81% และประเมินวิทยากรที่ 87.14%
2.2 เทคโนโลยีการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก โดยจัดอบรมที่กลุ่มเลี้ยงกระบือสวยงามบ้านดอนสมอ หมู่ 1 ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม วิทยากร โดย ผศ.วิระ ศรีธัญรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน ในวันที่ 13 มิถุนายน 2560 จำนวนผู้เข้าอบรม 35 ราย การอบรมการเพาะเห็ดครั้งนี้เป็นการต่อยอดองค์ความรู้และเรียนรู้เทคนิคในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในครั้งแรกที่กลุ่มได้อบรมไปนั้นหลังจากนำไปปฏิบัติยังพบว่ามีความเข้าใจผิดอยู่บ้างในบางเรื่อง สาเหตุเกิดจากกลุ่มมักจะคิดว่าหารทำเห็ดง่าย แต่เมื่อลงมือทำจริงแล้ว ประสบปัญหาหลายอย่างจนผลผลิตมีความเสียหายโดยไม่รู้สาเหตุ จึงมีการร้องขออบรมซ้ำอีกครั้งเพื่อเพิ่มพูนความรู้และปรับแก้ปัญหาในสิ่งที่ผิดพลาดมาเป็นบทเรียนต่อไป นอกจากนี้กลุ่มยังได้ทดลองเลี้ยงเห็ดบนขอนไม้อย่างง่ายเพื่อเป็นการเพาะเห็ดที่ไม่ต้องดูแลอย่างเคร่งครัดมากนักและสามารถเอาไว้บริโภคในครัวเรือนได้ด้วย วว.สนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้กลุ่มปฏิบัติด้วย ผลการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยเป็น 87.17% และประเมินวิทยากรที่ 94.86%
| ค่าใช้จ่าย : 108,474 จำนวนผู้รับบริการ : 148 ปัญหาอุปสรรค : 1. ปัญหาในเรื่องการเรียนรู้เทคโนโลยีที่กลุ่มสนใจ ซึ่งเกิดปัญหาในเรื่องความตั้งใจในการเรียนรู้ เนื่องจากปกติเกษตรกรมักจะมีสมาธิในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ไม่นาน เพราะกังวลว่าจะต้องไปทำนู่นทำนี่ แล้วก็คิดว่าเทคโนโลยีที่กำลังเรียนรู้เป็นเรื่องง่าย ชาวบ้านก็ทำได้ แล้วก็มักจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงไม่ค่อยได้ 2. เกษตรกรบางคนจะชอบซื้อมากกว่าจะทำเอง ดังนั้นจึงมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติจริงหลังจากอบรมไปแล้ว แนวทางแก้ไข : 1. ลดการบรรยายภาคทฤษฎีแล้วปรับเพิ่มการปฏิบัติให้มากขึ้น และเน้นการทำจริงเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จะช่วยให้เกษตรกรมีความเชื่อและพึงพอใจในการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 2. ต้องให้ชุมชนหรือสมาชิกภายในกลุ่มร่วมกันทำความเข้าใจให้เห็นระโยชน์จากการทำขึ้นมาเองมากกว่าที่จะไปซื้อในราคาที่แพงกว่า ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2449] วันที่รายงาน [1/9/2560] | |||
1. อบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยี การทำหน้าที่เป็นวิทยากร กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดบ้านคำแม่นาง ต.หนองซน อ.นาทม จ.นครพนม ในวันที่ 22 สิงหาคม 2560 มีจำนวนผู้เข้าอบรม 43 ราย
โดยได้เล่าถึงการดำเนินงานในกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกและผู้นำจะต้องมีหัวก้าวหน้าในการนำความรู้มาพัฒนากลุ่มให้ดียิ่งๆขึ้นจนเป็นกลุ่มที่หน่วยงานต่างๆมักจะพาคนมาเยี่ยมชมเสมอ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในหลายๆด้าน และพร้อมที่จะเป็นเครือข่ายให้กลุ่มที่สนใจได้แลกเปลี่ยนความรู้ในด้านการผลิตปุ๋ยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในระดับจังหวัดนครพนม
2. ติดตามความคืบหน้าการศึกษาทดลองแปลงข้าวกระถาง
| ค่าใช้จ่าย : 63,499 จำนวนผู้รับบริการ : 43 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates