หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สถานะหมู่บ้าน : เข้มแข็งเติบโต
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2557 | 120,000|120,000|25,000|95,000 | 20149261618331.pdf | 201529161171.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=923] วันที่รายงาน [1/7/2557] | |||
กิจกรรมที่ได้ดำเนินการตามแผนงาน 1. สำรวจข้อมูลสภาพปัญหา / คัดเลือกและทำทะเบียนผู้ร่วมโครงการ กำหนดพื้นที่ดำเนินการที่ชัดเจน สำรวจความต้องการ โดยคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมโครงการรวม 40 คน จากหมู่บ้านหลัก 29คน (บ้านหนองอาบช้าง หมู่ 9) และจากหมู่บ้านเครือข่าย อีก 11 คน (หมู่ 6, 7, 10, 13 และ16) อยู่ในระหว่างจัดทำทะเบียนประวัติของสมาชิกทั้ง 40 คน (ส่วนใหญ่ได้ข้อมูลครบแล้ว แต่บางคนยังขาดรูปถ่ายและเบอร์โทรศัพท์) เจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลสบเตี๊ยะกำลังจัดทำรายงานการสำรวจ และสภาพปัญหา/ความต้องการของกลุ่ม พร้อมทะเบียนประวัติที่สมบูรณ์ จัดทำแบบประเมินต้นเองหมู่บ้านแม่ข่ายฯ (ดังรายละเอียดตามกำหนดการที่แนบ) 2. อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยประสานความร่วมมือกับศูนย์นาโนเทคโนโลยี เพื่อผลักดันผ้าทอพื้นเมืองเป็นผ้าทอพื้นเมืองนาโน จัดอบรมให้แก่สมาชิกโครงการ หัวข้อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอย้อมสีธรรมชาติด้วยนาโนเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 57 (ดังรายละเอียดตามกำหนดการที่แนบ) แผนการดำเนินงานระยะต่อไป 1. การศึกษาดูงานกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายย้อมสีด้วยวัสดุธรรมชาติสำหรับการผลิตผ้าทอพื้นเมืองนาโน โดยประสานความร่วมมือกับเครือข่ายหมู่บ้านผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ หมู่บ้านผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งหมอก อ.เชียงคำ จ.พะเยา ภายใต้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อให้การสนับสนุนเรื่องเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ (รวมถึงการศึกษาดูงานด้านการแปรรูปอาหาร และกิจกรรมโฮมสเตย์ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างการพัฒนาเทคโนโลยีรองของชุมชน) 2. การติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการในปีงบประมาณ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น (สำรองเงินส่วนตัวออกไปก่อนแล้ว รอการรวบรวมตัวเลขที่ชัดเจน) 1. ค่าใช้จ่ายในการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่ม ประมาณ 5,000 บาท 2. ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ประมาณ 20,000 บาท สามารถดูกำหนดการจัดกิจกรรมได้ที่ไฟล์แนบ... | ค่าใช้จ่าย : 25,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : การรวมกลุ่มของสมาชิกขาดความต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต (ลำใย) เนื่องจากการทอผ้าเป็นอาชีพรอง แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 201471151481.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1147] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
รายงานการศึกษาดูงานด้านผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ และกลุ่มแปรรูปอาหาร จ.พะเยา ภายใต้โครงการหมู่บ้านผ้าทอย้อมสีธรรมชาตินาโน วันที่ 27-28 กันยายน 2557 ผู้ปฏิบัติงาน 1. นายชายกร สินธุสัย นักวิชาการ 2. นายวิชเยนทร์ พรหมฟัง นักวิชาการ ผลการปฏิบัติงาน กิจกรรมศึกษาดูงานการย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ ให้แก่สมาชิกกลุ่มผ้าทอบ้านหนองอาบช้าง ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 27 คน เพื่อศึกษาเรียนรู้การย้อมสีจากสีธรรมชาติ โดยในการศึกษาดูงานได้นำกลุ่มสมาชิก แบ่งกลุ่มลงมือปฏิบัติทำผ้าย้อมสีธรรมชาติจากไม้แก่นฝาง ติ้วขน และสตาร์แอปเปิ้ล เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการย้อมสีจากสีธรรมชาติ และสามารถนำเอากระบวนการจากการอบรมมาปรับใช้กับกลุ่มของตนเองได้ โดยมีขั้นตอนบทปฏิบัติการดังนี้ 1. การทำความสะอาดด้าย เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและกำจัดไขมันออกจากฝ้าย มีขั้นตอนดังนี้ - ผสม สบู่, โซดาแอชและน้ำ ในอัตราส่วน ด้าย 50 กรัม : สบู่ 5 กรัม : โซดาแอช 8 กรัม : น้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร - นำมาต้มจนสารละลายใส - ใส่ด้ายที่ต้องการทำความสะอาดลงไป ต้มเป็นเวลา 1 ชั่วโมง - นำด้ายขึ้นล้างด้วยน้ำเปล่าหลายๆ ครั้ง จนแน่ใจว่าล้างสบู่ออกหมด 2. ย้อมมอร์แดนท์ก่อนการย้อมสี เพื่อช่วยให้ด้ายติดสีได้ดีขึ้น มีขั้นตอนดังนี้ - ละลายมอร์แดนท์ปริมาณที่กำหนด (ตารางที่ 1) ในน้ำสะอาด อุ่นให้พอร้อน คนให้ละลาย - นำด้ายฝ้ายที่ทำความสะอาดด้วยสบู่แล้ว ลงย้อมและคนอย่างสม่ำเสมอ - ต้มนาน 30 นาที นำขึ้นบิดพอหมาด - นำไปย้อมสีในน้ำย้อมสีที่เตรียมไว้ 3. การย้อมสี มีขั้นตอนดังนี้ - ทำการต้มสกัดสีจากวัตถุดิบ (ตารางที่ 1) โดยนำวัตถุดิบนั้นมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วนำออกมาต้มให้เดือด นาน 1 ชั่วโมง - กรองแยกกากและน้ำสีออกจากกัน - นำด้ายที่ทำความสะอาดแล้วลงย้อม (กรณีด้ายนั้นแห้งแล้ว) ควรนำมาชุบน้ำแล้วบิดให้หมาดก่อน นำไปย้อมสี | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2558 | 200,000|200,000|200,000|ใช้หมด | 201511181511201.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1451] วันที่รายงาน [30/9/2558] | |||
วันที่ 24 กันยายน 2558 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ได้จัดกิจกรรม “การผลิตผ้าทอพื้นเมืองนาโน”ให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้างณ กลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง หมู่ที่ 9 ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่โดยวิทยากรจาก มทร.ล้านนา ผศ.ญานิศา โกมลสิริโชค อาจารย์สาขาออกแบบสิ่งทอและเครื่องประดับ พร้อมผู้ช่วย และ น.ส.วัลภา กันทะวงค์ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 15ท่าน เป็นสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจ ซึ่งวิทยากรได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตผ้าทอพื้นเมืองนาโน โดยวิธีการตกแต่งสำเร็จทางเคมี ได้แก่
วันที่28 กันยายน 2558 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ได้จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ จากผ้าทอพื้นเมืองนาโน” ให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง ณ กลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง หมู่ที่ 9 ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่โดยวิทยากรจาก มทร.ล้านนา ผศ.ญานิศา โกมลสิริโชค อาจารย์สาขาออกแบบสิ่งทอและเครื่องประดับ พร้อมผู้ช่วย และ น.ส.วัลภา กันทะวงค์ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 15ท่าน เป็นสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจ ซึ่งวิทยากรได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋า จากผ้าทอพื้นเมืองนาโน ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพิ่มลูกเล่นให้มีความแปลกใหม่และสวยงามมากยิ่งขึ้น | ค่าใช้จ่าย : 200,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - บางครั้งเวลาที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะลงไปทำกิจกรรมกับกลุ่ม แต่ทางกลุ่มมักจะมีเวลาว่างไม่ตรงกัน จึงทำให้ต้องเลื่อนเวลานัดหมายออกไป แนวทางแก้ไข : - ประสานงานหาเวลาว่างที่ตรงกัน โดยกำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมให้ชัดเจน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 200,000|200,000|156,815|43,185 | 2016471350141.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1710] วันที่รายงาน [30/6/2559] | |||
ผลการดำเนินงาน (ไตรมาส3)
4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการอนุมัติ เพื่อจ้างเหมาจัดทำป้ายบอกทางของหมู่บ้าน และแผ่นพับใบปลิว เพื่อประชาสัมพันธ์งานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ค่าใช้จ่าย : 74,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : ปีนี้ทาง จนท. ของกระทรวงฯ ไม่มีการแจ้งโอนเงินงบประมาณมายังมหาวิทยาลัย ซึ่งปกติจะแจ้งทางอีเมล์ จึงทำให้การดำเนินกิจกรรมต้องล่าช้าออกไปจากเดิม แนวทางแก้ไข : เร่งดำเนินการในแต่ละกิจกรรม ให้ทันต่อเวลาของปีงบประมาณตามที่ระบุไว้ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1927] วันที่รายงาน [20/9/2559] | |||
วันที่ 7 มิถุนายน 2559 ได้ออกหนังสือเพื่อขออนุมัติจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อขอเบิกงบประมาณ ในส่วนของการจ้างเหมาจัดทำแผ่นป้ายบอกทางให้กับกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง จำนวน 6 ชุด โดยกระจายการติดตั้งไปตามเส้นทางหลัก เพื่อเป็นการบอกระยะทางในการเดินทางไปยังกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักกับกลุ่ม ในนามของหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อของ “หมู่บ้านหัตถกรรมผ้าทอย้อมสีธรรมชาตินาโน”
วันที่ 30 มิถุนายน 2559 ได้ออกหนังสือเพื่อขออนุมัติจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อขอเบิกงบประมาณ ในส่วนของการจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับให้กับกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง จำนวน 1,500 แผ่น โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อของ “หมู่บ้านหัตถกรรมผ้าทอย้อมสีธรรมชาตินาโน” เพื่อมอบให้กับทางกลุ่มได้นำไปเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ที่สนใจต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 38,025 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1953] วันที่รายงาน [26/9/2559] | |||
วันที่ 12 – 15 กรกฎาคม 2559 ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง นำโดย อ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกฯ และ น.ส.วัลภา กันทะวงค์ เจ้าหน้าที่คลินิกฯ ได้นำผู้แทนของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง จำนวน 7 ท่าน เดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ สาธรพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ อำเภอศรีสัชนาลัย และกลุ่มทอผ้าบ้านนาต้นจั่น อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงาน และวิสัยทัศน์ในการทำผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มหรือชุมชน โดยจะเป็นแนวทางที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอต่อไปในอนาคตได้
| ค่าใช้จ่าย : 21,390 จำนวนผู้รับบริการ : 7 ปัญหาอุปสรรค : มีปัญหาในการเบิกจ่าย ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมคนขับ และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะขั้นตอนการเดินเอกสารล่าช้า จึงทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายในส่วนนี้ได้ แนวทางแก้ไข : ขอเบิกเฉพาะค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าที่พัก ส่วนที่ไม่สามารถเบิกได้ จะนำไปขอถัวเฉลี่ยจ่ายในกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1956] วันที่รายงาน [26/9/2559] | |||
วันที่ 16 มิถุนายน 2559 ได้ออกหนังสือขออนุมัติจ้างเหมาบุคคลจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สำหรับการออกแบบและจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อนำไปบูรณาการในกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าทอนาโน ให้กับกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง จำนวน 9 ชิ้นงาน ชิ้นงานละ 2,600 บาท เป็นจำนวนเงิน 23,400 บาท ประกอบด้วย เสื้อบุรุษ 3 ตัว เสื้อสตรี 3 ตัว และชุดเดรสสตรี 3 ชุด โดยใช้ผ้าทอย้อมสีธรรมชาตินาโนของกลุ่ม ให้ทางผู้รับจ้างทำการออกแบบร่างผลิตและจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตามรายการข้างต้น | ค่าใช้จ่าย : 23,400 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : เนื่องจากปีงบประมาณนี้ ได้รับแจ้งเรื่องการโอนเงินล่าช้า จากเดิมมีการแจ้งในอีเมล์ทันทีหลังจากการโอนเงิน แต่ปีนี้ไม่มีอีเมล์แจ้งมา ซึ่งภายหลังมีการแจ้งล่าช้ากว่าเดิม ทำให้มีระยะเวลาในการดำเนินงานน้อยลง แนวทางแก้ไข : ยื่นหนังสือขอขยายเวลาออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2559 ไปยัง ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี เลขที่ ศธ 0583.01(30)/1728 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2559 ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates