หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สถานะหมู่บ้าน : เข้มแข็งเติบโต
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2557 | 300,000|236,000|213,400|22,600 | 20144181628401.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=933] วันที่รายงาน [2/7/2557] | |||
คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ จัดพิธีเปิด โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติบ้านหล่ายแก้ว (หนองปู) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557 โดยมี นายคมเดช อัยย์ตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบงต้น กล่าวต้อนรับ นายไพโรจน์ วรพจน์พรชัย รอง ผอ.กองการศึกษางานบริการวิชาการ กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก ผศ.อวยพร บัวใบ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ ร่วมกับ นายดิเรก สุริวงค์ ปลัดอาวุโสอำเภอดอยเต่า ร่วมเปิดโครงการ ณ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมผ้าทอกระเหรี่ยง บ้าน หล่ายแก้ว ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติบ้านหล่ายแก้ว (หนองปู) โดยคลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ดำเนินโครงการภายใต้พันธกิจกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในด้านการผลักดันหมู่บ้านหรือชุมชน ให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ ในการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิต พัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่จะสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิต ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยมีการประสานเชื่อมโยงร่วมกับหน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้ชุมชนลดรายจ่ายภาคการผลิต เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และเป็นต้นแบบของการพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งในวันที่ 29 เมษายน 2557 ยังได้มีการจัดเวทีเสวนาเพื่อทบทวนตนเอง วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ และกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อทำความเข้าใจในแผนพัฒนาหมู่บ้าน ค้นหาและกำหนดหน้าที่ของแกนนำกลุ่ม โดย อ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย และ อ.พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม พร้อมกันนี้ยังได้ ผศ.ดร.รจนา ชื่นศิริกุลชัย อาจารย์ประจำสาขาสิ่งทอและเครื่องประดับ ดร.ณงค์นุช นทีพายัพทิศ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีศิลป์ และ ผศ.ญาณิศา โกมลสิริโชค อาจารย์ประจำสาขาสิ่งทอและเครื่องประดับ ร่วมให้คำแนะนำแก่กลุ่มชาวบ้านและผู้นำชุมชนในโอกาสนี้ด้วย | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 80 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1110] วันที่รายงาน [30/9/2557] | |||
2. พัฒนากลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว 2.1 สร้างพลังกลุ่มในการทำงานเป็นทีม 2.2 พัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการ (การทำบัญชี,บันทึกการประชุม,ทะเบียนสมาชิก,รายรับ รายจ่าย) 2.3 กฎระเบียบ 2.4 แนวทางการดำเนินงานของกลุ่ม 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ กะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติและ เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ 3.1 การย้อมสีธรรมชาติ 3.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ 3.3 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 4. ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และจัดทำคู่มือเทคโนโลยีชุมชน 5. ถอดองค์ความรู้และสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผ้าทอ 6. ติดตามและประเมินผลในพื้นที่ | ค่าใช้จ่าย : 193,400 จำนวนผู้รับบริการ : 80 ปัญหาอุปสรรค : การดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างหัวข้อเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ จำนวน 22,600 ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ต้องคืนเงินงบประมาณ แนวทางแก้ไข : อนุมัติงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินโครงการตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2558 | 330,000|253,000|253,000|ใช้หมด | 201511181515561.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1340] วันที่รายงาน [24/7/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 73,800 จำนวนผู้รับบริการ : 56 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1401] วันที่รายงาน [28/9/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 179,200 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชนของบ้านหล่ายแก้ว ซึ่งมักจะไม่มีพื้นฐาน หรือความชำนาญในด้านการตัดเย็บ จึงทำให้ชิ้นงานที่ทำออกมาไม่สวยงามเท่าที่ควร แนวทางแก้ไข : วิทยากรได้แนะนำเทคนิคและวิธีการตัดเย็บที่เหมาะสม เข้าใจง่าย ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยให้ฝึกทำหลากหลายรูปแบบ แล้วค่อยๆฝึกพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งขึ้น ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 200,000|200,000|177,832|22,168 | 2016471349581.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1829] วันที่รายงาน [26/9/2559] | |||
ผลการดำเนินงาน วันที่ 18-19 และ 25-26 มิถุนายน 2559 ได้กำหนดการจัดฝึกอบรม “นักออกแบบรุ่นใหม่ กลุ่มเยาวชนบ้านหล่ายแก้ว” ภายใต้โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
“หมู่บ้านผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติบ้านหล่ายแก้ว”ณ ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว ม.3 ต.บงตัน อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนบ้านหล่ายแก้ว มีกิจกรรมดังนี้
| ค่าใช้จ่าย : 70,708 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1954] วันที่รายงาน [26/9/2559] | |||
วันที่ 7 มิถุนายน 2559 ได้ออกหนังสือเพื่อขออนุมัติจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อขอเบิกงบประมาณ ในส่วนของการจ้างเหมาจัดทำแผ่นป้ายบอกทางให้กับกลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้าง จำนวน 8 ชุด โดยกระจายการติดตั้งไปตามเส้นทางหลัก เพื่อเป็นการบอกระยะทางในการเดินทางไปยังกลุ่มทอผ้าบ้านหล่ายแก้ว ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักกับกลุ่ม ในนามของหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อของ “หมู่บ้านผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติบ้านหล่ายแก้ว”
| ค่าใช้จ่าย : 50,700 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1955] วันที่รายงาน [26/9/2559] | |||
วันที่ 13 – 14 สิงหาคม 2559 ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรม “การจัดทำสมุดบันทึกกิจกรรมบ้านหล่ายแก้ว” ณ ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย อ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกฯ, น.ส.วัลภา กันทะวงค์ เจ้าหน้าที่คลินิกฯ พร้อมด้วยวิทยากรจากสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตจอมทอง ได้แก่ อ.แคทรียา พร้อมเพรียง และ อ.ฐิตารีย์ สิทธิยะ ได้ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูล/เอกสารเบื้องต้น, การสร้างแบบบันทึกกิจกรรมของกลุ่ม/ชุมชน และการฝึกจัดทำสมุดบันทึกกิจกรรมบ้านหล่ายแก้ว ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 30 คน ซึ่งได้เรียนรู้วิธีการหรือกระบวนการต่างๆ ในการจัดทำสมุดบันทึกกิจกรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินงานของกลุ่มหรือชุมชนได้ | ค่าใช้จ่าย : 56,424 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates