หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2556 | 196,400|196,400|65,000|131,400 | 2013610924111.pdf | 20144242022541.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=777] วันที่รายงาน [30/9/2556] | |||
กิจกรรมที่ดำเนินการและผลการดำเนินงาน (ระหว่างเดือนมิถุนายน กันยายน 2556) มีดังนี้ - คณะทำงานได้สำรวจข้อมูลสภาพบริบทชุมชน และข้อมูลปริมาณการใช้ก๊าซ LPG ในชุมชนยางกะไดใต้ จำนวน 20 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ครอบครัวมีสมาชิก 4-6 คน ใช้ก๊าซ LPG ในการหุงต้มอาหาร เฉลี่ย 1 ถังต่อเดือน มีปริมาณขยะอินทรีย์ประมาณ 40-50 % ของปริมาณขยะทั้งหมด ขยะอินทรีย์ที่พบส่วนใหญ่เป็นเศษอาหารและน้ำหมักจากกระบวนการผลิตแป้งข้าวแคบ - คณะผู้วิจัยฯ ได้จัดประชุมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯกับกลุ่มผู้ผลิตข้าวแคบ ชุมชนยางกะไดใต้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์โดยผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ จำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2556 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 27 คน - คณะผู้วิจัยได้พาแกนนำผู้ผลิตข้าวแคบ ชุมชนยางกะไดใต้ จำนวน 15 คน เข้าศึกษาดูงานการผลิตก๊าซชีวภาพแบบถุงพลาสติก ที่บ้านห้วยบง หมู่ 7 ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 1 เดือน พฤษภาคม 2556 ให้แกนนำที่เข้าศึกษาดูงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ผลิตก๊าซชีวภาพบ้านห้วยบง เกี่ยวกับการผลิตก๊าซชีวภาพจากขี้วัว ข้อดี ข้อเสีย และการดูแลรักษา - คณะผู้วิจัยได้พาแกนนำผู้ผลิตข้าวแคบ จำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่และผู้บริหารจากเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ จำนวน 4 คน เข้าศึกษาดูงานที่บ้านบ่อแฮ้ว หมู่ที่ 5 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง เพื่อศึกษาดูงานระบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร แบบถังหมัก 1000 ลิตร และแบบสุ่มไก่ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตก๊าซชีวภาพรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับทีมวิทยากรบ้านบ่อแฮ้ว ผู้ร่วมเวทีได้เลือกรูปแบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารที่จะทดลองผลิตที่ชุมชนยางกะไดใต้ เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ จำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบถังหมัก 1000 ลิตร และแบบสุ่มไก่ เนื่องจากใช้พื้นที่ไม่มาก เหมาะกับบริบทของชุมชนยางกะไดใต้ - จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากการผลิตข้าวแคบและเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2556 ให้กับชุมชนยางกะไดใต้ และตัวแทนเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ มีผู้เข้าร่วมอบรม 40 คน ในกิจกรรมการอบรมได้ทดลองสร้างบ่อก๊าซชีวภาพต้นแบบแบบถัง 1000 ลิตร จำนวน 3 ชุด สำหรับให้ชุมชนได้เรียนรู้กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้ | ค่าใช้จ่าย : 65,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : ช่วงเวลาดำเนินงานโครงการฯ ตรงกับฤดูทำนาและเกี่ยวเกี่ยวผลผลิตลางสาด/ลองกอง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้การทำกิจกรรมไม่เป็นไปตามแผน แนวทางแก้ไข : ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ไฟล์แนบกิจกรรม : 20139301117301.pdf | ||
2557 | 187,000|200,000|200,000|ใช้หมด | 20144301530371.pdf | 2016161138251.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=980] วันที่รายงาน [5/7/2557] | |||
1.ศึกษารูปแบบและพัฒนาการผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับการผลิตข้าวแคบ ทดแทนการใช้ก๊าซ LPG ร่วมกับชุมชน คณะทำงานและนักวิจัยชุมชน (เจ้าของบ่อก๊าซชีวภาพ) ได้ร่วมกันศึกษาประสิทธิภาพของระบบก๊าซชีวภาพต้นแบบ แบบถังพลาสติก (ถังเบาท์) 1000 ลิตร และแบบสุ่มไก่ (Fixed dome) และเรียนรู้กระบวนการจัดการให้เกิดก๊าซชีวภาพให้ได้ปริมาณสูงสุดในสภาวะแวดล้อมจริงตามบริบทของชุมชนยางกะไดใต้ และได้ร่วมกันถอดบทเรียน เปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัด ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพทั้ง 2 ระบบ ได้ข้อมูลโดยสรุปดังนี้ ระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบถังพลาสติก (ถังเบาท์) 1000 ลิตร -ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้สูงสุด 900 ลิตร -ปริมาณก๊าซมีเทน 57-61 เปอร์เซ็นต์ -ปริมาณสารอินทรีย์สูงสุดที่เติมต่อครั้ง 28 กิโลกรัม -ต้นทุนค่าวัสดุ (ไม่รวมค่าแรง) 8,000 บาท -การใช้งาน สามารถหุงต้มอาหารในครัวเรือน2-3 ชั่วโมงต่อเนื่อง -จุดคุ้มทุน 15.4 เดือน (คำนวณจากข้อมูลการใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนก๊าซ LPG หุงต้มอาหาร บ้านคุณกัญญาวีร์ วันสุข สามารถทดแทนก๊าซ LPG 1.3 ถังต่อเดือน ราคาก๊าซ LPG 390 บาทต่อถัง) ระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบสุ่มได่ (Fixed dome) 2000 ลิตร -ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้สูงสุด 1,600 ลิตร -ปริมาณก๊าซมีเทน 58-60 เปอร์เซ็นต์ -ปริมาณสารอินทรีย์สูงสุดที่เติมต่อครั้ง 57 กิโลกรัม -ต้นทุนค่าวัสดุ (ไม่รวมค่าแรง) 17,000 บาท -การใช้งาน สามารถหุงต้มอาหารในครัวเรือน มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง -จุดคุ้มทุน 7.3 เดือน (คำนวณจากข้อมูลการใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนก๊าซ LPG ในกระบวนการผลิตข้าวแคบ สามารถทดแทนก๊าซ LPG 6 ถังต่อเดือน ราคาก๊าซ LPG 390 บาทต่อถัง) ข้อดีของระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบถังพลาสติก 1000 ลิตร คือ มีราคาถูกกว่าแบบสุ่มไก่ ใช้พื้นที่น้อย ติดตั้งง่าย สามารถเคลื่อนย้ายได้ แต่มีข้อจำกัดคือ ปริมาณก๊าซที่ผลิตได้น้อยกว่าแบบสุ่มไก่ บริเวณที่เติมเศษอาหารอยู่สูงทำให้เติมเศษอาหารไม่สะดวก มีปริมาณก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ (H2S) ค่อนข้างสูง ต้องใช้ชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซับไฟล์ต่อเชื่อมระบบ รวมถึงระบบนี้มีขนาดเล็ก ทำให้เกิดปัญหาได้ง่าย ต้องใส่ใจดูแลมากกว่าแบบสุ่มไก่ ข้อดีของระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบสุ่มไก่ คือ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้มากกว่าแบบถังพลาสติก เนื่องจากระบบมีขนาดใหญ่ ทำให้การจัดการง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ระบบนี้มีราคาแพงกว่าแบบถังพลาสติก ใช้พื้นที่มากว่า และบ่อหมักไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ 2.ประชุมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปหารูปแบบที่เหมาะสม เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 คณะทำงานได้จัดเวทีถอดบทเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหารูปแบบระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่เหมาะสมสำหรับชุมชนยางกะไดใต้ ณ บ้านเลขที่ 103/1 ชุมชนยางกะไดใต้ ต.ศรีพนมมาศ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ มีผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด 20 คน ประกอบด้วย แกนนำชุมชน เจ้าของบ่อก๊าซชีวภาพ และผู้ที่สนใจ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ และผู้อำนวยกองสวัสดิการและสังคม เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ จากการประชุมถอดบทเรียน พบว่าคนในชุมชนพึงพอใจระบบผลิตก๊าซชีวภาพทั้งสองรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ก๊าซชีวภาพ ปริมาณความต้องการก๊าซชีวภาพ ปริมาณวัตถุดิบ เวลาว่างและบุคลิกลักษณะของผู้ดูแลระบบ โดยระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบถังพลาสติก 1000 ลิตร เหมาะกับครัวเรือนที่ต้องการใช้ก๊าซชีวภาพหุงต้มอาหารในครัวเรือน 3 มื้อ ๆ ละ 2-3 เมนู มีปริมาณเศษอาหารเฉลี่ย 3 กิโลกรัมต่อวัน ผู้ดูแลระบบมีเวลา ใส่ใจและเข้าใจระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ ส่วนระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบสุ่มไก่ เหมาะสำหรับครัวเรือนที่มีความต้องการใช้ก๊าซชีวภาพปริมาณมากกว่าการหุงต้มอาหาร เช่น ต้องการใช้ก๊าซชีวภาพในการลดต้นทุนการผลิตข้าวแคบ ประกอบอาหารตามสั่งหรือทำอาหารขาย เป็นต้น เหมาะกับครัวเรือนที่มีเศษอาหาร และหรือ มีน้ำแป้งข้าวแคบ ไม่ต่ำกว่า 10 กิโลกรัมต่อวัน และผู้ดูแลระบบต้องเข้าใจระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ 3. กำลังดำเนินการพัฒนาห้องอบข้าวแคบโดยใช้ความร้อนจากก๊าซชีวภาพร่วมกับพลังงานทางเลือกอื่น | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : บางครั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพมีปัญหา ไม่เกิดก๊าซมีเทน เนื่องจากสภาวะในถังหมักไม่เหมาะสม มีจุดที่รั่วซึมตรงรอยเชื่อม เป็นต้น แนวทางแก้ไข : เจ้าของบ่อก๊าซและช่างชุมชนพยายามแก้ไขและเรียนรู้ระบบ รวมถึงคณะทำงานได้เข้าติดตามในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และได้จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกเดือน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1105] วันที่รายงาน [30/9/2557] | |||
1.คณะทำงานและแกนนำชุมชนได้จัดอบรมการตรวจสอบความเป็นกรดในถังหมักก๊าซชีวภาพด้วยกระดาษลิตมัส การลดความเป็นกรดในถังหมักก๊าซชีวภาพ และกระบวนการจัดการเพื่อให้ชุมชนสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. จัดประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชน หาแนวทางการออกแบบและสร้างห้องอบแห้ง และโรงเรือนผลิตข้าวแคบของกลุ่ม 3. คณะทำงานออกแบบห้องอบข้าวแคบแบบประหยัดพลังงานที่ใช้พลังงานทางเลือกร่วมกับทีมงานจากพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์ 4.กำลังอยู่ในขั้นตอนวิเคราะห์และเลือกรูปแบบห้องอบแห้งที่เหมาะสมร่วมกับช่างชุมชนและผู้ผลิตข้าวแคบ | ค่าใช้จ่าย : 195,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : การดำเนินงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจาก ช่างชุมชนและผู้ผลิตข้าวแคบ มีภาระกิจหลายอย่าง ประกอบกับต้องทำนาและเก็บเกี่ยวผลผลิตลองกอง ลางสาด ทำให้มีเวลาว่างไม่ตรงกัน แนวทางแก้ไข : ขอขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการจนถึงเดือนมีนาคม 2558 ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2558 | 250,000|200,000|160,000|40,000 | ||
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1336] วันที่รายงาน [16/7/2558] | |||
ไตรมาส 3 - พัฒนาฐานเรียนรู้การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารและน้ำเสียจากกระบวนนการหมักแป้งข้าวแคบ ทั้งหมด 6 ครัวเรือน - พัฒนาวิทยากรท้องถิ่นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ : 1.วิธีการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารจากครัวเรือนและน้ำเสียจากกระบวนการหมักแป้งข้าวแคบ 2.การสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบถังหมักพลาสติก และแบบ fixed dome | ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : -ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน ทำให้สมาชิกบางส่วนไม่สามารถมาร่วมเรียนรู้ได้ -แกนนำชุมชนรับงานหลายหน้าที่ (จิตอาสา) ทำให้มีเวลาไม่ตรงกัน ทำให้งานโครงการฯล่าช้า ไม่เป้นไปตามแผน แนวทางแก้ไข : ร่วมกันวางแผน บริหารจัดการกิจกรรมแบบบูรณาการ โดยรวมกิจกรรมบางอย่างเข้าด้วยและบางครั้งนัดหมายการทำกิจกรรมในช่วงกลางคืน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1409] วันที่รายงาน [29/9/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 110,000 จำนวนผู้รับบริการ : 60 ปัญหาอุปสรรค : อยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้การก่อสร้างโรงเรือนผลิตข้าวแคบไม่ต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates