หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สถานะหมู่บ้าน : เข้มแข็งเติบโต
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ข้อมูลผลิตภัณฑ์บ้านห้วยทราย ต.หนองมะนาว อ.คง จ.นครราชสีมา
มหัศจรรย์ผงไหม
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผงไหม ดูได้ที่นี่...
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2556 | 300,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20131281013591.pdf | 2013930195941.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=504] วันที่รายงาน [29/3/2556] | |||
1. ประสานสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 4 นครราชสีมา เพื่อเชิญวิทยากรในการถ่ายทอดการอบรมให้กับกลุ่ม ในเรื่อง ขั้นตอนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทำผงไหมจากวัสดุจากธรรมชาติ 2. ลงพื้นที่กลุ่มเพื่อปรึกษาหารือ เรื่องการถ่ายทอดความรู้ และกำหนดวันเวลาในการดำเนินการ และความพร้อมของกลุ่ม พร้อมกับการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการที่จะมีจังหวัดเคลื่อนที่ลงไปที่กลุ่มด้วยในช่วงเดือนพฤษภาคม อีกด้วย (ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง) | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 15 ปัญหาอุปสรรค : ทางกลุ่มต้องการเตรียมความพร้อม ในการดำเนินงานเตรียมจังหวัดเคลื่อนที่ เนื่องจากไม่พร้อมในหลายหลายๆเรื่อง และต้องการให้ทางคลินิกเทคโนโลยีเข้ามาเป็นที่ปรึกษา และช่วยเหลือในการการดำเนินการต่าง เช่น การจัดกิจกรร โปสเตอร์ เอกสาร เป็นต้น แนวทางแก้ไข : ทางคลินิกเทคโนโลยียินดีลงไปช่วยในด้านต่างๆ ที่ทางกลุ่มเสนอมา แต่รอเรื่องความแน่นอนในเรื่องวันเวลาอีกครั้ง ว่าทางจังหวัดจะลงพื้นที่จริงวันไหนอีกครั้ง ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=557] วันที่รายงาน [18/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรมปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 20134181315241.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=651] วันที่รายงาน [30/6/2556] | |||
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มีการออกให้บริการถ่ายทอดเทคโนโลยี การย้อมสีไหมด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย ดร.บุษราคัม ป้อมทอง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทรายดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสีย้อมไหมชนิดแห้งด้วยวัสดุธรรมชาติ และเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริม อันจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของชุมชน โดยได้รับความร่วมมือวิทยากรจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา มาเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวทั้ง 3 วัน ให้แก่ชาวบ้านในครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 50 คน ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3-5 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มีการออกให้บริการถ่ายทอดเทคโนโลยี การปลูกหม่อนและการเรียนรู้เรื่องคราม ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย ดร.บุษราคัม ป้อมทอง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทรายดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสีย้อมไหมชนิดแห้งด้วยวัสดุธรรมชาติ และเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริม อันจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของชุมชน โดยได้รับความร่วมมือวิทยากรจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา มาเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวทั้ง 3 วัน ให้แก่ชาวบ้านในครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 30 คน ทั้งนี้ในวันที่ 3 มิถุนายน 2556 ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการหมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทรายด้วย พร้อมทั้งได้ให้ความรู้เพิ่มเติม และยังช่วยประสานงานติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาหมู่บ้านในด้านอื่นๆ ต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 178,000 จำนวนผู้รับบริการ : 80 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=749] วันที่รายงาน [18/9/2556] | |||
-คลินิกเทคโนโลยี ติดตามผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มีการออกติดตามผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายยุทธนา ตอสกุล นางสาวทองสุข พันเดช นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด และนางสาวสุนันทา บัวละคร เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทรายดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสีย้อมไหมชนิดแห้งด้วยวัสดุธรรมชาติ และเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริม อันจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของชุมชน ทั้งนี้ถอดบทเรียนองค์ความรู้ของหมู่บ้าน เพื่อสืบค้นความรู้จากการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการสกัดความรู้และประการณ์ที่ฝังลึกจากกลุ่มกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย เพื่อบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน และความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ระหว่างที่ชุมชนปฏิบัติงานทั้งที่สำเร็จ หรือล้มเหลวจากการปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถเผยแพร่ ศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป โดยเน้นการพูดคุย สัมภาษณ์ เล่าเรื่อง จับประเด็น และวิธีการปฏิบัติ พร้อมให้ทุกคนกับกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทรายได้แสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์และข้อมูลในการสรุปผลการถอดบทเรียนต่อไป - จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ | ค่าใช้จ่าย : 67,000 จำนวนผู้รับบริการ : 38 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2557 | 253,660|250,000|250,000|ใช้หมด | 20144301457271.pdf | 201529155141.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=903] วันที่รายงาน [6/6/2557] | |||
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่วางแผนการดำเนินงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี ของปีงบประมาณ 2557 ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย ดร.บุษราคัม ป้อมทอง รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี และนายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การออกแบบลายผ้าและการทอผ้าไหม ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย ดร.บุษราคัม ป้อมทอง รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ จำนวนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 30 คน โดยได้รับความร่วมมือจาก คุณนุวัฒน์ พรมจันทึก และคุณคุณกร พลสินธุ์ จากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปศึกษาดูงาน OTOP Midyear ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จำนวน 20 คนด้วยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จะจัดงาน OTOP Midyear 2014 ในวันที่ 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายในงานมีการจำหน่ายสินค้า OTOP การจัดนิทรรศการ การสาธิตกระบวนการผลิต OTOP ดีเด่นของ 4 ภาค และให้ความรู้กระบวนการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (1-5 ดาว) ซึ่งงานดังกล่าวมีประโยชน์ต่อโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มชุมชนบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา มีความรู้และประสบการณ์ สามารถนำแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 121,180 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=915] วันที่รายงาน [27/6/2557] | |||
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่วางแผนการดำเนินงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของปีงบประมาณ 2557 ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนายทิชากร ทองแสง ซึ่งโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทรายดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นปีที่ 2 โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านไหม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปจนถึงการจำหน่ายผ้าไหม เพื่อเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยสร้างอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามวิถีชีวิตในแต่ละชุมชนและท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนเป็นต้นแบบ/ตัวอย่างในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ และมีการขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง การลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์โปรแกรมวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อเป็นวิทยากรและช่วยเหลือในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของชุมชน เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ยังไม่มี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันรูปแบบบรรจุภัณฑ์ด้านผ้าไหม ยังไม่มีบรรจุเฉพาะที่เหมาะสมและสวยงาม และบรรจุภัณฑ์ด้านสบู่จากกาวไหม ที่ทางกลุ่มดำเนินการอยู่ยังขาดความสวยงามและขาดความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเอง โดยเฉพาะภาชนะบรรจุภัณฑ์ ฉลากบรรจุภัณฑ์ โลโก้ เป็นต้น | ค่าใช้จ่าย : 10,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1063] วันที่รายงาน [18/9/2557] | |||
เมื่อวันที่ 18 - 20 กรกฎาคม 2557 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมจัดงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมไทย IP Innovation and Technology Expo IPITEx. 2014 ในวันที่ 18 - 20 กรกฎาคม 2557 ณ Hall 103 -105 ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา โดยได้นำผลงานของบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมี พิธีเปิดได้รับเกียรติ จาก รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาเป็นประธานในพิธีในครั้งนี้ และได้ให้เกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการภายในงาน และแวะเยี่ยมชมนิทรรศการ หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมี ด้วย ทางคณะทำงานนำโดย นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมกับมอบของที่ระลึกในโอกาสที่ท่านให้เกียรติเยี่ยมชมและให้คำแนะให้แก่คณะทำงาน ในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเส้นไหม การสาธิตการทำสบู่จากกาวไหมแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์จากเส้นไหมคุณภาพดีมาจำหน่ายให้กับประชาชนได้เลือกซื้อกลับบ้านอีกด้วย อาทิ ผ้าไหม ผ้าพันคอ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์ด้านความสวยความงามที่มีส่วนผสมของไหม อาทิ สบู่กาวไหม โลชั่นบำรุงผิว ไหมขัดตัว ครีมอาบน้ำ ต่างได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างดี นอกจากการให้ความรู้เกี่ยวกับนิทรรศการที่จัดแสดงแล้ว ทางคณะทำงานยังมีการสาธิตการทำสบู่จากกาวไหม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของการนำเส้นไหมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้รับความร่วมมือวิทยากรจาก คุณนิยม เทศชารี ที่เป็นเครือข่ายของคลินิกเทคโนโลยี มาเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้แก่ผู้ที่สนใจ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1064] วันที่รายงาน [18/9/2557] | |||
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มีการออกติดตามผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายยุทธนา ตอสกุล นางสมรอนงค์ กวางเมตรตาธรรม นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด และนายทิชากร ทองแสง เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทรายดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นปีที่ 2 โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านไหม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปจนถึงการจำหน่ายผ้าไหม เพื่อเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยสร้างอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามวิถีชีวิตในแต่ละชุมชนและท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนเป็นต้นแบบ/ตัวอย่างในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ และมีการขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง ทั้งนี้ถอดบทเรียนองค์ความรู้ของหมู่บ้าน เรื่อง การออกแบบลายผ้าและการทอผ้าไหม เพื่อสืบค้นความรู้จากการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการสกัดความรู้และประการณ์ที่ฝังลึกจากกลุ่มกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย เพื่อบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน และความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ระหว่างที่ชุมชนปฏิบัติงานทั้งที่สำเร็จ หรือล้มเหลวจากการปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถเผยแพร่ ศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป โดยเน้นการพูดคุย สัมภาษณ์ เล่าเรื่อง จับประเด็น และวิธีการปฏิบัติ พร้อมให้ทุกคนกับกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทรายได้แสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์และข้อมูลในการสรุปผลการถอดบทเรียนต่อไป ทั้งนี้ยังมีทหารจากกองทัพภาคที่ 2 เข้ามาปฏิบัติราชการในพื้นที่ ณ บ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จึงได้เข้ามาพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอยู่ ว่ามาทำอะไรบ้าง จากหน่วยงานไหน พร้อมกับร่วมดำเนินกิจกรรมไปพร้อมกับทีมงานของคลินิกเทคโนโลยีด้วย | ค่าใช้จ่าย : 40,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1080] วันที่รายงาน [26/9/2557] | |||
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่ต้อนรับ คณะติดตามและประเมินผลกิจกรรมหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย ดร.บุษราคัม ป้อมทอง รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ดร.บุปผชาติ ต่อบุญสูง รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด และนายทิชากร ทองแสง ตามที่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการโครงการติดตามและประเมินผลกิจกรรมหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมและสถานภาพการพัฒนาหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อคัดเลือกและพัฒนายกระดับเป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และประเมินผลการดำเนินงานในมติประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพการให้บริการและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อที่จะพิจารณาผลการดำเนินงาน และให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เป็นปีที่ 3 ต่อไป ผู้ตรวจประเมินประกอบด้วย คุณปุณยชา บัณฑิตกุล (สส.) คุณเสาวพงศ์ เจริญ (สทน.) คุณอาพร สินธุสาร (วศ.) เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโครงการดังกล่าว การประเมินโครงการโดย การสัมภาษณ์และให้ข้อมูลจากแบบสอบถาม ส่วนของชุมชนก็ได้มีการต้อนรับอย่างดียิ่งทั้งหน่วยงานในท้องถิ่น เช่น ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะนาว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยทราย และสมาชิกในชุมชน ให้ความพร้อมเพียงและตอนรับเป็นอย่างดียิ่ง พร้อมกันนี้ทางชุมชนและคณะผู้ทำงานได้รับคำแนะนำต่างๆ จากคณะติดตามและประเมินผลกิจกรรมหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2558 เพื่อดำเนินโครงการเป็นปีที่ 3 ต่อไป - แผ่นพับประชาสัมพันธ์สบู่โปรตีนไหม 1000 ฉบับ - แบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์จากโปรตีนไหม - รายงานฉบับสมบูรณ์ | ค่าใช้จ่าย : 78,820 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2558 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 201558142261.pdf | 20151222142201.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1189] วันที่รายงาน [5/3/2558] | |||
เมื่อวันที่ 17-18 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการแต่งกลิ่นผ้าไหม การผลิตผ้าไหมกันเชื้อราและแบคทีเรีย และการผลิตผ้าไหมกันน้ำและนุ่มลื่น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น นำโดย ดร.บุษราคัม ป้อมทอง รองผู้อำนวยการคลินิก นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และบุคลากรของศูนย์วิทยาศาสตร์ ของให้บริการดังกล่าว การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายส่ง ตาไธสง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะนาว มาเป็นประธานเปิดกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้การอบรมเชิงปฏิบัติการได้รับเกียรติวิทยากรภายนอกมหาลัยคือ อาจารย์อุกฤษฎ์ นาจำปา อาจารย์สืบศักดิ์ ก้อนคำดี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และนางกัญญรัตน์ พลมาศ นางปราณี ปักกาเวสา ประธานและรองประธานกลุ่มผ้าไหมหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ | ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1190] วันที่รายงาน [5/3/2558] | |||
เมื่อวันที่ 17-20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การตกแต่งผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ส่งเสริมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และส่งเสริมการขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ตรานกยูงพระราชทาน ของปีงบประมาณ 2558 ณ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทราย โดยดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นปีที่ 3 และในครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้รับความร่วมมือจาก คุณนุวัฒน์ พรมจันทึก จากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการเหยียบลายผ้าไหมทั้งหมด 4 ลาย โดยลายที่ถ่ายทอดให้ กับชุมชน เป็นลายใหม่ ยังไม่แพร่หลาย จึงเป็นผลที่ดีต่อชุมชนที่ได้ทอผ้าลายใหม่ออกมาจำหน่าย ซึ่งสามารถช่วยให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นการจากจำหน่ายผ้าไหม ผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 30 คน โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการพัฒนาหมู่บ้านด้วย วทน. มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหมู่บ้านแม่ข่ายที่สามารถเป็นต้นแบบและขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ด้วยวิทยากรท้องถิ่น โดยมีระยะเวลาในการพัฒนา 3 ปี โดยการ ถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ ให้สมาชิกมีทักษะความชำนาญ ให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพกระยวนการผลิต การเพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ กระบวนการคิดการพัฒนาแบบครบวงจรห่วงโซ่แห่งคุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การขยายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในชนบท การสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน ชุมชน เช่น การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ การสังเกต การระบุปัญหา การทดลอง การจดบันทึก การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลและการสรุกผล เพื่อปรับทัศนคติ ให้เกิดกระบวนการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ มีเป้าหมายในการสร้างหมู่บ้านต้นแบบเพื่อนำไปสู่การขยายผล 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านแม่ข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยสร้างอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามวิถีชีวิตในแต่ละชุมชนและท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านหรือชุมชนเป็นต้นแบบ/ตัวอย่างในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ และมีการขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1264] วันที่รายงาน [2/7/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 70,500 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1367] วันที่รายงาน [7/9/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 79500 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1368] วันที่รายงาน [7/9/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 79,500 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 2017131858541.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1570] วันที่รายงาน [2/6/2559] | |||
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านเพื่อเป็นหมู่บ้านลูกข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ บ้านหนองหอย ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดย ดร.บุษราคัม ป้อมทอง รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี และนายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่สำรวจดังกล่าว | ค่าใช้จ่าย : 6,900 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1594] วันที่รายงาน [23/5/2559] | |||
เมื่อวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมู่บ้านแม่ข่าย ปีที่ 1) ณ บ้านหนองเทียมพัฒนา ตำบลหนองตาลใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมานำโดยนายยุทธนาตอสกุลนายวินัฐ จิตรเกาะ นางสาวฐานิฏฐ์กานต์ ทวนไธสง และนายเกษมศักดิ์ ศรีเพ็ญ ออกให้บริการดังกล่าว
กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีประกอยด้วย 1. การย้อมไหมด้วยจากสีธรรมชาติ โดยมีวิทยากรจากกลุ่มหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านหม่อนไหมไร้สารเคมีบ้านห้วยทราย เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว นำโดย นางนิยม เทศชารี นางอ่อนสา ปุริสาและนางพัชรี แสนหล้า ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 30 คน การอบรมในครั้งนี้ได้สาธิตการย้อมสีอยู่ 4 ชนิด ประกอบด้วย ย้อมครั่ง ได้สีแดง และชุมพู่ ย้อมเปลือกประโหด ได้สีเหลือง ย้อมใบสมอ ได้สีเขียวไพล และย้อมสายบัว ได้สีเทา พร้อมกับการสาธิตวิธีการและชั้นตอนต่าง ๆ และให้กลุ่มแม่บ้านได้มีการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งนี้ได้มีการแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ในการสาธิตในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้การอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น2. การทำยาหม่อง และยาดม จากสมุนไพร โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมเตรียมสมุนไพร เช่น ไพล ขมิ้น ตะไคร้ มะกูด เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในการทำยาหม่อง และยาดม | ค่าใช้จ่าย : 42,000 จำนวนผู้รับบริการ : 41 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1893] วันที่รายงาน [2/9/2559] | |||
เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมู่บ้านแม่ข่าย ปีที่ 1) ณ บ้านโนนรัง ตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายยุทธนา ตอสกุล นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด นายวินัฐ จิตรเกาะ นางสาวฐานิฏฐ์กานต์ ทวนไธสง นางสาวรจนา เชื้อโคกกรวด และนายเกษมศักดิ์ ศรีเพ็ญ ออกให้บริการดังกล่าว
| ค่าใช้จ่าย : 42,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=2076] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมู่บ้านแม่ข่าย ปีที่ 1) ณ บ้านหนองหอย ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ | ค่าใช้จ่าย : 42,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=2077] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
ระวันที่ 29 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มีการออกติดตามผลการดำเนินงาน ณ บ้านหนองเทียมพัฒนา ตำบลหนองตาลใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา | ค่าใช้จ่าย : 15,000 จำนวนผู้รับบริการ : 55 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=2078] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
จัดทำรายงานฉบัยสมบูรณ์ โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมู่บ้านแม่ข่าย ปีที่ 1
ค่าเจ้าเหมาบุคคล และที่ปรึกาาหัวหน้าโครงการ | ค่าใช้จ่าย : 102,100 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates