หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2556 | 250,950|200,000|198,000|2,000 | 20131281058411.pdf | 201412913411.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=578] วันที่รายงาน [18/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรมปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013751141531.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=674] วันที่รายงาน [5/7/2556] | |||
ค่าใช้จ่าย : 107,000 จำนวนผู้รับบริการ : 54 ปัญหาอุปสรรค : กลุ่มสมาชิกยังไม่ยอมรับการแก้ปัญหาให้เครื่องแกงมีอายุการเก็บนานขึ้น โดยให้เพิ่มปริมาณพริกแห้งและลดพริกสด เพื่อลดความชื้นในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากกลุ่มสมาชิกให้เหตุผลว่า ผู้บริโภคนิยมผลิตภัณฑ์ที่ใช้พริกสด แนวทางแก้ไข : ทางทีมผู้ประสานงานและทีมผู้ติดตามแนะนำให้สมาชิกผลิตเครื่องแกงทั้ง 2 แบบคือ สูตรเดิม และสูตรใหม่ที่มีการปรับลดพริกสด เพิ่มพริกแห้ง โดยเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ และสังเกตผลตอบรับจากผู้บริโภคหรือลูกค้า และให้เปรียบเทียบอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ทั้งสอง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ผลิตได้เห็นผลเชิงประจักษ์ด้วยการศึกษาด้วยตัวเอง ไฟล์แนบกิจกรรม : | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=738] วันที่รายงาน [10/9/2556] | |||
4 ก.ค. 2556 วิทยากร 2 คน คือ นางสุเพ็ญ ด้วงทอง และ ดร.นิศากร วิทจิตสมบูรณ์ ได้บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเทคโนโลยีการยืดอายุผลิตภัณฑ์เครื่องแกงส้ม สมาชิกกลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะให้ความสนใจเป็นอย่างดี เนื่องจากเครื่องแกงส้มของกลุ่มมีความชื้นสูงกว่าผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชนิดอื่น ๆ เพราะวัตถุดิบที่ใช้ผลิตมีน้ำในปริมาณสูง คือกระเทียมและพริกสด 12 ก.ค. 2556 วิทยากร 2 คน คือ นางสุเพ็ญ ด้วงทอง และ ดร.นิศากร วิทจิตสมบูรณ์ ได้บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการยืดอายุผลิตภัณฑ์แกงคั่ว และแกงกะทิ สมาชิกกลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะให้ความสนใจเป็นอย่างดี แม้ว่าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเครื่องแกงคั่วและกะทิมีน้ำในปริมาณน้อยกว่าเครื่องแกงส้ม วัตถุดิบที่มีน้ำคือตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด กระเทียม พริกสด เป็นต้น งบประมาณ 20,000 บาท 13 ก.ค. 2556 ทีมงานได้ลงพื้นที่ติดตามและปรับปรุงผลการยืดอายุผลิตภัณฑ์แกงส้ม แกงคั่ว และแกงกะทิ เนื่องจาก กลุ่มเครื่องแกงผลิตเครื่องแกงทั้ง 3 ชนิด ในวันนี้ กลุ่มสมาชิกได้ให้ความเห็นว่า อยากจะลดความชื้นในผลิตภัณฑ์ทุกชนิด แต่ยังคงวัตถุดิบที่สด และใหม่ โดยคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะพริกสด ดังนั้นในขั้นตอนหลังการล้างวัตถุดิบหรือต้องทำหลังจากกระบวนการผลิต โดยกลุ่มสมาชิกมีความประสงค์อยากมีเครื่องอบลดความชื้น(ไฟฟ้า) นอกจากนี้ฝนตกบ่อย ทำให้ความชื้นในอากาศมากจึงทำให้การตากแดดได้ในบางช่วงเท่านั้น โดยเฉพาะในฤดูฝน ฝนตกเกือบทุกวัน งบประมาณ 10,000 บาท 14 ก.ค. 2556 วิทยากร 4 คน คือ นางสุเพ็ญ ด้วงทอง และ ดร.นิศากร วิทจิตสมบูรณ์ นางสาวสัลวา ตอปี และนางสาวผจงสุข สุธารัตน์ ได้บรรยายถ่ายทอดเทคโนโลยีและอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตแกงส้ม แกงคั่ว และแกงกะทิ ที่มีรสชาติอร่อยและยอมรับจากผู้บริโภค (ถ่ายทอดสูตรเครื่องแกงที่อร่อยจากงานวิจัยสำรวจและทดสอบชิม) สมาชิกกลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะให้ความสนใจเป็นอย่างดี และได้ร่วมกันทดสอบชิมอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องแกงที่ได้คัดเลือกมา งบประมาณ 35,000 บาท 16 ส.ค. 2556 ทีมงานได้ลงพื้นที่ติดตามผลการผลิตแกงส้ม แกงคั่ว และแกงกะทิ สมาชิกกลุ่มเครื่องแกงได้ให้ความเห็นว่า การผลิตเครื่องแกงของกลุ่มนั้น ได้ผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค โดยรสชาติของเครื่องแกงที่ได้ผลิตขึ้นนี้ ได้ผ่านการปรับปรุงรสชาติมาแล้ว และขณะนี้กลุ่มลูกค้าพอใจในรสชาตินี้ และเคยชินกับการปรุงอาหารโดยปรับสัดส่วนเครื่องปรุงได้เหมาะสมแล้ว และหากมีการปรับเปลี่ยนสูตรในการผลิต ทำให้รสชาติของเครื่องแกงเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนเครื่องปรุงในการปรุงอาหาร เช่น ปริมาณ พริกแกงส้ม กะปิ น้ำปลา น้ำ น้ำตาล มะนาว รวมทั้งปริมาณของปลา หรือผัก ที่เติมลงไป เป็นต้น หากเป็นเครื่องแกงกะทิ ต้องปรับเปลี่ยนปริมาณเครื่องแกงกะทิ น้ำกะทิ น้ำปลา ไก่หรือหมู รวมทั้งผัก เป็นต้น ซึ่งหากปรับเปลี่ยนสูตรการผลิตเครื่องแกง ทำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเข้าใจผิดเรื่องคุณภาพของเครื่องแกงได้ และทำให้ลูกค้าต้องลองผิดลองถูกในการปรุงอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมและถูกปาก และอีกประการหนึ่งคือ การกินเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของผู้บริโภค มักยึดติดกับรสชาติที่คุ้นเคย โดยกลุ่มผู้บริโภคหมู่บ้านทุ่งเอาะนิยมปรุงอหารจากเครื่องแกงที่ที่ผลิตจากพริกสด งบประมาณ 10,000 บาท 23 ส.ค. 2556 ทีมงานได้ลงพื้นที่ เพื่อจัดเวทีถอดบทเรียน ผลการดำเนินงาน แนวทางในการปรับปรุงความสำเร็จที่เกิดขึ้น และองค์ความรู้ โดยมีกลุ่มสมาชิกที่ผลิตเครื่องแกงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ให้ความคิดเห็น ส่วนเด่น ส่วนควรปรับปรุงในการผลิตเครื่องแกงและการบริหารงานของกลุ่ม พร้อมทั้งให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตเครื่องแกง ทั้งนี้เพื่อทำให้กลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะ ดำเนินการได้อย่างยั่งยืน ต่อไป งบประมาณ 16,000 บาท | ค่าใช้จ่าย : 91,000 จำนวนผู้รับบริการ : 78 ปัญหาอุปสรรค : 1. เนื่องจากสถานที่อบรม เป็นที่ทำการหมู่บ้าน สมาชิกในหมู่บ้านจึงใช้สถานที่ประกอบกิจกรรมของหมู่บ้าน ทำให้ไม่สามารถอบรมในวันและเวลาทีกำหนดตามแผนได้ แนวทางแก้ไข : 1. เลื่อนวันเวลาออกไป เพื่อให้สะดวกแก่สมาชิกที่เข้าร่วมอบรม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=829] วันที่รายงาน [8/10/2556] | |||
แผนการดำเินินงานช่วงขยายเวลาปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013108118541.pdf | ||
2557 | 299,000|240,000|45,200|194,800 | 20144301526281.pdf | 201529141141.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=951] วันที่รายงาน [3/7/2557] | |||
ยังไม่เริ่มดำเนินโครงการค่ะ เพราะการอนุมัติโครงการจากมหาวิทยาลัยยังไม่เรียบร้อย เสาวนิตย์คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในประมาณกลางเดือนนี้ค่ะ ดังนั้น เสาวนิตย์ จะขออนุญาตรายงานผลการดำเนินงานล่าช้าน่ะค่ะ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : การอนุมัติโครงการจากมหาวิทยาลัยยังไม่เรียบร้อย แนวทางแก้ไข : ประสานงานกับทางการเงินของมหาลัย ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1033] วันที่รายงาน [2/9/2557] | |||
รายการการดำเนินครั้งที่ 1 | ค่าใช้จ่าย : 45,200 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : ปัญหาอุปสรรค 1) สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะ มีอาชีพหลักคือทำสวนยางพารา ทำให้เริ่มการอบรมได้ช้ากว่าที่กำหนดไว้ และไม่ค่อยมีเวลาสำหรับการเข้าร่วมการอบรม เนื่องจากต้องทำภาระกิจของอาชีพหลักให้เสร็จสิ้นก่อน เนื่องจากมีปัจจัยจากภายนอกร่วมด้วยคือพ่อค้ารับซื้อน้ำยาง คือหากพ่อค้ามารับซื้อน้ำยางช้าก็ทำให้การอบรมเริ่มช้าด้วย 2) สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะที่ทำหน้าที่ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายมีเพียง 12 คน และที่เหลืออีก 22 คน เป็นสมาชิกที่ถือหุ้น ดังนั้นทำให้สมาชิกบางส่วนไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญของความรู้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงทำให้ร่วมกิจกรรมไม่นาน (กลับก่อนหลังรับประทานอาหารเที่ยง) กล่าวคือได้ร่วมฟังบรรยาย แต่ไม่ได้ร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2558 | 200,000|200,000|179,120|20,880 | 2015581426161.pdf | 201511121321491.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1450] วันที่รายงาน [30/9/2558] | |||
21 ก.ค.2558 ทีมงานโครงการหมู่บ้านเครื่องแกง ได้ลงพื้นที่ ณ เครื่องแกงสมุนไพรบ้านกระทิง เลขที่ 48 หมู่ที่ 2 ถนน ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับให้ความรู้เรื่องการพัฒนาอาคารผลิตเครื่องแกงให้ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐาน อย. และ GMPวิทยากรให้ความรู้ประกอบด้วย ดร.อัจฉรา เพิ่ม ผศ. เสาวนิตย์ ชอบบุญ ดร. สายใจ วัฒนเสน และ นายปริญญา ทับเที่ยง สังกัดโปรแกรมวิชาชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาโดยในการอบรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด จำนวน 16 คน
22 กันยายน 2558 | ค่าใช้จ่าย : 179,120 จำนวนผู้รับบริการ : 16 ปัญหาอุปสรรค : ไม่มี แต่พบว่าโรงเรือนการผลิตตั้งอยู่ในที่ดินส่วนบุคคล คือประธานกลุ่ม ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเท่าที่ควร แนวทางแก้ไข : ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates