หน่วยงานรับผิดชอบ :
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2556 | 300,000|200,000|120,000|80,000 | 2013128152461.pdf | 20143311051361.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=610] วันที่รายงาน [19/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรมปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013419155011.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=699] วันที่รายงาน [5/7/2556] | |||
ชื่อกิจกรรม อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเวทีเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการผลิตลำไยคุณภาพต้นทุนต่ำและการจัดการเรียนรู้เพื่อหาคำตอบเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงเปรียบเทียบ ทำการบันทึกผลต่อเนื่อง วิธีการดำเนินการ การดำเนินงานเดือน กุมภาพันธ์ เมษายน เวทีประชุมชี้แจงการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของผู้นำกลุ่ม เกษตรจังหวัดและผู้รับผิดชอบโครงการศึกษาดูงานในพื้นที่ปลูกลำไยในพื้นที่บ้านหนองสลิง จัดเวทีวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนและของกลุ่มฯ (ผู้นำชุมชน แกนนำ เครือข่าย สมาชิกในหมู่บ้าน) จัดทำแผนการพัฒนาเทคโนโลยีแบบชุมชนมีส่วนร่วม การสร้างแนวทางการเรียนรู้แขยายผลกับกลุ่มลูกข่ายในพื้นที่ชาวสวนลำไยบ้านทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน การดำเนินงานเดือน พฤษภาคม -อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเวทีเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการผลิตลำไยคุณภาพต้นทุนต่ำและการจัดการเรียนรู้เพื่อหาคำตอบเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงเปรียบเทียบ ทำการบันทึกผลต่อเนื่อง ผลการดำเนินการ การดำเนินงานกิจกรรมการถ่ายทอดมีเกษตรกรชาวสวนลำไยเข้าร่วม 50 คน/ครั้ง โดยในการดำเนินงานได้ข้อมูลจากการมีส่วนร่วมที่เกิดจากการดำเนินงานของชาวสวนลำไยในบ้านหนองสลิงตั้งแต่กลุ่มแกนนำ กลุ่มสมาชิกในหมู่บ้าน และกลุ่มตัวแทนในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการโดยมีการสร้างเครือข่ายหน่วยงานในชุมชนเช่น เกษตรจังหวัด อบต. เป็นต้น ได้จัดทำกระบวนการเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบลำไยคุณภาพและปัจจัยต้นทุนการผลิต โดยให้ชุมชนได้กำหนดจุดเน้นที่ต้องการลดต้นทุนเร่งด่วนคือ การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านดินและธาตุอาหารลำไย การใช้สารเพื่อควบคุมการออกดอกเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นแนวทางในการทดสอบการเรียนรู้จากการปฏิบัติทดลองจริงในสวนของเกษตรกรต่อไป การประเมินผลสำเร็จของโครงการ ประเมินผลโดย สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ผู้ดำเนินโครงการโดยกลุ่มผู้รับบริการหลังฝึกอบรม คือ -กลุ่มผู้ผลิตลำไยนอกฤดูพื้นที่บ้านหนองสลิง หมู่ 4 ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน มีแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือไม่.............................มี................................ ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ และประเด็นที่ต้องติดตาม การบริหารโครงการในลักษณะกลุ่มคนเป้าหมายมาจากหลายพื้นที่แต่มีการทำส่วนลำไยในเขตพื้นที่บ้านหนองสลิงการดำเนินงานจึงมีกรอบเป้าหมายคือ ใช้พื้นที่สวนเป็นตัวตั้งในการจัดกระบวนการเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยใช้กลุ่มชาวสวนลำไยเป็นเป้าหมายรองลงมา | ค่าใช้จ่าย : 120,000 จำนวนผู้รับบริการ : 44 ปัญหาอุปสรรค : การบริหารจัดการด้านงบประมาณมีความล่าช้าในระดับมหาวิทยาลัยส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการไม่ตรงตามแผนการที่กำหนดแต่คณะดำเนินงานได้มีการปรับแผนการดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมของหมู่บ้านที่ทำให้สามารถดำเนินงานได้ตามขั้นตอน แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 20137899141.pdf | ||
2557 | 240,000|240,000|240,000|ใช้หมด | 20144301350441.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=940] วันที่รายงาน [3/7/2557] | |||
1 ชื่อกิจกรรม จัดเวทีถ่ายทอดความรู้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพเป้าหมายการลดต้นทุน 2 วิธีการดำเนินการ การดำเนินงานเดือน พฤษภาคม มิถุนายน ประสานงานผู้นำชุมชนและกลุ่มแกนนำเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานและติดต่อประสานงานเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย คณะดำเนินงานเตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องกับแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง 3 ผลการดำเนินการ การดำเนินการถ่ายทอดเริ่มในวันที่ 17 พฤษภาคม 2557 ณ ศูนย์เรียนรู้ของชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนและสมาชิกชาวสวนลำไยบ้านหนองสลิงเข้าร่วม จำนวน 70 คน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปบทเรียนจากประสบการณ์และถ่ายทอดเทคโนโลยีเสริมทักษะความรู้ในด้านการจัดการดินและธาตุอาหารลำไยอย่างมีประสิทธิภาพมีการสาธิตการวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติของดินและวิธีการเตรียมตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ ทำการสรุปบทเรียนและมีการนัดหมายการถ่ายทอดเชิงปฏิบัติการที่ต่อเนื่องโดยทำการถ่ายทอดในวันที่ 14 มิถุนายน 2557 จำนวนผู้เข้าร่วม 70 คน โดยให้ชาวสวนเตรียมตัวอย่างดินมาเพื่อการวิเคราะห์ก่อนการวิเคราะห์ให้อธิบายกระบวนการได้มาของตัวอย่างดินเพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติการที่ถูกวิธี แล้วจึงมีการถ่ายทอดการใช้เครื่องมือชุดวิเคราะห์ดิน ทำการสรุปบทเรียนแล้ววางแผนให้เยาวชนที่เป็นลูกหลานในชุมชนได้มีกระบวนการสร้างกลุ่มเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและเข้าถึงข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 60,000 จำนวนผู้รับบริการ : 70 ปัญหาอุปสรรค : ด้านงบประมาณที่มีความล่าช้าส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการไม่ตรงตามแผนการที่กำหนดแต่คณะดำเนินงานได้มีการปรับแผนการและสำรองงบประมาณให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง 8. ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ และประเด็นที่ต้องติดตาม แนวทางแก้ไข : การขยายผลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการสร้างและพัฒนาคนในรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการรับรู้ข้อมูลและต่อยอดขยายผลเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องในชุมชนต่อไป ไฟล์แนบกิจกรรม : 2014731133311.xls | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1103] วันที่รายงาน [30/9/2557] | |||
5.1 ชื่อกิจกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมทักษะระบบการบริหารจัดการกลุ่มผลิตลำไยคุณภาพต้นทุนต่ำ 5.2 วิธีการดำเนินการ การดำเนินงานเดือน กรกฎาคม กันยายน ประสานงานผู้นำชุมชนและกลุ่มแกนนำเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานและติดต่อประสานงานเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย คณะดำเนินงานเตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องกับแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง พร้อมทั้งการจัดการพัฒนาระบบการสร้างเครือข่ายบริหารจัดการกลุ่ม 5.3 ผลการดำเนินการ การดำเนินงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการดินปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพที่ต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายนจำนวน 70 คน มีการติดตามและสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนมีส่วนร่วมบูรณาการกับกลุ่มนักศึกษาสาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชมงคลล้านนา เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ชุมชน ในวันที่ 6 กันยายน 2557 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กของชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนและสมาชิกชาวสวนลำไยพร้อมทั้งเยาวชนบ้านหนองสลิงเข้าร่วม จำนวน 50 คน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยภายใต้ฐานข้อมูลจากระบบสารสนเทศ และพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนเรียนการผลิตลำไยในเครือข่ายออนไลด์ สรุปบทเรียนจากประสบการณ์และถ่ายทอดเทคโนโลยีเสริมทักษะความรู้ในด้านการจัดการดินและธาตุอาหารลำไยอย่างมีประสิทธิภาพมีการสาธิตและการติดตามในพื้นที่สวนลำไย ทำการติดตามการดำเนินงานและให้คำปรึกษาการผลิตลำไยอย่างต่อเนื่องทุกเดือน สรุปบทเรียนแล้ววางแผนให้เยาวชนที่เป็นลูกหลานในชุมชนได้มีกระบวนการสร้างกลุ่มเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและเข้าถึงข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป วันที่ 18 กันยายน 2557 รับการติดตามและประเมินผลโครงการจากคณะกรรมการฯจากกระทรวงวิทย์ฯ ในพื้นที่หมู่บ้าน | ค่าใช้จ่าย : 180,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : ด้านงบประมาณที่มีความล่าช้าส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการไม่ตรงตามแผนการที่กำหนดแต่คณะดำเนินงานได้มีการปรับแผนการและสำรองงบประมาณให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข : การขยายผลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการสร้างและพัฒนาคนในรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการรับรู้ข้อมูลและต่อยอดขยายผลเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องในชุมชนต่อไป ไฟล์แนบกิจกรรม : 2014930167291.xls |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates